"KM กับเทศกาลลอยกกระทงที่วัดดาว"


ชวนผู้นำจัดการความรู้ (ก่อนทำ) รอบ ๒

 

 วันอังคารที่   ๒๔   ตุลาคม   ๒๕๔๙ชไมพร   วังทองผู้ประสานงานพื้นที่วัดดาว : รายงาน   
± ทัศนียภาพใหม่บนพื้นที่เดิม 

            วันนี้ต้องรีบเดินทางออกจากบ้านแต่เช้าเนื่องจากเมื่อวานได้ลงพื้นที่หัวไผ่จ.สิงห์บุรีกันกับคุณอัฒยาผู้ประสานงานพื้นที่ภาคกลางของสรส.อีกท่านหนึ่ง

           จริงๆวางแผนเอาไว้ว่าจะพักค้างคืนที่บ้านคุณอัฒยา ที่ ต.หลักแก้ว อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง แต่ก็ไม่สามารถพักค้างคืนได้ เนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่หลักแก้วทั่วสารทิศไปหมด ทำให้สมาชิกครอบครัวของพี่อัฒต้องหนีน้ำมานอนรวมกันที่บ้านใหญ่ของพี่อัฒทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับชไมพรผู้นี้ ผลสรุปต้องเดินทางไปกลับมานอนที่บ้าน ที่ ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี 

           ในวันนี้เลยต้องรีบออกจากบ้านแต่เช้าตรู่เพื่อมาร่วมเวทีผู้นำวัดดาว ต.วัดดาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ในการเตรียมงานลอยกระทง รอบ ๒ (ชาววัดดาวช่างเข้มข้นเรื่อง KM ต่อการย้ำคิด..ย้ำทำจริงๆ)             ๐๙.๐๐ น.เป็นเวลานัดหมายพบเจอคณะทำงานสรส. ณ ปั๊มคาลเท็กซ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยการลงพื้นที่ร่วมกันครั้งนี้มีด้วยกัน ๓ ท่าน คือ คุณอัฒยา(ผู้ประสานงานพื้นที่ภาคกลาง ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี), คุณปิยะวดี(น้องแอน ฝ่ายสื่อ สรส.) และผู้เขียนเอง            เดินทางเข้าบางปลาม้าสู่ตำบลวัดดาวได้สังเกตทัศนียภาพข้างทางบนเส้นทางการทำงานเส้นเก่าแต่รูปโฉมเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากน้ำท่วมเต็มถนนสองข้างทางไปหมด แลดูเหมือนมาเที่ยวลุ่มแม่น้ำแม่กลองยังไงก็ไม่รู้ สังเกตเห็นว่าสองฟากทางมีเรือเร่หาปลาเต็มไปหมด คงไม่รู้จะทำอะไรกันนอกจากการทำวิกฤตให้เป็นโอกาสกระมัง (ดีกว่าอยู่เฉยๆเนอะ) ± แม้ภาวะน้ำท่วมจะเริ่มวิกฤติ...แต่งานของชุมชนต้องเดินต่อไป             ตามเวลานัดหมายการประชุมครั้งนี้ คือ ๑๐.๐๐ น.    อบต.วัดดาว กลุ่มผู้นำท้องถิ่นต่างทยอยเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส แม้ว่าพื้นที่วัดดาวจะถูกน้ำท่วมไปหลายหลังคาเรือนโดยต่างบอกว่าหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมามากมาย แต่ทุกท่านยังยิ้มได้ บางท่านก็ว่า ท่วมจนเป็นเรื่องปกติ บางท่านก็ว่า ก็ท่วมไปแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร..ต้องทำใจอย่างเดียว คงเป็นเรื่องของการวางจิตวางใจให้เป็นเรื่องธรรมดาของคนตำบลวัดดาวไปเสียแล้ว ผู้เขียนรู้สึกทึ่งในการทำใจและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นของคนวัดดาวมากๆ ทั้งเรื่องสำคัญเร่งด่วนอย่างการเตรียมการป้องกันภัยน้ำท่วม หรือแม้กระทั่งเรื่องของงานเทศกาลชุมชนที่ต้องร่วมกันจัดเตรียมงานอย่างเช่นงานลอยกระทงที่จะถึงนี้ แต่ผู้นำวัดดาวก็สามารถรวมจิตรวมใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันและพร้อมที่จะจัดงานร่วมกันโดยไม่มีการล้มเลิกความคิดต่อการจัดงานลอยกระทงในปีนี้  ซึ่งการประชุมเตรียมงานครั้งนี้มีกลุ่มผู้นำที่เข้าร่วมเสนอแผนงาน ดังต่อไปนี้
  • ฝ่ายบริหารของอบต.วัดดาว
  • สมาชิกอบต.วัดดาว ทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน
  • สำนักปลัดอบต. และ เจ้าหน้าที่ของอบต.วัดดาว
  • กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน - ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 
  • เจ้าหน้าที่อนามัยตำบลวัดดาว (คุณหมอสมทรง)
  • ผอ.โรงเรียนวัดดาว (ผอ.ทรงวุฒิ) 
  • ตัวแทนกลุ่มสตรีวัดดาว
  • ตัวแทนกลุ่มอสม.ประจำตำบล
 ± เวทีทดสอบคุณอำนวยชาวบ้าน             วันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นายกประทิวเดินกระบวนการเองจากการพูดคุยเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันก่อนหน้าที่จะจัดเวทีโดยการเป็น คุณอำนวย ในเวทีเพื่อเป็นบททดลองว่าสามารถจัดการเวทีโดยการชวนคุยกับผู้นำท้องถิ่นหลายๆฝ่ายในอบต.ได้หรือไม่ แผน ๑  แบ่งกลุ่มตามหน้าที่เพื่อระดมแผนงาน และนำเสนอ (โดยให้เวลา ๑๕ นาที) แผน ๒  ให้กำนันสมจิตรเป็น ผู้ช่วยคุณอำนวย พร้อมกับให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ กลุ่มที่ ๑ คณะกรรมการประสานงานและอำนวยการ            นำเสนอแผนงานโดย : นายประทิว  รัศมี (นายกอบต.วัดดาว)            แผนโดยสรุป  เป็นการระบุเรื่องของขอบเขตเวลาในการจัดงานของแต่ละฝ่าย ตลอดจนหากเกิดปัญหาการทำงานภายในที่ขัดข้องขอให้ประสานโดยตรงกับคณะกรรมการประสานงาน  กลุ่มที่ ๒ คณะโฆษก / พิธีกรบนเวที            นำเสนอแผนงานโดย : ผอ.ทรงวุฒิ  ศรีจันทร์งาม (ผอ.ร.ร..วัดดาว)            แผนโดยสรุป  เป็นการระบุกำหนดการของเวทีประกวดนางนพมาศโดยแบ่งการประกวดเป็น ๔ รอบ แล้วคั่นเวลาด้วยเพลง ระยะเวลาการประกวดสิ้นสุดเวลา ๔ ทุ่มพอดี  กลุ่มที่ ๓ คณะกรรมการประชาสัมพันธ์            นำเสนอแผนงานโดย : นายชำเลือง  ม่วงน้อย (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)            แผนโดยสรุป  จะออกประชาสัมพันธ์โดยรถยนต์ก่อนวันงาน ๒ วันจากนั้นจะใช้หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ  นอกจากนี้จะออกประกาศโฆษณาทางวิทยุชุมชน ๓ สถานีอันเป็นตำบลข้างเคียง กลุ่มที่ ๔ คณะกรรมการจัดประกวดนางนพมาศ            นำเสนอแผนงานโดย : นางภูษิดา การะวงษ์ (ผู้ใหญ่บ้าน ม.๖)            แผนโดยสรุป  เป็นการรายงานถึงผลความคืบหน้าของการจัดการประกวด โดยขณะนี้มีบางหมู่ที่ไม่สามารถหานางนพมาศประกวดได้ มี ๒ หมู่ คือ ม.๖ และ ม.๙ โดยผญ.ภูษิดารับปากว่าจะรีบจัดหาเพื่อความพร้อมของตำบล กลุ่มที่ ๕ คณะกรรมการให้คะแนนและตัดสินผลการประกวด (กระทงสวยงาม และนางนพมาศ)นำเสนอแผนงานโดย : นางสมทรง  ภักดีนารท (เจ้าหน้าที่อนามัยวัดดาว)            แผนโดยสรุป  เป็นการเสนอเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อให้ทุกท่านรับทราบ และนำไปจัดเตรียมความพร้อมในแต่ละหมู่ทั้งเรื่องของกระทงสวยงาม และการส่งนางนพมาศเข้าประกวดในแต่ละหมู่ กลุ่มที่ ๖ คณะกรรมการทำบุญด้วยเสียงเพลง            นำเสนอแผนงานโดย : นายชำเรือง  ม่วงน้อย (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)            แผนโดยสรุป  เป็นการนำเสนอกระบวนการการเตรียมการโดยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่อบต.วัดดาว โดยการให้ส่งรายชื่อผู้ที่จะร้องเพลงก่อนวันงาน ๒ วัน และให้เตรียมเพลงหรือเตรียมแผ่นเพลงที่จะร้องมาด้วยอีกทั้งยังมีการนำเสนอบทเรียนครั้งที่แล้วเพื่อให้ครั้งนี้ทุกท่านช่วยกันแก้ไข กรณีของรางวัลที่ได้และก่อนการร้องเพลงขอให้ทำบุญลงกล่องให้หมดเพื่อให้ร่วมทำบุญให้กับทางวัดเพราะปีที่แล้วมีการร้องเพลงแต่ไม่ยอมทำบุญกันหลายท่าน ในปีนี้จึงอยากให้สมาชิกแต่ละท่านช่วยกันดูแลด้วย กลุ่มที่ ๗ คณะกรรมการจัดสถานที่และบริการและดูแลความเรียบร้อย            นำเสนอแผนงานโดย : นายสมจิตร  ทับทิมขาว (กำนันต.วัดดาว)            แผนการทำงานไม่ยุ่งยากมากเพราะกำนันสามารถจัดเตรียมคนเพื่อจัดสถานที่ได้ โดยการรักษาความสงบให้เป็นหน้าที่ของอปพร. กลุ่มที่ ๘ คณะกรรมการดูแลรักษาความสะอาดของงาน            นำเสนอแผนงานโดย : นายมานิตย์  มานะวิน (นายกอบต.วัดดาว)            แผนงานโดยสรุป  เป็นการระดมหามติในเวทีเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างส.อบต.ในการรักษาความสะอาดบริเวฯรอบนอกงาน โดยระหว่างหารือความเป็นคนยึดกฎระเบียบและหัวโบราณเมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากฝ่ายท้องที่ให้ช่วยเตรียมการเรื่องการทำความสะอาดห้องน้ำด้วย ลุงมานิตย์ถึงกับของขึ้นและมีวาจาที่ว่าฝ่ายท้องที่ เป็นเหตุให้นายกประทิวต้องรีบตัดบทเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย (นายกประทิวเริ่มมีทักษะคุณอำนวยชั้นเซียนแล้วซิ)       ข้อสรุปของการรักษาความสะอาด ส.อบตมีมติให้จัดจ้างคนทำความสะอาดบริเวณงาน ทั้งภายนอกงานและในห้องน้ำของวัดดาวเป็นเงิน  ๕๐๐ บ. กลุ่มที่ ๙ คณะกรรมการประสานงานแสง สี เสียง และเวทีการแสดง            นำเสนอแผนงานโดย : นายสำราญ อุบาลี (รองนายกอบต.วัดดาว)            แผนงานไม่มีปัญหา จัดการได้เรียบร้อยดี  กลุ่มที่ ๑๐ ผู้เชิญรางวัล / ของขวัญนำเสนอแผนงานโดย : น.ส.สุพัตรา สร้อยทอง (เจ้าหน้าที่อบต.วัดดาว)            แผนงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถจัดการได้ตรงตามที่ต้องการของทุกฝ่าย ± นายกประทิวชวนเติมเต็มให้งานสมบูรณ์            เมื่อแต่ละฝ่ายได้นำเสนอแผนงานแล้วนั้น นายกประทิวได้ชวนคุยต่อเพื่อให้งานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการบอกข้อจำกัดในการจัดงาน ๒ ประเด็น คือ         ๑) ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่จัดงาน   เพียง ๒๐,๐๐๐- บาท   ๒) ข้อจำกัดเรื่องเวลาการจัดงานที่ต้องเลิกช่วงเวลา    ทุ่มเท่านั้นดังนั้น แผนการทำงานแต่ละฝ่ายจำเป็นต้องรับทราบเรื่องของการเตรียมการ  เวลาแต่ละช่วงการแสดงเพื่อให้สามารถจบงานลอยกระทงปีนี้ภายในเวลาสี่ทุ่มเท่านั้น             ชี้แจงเรื่องเงิน..ให้เข้าใจตรงกัน            จากนั้นเป็นการชี้แจงรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการจัดงาน ซึ่งปีนี้งบประมาณที่ต้องใช้จริงรวมเบ็ดเสร็จแล้ว ๒๑,๐๐๐- บาท แต่นายกประทิวจะขอลดค่าใช้จ่ายเรื่องของการจัดทำของขวัญเพื่อให้งบประมาณลงตัวที่ ๒๐,๐๐๐- บาทพอดี             เตรียมคน..เตรียมความพร้อม ต่อการทำกระทงขายในงาน            นายกประทิวใช้กลวิธีในการโยนคำถามเพื่อถามความสมัครใจผู้เข้าร่วมประชุมว่า จะสามารถจัดการเรื่องการเตรียมทำกระทงขายอย่างไร? ซึ่งได้ข้อสรุปจากมติที่ประชุมว่าจะจัดคนมาช่วยทำกระทง หมู่ละ ๕ คน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มอสม. หรือ กลุ่มสตรีฯ แล้วแต่ความสมัครใจ โดยผอ.ทรงวุฒิ จะเป็นตัวแทนเลี้ยงข้าวชาวบ้านที่มาช่วยทำกระทงการกุศลครั้งนี้เอง(ใจบุญจริงๆ) โดยให้แต่ละหมู่ช่วยจัดเตรียมสิ่งของเพื่อมาทำกระทงด้วย            สุดท้าย..ให้ป.อัฏฐพล เสถียรธนานันท์(ปลัดอบต.วัดดาว) เป็นผู้ขมวดประเด็นสำคัญจากการประชุม± แวะเยี่ยมบ้านนายก พร้อมกับหาโอกาส AAR ไปด้วย            การประชุมเตรียมงานลอยกระทง เลิกประชุมเมื่อเวลา ๑๓.๒๐ น. (หิวข้าวตาลายมากๆ) แต่เมื่อเห็นว่าผู้นำกำลังตื่นตัวเรื่องการเตรียมภัยป้องกันน้ำท่วม อีกทั้งเมื่อเช้าได้ยินจากแอน(เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯวัดดาว) โดยบอกว่าบ้านนายกน้ำกำลังจะท่วม วันนี้เลยชวนทีมสรส. มีพี่อัฒ, น้องแอน ร่วมไปเยี่ยมเยียนบ้านนายกกัน (จริงๆเป็นการหาโอกาส AAR กับนายกด้วยแหละ) ระหว่างที่เดินทางไปบ้านนายกประทิว น้ำจะท่วมเต็มท้องทุ่ง ๒ ข้างทางเหมือนแม่น้ำสายใหญ่เลย มีคนพายเรือหาปลา ๒ ฟากทาง มีนกสวยๆเต็มไปหมด แอนเขาก็เลยขอแวะเก็บภาพสวยๆ ไปตลอดทาง เพื่อนำไปทำสื่อหรือสคริปต์งานพื้นที่วัดดาวซะเลย (ขยันจริงๆฝ่ายสื่อของเรา)             นายกประทิวเองค่อนข้างเครียดกับเรื่องน้ำจะท่วมบ้านทำให้เราต้องปรับกลยุทธ์โดยการเดินเที่ยวชมบ้านนายกเพื่อดูสถานการณ์น้ำท่วม โดยคุยเรื่องงานของวันนี้ไปด้วย(พยายามทำให้เนียนที่สุด) โดยนายกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกับพวกเราเพื่อเป็นการ AAR แลกเปลี่ยนกัน ดังนี้
  • นายกประทิวค่อนข้างพอใจ เพราะการเตรียมงานค่อนข้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถจัดการได้อย่างดีทุกฝ่าย
  • นายกบอกว่า วันนี้ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ คิดว่าตนเองค่อนข้างเป็นคุณอำนวยที่ใช้อำนาจเผด็จการตลอดเวลา เพราะตนเองจะเริ่มคิดได้ก็ต่อเมื่อทางสรส.บอกว่านายกจะถามเขาทำไม เพราะมันเป็นคำถามปลายปิด ยกตัวอย่างคำถามของนายกเช่น นายกถามว่า ฝ่ายประชาสัมพันธ์คงไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรใช่ไหมครับ คำถามนี้ทำให้ผู้ถูกถามไม่กล้าตอบ คงคิดในใจว่า..ไม่กล้ามีค่าใช้จ่ายแน่ๆ เป็นต้น
  • สรส.ประเมิณว่า นายกสามารถจัดการปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เป็นทักษะที่เพิ่มขึ้นในการเป็น คุณอำนวยชาวบ้าน สังเกตได้จากการที่นายกสามารถจัดการความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในการพูดคุย สรส.ร่วมประเมิณว่า เป็นการจัดการเวทีที่ดี เห็นภาพการทำงานของแต่ละฝ่ายชัดเจน บทบาทที่ถูกรับผิดชอบทุกฝ่ายต่างร่วมรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี
  • สรส. ให้ข้อเสนอแนะกับนายกว่า ได้เล็งเห็นจุดแข็งของคนวัดดาว แม้ว่าจะเจอวิกฤตสถานการณ์น้ำท่วม แต่การทำงานที่เป็นภาพรวมของตำบลคนตำบลวัดดาวจะมารวมใจโดยไม่มีการปริปากบ่นหรืออยากยกเลิกงานเลย เป็นตัวชี้วัดได้ว่า คนวัดดาวมีเครื่องยึดโยงในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณี, เทศกาลชุมชน ที่มีการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมสร้าง เพื่อผลงานที่เป็นภาพรวมของคนวัดดาวจริงๆ
  • เห็นภาพการทำงานของคนวัดดาวระหว่าง ท้องถิ่น กับ ท้องที่ แม้จะมีความขัดแย้งในการทำงานระหว่างกันเท่าใดก็ตาม แต่ก็มารวมตัวทำงานเพื่อชุมชนได้เสมอ โดยสรส.ให้ข้อสังเกตจากเมื่อครั้งการเตรียมงานบุญสารท เดือน ๑๐ พี่นุกูล(ส.อบต.) มีปัญหาการทำงานกับพี่ชำเรือง(ผช.ผญ) จนทางสรส.คาดว่าคงไม่ทำงานร่วมกันแล้ว แต่ในเวทีนี้เห็นว่าทั้ง ๒ คน นั่งทำงานร่วมกันได้ โดยไม่มีท่าทีอคติในใจ ทางทีมสรส.คิดว่าพี่ชำเรืองที่ผ่านเวทีอบรม ธรรมะกับการทำงานชุมชนอาจเป็นผู้ที่ยอมปรับทัศนคติตนเองมีการปล่อยวางมากกว่าด้านพี่นุกูลที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการอบรมจากสรส.และมักเป็นคนที่มีความคิดยึดติดกับการทำงานของตนเอง(ค่อนข้างมีความเป็นตัวตนสูและเป็นคนแรงมากกว่าง) ทางสรส.รู้สึกดีใจแทนที่คนตำบลวัดดาวสามารถปรับเรื่องของความขัดแย้งมาทำงานร่วมกันได้อย่างดี
  • เห็นแววการทำงานของการเป็นคุณอำนวยชาวบ้านรุ่นต่อไป โดยมี
กำนันสมจิตร  ทับทิมขาว  (กำนันต.วัดดาว)พี่ชำเรือง ม่วงน้อย (ผช.ผญ.)พี่สุวัฒน์  คล้ายมาลา (ส.อบต.ม.๗)
  • เห็นแววการทำงานของคุณบันทึกในชุมชน แต่คิดว่าต้องให้นายกประทิวเป็นคนสั่งการแต่ให้เป็นการสั่งการในลักษณะอ้อมๆ ไม่บอกให้เขารู้ตรงๆในการเป็นคุณบันทึกประจำตำบล  โดยมี
ป.อัฏฐพล  เสถียรธนานันท์  (ปลัดอบต.วัดดาว)แอน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต.วัดดาว)
  • เตรียมวางแผนการจัดทำสื่องาน KM ร่วมกัน โดยในวันที่ ๔ พ.ย.๔๙ แอน.สรส. จะลงมาเก็บภาพการเตรียมงาน โดยเก็บภาพการเตรียมงานที่วัดดาว, เก็บภาพการโฆษณาทางหอกระจายข่าวและทางรถยนต์, การโฆษณาออกทางวิทยุชุมชน อย่างน้อย ๑ สถานี (จาก ๓ สถานี) โดยมีนายกประทิวเป็น คุณเอื้อ พาไปเก็บภาพร่วมกัน
  • วันที่    พ.ย.  ๔๙  สรส.จะลงมาเก็บภาพงานทั้งหมด โดยประสานการทำงานร่วมกับนายกเป็นระยะๆหากต้องการเก็บประเด็นต่างเพิ่มเติม
 ± ขอเลื่อนงาน เวทีพ่อแม่ ออกไปก่อน            จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ทำให้นายกประทิวเอ่ยปากกับสรส.ว่า ขอเลื่อนงาน เวทีเปิดหัว ร.ร.พ่อแม่ต.วัดดาว ออกไปก่อน โดยยังไม่สามารถระบุวันที่จะจัดเวทีได้คงต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายไปบ้างเพราะนายกประเมิณว่า ชาวบ้านคงไม่มีกะจิตกะใจมานั่งฟังเรื่องการดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน หรือมานั่งฟังวิทยากรในขณะที่บ้านของตัวเองน้ำท่วมจะตายอยู่แล้วแน่ๆ  จริงๆ ก็อยากจะจัดงานซักทีเพราะเลื่อนมาหลายครั้งแล้ว แต่สถานการณ์ไม่อำนวยให้คนวัดดาวเลยสักครั้งหรือว่างานโรงเรียนพ่อแม่มันมีอาถรรพ์อะไรหรือเปล่าวะ (เป็นคำถามของนายกที่ทิ้งให้เราได้คิด เลยนึกไปถึงคุณพี่จิ๊บหรือว่าคำตอบนี้คุณพี่จิ๊บต้องเป็นคนตอบ ฮ่าๆๆ)            ทั้งสถานการณ์พื้นที่หัวไผ่ กับ พื้นที่วัดดาว ไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่คนวัดดาวเขาค่อนข้างชินกับเรื่องของภาวะน้ำท่วมที่เจอะเจอมาทุกปีมากกว่าคนหัวไผ่เท่านั้นเอง แต่ทางทีมที่ลงพื้นที่ครั้งนี้ต่างคิดว่าในใจของคนทั้ง ๒ พื้นที่ ต่างก็คงหวั่นๆไม่แพ้กันอยู่เท่าไหร่นักเพราะยิ่งน้ำท่วมมากเท่าไหร่ คนเราก็จะยิ่งเครียดมากขึ้นเท่านั้น หรือครั้งนี้จะเป็นโจทย์ใหม่ให้สรส.ได้คิดว่า จะเอาวิกฤติเป็นโอกาสในการทำงานได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าคิดทั้งนั้นถ้ามันเป็นเรื่องสร้างสุขโดยใช้เครื่องมือ KM  

 

หมายเลขบันทึก: 59822เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท