kajeab
นางสาว นางสาวเบญจวรรณ เจี๊ยบ สังข์ทอง

คนสําคัญที่ดําเนินการจัดการความรู้


คนสําคัญที่ดําเนินการจัดการความรู้

คนสําคัญที่ดําเนินการจัดการความรู้

1.ผู้บริหารสูงสุด (CEO)
          จัดได้ว่า “โชคดีที่สุด” สําหรับวงการจัดการความรู้ ถ้าผู้บริหารสูงสุดเป็นแชมเปี้ยน (เห็นคุณค่า และดําเนินการผลักดัน KM) เรื่องที่ว่ายากทั้งหลายก็ง่ายขึ้น ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการ ความรู้ โดยกําหนดตัวบุคคลที่จะทําหน้าที่ “คุณเอื้อ (ระบบ)” ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิบดี, รองผู้อํานวยการใหญ่ (Vice President)

 ๒. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer-CKO)
           ถ้าการริเริ่มมาจากผู้บริหารสูงสุด “คุณเอื้อ” ก็สบายไปเปลาะหนึ่ง แต่ถ้าการริเริ่มที่แท้จริงไม่ได้มา จากผู้บริหารสูงสุด บทบาทแรกของ “คุณเอื้อ” ก็คือ เอาหัวปลาไปขายผู้บริหารสูงสุด ให้ผู้บริหารสูงสุด กลายเป็นเจ้าของ “หัวปลา” ให้ได้ บทบาทต่อไปของ “คุณเอื้อ” คือ การหา “คุณอํานวย” และรวมกับ “คุณ อํานวย” จัดให้มีการกําหนด “เป้าหมาย/ หัวปลา” ในระดับย่อยๆ ของ “คุณกิจ/ ผู้ปฏิบัติงาน”, คอยเชื่อมโยง “หัวปลา” เข้ากับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ขององค์กร, จัดบรรยากาศแนวราบ และการ บริหารงานแบบเอื้ออํานาจ (empowerment), ร่วม share ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อ ประโยชน์ในการดําเนินการจัดการความรู้โดยตรง และเพื่อแสดงให้ “คุณกิจ” เห็นคุณค่าของทักษะดังกล่าว, จัดสรรทรัพยากรสําหรับใช้ในกิจกรรมจัดการความรู้ พร้อมคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรม สร้างสรรค์อื่นๆ ทั้งภายในและนอกองค์กร, ติดตามความเคลื่อนไหวของการดําเนินการ ให้คําแนะนําบาง เรื่อง และแสดงท่าที ชื่นชมในความสําเร็จ อาจจัดให้มีการยกย่องในผลสําเร็จและให้รางวัลที่อาจไม่เน้น สิ่งของ แต่เน้นการสร้างความภาคภูมิใจในความสําเร็จ

๓.คุณอำนวย (Knowledge Facilitator-KF)
           เป็นผู้คอยอํานวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสําคัญของ “คุณอํานวย” อยู่ที่การเป็นนัก จุดประกายความคิด และการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (“คุณกิจ”) กับผู้บริหาร (“คุณเอื้อ”), เชื่อมโยงระหว่าง “คุณกิจ” ต่างกลุ่มภายในองค์กร และเชื่อมโยง การจัดการความรู้ภายใน องค์กรกับภายนอกองค์กร โดยหน้าที่ที่ “คุณอํานวย” ควรทํา คือ - ร่วมกับ “คุณเอื้อ” จัดให้มีการกําหนด “หัวปลา” ของ “คุณกิจ” อาจจัด “มหกรรม หัวปลา” เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ “หัวปลา” - จัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้ “คุณกิจ” นําความสําเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดความรู้ออกมาจาก วิธีทํางานที่นําไปสู่ความสําเร็จนั้น เพื่อการบรรลุ “หัวปลา” - จัดการดูงาน หรือกิจกรรม “เชิญเพื่อนมาช่วย” (Peer Assist) เพื่อให้บรรลุ “หัวปลา” ได้ง่าย หรือ เร็วขึ้น โดยที่ผู้นั้นจะอยู่ภายในหรือนอกองค์กรก็ได้ เรียนรู้วิธีทํางานจากเขา เชิญเขามาเล่า หรือสาธิต - จัดพื้นที่เสมือนสําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสําหรับเก็บรวบรวม ขุมความรู้ที่ได้ เช่น ใช้ เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งเว็บไซต์ เว็บบอร์ด เว็บบล็อก อินทราเน็ต จดหมายข่าว เป็นต้น - ส่งเสริมให้เกิด ชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP – Community of Practice) ในเรื่องที่เป็นความรู้ หรือเป็น หัวใจในการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร - เชื่อมโยงการดําเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กับกิจกรรมจัดการความรู้ภายนอก เพื่อสร้าง ความคึกคัก และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอก

๔. คุณกิจ (Knowledge Practitioner-a KP)
         “คุณกิจ” หรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอก หรือนางเอกตัวจริงของการจัดการความรูป เพราะเป็นผู้ ดําเนินกิจกรรมจัดการความรู้ประมาณร้อยละ ๙๐ – ๙๕ ของทั้งหมด “คุณกิจ” เป็นเจ้าของ “หัวปลา” โดย แท้จริง และเป็นผู้ที่มีความรู้ (Explicit Knowledge & Tacit Knowledge) และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย/ หัวปลา" ที่ตั้งไว้ ๕. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 59716เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท