BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

รัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญ

รัฐ + ธรรมนูญ = รัฐธรรมนูญ

รัฐะ แปลว่า แว่นแคว้น ศัพท์นี้เข้าใจตรงกัน หรือยุคปัจจุบันจะใช้ว่า บ้านเมือง ก็เข้าใจง่ายกว่า ... คงเหลือ แต่ "ธรรมนูญ" ซึ่งผู้เขียนคิดมานานแล้ว เพิ่งเจอที่มาเมื่อคืน โดยได้ขยายความเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ว่า...

โย กิญฺจาปิ วิจารโณ ธมฺมานุรูปลญฺจนํ

อวหาราทฺยตฺถานํ โส ธมฺมานุญฺโญติ วุจฺจเร

และท่านได้แปลร้อยทำนองขยายความว่า "โย สภาโว อันว่าสถานะอันใด วิจารโณ พิเคราะห์ดู ธมฺมานุรูปลญฺจนํ ซึ่งกิริยาอันประทับฟ้องโดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป อวหาราทฺยตฺถานํ แก่กระทรวงความทั้งหลาย กระทรวงนครบาลเปนต้น กิญฺจาปิ แม้นโดยแท้ โส สภาโว อันว่าสภาวะประทับความควรแก่กระทรวงโดยธรรมนั้น วุจฺจเร อันมะโนสาราจารย์กล่าวไว้ ธมฺมานุญฺโญติ อิติ ชื่อว่าพระธรรมนูญ"

ซึ่งการแปลทำนองนั้น ทำให้ยากที่จะเข้าใจขึ้นไปอีก สำหรับนักบาลี (แต่ไม่รู้ประวัติกฏหมาย) ฉะนั้น จึงขอแปลใหม่พอให้นักบาลีเข้าใจได้ดังนี้ "โย สภาโว อันว่าสภาพใด วิจารโณ เป็นเครื่องตรวจสอบ ธมฺมานุรูปลญฺจนํ ซึ่งร่องรอยตามสมควรแก่ธรรม อวหาราทฺยตฺถานํ แห่งความหมายมีการขโมยเป็นต้น แม้โดยแท้ (โหติ ย่อมเป็น), โส สภาโว อันว่าสภาพนั้น (อาจริเยน อันอาจารย์) วุจฺจเร เรียกว่า ธมฺมานุญโญ อิติ ชื่อว่า ธัมมานุญญะ ดังนี้"

โดย ธัมมานุญญะ นี้เอง แปลงสัญชาติเป็นภาษาไทยว่า ธรรมนูญ

ตามนัยที่แปลมานี้ จะเห็นว่า ธัมมานุญญะ หรือ ธรรมนูญ ก็คือ หลักกฎหมาย นั่นเอง... และพอเป็น รัฐธรรมนูญ ก็หมายถึง หลักกฎหมายของบ้านเมือง นั่นแล

..................

ถ้าจะเพ่งเฉพาะศัพท์ตามนัยนักบาลี... ธัมมานุญญะ จะเป็น ธัมมะ + อนุญญะ

ธัมมะ แปลได้หลายนัย แต่ที่นี้ มีความเห็นว่า ข้อเท็จจริง น่าจะตรงประเด็นที่สุด

อนุญญะ มาจาก อนุ เป็นบทนำหน้า า ธาตุ (อนุ + ญา) และซ้อน ญ.เพิ่มมา...

ธัมมานุญญะ อาจวิเคราะห์ตามรูปศัพท์ได้โดยง่ายๆ ว่า...

ธมมานํ อนุรูปํ ชานาติ เตนาติ ธมฺมานุญฺโญ - " บุคล ย่อมรู้ ตามสมควร แก่ข้อเท็จจริง ด้วยสภาพนั้น ดังนั้น สภาพนั้น ชื่อว่า ธัมมานุญญะ (เป็นเครื่องรู้ตามสมควรแก่ข้อเท็จจริง) "

ดังนั้น รัฐธรรมนูญ จึงอาจแปลตามนัยบาลีโดยตรงได้ว่า "สภาพเป็นเครื่องรู้ตามข้อเท็จจริงของบ้านเมือง"

ซึ่งอาจขยายความว่าเป็น หลักการหรือกรอบระเบียบแห่งการปกครองบ้านเมือง

ส่วนผู้สนใจที่มาก็ตามลิงก์นี้ (คลิกที่นี้)

หมายเลขบันทึก: 598283เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท