การจัดการเรียนรู้ด้วยนิทาน (Tales based learning)


............การจัดการเรียนรู้เเบบนิทาน(Tales based learning) เป็นอีกรูปแบบการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับการสอนเด็ก เเละฝึกกระบวนการคิดของเด็ก ผ่านผู้เล่า สารที่เล่า สู่การรับสารนั้นๆ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ เเละวิถีการเรียนปนเล่น เเละเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยเน้นที่การฟัง เป็นการเสริมปัญญาทางการฟัง (สุตมยปัญญา,การฟังอย่างลึกซึ้ง) เมื่อเปลี่ยนให้เด็กมาเป็นผู้เล่าประกอบละคร เป็นการเสริมทักษะการสื่อสาร การแสดงออก จินตนาการ ความเชื่อ เเละสมาธิ (จินตมยปัญญา,ภาวนามยปัญญา)
............วัฒนธรรมของทุกชนชาติมีนิทาน ซึ่งนิทานเป็นเรื่องที่เเต่งขึ้นอาจมีเค้าโครงมาจากความจริงบ้าง เเต่มีจุดมุ่งหมาย คือ มุ่งสะท้อนเรื่องราวแห่งการเรียนรู้ทั้งเป็นรูปธรรม เเละนามธรรม นิทานนอกจากเกี่ยวโยงกับวิถีประชาเเล้ว ยังนิทานเกี่ยวโยงถึงศาสนาหรือหลักปรัญาเพื่อสอนคน เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานก้อม(ของชาวอีสาน) เป็นต้น
............นิทานจึงมีความสำคัญในการเสริมสร้างทักษะการฟัง เเละจินตนาการ ให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี การใช้นิทานในการเรียนการสอนจึงมีส่วนช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ในบริบทที่มีศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้เเบบนิทาน
............กิจกรรมเรียนรู้การเล่านิทาน จัดขึ้น ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โดยนิสิตสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ ๑ ได้เข้าร่วมเรียนรู้ นำโดย อ.ดร.ประสงค์ สายหงษ์ ที่เสริมทักษะการเล่านิทานให้นิสิต เพื่อเป็นต้นทุนในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ สู่ผู้เรียนให้เกิดปัญญา

จากการเรียนรู้ เทคนิคของการเล่านิทาน(Technic of storyteller) มีดังนี้
- Eye contact
- สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชม
- สื่อสารด้วยท่าทาง,ภาษามือ
- คำพูดซ้ำๆ,มีน้ำเสียงสูงต่ำ
- เล่าออกมาจากใจ,ส่งอารมณ์
- เล่าคนเดียว,เป็นคู่,เป็นกลุ่ม
- ใช้เพลงเสริมความสนุก
- จินตนาการสำคัญกว่าความจริงเชิงตรรกศาสตร์

ข้อควรคำนึง ในการสอนนิทาน หรือ เล่านิทานให้เด็กๆฟัง
- การไม่สรุปบทเรียนเป็นเเนวคิดเดียว เพราะในนิทาน ๑ เรื่องสามารถมีบทเรียนได้มากถึง ๑๘ บทเรียน หรือมากกว่านั้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการคิดให้เด็กเกิดการวิเคราะห์บทเรียนเเง่มุมต่างๆ ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา
- ผู้เล่าควรเชือมโยงมิติโลกในนิทาน(จินตนาการ) สู่มิติโลกความเป็นจริง(ความจริง) ให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพ เเละไม่ติดอยู่กับ หลักตรรกศาสตร์ มากเกินไป
- เมื่อเล่าเสร็จเเล้วควรมีกระบวนการในการถอดบทเรียน หรือสรุปบทเรียนร่วมด้วย
- ควรให้เด็กเกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยเเบ่งกลุ่มให้สร้างนิทาน หรือ กระบวนการอื่นๆ

............จากการเรียนรู้นิทาน เราได้มีโอกาส ไปเล่านิทานในพื้นที่จริง ณ โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล เเละโรงเรียนจันรัตน์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘


( โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล)

............จากการลงพื้นที่โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ การเล่านิทานให้เด็กพิเศษฟัง ในบริบทของโรงเรียนนี้ เเม้เป็นเด็กพิเศษ เเต่สามารถสื่อสารกับพี่ๆได้อย่างเป็นกันเอง มีมารยาทดี มีระบบพี่ช่วยเหลือดูเเลน้องที่เข้มเเข็ง ด้วยความพยายามของโรงเรียนที่มุ่งหวังให้เด็กเหล่านี้ได้จบการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับคนปกติ เเละสามารถพึ่งตนเองให้อยู่รอดได้ในสังคม ข้อสังเกต คือ เด็กหลายคนช่วยเหลือกันในการเรียนหรือทำกิจกรรม เด็กหลายคนเข้าใจสิ่งที่พี่สื่อสารเเละสนุกด้วย เด็กบางคนพูดไม่หยุดเลยตื่นเต้นมาก เเละเด็กบางคนยังอายอยู่ไม่กล้าเงยหน้าฟัง ระหว่างการเล่า เด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองทางการเรียนรู้ที่ถือว่าระดับดี มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ตั้งใจฟัง หลังจากเล่าเสร็จก็โบกมือ "บ๊าย บาย" คณะพี่ๆ ถือเป็นภาพที่ ทำให้เราย้อนกลับมามองว่า เด็กเขามีความตั้งใจที่จะอยู่ได้โดยพึ่งพาตนเอง ให้มากที่สุด เเม้จะเลือกเกิดไม่ได้ เเต่เลือกที่จะอยู่เพื่อเรียนรู้สู่การพึ่งตนเองได้ในอนาคต
............ความคาดหวังของครู เเละพ่อเเม่ คือ การสร้างภาวะการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นมากที่สุด เติมในส่วนที่ขาด ให้เขาสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติมากที่สุด กระบวนการจึงเน้นไปที่การเสริมสมองซีกซ้าย เเละให้สมองทั้ง ๒ ซีกทำงานไปพร้อมกันอย่างสมดุลมากที่สุด


( โรงเรียนจันทรัตน์)

............จากการลงพื้นที่โรงเรียนจันทรัตน์ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ การเล่านิทานให้เด็กปกติในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ฟัง ข้อสังเกต คือ เด้กส่วนใหญ่สนใจเเละตั้งใจฟังนิทาน เพราะ วิธีการเล่าเรื่องของพี่ๆสามารถดึงดูดเด็กให้เกิดความสนใจได้ ส่วนใหญ่เด็กจะชอบนิทานตลก เเละสนุก เนื้อเรื่องไม่ซับซ้อน สามารถคาดเดาจุดจบของเรื่องได้

............หลังจากได้เรียนรู้ทั้งมิติของเนื้อหาเเละประสบการณ์ตรง สามารถ "วิจักษณ์" การจัดการเรียนรู้เเบบนิทาน ได้ดังนี้
๑.จุดเด่น
- การเสริมสร้างทักษะทางการฟังเเละจินตนาการให้กับเด็ก นิทานเเต่ละเรื่องเหมาะสมกับเด็กเเต่ละวัย เช่น กระต่ายกับเต่าเหมาะกับเด็กชั้นอนุบาลหรือเด็กเล็ก นิทานเรื่องงูกัดใคร เหมาะกับเด็กชั้นประถมศึกษา วรรณกรรมที่เนื้อหาเเน่นเหมาะกับวัยผู้ใหญ่ เป็นต้น
- การเล่านิทาน เป็นการสร้างความสนใจให้เด็กเกิดสนใจในเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยอาจใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน หรือสรุปบทเรียน เพราะเด็กๆชอบฟังนิทาน
๒.จุดด้อย
- การเล่านิทานหากเล่าเดี่ยวสามารถทำให้เด็กสนใจได้จริง เเต่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ(ฐานกาย) น้อยมากเมื่อเทียบกับรูปแบบการเรียนรู้แบบอื่น
- การเล่าดดยใช้สมุดนิทานเป็นข้อจำกัดด้านการมองเห็น ของเด็กๆ สมุดนิทานจึงเหมาะกับเด็กจำนวนไม่มาก เเละเล่าในที่ที่มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด
๓.ทุน
- การสร้างการมีส่วนร่วม ในเชิงการปฏิบัติในเทคนิคการเล่า ให้มากขึ้นถึงขั้นให้เด็กคิด เเละเปลี่ยนมาเป็นผู้เล่าเเละผู้เล่น
- เทคนิคที่ครูมีเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้เสริม(Coach)
๔.โอกาส
- ให้เด็กได้กำหนดนิทานหรือเป็นเจ้าของนิทานที่เขาสามารถกำหนดเอง เเละความเป็นเจ้าของ โดยอาจใช้กระบวนการกลุ่ม หรือฐานเข้าช่วย
- เด็กฝึกทักษะการเล่าเรื่องเเละการเล่นละครประกอบเรื่อง โดยครูในบทบาททั้งครูผู้เสริมเเละครูผู้สอน

............การจัดการเรียนรู้ด้วยนิทาน เป็นเป็นอีกรูปแบบในการพัฒนาการศึกษาสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งต้องมีอีกหลายกระบวนการเเละปัจจัยเข้าเสริมเพื่อให้ได้ครบทุกทักษะ



ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘

หมายเลขบันทึก: 598328เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท