ปัญหาบ้านเมืองจึงมีมากเพราะเหตุข้อมูลที่ได้ไม่สมบูรณ์ดีพอที่จะนำมาวินิจฉัย


บางทีเราไม่เข้าใจปัญหาอะไร เพราะ ไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ตรงประเด็น (Fact ภายนอก)และตัวเองก็ไม่ตรงประเด็นเสียเอง (Fact ภายในตัวเราเอง)

Data to Information

Information Quality อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

Relevant - Evidence - Fact ตรงประเด็น มีหลักฐาน ที่เป็นข้อเท็จจริง

relevant เกี่ยวกับประเด็น, เกี่ยวเนื่อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
relevant เกี่ยวเนื่อง [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
relevant evidence พยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
relevant fact ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็น [ดู evidential fact] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]


ปัญหาบ้านเมืองจึงมีมากเพราะเหตุข้อมูลที่ได้ไม่สมบูรณ์ดีพอที่จะนำมาวินิจฉัย

ไม่เกี่ยวข้อง[adj.] (mai kīokhøng) EN: irrelevant

นอกประเด็น[adj.] (nøk praden) EN: irrelevant ; beside the point ; not pertinent ; not germane ; inapposite ; immaterial

ออกนอกเรื่อง[adv.] (øk nøk reūang) EN: divergently ; divertingly ; irrelevant

ผิดฝาผิดตัว[adj.] (phitfā-phittūa) EN: mismatched ; mistaken ; unrelated ; irrelevant ; in the wrong way

สัมพันธ์กัน[v. exp.] (samphan kan) EN: be related ; be involved ; have to do with ; be relevant to ; concern

ตรงประเด็น[v. exp.] (trong praden) EN: be relevant ; be pertinent


.....พระพุทธองค์ทรงศึกษาหาข้อมูลอย่างมีระบบ(Systematic Study)

คือหาข้อมูลอย่างมีระบบให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง

ข้อมูลต้องเชื่อถือได้มีที่ไปที่มา และข้อมูลที่ตรงประเด็น

แล้วนำมาศึกษาทดลองทำ ตามหลักวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Method)

บางทีเราไม่เข้าใจปัญหาอะไร เพราะ....

1. ไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ตรงประเด็น (Fact ภายนอก)

2. และตัวเองก็ไม่ตรงประเด็นเสียเอง (Fact ภายในตัวเราเอง)

เลยไม่ได้ความจริงที่ถูกต้องตามความเป็นจริง

มากต่อมากในสังคม

ทำให้คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ประพฤติผิดๆ ไม่สามารถ GotoKnow

หรืออาจ คิดเองว่า Gotoknow

แต่ไม่ Relevant เพราะรู้ไม่ถ่องแท้ จึงต้องอาศัยระบบ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ต้องฟังแบบใช้เทคนิคการฟังที่ดี

มาช่วยปรับความรู้ความเข้าใจ (ปรับ Fact ภายใน) เช่นในเวที

การประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ก็เป็นการปรับความรู้ความเข้าใจให้ตรงกันว่า

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงใครได้ประโยชน์ใครต้องยอมเสียประโยชน์

ส่วนน้อยของตนหรือขององค์กรบ้าง เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศ

ที่ผ่านมาปัญหาบ้านเมืองไทยมีมาก

เพราะเหตุข้อมูลที่ได้ไม่สมบูรณ์....ดีพอที่จะนำมาวินิจฉัย

ตามหลักและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ คุณภาพของข้อมูลดังที่กล่าวมาข้างต้น

........................................................................................

คุณภาพของข้อมูล Quality of information

...........................................................................................

โดยปกติการทำธุรกิจหรือการใช้ชีวิตประจำวันนั้น

เป็นความปกติที่เราต้องรับข้อมูลอยู่ตลอดเวลาไม่ว่ารับทางตรงทางอ้อม

ซึ่งข้อมูลที่เรารับแต่ละเรื่องนั้น มีประโยชน์มากน้อยเพียงใดนั้น

ก็ขึ้นอยู่กับเราสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้เพียง โดยข้อมูลที่ดีนั้นสามารถช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพ

ส่วนการนำข้อมูลไปใช้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราได้รับนั้น

มีคุณภาพมากน้อยเพียงไหนนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของข้อมูลคำนี้ดูเป็นนามธรรมมากเกินไปสักหน่อย

โดยข้อมูลคุณภาพที่ดีอาจหมายความว่า นำไปใช้ได้ง่าย สะดวก ถูกต้อง

ซึ่งเราทำให้เราต้องแยกข้อมูลประเภท ไม่ทันสมัย ไม่ถูกต้อง ยากต่อการเข้าใจ

การใช้งาน มีคุณค่าต่อธุรกิจหรือการตัดสินใจต่างๆ ออกมา

..................................................................................................

โดยปกติคนต้องการข้อมูลคุณภาพสูงนั้น

O'Brien กับ Marakas (364,2006) สรุป

มิติของคุณภาพข้อมูลแบ่งได้ 3 มิติ คือ

1.เวลา คือ เวลาข้อมูลนั้นไม่เก่าไป ปัจจุบันไหม ความถี่มีแค่ไหน ช่วงเวลาใด
2.เนื้อหา คือ ถูกต้องไหม บอกเรื่องที่เราต้องการหรือไม่ สมบูรณ์ไหม ขอบเขตเนื้อหาเป็นอย่างไร สามารถตรวจสอบวัดผลได้ไหม
3.รูปแบบ คือ ง่ายต่อการเข้าใจ รายละเอียดดีแค่ไหน สื่อที่ใช้แสดงเป็นอย่างไร


.....................................................................................................................................

ส่วนอีกคนที่อธิบายเรื่องคุณภาพข้อมูลคือ

Laudon และ Laudon (497,2007)ได้ให้ มิติของจ้อมูลที่มีคุณภาพไว้ดังนี้


1.ถูกต้อง แสดงถึงความเป็นจริงหรือไม่
2.Integrity โครงสร้างข้อมูล สัมพันธ์กับ Entities ไหม
3.Consistency คือมีความเกี่ยวข้องกันไหม กับสิ่งที่เราต้องทราบ
4.Completeness คือข้อมูลนั้นมีความสมบูรณ์ครบถ้วนไหม ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้การตัดสินใจอะไรมีการเปลี่ยนแปลงได้
5.Validity คือ ที่สำคัญคือ ควรเชื่อถือได้
6.Timeliness คือ เก่าไปไหม ไม่ทันสมัยหรือไม่
7.Accessibility ส่วนอันนี้น่าจะ สามารถเข้าถึงได้ เอามาใช้ได้

.....................................................................................................................................

ทั้งหมดคือ คุณภาพของข้อมูลที่มีคนได้กล่าวเอาไว้

สำหรับผม ข้อมูลที่ผิดพลาดนั้นทำให้มีความเสียหายได้หลายระดับ

ตั้งแต่ในยุคสงครามโบราณจนถึงปัจจุบันในยุคสงครามธุรกิจ

ซึ่งมีคนกล่าวไว้ว่า ในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารคือพลัง(Information is Power)

แต่ในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนสามารถเข้าถึงและรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างมหาศาล

แต่ในขณะนี้ การรวบรวม การวิเคราะห์ นั้นเป็นเรื่องยาก

แค่ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้น มีประโยชน์หรือไม่ เป็นความจริงหรือเท็จ

เกี่ยวข้องไหม แค่นี้ก็เหนือยแล้ว แถมยังมีการแปลงข้อมูลข่าวสาร

เพื่อให้ได้ประโยชน์กับฝ่ายของผู้ได้รับประโยชน์อีก ดังนั้น

สำหรับผม The right information is the best power และต้องเหมาะกับเวลาด้วย

.........................................................................

สรุปได้ว่า......

ข้อมูลที่นักบินจะนำไปใช้ในการบริหารการปฏิบัติการบิน ได้แก่ข้อมูลที่มีคุณภาพ

ได้แก่ มีความเที่ยงตรง(Integrity) ถูกต้อง

ทันสมัยเป็นปัจจุบันตรงหน้างานสนามจริง(Timeliness)

มีที่มาเชื่อถือได้(Validities)

มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง มีระบบควบคุมคุณภาพ(Document Control & Quality Control)

ที่สำคัญคือเข้าถึงง่าย(Accessibility)

เช่น Aeronautical Information Management การบริการข้อมูลการบิน

จะต้องถูกออกแบบให้นักบินและนักบินผู้ช่วยสามารถเข้าถึงข้อมูล

เพื่อเตรียมการณ์ จัดการ รวบรวม ประมวล(Resource Management)

ก่อนที่จะถึงเวลาที่นักบินจะต้องใช้ และเมื่อถึงเลาที่ต้องใช้ ก็พร้อมดำเนินการ

แนะนำ(Advise)Information ให้แก่นักบินในขณะปฏิบัติการบินได้ทันการณ์

ทั้งในภาวะปกติและกรณีฉุกเฉินนั้น ทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยตลอดจนวิศวกรเครื่องบิน

จะสามารถนำข้อมูลที่มีคุณภาพนั้นมาใช้ประโยชน์ทำได้ถูกต้องตามสถาณการณ์

ทำให้เกิดวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดด้วยข้อมูลต่างๆที่มีคุณภาพที่สุดด้วยเช่นกันครับ

........................................................................

ว่าที่ร้อยตรีโสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา

วิศกรไฟฟ้าชำนาญการพิเศษ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

ปฏิบัติงาน ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

23 ก.พ.2559

........................................................................................................................


Search result for relevant (41 entries) <iframe id="iframe_like" class="social-iframe" height="20" src="http://www.facebook.com/widgets/like.php?width=122&show_faces=false&layout=button_count&href=http%3A%2F%2Fdict.longdo.com%2Fsearch%2Frelevant%20style=" padding:=" " 0"="" frameborder="0" width="122" allowtransparency="allowtransparency" name="fbLikeIFrame_0" scrolling="no"> (0.1053 seconds)
ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -relevant-, *relevant*.
English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
relevant [ADJ] เข้าประเด็น, See also: ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน, ตรงประเด็น, ซึ่งสัมพันธ์กัน, Syn. pertinent, Ant. irrelevant
relevant [ADJ] สำคัญ, See also: มีความหมาย, Syn. essential, significant
อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก royin.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
relevant เกี่ยวกับประเด็น, เกี่ยวเนื่อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
relevant เกี่ยวเนื่อง [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
relevant evidence พยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
relevant fact ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็น [ดู evidential fact] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
**** ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำว่า relevant **** จาก Tanaka JP-EN Corpus
relevant I hope this expense report contains all the relevant business expenses because I'm not paying a cent more after this.
relevant They found out truth while examining a pile of relevant documents.
relevant Your question is not relevant to the subject.
relevant The content of his speech is not relevant to the subject.
English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
relevant (เรล'ลิเวินทฺ) adj. เข้าประเด็น,ตรงประเด็น,สัมพันธ์กัน,เข้าเรื่องกัน, See also: relevantly adv., Syn. pertinent,apt,related
irrelevant (อิเรล'ละเวินท.) adj. ไม่เกี่ยวข้อง,ไม่ถูกจุด,ไม่ตรงประเด็น.
English-Thai: Nontri Dictionary
relevant (adj) สัมพันธ์กัน,เข้าเรื่อง,ตรงประเด็น
irrelevant (adj) นอกเรื่อง,ไม่ถูกจุด,ไม่ตรงประเด็น
Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ปัจจัยภายใน [N] internal factor, See also: relevant factor, Ant. ปัจจัยภายนอก, Example: ปัจจัยภายในที่ทำให้ผิวคนเราเสื่อมนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายตามกาลเวลา, Thai definition: เหตุภายในที่ทำให้เกิดผล
Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ไม่เกี่ยวข้อง [adj.] (mai kīokhøng) EN: irrelevant
นอกประเด็น [adj.] (nøk praden) EN: irrelevant ; beside the point ; not pertinent ; not germane ; inapposite ; immaterial FR: pas pertinent
ออกนอกเรื่อง [adv.] (øk nøk reūang) EN: divergently ; divertingly ; irrelevantFR: hors de propos
ผิดฝาผิดตัว [adj.] (phitfā-phittūa) EN: mismatched ; mistaken ; unrelated ; irrelevant ; in the wrong way
สัมพันธ์กัน [v. exp.] (samphan kan) EN: be related ; be involved ; have to do with ; be relevant to ; concern FR: interagir
ตรงประเด็น [v. exp.] (trong praden) EN: be relevant ; be pertinent
หมายเลขบันทึก: 602025เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 05:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาเรียนรู้ครับ

มีข้อมูลมากเลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท