เทคนิคการเป่าทรัมเป็ตเสียงสูง


เทคนิคการเป่าทรัมเป็ตเสียงสูง

การเป่าเสียงสูงได้อย่างชำนาญนั้นต้องผ่านการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการเป่าทรัมเป็ตมาเป็นเวลานานพอสมควร บางคนอาจจะใช้เวลาเพียงไม่นานแต่บางคนอาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนนานมากกว่าขึ้นอยู่กับความสามารถ และความเข้าใจในการปฏิบัติทรัมเป็ตของแต่ละบุคคล การเป่าเสียงสูงไม่เพียงแค่คำนึงถึงระดับเสียงที่ได้ แต่ควรคำนึงถึงคุณภาพของเสียงด้วย การเป่าเสียงที่สูงเกินกว่า high C (ในที่นี้หมายถึงโน้ตที่อยู่สูงกว่าเส้นน้อยเส้นที่ 2) อาจจะเกินความจำเป็นเพราะ95% ของนักทรัมเป็ตบนโลกนี้ มีสิทธิเจอโน้ตที่สูงสุดเพียง high C เท่านั้น แต่ถ้าคุณเป่าขึ้นสูงมากกว่าก็เป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแรงหรือ นักทรัมเป็ตแนว Jazz มักจะเป่าอยู่ช่วงเสียงสูงสูงหรือสูงกว่า high C เป็นปกติ แล้วอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยในการเป่าขึ้นเสียงสูงหรืออะไรบ้างที่จะช่วยเราให้เล่นเสียงสูงได้ดีขึ้นก่อนอื่นเราควรเข้าใจกระบวนการทำงานของร่างกายเรา

การขึ้นเสียงสูงมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 4 อย่าง ทั้งหมดนี้ต้องทำงานร่วมกันอย่างพอดี ไม่มีอันใดอันหนึ่งทำงานมากเกินไป ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้เรียกสั้นๆว่า “4Ps” ได้แก่

  1. Pucker (of the embouchure) ความแข็งแรงของริมฝีปาก
  2. Pressure (of the mouthpiece) แรงกดจากเมาส์พีช
  3. Push (of the air) แรงดันลม
  4. Placement (of the tongue) ตำแหน่งลิ้น

ทั้ง 4 อย่างนี้มีอิทธิพลต่อการเป่าในทุกๆระดับเสียง แต่จะนำเสนอตัวอย่างในการเป่าเสียงสูงดังนี้ เมื่อผู้เล่นเป่าเสียงสูง รูปปากของเราจะแน่นเข้ารูปมากกว่าเดิม การเป่าลม ดันลมเพื่อให้อัตราความเร็วลมเพิ่มขึ้น ส่วนตำแหน่งของลิ้นโค้งสูงขึ้นเพื่อทำให้ช่องปากเล็กลงเหมือนกับการรดน้ำต้นไม้ถ้าเราต้องการรดน้ำต้นไม้ที่อยู่ไกลๆ เราใช้มือบีบที่ปากรูให้เล็กลงน้ำจะไหลแรงขึ้นและพุ่งไกลกว่าเดิม รูในปากเราจึงเหมือนกับรูปากสายยางในที่นี้ และการวางเมาท์พีชก็สำคัญเช่นกันหากเราวางแนบลึกเกินไปหรือกดมากเกินไปจะทำให้ปากของเราไม่สามารถสั่นได้ต่อให้เป่าลมแรงแล้วก็ตามหรือหากเราวางเมาท์พีชหลวมเกินไป ลมที่เราเป่าจะไหลรั่วออกทำให้เป่าเสียงสูงยากและใช้ลมอย่างสิ้นเปลืองไร้ประสิทธิภาพ

เพราะฉะนั้นเพื่อความเข้าใจอย่างชัดเจนเมื่อจะขึ้นเสียงสูง 1.รูปปากเฟิร์ม 2.วางเมาท์พีชที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดแรงต้านที่พอดี 3.ดันลม 4.ตำแหน่งลิ้นโค้งสูง

แบบฝึกหัดเสียงสูง

1.คาบปากกา

การจะขึ้นเสียงสูงได้ตลอดทั้งวันคงเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถทำให้ระยะในการเล่นเสียงสูงนานขึ้นได้ด้วยการสร้างกล้ามเนื้อปากที่แข็งแรง เราทุกคนสามารถสร้างได้ในแต่ละวัน ไม่ต้องเร่งรีบและไม่ต้องเปรียบเทียบความสามารถกับใคร อีกวิธีที่สามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อนั้นคือ “การคาบปากกา”

การคาบปากกาจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณปากของเราให้มีความแข็งแรงมากขึ้น การคาบปากกาสามารถทำได้โดยนำปากกาความยาวที่เหมาะสมกับเรา นำปลายด้ามปากกาเข้าไปในปากเล็กน้อยเพียงพอที่จะใช้ฟันหน้ากัดเบาๆไว้ได้ หลังจากนั้นหุบริฝีปากลงเหมือนพูดคำว่า “M” รูปปากกระชับมากขึ้นให้ปากกาที่ชี้ออกจากตัวตั้งขนานแนวนอนกับพื้น ห้ามใช้กรามด้านล่างยื่นออกมาเด็ดขาด เราจะใช้ริมฝีปากล่างดันขึ้นให้ชนกับริมฝีปากบน ส่วนฟันเป็นฐานที่ไว้วางเฉยๆ เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าให้พักสักครู่แล้วทำต่อเพียงอีก 1-2 ครั้งเท่านั้นเพื่อไม่เป็นการหักโหมมากเกินไป สำหรับการคาบปากกาควรทำเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น

2.แบบฝึกหัด pp (pianissimo)

ในทุกๆระดับเสียงไม่ว่าเสียงต่ำ เสียงกลางหรือเสียงสูง และคำนึงถึงความไพเราะคุณภาพของเสียงด้วย ในการฝึกซ้อมนี้ต้องใช้ลมเร็วทำให้เกิดแรงบีบอัดของลม ซึ่งเราจะต้องควบคุมรูปปากให้เล่นด้วยระดับความเบาและให้มีความต่อเนื่องของเล่นโน้ตยาวๆด้วย

แบบฝึกหัดที่ 1 เมื่อเล่นจบ เล่นสูงขึ้นทีละครึ่งเสียง

แบบฝึกหัดที่ 2 เราสามารถเปลี่ยนไปเล่นใน Scale อื่นๆ ในทุก Major และ minor Scale ได้ หรือใส่เครื่องหมาย Slur เพื่อให้เกิดความสนุกน่าสนใจและท้าทายไม่ซ้ำเดิมได้

3.แบบฝึก Scale 2 octave

แบบฝึกหัดนี้ยังช่วยให้เราได้ฝึกซ้อมเกิดความชำนาญของ Scale และมีคุ้นเคยความคล่องมากขึ้นซึ่งจะช่วยพัฒนาเราเรื่องการ Sight reading ด้วย การฝึกนี้จำเป็นอย่างมากที่จะซ้อมต่อหน้ากระจกเพื่อที่เราจะได้ตรวจสอบตัวเองถึงการถือเครื่องที่ถูกต้อง เพราะเมื่อเราถือเครื่องในท่าที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ร่างกายเกิดอาการเกร็งและส่งผลเสียต่อคุณภาพของเสียง เพี้ยน อาการเกร็งเป็นเหมือนปิศาจที่ทำร้ายระบบการเป่าที่มีคุณภาพของเรา

แบบฝึกหัดที่ 3

สิ่งที่ควรคำนึงถึงตลอดเวลาการฝึกซ้อมคือ

  • ยืนหรือนั่งหลังตรง ไม่เกร็งไหล่
  • รูปปากเฟิร์ม พูด mmmmmm เพื่อเฟิร์มไปยังมุมปากไม่ฉีกยิ้มออก
  • หายใจเยอะๆ เมื่อไล่ลงเสียงต่ำ ไม่ผ่อนปากยังคงรูปปากเฟิร์มใช้ลมช้า อุ่น เพื่อคงคุณภาพของเสียงไว้
  • ไม่รีบร้อน ตรวจเช็คดูในกระจก หากทำไม่ได้ดี ให้พิจารณาการทำงานของร่างกายและแก้ไข
  • เมื่อจบ 1 scale ไล่ขึ้นทีละครึ่งเสียง เริ่มจาก Scale G จำไว้ว่าเมื่อขึ้นสูงขึ้นในแต่ละครั้ง เพิ่มความเร็วลม ควบคุมรูปปาก เป่าลมต่อเนื่อง ใช้ลม !

สุดท้ายขอฝากไว้ การฝึกซ้อมในแบบฝึกหัดข้างต้นนี้เป็นตัวอย่างให้กับผู้ที่เล่นทรัมเป็ตในระดับ Beginner และ Intermedia เราสามารถหาแบบฝึกหัดอื่นๆได้อีก แต่ในการฝึกซ้อมเสียงสูงนั้น ไม่ควรหักโหมเพราะเรากำลังสร้างกล้ามเนื้อไม่ใช่ทำลาย อาจพักวันเว้นวันหากเกิดอาการเหนื่อยล้า ความตั้งใจจะนำไปสู่ความสำเร็จ การฝึกซ้อมที่ดีจะทำให้เกิดความชำนาญและเป็นนักทรัมเป็ตที่มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน



อ้างอิง

Trumpet Pedagogy: A Compendium of Modern Teaching Techniques, David R. Hickman

Jonathan Harnum; All About Trumpet (2008)

การคาปปาก http://www.wilktone.com/?p=1517



หมายเลขบันทึก: 598745เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2015 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2016 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีข้อที่ 4 อยากทราบข้อที่ 4 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท