ภาษี งบประมาณ กับ การพัฒนาประเทศ (ตอนที่6)


การปฎิบัติภารกิจแห่งรัฐ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อมีการจัดตั้ง สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในปี 2544 ภายใต้รัฐบาลที่มีนาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี

การจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากต้องการให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยราชการ มีคุณลักษณะรวมๆ ตามที่เล่ามาโดยมี พรบ รองรับเพื่อเป็นกรอบในการปฎิบัติภารกิจ ยังมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น เป็นครั้งแรก คือการกำหนดให้ กองทุนสามารถมี “งบประมาณเพื่อการดำเนินงานที่ชัดเจน” ในแต่ละปี ด้วยการเรียบเก็บค่าธรรมเนียมจาก ธุรกิจเหล้าและบุหรี่เป็นสัดส่วนกับ ภาษีที่ธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนี้ต้องจ่ายให้กับรัฐบาล โดยมีภาระกิจสำคัญคือ การนำเงินกองทุนไป “สนับสนุนกิจการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ”

การกำหนดให้หน่วยงานที่ปฎิบัติภารกิจแห่งรัฐ มีการบริหารในรูปแบบที่มีคณะกรรมการ สามารถมี งบประมาณที่ชัดเจน เพื่อนำไปปฎิบัติภารกิจตามกฎหมาย เป็นประเด็นที่ถกเถียงและมีพัฒนาการที่น่าสนใจ และสะท้อน “นโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย” รวมไปถึง “วิธีคิดในภาพรวมของระบบราชการ” คู่ขนานไปกับพัฒนาการทางการเมือง

ในกรณีของ สสส มีประเด็นสำคัญคือการ กำหนดให้กองทุนมีรายได้ที่ชัดเจน จากการจ่ายค่าธรรมเนียมโดยบริษัท สุรา และยาสูบ เป็นสัดส่วนกับภาษีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับรัฐ ตามกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง

แต่เงินที่จ่ายเข้ากองทุน ไม่ใช่ภาษีที่พึงจ่ายตาม กฎหมายภาษี

แปลว่า ถ้าไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนสร้างเสริมสุขภาพ บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ทุกปี

การให้ธุรกิจจ่ายเงินเข้ากองทุนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยมีการกำหนดเป็นสัดส่วนกับตัวเลขอะไรสักตัวหนึ่ง มาจากความเชื่อที่ว่า ภาระกิจของกองทุน มีความสัมพันธ์กับธุรกิจ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเข้ากองทุน

กองทุนสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่กองทุนแรกที่มีลักษณะเช่นนี้ กองทุนน้ำมัน ก็มีวิธีคิดคล้ายกัน แต่กองทุนสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกองทุนแรกที่มีเป้าหมายชัดเจนกำหนดให้ธุรกิจต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน ที่มีภาระกิจ อัน “อาจ” มีผลต่อการลดผลประกอบการของธุรกิจ แต่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสังคมโดยตรง

ที่ใช้คำว่า “อาจ” ก็เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า กองทุนไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อลดการบริโภคสุรา และยาสูบเท่านั้น แต่ภาระกิจสำคัญ คือการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งต้องทำมากกว่า เพียงการลดการบริโภคสุราและยาสูบ เพียงแต่ธุรกิจสองประเภทนี้ เป็น ปัจจัยเสี่ยง ต่อสุขภาพโดยตรง และเป็นปัจจัยเสี่ยงมีรายได้ที่ชัดเจน สมควรนำมาสนับสนุน กิจการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีขอบเขตมากกว่า เพียงการลดการบริโภคสุราและยาสูบเท่านั้น

แนวคิดการตั้งกองทุนแบบนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศแรกที่คิดขึ้น แต่เริ่มต้นขึ้นในประเทศตะวันตก ที่มีชื่อเสียงและเป็นต้นแบบคือ ในออสเตรเลีย และ แคนาดา แต่ต่อมาก็เป็นที่นิยมแพร่หลาย และกลายเป็นนโยบายที่ประเทศสมาชิก ขององค์การอนามัยโลกเห็นพ้องต้องกัน จนออกเป็น ข้อสรุปเชิงนโยบายขององค์การอนามัยโลก เมื่อราว 10 ปีก่อน และกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีตัวอย่างการทำงานของ สสส ไทยเป็นรูปธรรม

วิธีคิดทำนองการเกิดกองทุนที่เอาเงินจากธุรกิจ เพื่อนำไปทำภาระกิจ ที่อาจลดผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มีการใช้กับธูรกิจอื่นนอกเหนือจาก สุราและยาสูบ เช่นกองทุน big lottery fund ในประเทศอังกฤษ ที่มารายได้จาก การขายล็อตโต้ ก็นำมาสนับสนุนกิจการทางสังคม ที่จะมีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของสังคม ในหลากมิติ รวมถึงการลด หรือป้องกันการติดการพนัน

หมายเลขบันทึก: 599587เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2016 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2016 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีวันครูค่ะคุณสมศักดิ์

คุณยายแวะมาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท