งานสอนเป็นภาระเท่านั้นหรือ


หากอาจารย์สอนแบบใหม่ แบบที่ตนไม่ถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป แต่สอนแบบตั้งโจทย์ให้ทีม นศ. ทำงาน หรือทำโครงงาน อาจารย์เปลี่ยนมาทำหน้าที่โค้ช/คุณอำนวย/ผู้สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมเรียนรู้กับศิษย์ การสอนจะเป็นการเรียนรู้ของอาจารย์ ทั้งเรียนรู้สาระวิชาการในมุมมองใหม่ๆ และในบริบทที่หลากหลาย รวมทั้งเรียนรู้แนวทางการเรียนรู้ในรูปแบบไหม่ๆ

งานสอนเป็นภาระเท่านั้นหรือ

ในการประชุมสภา มช. เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ มีวาระเรื่อง “ข้อบังคับว่าด้วยภาระงานวิชาการขั้นต่ำของคณาจารย์” เข้าที่ประชุม มีการอภิปรายและให้คำแนะนำดีๆ มากมาย แต่นั่นไม่ใช่สาระของบันทึกนี้

ในที่ประชุมมีกรรมการสภาฯ ที่เลือกมาจากอาจารย์ อภิปราย มีสาระว่า อาจารย์มีภาระงานสอนสูงมาก การกำหนดให้ต้องมีผลงานวิชาการจึงเป็นแรงกดดันที่ไม่ค่อยเป็นธรรมต่ออาจารย์ ทำให้ผมนึกในใจว่า หากสอนตามแบบที่ทำกันในลักษณะถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป การสอนก็จะเป็นภาระจริง อย่างที่อาจารย์ท่านนั้นกล่าว

หากอาจารย์สอนแบบใหม่ แบบที่ตนไม่ถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป แต่สอนแบบตั้งโจทย์ให้ทีม นศ. ทำงาน หรือทำโครงงาน อาจารย์เปลี่ยนมาทำหน้าที่โค้ช/คุณอำนวย/ผู้สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมเรียนรู้กับศิษย์ การสอนจะเป็นการเรียนรู้ของอาจารย์ ทั้งเรียนรู้สาระวิชาการในมุมมองใหม่ๆ และในบริบทที่หลากหลาย รวมทั้งเรียนรู้แนวทางการเรียนรู้ในรูปแบบไหม่ๆ

การเรียนรู้ของอาจารย์ดังกล่าว จะกลายเป็นผลงานวิจัย หากอาจารย์รู้จักตั้งคำถามที่แหลมคม และแปลกใหม่

งานสอนจะเปลี่ยนจากกิจกรรมจำเจ และเป็นภาระ กลายเป็นงานสร้างสรรค์ที่สนุกสนานน่าตื่นเต้น ผมเคยเห็นบรรยากาศเช่นนั้น ในเวที Ted Talk ของการประชุมประจำปี R2R ประเทศไทย ในห้อง R2R ด้านการเรียนการสอน ในการนำเสนอของ ดร. เชษฐา แก้วพรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ เรื่อง ทักษะการตั้งคำถามต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๘

หมายเลขบันทึก: 599000เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2016 05:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2016 05:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท