จิตผ่องใส ใจเป็นสุข


เริ่มต้นการเปิดเทอมในรายวิชาจิตสังคมหัวข้อแรกของการเปิดเทอม....อาจารย์และนักศึกษากิจกรรมบำบัดได้รับความกรุณาจาก ผศ.สุภาวดี เลิศวรรณเอก มาช่วยทำให้เราเรียนรู้ความหมายของความสุขและความทุกข์ในแบบเข้าใจและปฏิบัติได้จริง


อาจารย์ตั้งคำถามในกลุ่มเด็กๆว่า เมื่อดูจากหัวข้อเรียน นศ.คิดว่าพวกเรามาทำอะไรกัน? นศ.มีคำตอบหลายหลายเช่น

  • อบรม?
  • ทำใจให้สงบ ทำให้คิดอะไรได้
  • น่าจะมาทำสมาธิให้จิตผ่องใส
  • สอนแนวทางทำให้รู้จิตใจผ่องใส สงบ คิดว่ามีแต่แลกเชอร์ ไม่คิดว่าจะมีกิจกรรม
  • ใจผ่องใส แล้วนำไปช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือเด็ก
  • ไม่ได้คิดอะไรมาก่อน ไม่ได้อ่านรายละเอียดรายวิชามา
  • การทำให้รู้สึกสบายใจ
  • ฝึกจิตให้สงบ นั่งสมาธิ
  • เป็นชื่อที่แปลก
  • ทำอย่างไรให้ใจเรามีความสุข
  • คิดว่าน่าจะเป็น meditation

วันนี้ได้เรียนรู้สติปัฏฐาน 4 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.nkgen.com/13.htm )และได้ฝึกวิปัสสนากรรมฐานในท่ายืน เดิน นั่ง กำหนดลมหายใจ ฝึกสติทุกขณะ ไปกับทุกอิริยาบถ เสียงต่างๆ ความคิดปิ๊งแวป/ฟุ้งซ่าน อารมณ์บวกลบ อุณหภูมิร้อน เย็น ความง่วง ความหิว ขาชา เจ็บ พอจบการปฏิบัติลุกแทบจะไม่ได้ เพราะนั่งท่าเดียวไม่เปลี่ยนเลย เจ็บ แต่พอได้หยุดจากการปฏิบัติรู้สึกมีความสุขมาก

หลังจากจบกิจกรรม อาจารย์ถาม นศ. ว่ามีคำถามอะไรไหม?และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

  • การจะทราบว่าท้องฟองหรือยุบ อยู่ตรงไหน? รู้สึกอึดอัด ตนเองหายใจแบบตั้งใจ ...หากอึดอัดก็ไห้บอกว่า อึดอัดหนอ อึดอัดหนอ อึดอัดหนอ
  • ให้สังเกตว่าขณะก้าวมีลักษณะจิตไวกว่าก้าว?
  • ขณะยืน รู้สึกว่าส่วนปลายแขนขาไม่มี แต่เมื่อกับมาคิดฟุ้งซ่าน ก็จะรู้สึกว่ามีอีกครั้ง ขณะนั่งรู้สึกอึดอัดตลอด ตอนเคลื่อนไหวรู้สึกสบายกว่า
  • ควรฝึกให้มีความสมดุลระหว่างท่านั่ง ท่ายืน ในเรื่อง เวลา
  • หากอยากทำต่อหลังจากหมดเวลาที่ตั้งไว้....ควรทำเท่าที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้เกิดกิเลศ หากอยากทำต่อให้ทำรอบใหม่
  • ถ้าไม่จับเวลาจะรู้ได้อย่างไรว่าครบเวลาแล้ว ...จิตที่ฝึกฝนบ่อยๆ กำหนดได้ แต่ผู้เริ่มฝึก ต้องอาศัยการจับเวลาช่วย
  • ขณะนั่ง และยืน เกิดตะคริว ....ควรยืดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ ส่วนสะโพก
  • ขณะปฏิบัติมี ผงะ....ก็ให้รู้ว่าผงะหนอ ผงะหนอ ผงะหนอ
  • เมื่อเกิดความทุกข์จะให้ถึงสุขได้อย่างไร? เมื่อเราเห็นทุกข์จนสุด แล้วทุกข์นั้นหายไป มีการเปลี่ยนแปลง เบาลง นั่นล่ะ “ความสุข”ทุกข์ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตามหลักปัจจัย
  • การปฏิบัติมีหลายเทคนิค หากชอบวิธีไหนให้เลือกเอง

หลังจากเรียนหัวข้อ “จิตผ่องใส ใจเป็นสุข” แล้วเป็นอย่างไรบ้าง?

  • ฟีลได้ สุขจริง ทุกข์จริง เวลาทำมีสมาธิมากขึ้น
  • รู้ว่าตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ ยังรู้สึกว่าระบุเป้าหมายไปที่การปวดมากเกินไป
  • ตอนแรกยังไม่ค่อยเข้าใจแต่ตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เข้าใจมากขึ้น
  • รู้สึกดี ลืมตาแล้วรู้สึกนิ่งขึ้น
  • ตอนลืมตาแล้วผ่องใส สงบ
  • ยังไม่ได้ตอบโจทย์ทั้งหมด ได้แนวทาง วันนึงอาจจะถึงเป้า
  • ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น นิ่งมากขึ้น ต่อยอดจะดีขึ้น
  • ตนเองกังวลมากเกินไป ยืน โอเคมากกว่านั่ง
  • ส่วนตัวแล้วไม่ชอบอะไรแบบนี้ ครั้งแรกที่ทำ ความสุขมากขึ้น แต่ความทุกข์ลดลง
  • เหมือนได้กลับไปมัธยมอีกครั้ง ช่วงแรกยังไม่เปิดรับ เดินคนละทางแต่ไปจุดหมายเดียวกัน
  • ความสุขคืออะไร ฟุ้งซ่าน ถ้าฝึกเยอะจะถึงสุขได้
  • สุขทุกข์ปะปน ฟุ้งซ่าน ทำให้มีแนวทางปฏิบัติ
  • เดิน โอเค สุขมากกว่า นั่งสุขตอนนาฬิกาดัง
  • เดินนำเข้าใจมากกว่า ตามตัวเองได้ ลืมไปเลยว่าทำได้
  • สุข:ทุกข์ 50:50 ฟุ้งซ่านเองตอนฟัง
  • หลุดบ่อย ทุกท่วงท่า ลืมตาบางครั้ง ลืมตาแล้วก็โล่ง สบาย สงบมากขึ้น
  • ได้อยู่กับตัวเอง คิดฟุ้งซ่าน วันๆฟังเราคิดมากขึ้น ได้เปลี่ยนมุมมอง
  • Feel relax, understand myself, decrease stress , very interesting technique

ขอบคุณค่ะ ^ ^

หมายเลขบันทึก: 599187เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2016 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท