บทเรียนจากโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (DHML)


สรุปบทเรียน AI

เมื่อเช้าได้คุยโทรศัพท์กับ อ.เดชา วสส. ชลบุรี ในฐานะ AI ร่วม ภายใต้การเรียนรู้ร่วมกับ LCC คลองสวน ๑๐๐ ปี (บ้านโพธิ์) หลังจากที่ได้คุยกับพี่ตุ้ย มือประสาน ๑๐ ทิศของ LCC เมื่อสองอาทิตย์ก่อน ซึ่งต้องขออภัยที่ไม่สามารถไปร่วมแลกเปลี่ยนในวันที่ 14-15 ธ.ค. นี้ได้ ซึ่งในส่วนที่อยากแชร์กับ ๑ ปีของการเติบโตภายใต้โครงการ DHML ในพื้นที่ตรงนี้ ได้แก่

๑) การได้เรียนรู้ตลอดเวลา (Learning) : ซึ่งผมยืนยันมาตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมโครงการจนถึงวันนี้ว่า ผมรู้สึกเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันจริงๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้รู้หรืออาจารย์ ผมได้เรียนรู้เสมอ ทั้งจากคนทำงานและปราชญ์ชุมชนที่สั่งสมองค์ความรู้มาเป็นเวลานานจนชำนาญมากกว่าการอ่านผ่านตำรา แต่เป็นตำราที่อยู่ในตัวท่านเหล่านั้นเอง ซึ่งจากตรงนี้ผมได้กำไรถึง ๓ ต่อ คือ การได้เรียนรู้--การได้แลกเปลี่ยนในสิ่งที่รู้--การนำความรู้ไปต่อยอดให้นักศึกษาในห้องเรียน

๒) ได้โอกาส (Opportunity) : การเป็น AI ร่วม เป็นโอกาสของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการอย่างดี ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และการขับเคลื่อนงานปฐมภูมิ ในภาพรวม ทำให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนทั้งจากฐานวิชาการ ประสบการณ์จริงของคนทำงาน และบริบทของชุมชนท้องถิ่น

๓) ได้เติมเต็มจากความหลากหลาย (Variety) : ซึ่งเป็นเสนห์หนึ่งของ DHML ที่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทั้งผู้ที่เข้าร่วมโครงการและพื้นที่ที่เราได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่แต่ละคน แต่ละ LT รวมถึง AI สามารถนำกลับมาเติมเต็มและหนุนเสริมการทำงานของทีมได้เป็นอย่างดี

๔) ได้ก่อให้เกิดพลัง (Empowerment) : ในการสร้างสรรค์งาน ซึ่งเป็นบันไดสำคัญที่จะนำไปสู่จุดหมาย ซึ่งโดยส่วนตัวคือการนำวิชาการบวกกับประสบการณ์ของ "เพื่อน" ร่วมทางสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมีทักษะการทำงานจริงหลังจบการศึกษา

อย่างไรก็ตามการพัฒนาต่อยอดในระยะที่สอง เป็นการเติมเต็มทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ตนเองและการเข้าใจผู้อื่น ซึ่งเกิดจากระยะแรก โดยมีเป้าระยะไกลอยู่ที่การพัฒนางานปฐมภูมิิอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะยึด ๑๑ modules ของการเรียนรู้ที่ถูกถอดออกมาโดยคุณหมอยงยุทธ และทีม ซึ่งหลาย modules อยู่ในเนื้อของการทำงานอยู่แล้ว เป็นเพียงการทบทวนและดึงออกมาใช้อย่างเป็นระบบ ที่เหลือคือการออกแบบการเรียนรู้ต่อยอดของแต่ละ LT ร่วมกับ AI และชุมชน ซึ่งจะเป็นการผสมผสานการเรียนรู้ทั้งเรื่องวิชาการ การจัดการ และทักษะอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการพัฒนางานปฐมภูมิแบบมีส่วนร่วมเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

โดยสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จจาก DHML ที่บังเอิญตรงกับภาษาอังกฤษว่า "L-O-V-E" ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ความรัก" แต่เป็นความรักที่ไม่ได้บังเอิญเกิดขึ้น หากแต่เป็นการถักถอความรักของเพื่อนร่วมทางปฐมภูมิที่งดงาม

ด้วยความเคารพรัก,

กิตติพงศ์

๙ ธ.ค.๒๕๕๘

คำสำคัญ (Tags): #DHML#สุขภาพอำเภอ
หมายเลขบันทึก: 598456เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท