คัดกรอง...ผู้สูงอายุ?


วันนี้คุยเรื่องผู้สูงอายุนะคะ เพราะบ้านเราเมืองไทย...เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนะคะ

นิยาม: สังคมผู้สูงอายุ

องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไปและได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ7ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ


2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์


3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่


ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2001-2100 เป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางด้านการแพทย์ การโภชนาอาหาร

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2005โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในช่วงปี 2024-2025 ที่นี้เรามาคุยเรื่อง การคัดกรองผู้สูงอายุ .... มีอะไรบ้าง....ไปดูกันค่ะ


1.แบบประเมินคัดกรอง ADL

แบบประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตร ประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL)

คำจำกัดความ

การจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มศักยภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประยุกต์ จากเกณฑ์การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธล เอดีแอล (Barthel ADL index) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน ดังนี้


ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ (กลุ่มติดสังคม) มีผลรวมคะแนน ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป


ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (กลุ่มติดบ้าน) มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 5 – 11 คะแนน


ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (กลุ่มติดเตียง) มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 0 - 4 คะแนน


ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)


1. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า)

0. ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้

1. ตักอาหารเองได้แต่ต้องมีคนช่วย เช่น ช่วยใช้ช้อนตักเตรียมไว้ให้หรือตัดเป็นเล็กๆไว้ล่วงหน้า

2. ตักอาหารและช่วยตัวเองได้เป็นปกติ


2. Grooming (ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะเวลา 24 - 28 ชั่วโมงที่ผ่านมา)

0.ต้องการความช่วยเหลือ

1.ทำเองได้ (รวมทั้งที่ทำได้เองถ้าเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้)


3. Transfer (ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตียงไปยังเก้าอี้)

0.ไม่สามารถนั่งได้ (นั่งแล้วจะล้มเสมอ) หรือต้องใช้คนสองคนช่วยกันยกขึ้น

1. ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากจึงจะนั่งได้ เช่น ต้องใช้คนที่แข็งแรงหรือมีทักษะ 1 คน หรือใช้คนทั่วไป 2 คนพยุงหรือดันขึ้นมาจึงจะนั่งอยู่ได้

2. ต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น บอกให้ทำตาม หรือช่วยพยุงเล็กน้อย หรือต้องมีคนดูแลเพื่อความปลอดภัย

3. ทำได้เอง


4. Toilet use (ใช้ห้องน้ำ)

0. ช่วยตัวเองไม่ได้

1. ทำเองได้บ้าง (อย่างน้อยทำความสะอาดตัวเองได้หลังจากเสร็จธุระ) แต่ต้องการความช่วยเหลือในบางสิ่ง

2. ช่วยตัวเองได้ดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถส้วมเองได้ ทำความสะอาดได้เรียบร้อยหลังจากเสร็จธุระถอดใส่เสื้อผ้าได้เรียบร้อย)


5. Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน)

0. เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้

1. ต้องใช้รถเข็นช่วยตัวเองให้เคลื่อนที่ได้เอง (ไม่ต้องมีคนเข็นให้) และจะต้องเข้าออกมุมห้องหรือประตูได้

2. เดินหรือเคลื่อนที่โดยมีคนช่วย เช่น พยุง หรือบอกให้ทำตาม หรือต้องให้ความสนใจดูแลเพื่อความปลอดภัย

3. เดินหรือเคลื่อนที่ได้เอง


6. Dressing (การสวมใส่เสื้อผ้า)

0. ต้องมีคนสวมใส่ให้ ช่วยตัวเองแทบไม่ได้หรือได้น้อย

1. ช่วยตัวเองได้ประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือต้องมีคนช่วย

2. ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดุม รูดซิบ หรือใช้เสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เหมาะสมก็ได้)


7. Stairs (การขึ้นลงบันได 1 ชั้น)

0. ไม่สามารถทำได้

1. ต้องการคนช่วย

2. ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)


8. Bathing (การอาบน้ำ)

0. ต้องมีคนช่วยหรือทำให้

1. อาบน้ำเองได้


9. Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

0. กลั้นไม่ได้ หรือต้องการการสวนอุจจาระอยู่เสมอ

1. กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์)

2. กลั้นได้เป็นปกติ


10.Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

0. กลั้นไม่ได้ หรือใส่สายสวนปัสสาวะแต่ไม่สามารถดูแลเองได้

1. กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง)

2. กลั้นได้เป็นปกติ



รูปเก่าๆ ในชมรมผู้สูงอายุ รพ.บ้านลาด นะคะ






การใช้ดัชนี บาร์เธล เอดีแอล (Barthel ADL index) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนนค่ะ

- ถ้าได้ มีผลรวมคะแนน ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป เป็น "กลุ่มติดสังคม"

- ถ้าได้ มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 5 – 11 คะแนน เป็นกลุ่ม "กลุ่มติดบ้าน"

- มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 0 - 4 คะแนน เป็นกลุ่ม "พิการ หรือทุพพลภาพ" หรือ "กลุ่มติดเตียง"


สรุปได้ว่า ....ใครที่อยากประเมินว่าผู้สูงอายุ....อยู่กลุ่มใด เอาแบบADL.นี้ไปประเมินดูนะคะ เพื่อจะได้ช่วยเหลือ ... ได้เยียวยาได้ถูกต้อง ได้ทันทีนะคะจะทำให้ผู้สูงอายุ ... มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขตามอัตภาพ นะคะ


ขอบคุณที่อ่านบันทึกนี้นะคะ

15 มีนาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 603497เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2016 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2016 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชอบใจผู้สูงอายุบ้านลาด

สุขภาพจิตดีมากๆๆ


....ชีวิตเรา..........แน่!เข้าใกล้.....วัยแก่เฒ่า
อย่าปล่อยเฉา......อยู่เฉย...........มิเคยฝัน
ลองขยับ............หยิบจับ...........ริเริ่มพลัน
ทุกสิ่งอัน............เพื่อผู้ด้อย.......ไม่ปล่อยเลย


....ค่อยค่อยต่อ.....ก่อกิจ.............จากเสี้ยวเศษ
แม้ทุเรศ..............มิช้า...............ฟ้าจักเผย
ประโยชน์ดี..........แม้มิมี.............ผู้ชมเชย
ธรรมงอกเงย........สันติพบ...........สงบจริง


ผู้สูงวัย เฉกเช่น อาทิตย์ อัสดง
เป็นธรรมดา ๆ

อย่างคุณมะเดื่อนี่ต้องเรียกว่า...

เตรียมเข้าประตูสู่ " วัยชรา" นะ อิ อิ

คิดถึงจ้าา



สาระดี ๆ มีมาฝากเสมอ ขอบคุณค่ะพี่เปิ้น

เตรียมชราอย่างมีคุณภาพ .... ชราอย่างมีความสุขกันนะคะ

We should already know the story of birth, peak, decline, (to) death. It is all anicca; when clinging on -- dukkha; and when realized -- anatta. Despite the call for longevity (from tradition and technology sides), aging is natural and letting go of life or living is also natural.

Learn the stories, dance to music and memory of life, then cut loose!

พี่ใหญ่อยู่ในช่วงอายุระดับสามค่ะ แต่ยังช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ เพียงแต่ต้อง "รู้จักใช้ชีวิตคนแก่ให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ" (บ่อยครั้งที่ลืมแก่)...ขอบคุณบันทึกดีๆมีประโยชน์เช่นนี้ค่ะ..

-สวัสดีครับ

-ตามมาด้วยความระลึกถึงครับ

-ผู้สูงอายุมีมากขึ้น..ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพสังคมสูงอายุนะครับ

-มีเมนูเพื่อสุขภาพมาฝากครับ..

มาสมัครเป็น สมาชิก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท