วัฒนธรรมการเรียงหิน(เเนวตั้ง)


วัฒนธรรมการเรียงหิน หรือ เรียงอิฐ หรือ ซ้อนหิน ที่เราอาจเห็นได้จากการไปเที่ยว เช่น อยุธยา สุโขทัย ปราสาทหินพนมรุ้ง หรือ ลัทธิเซน หรือที่บริเวณชุมชนของเราเอง ซึ่งความเชื่อในเรื่องการเรียงหินเหล่านี้ ในเเถบเอเชียเรามีความเชื่อที่คล้ายๆกัน บางที่เกี่ยวโยงกับศาสนา บางที่เกี่ยวโยงกับความเชื่อในพื้นที่ เเละบางที่เกี่ยวโยงกับความต้องการสร้างผลงานทางศิลปะ

หลายวันมานี้ ผมนั่งศึกษาเรื่อง การเรียงหิน หรือ การเรียงอิฐ ในข้อมูลที่อาจไม่ลึก เเต่พอสามารถอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างความเชื่อได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจากที่เราเห็นตามภาพที่ผมได้รวบรวมขึ้นนี้ คือ หลักฐานที่ทำให้เราเห็นว่า วัฒนธรรมการเรียงหิน มีทั้งในประเทศเเละต่างประเทศของเรา โดยเฉพาะในเเถบเอเชีย มีความเชื่อเรื่องนี้กระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งอิทธิพลของการเรียงหิน อาจสามารถมองได้ ดังนี้
๑. ปัจจัยทางศาสนา(การสอนเเละเรื่อสมาธิหรือความตั้งมั่น)
๒. ปัจจัยทางความเชื่อในพื้นที่(การอนุรักษ์ การไม่เบียดเบียน)
๓. ปัจจัยด้านวัฒนธรรมครั้งอดีต เช่น การซ้อนอิฐเป็นบ้าน หรือกำแพง
๔ ปัจจัยด้านปัจเจก(ความคิดสร้างสรรค์)
ในปัจจัยต่างๆ จากการศึกษา อาจสามารถอธิบายได้ ดังนี้
๑. อิทธิพลของศาสนา ในที่นี้ คือ ศาสนาพุทธ ลัทธิเซน ในเเถบอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น โดยมีศิลปการเรียงหินซ้อนกัน โดยมีความเชื่อว่า การซ้อนกันของหิน เปรียบเหมือน ความสมดุล ของศีล สมาธิ เเละปัญญา ซึ่งหินจะตั้งมั่นอยู่ไม่ได้เลยหากขาด หลักธรรมไตรสิกข้อนี้ ซึ่งเหมือนการปฏิบัติธรรม หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์จิโซ เรื่อง การเรียงหินรูปเจดีย์ เพื่อไถ่บาป ของลูกที่ตายก่อนพ่อเเม่ที่จะมีบาปที่ไม่ได้ตอบเเทนคุณ เมื่อตายไปเเล้ววิญญาณจะ อยู่ที่ซโนะคาวาระริมแม่น้ำซันสึ แล้วเรียงหินซ้อนกันเป็นเจดีย์เพื่อไถ่บาป หากเรียงได้สำเร็จก็จะได้ข้ามแม่น้ำซันสึไปยังแดนยมโลกเพื่อรอเวลาไปเกิดใหม่ ฯ
๒. อิทธิพลทางความเชื่อของพื้นที่ เช่น เมืองเก่า(อยุธยา) ปราสาทหินพนมรุ้ง เกาะหินงาม แหล่งโบราณสถานส่วนใหญ่ของกาฬสินธ์ุ เกาะหินงาม วัดบูลกุกซา(เกาหลี) เเละ บางพื้นที่ในร้อยเอ็ด ซึ่งมีความเชื่อที่คล้ายกัน โดยเชื่อว่า ๑) เรียงหินให้สูงๆอย่างเจดีย์แล้วตั้งจิตอธิษฐานจะได้สมหวัง ๒) ยิ่งเรียงให้สูงจะยิ่งรุ่งเรืองหรือได้บุญหรือโชคดี ๓) เป็นลักษณ์ว่าเรามาที่นี่เรามาสร้างบุญ ไม่ได้มาเบียดเบียนโบราณสถาน
๓. อิทธิพลด้านวัฒนธรรมความเชื่อครั้งอดีต ที่สั่งสมมาสู่ลูกหลาน ซึ่ง อาจอยู่บริเวณปราสาทหินของไทย ที่มีการสร้างปราสาทเเบบการเรียงหินซ้อนกัน ซึ่งอาจส่งผลถึงผู้คนให้เกิดความเชื่อบางอย่าง ให้เรียงหินหรืออิฐกองเล็กๆบริเวณข้างๆปราสาท เเละอาจมีความเชื่อเข้ามาเพิ่ม คือ นำไปสู่ความเจริญ ความมงคล หรือ เป็นบุญกุศล เป็นต้น
๔. ปัจจัยด้านปัจเจก หรือการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ ส่วนใหญ่จะเห็นฝรั่งเขาสนใจ เรียงเป็นประติมากรรมหิน หรือ อาจเป็นการฝึกสมาธิ หรือ เรียนรู้พุทธศิลป์ เป็นต้น
นอกจากนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยความเชื่อเรื่องหิน หรือการบูชาหินหรือศาสนาผี มาตั้งเเต่บรรพบุรษทั้งไทยเเละต่างประเทศ
สิ่งที่ผมกล่าวมาในข้างต้นนี้ เป็นเพียงข้อสังเกตุ การสอบถาม การหาหลักฐานชั้นตติยภูมิ เเละการเคยเห็นผ่านประสบกาณ์จริง ซึ่งอาจยังต้องศึกษาอีกมากเลยทีเดียว
........................................................

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๘

อ้างอิง

“หินตั้ง” 3 แบบ ในศาสนาผี 2,000 ปีมาแล้ว ที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2013/10/...

ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จะมาเรียงหินกันทำไมคร้าบบบ (มีรูป) http://pantip.com/topic/32439981

ศิลปะการเรียงหินแบบสมดุลธรรมชาติ http://www.clipmass.com/story/54642

เกาหลีวันสีสวย...“เคียงจู” คู่เคียงใจ http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?News...

หมายเลขบันทึก: 598534เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณกับข้อเขียนที่เผยแพร่..ค่ะ..

กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่.อาจมีมิติในทำนองเดียวกัน สร้างพระธาตุก็มิติจัดเรียงหินในตัวเอง


ขอบคุณสาระที่ชวนคิดตามมากๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท