ข้อค้นพบสำคัญมาสู่ ข้อเสนอในการจัดกิจกรรมนำร่องให้กับกลุ่มเด็กเยาวชนต้นแบบ ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ


ข้อค้นพบสำคัญจากการทำงานในโครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยคณะกรรมการสรรหาเยาวชนต้นแบบระดับประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาสู่ ข้อเสนอในการจัดกิจกรรมนำร่องให้กับกลุ่มเด็กเยาวชนต้นแบบ

โดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ 1


() แนวคิดพื้นฐานของการสรรหาเยาวชนต้นแบบ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานสำคัญ ๒ แนวคิด กล่าวคือ

. แนวคิดเกี่ยวกับ "ค่านิยม" โดยค่านิยมเป็นทัศนะของคนหรือ สังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เก่ียวข้องกับ ความปรารถนา คุณค่าและ ความถูกต้องของสังคมนั้นๆ ดังนั้น ค่านิยมของคนในสังคม จึงเป็น ปัจจัยพ้ืนฐานสําคัญต่อการ แสดงออก ในเชิงพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งในโครงการนี้พิจารณาตามค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการตามข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 2

ค่านิยมเป็นเรื่องของทัศนะสามารถแสดงออกให้เห็นชัดเจนได้ใน ๓ ระดับคือ

  • ระดับแนวปฎิบัติ พิจารณาได้จากการกิจกรรมหรือการจัดทําโครงการ กิจวัตรประจําวัน กิจกรรม ที่มีการดําเนินการ หรือ โครงการที่มีการดําเนินการ
  • ระดับแนวทางหรือวิธีการในการทํางาน เป็นการแสดงออกตามแนวคิดหรือหลักการพื้นฐานหรือความเชื่อที่ตนเองยึดถือ โดยแสดงงอกในรูปแบบของวิธีการทำงาน วิถีปฎิบัติในชีวิตประจำวัน กระบวนการในการทำงานหรือกระบวนการที่ใช้ในการออกแบบการทำงานในโครงการหรือกิจกรรม
  • ระดับแนวคิดในการดําเนินชีวิต โดยสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติในการดําเนิน ชีวิต หรือ ท่ีมีต่อเรื่องใดเร่ืองหน่ึง ค่านิยมในระดับแนวคิดนี้เองจะเป็นค่านิยมแกนหลักที่นำไปสู่การกำหนดวิถีปฎิบัติ กระบวนการทำงาน และ กิจกรรมหรือโครงการใวิตประจำวัน

. แนวคิดเกี่ยวกับความเป็น "ต้นแบบ" โดยเด็กและเยาวชนต้นแบบภายใต้โครง การฯนี้ หมายถึง เด็ก และเยาวชนที่ มีเร่ืองราวตัวอย่างท่ีน่าสนใจ เรื่อง ราวตัวอย่างความสําเร็จท่ีเกิดข้ึน โดยมีพื้นฐานมาจากการมีค่านิยมใน เร่ืองใดเรื่องหนึ่งหน่ึงหรือหลายเรื่องประกอบกัน โดยต้นแบบจะเป็นปัจจัยสําคัญต่อ การสร้างแรงบันดาลใจ และ การ ถอดบทเรียนเพ่ือสืบค้นถึงเส้นทาง ความสําเร็จของต้นแบบจะทําให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ให้กับคนใน สังคม


() ข้อค้นพบจากการดำเนินการพิจารณาและสรรหาเยาวชนต้นแบบตามแนวคิดค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ

. ค่านิยมทั้ง ๑๒ ประการ มีความเชื่อมโยงกันและสามารถกำหนดค่านิยมแกนหลักอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างแนวคิดหรือทัศนคติในการดำเนินชีวิตหลักและนำไปสู่การพัฒนาาค่านิยมอื่น โดยค่านิยมแกนหลัก ๓ ค่านิยม คือ

() คนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ สังคม

() คนดี มีศีลธรรม กตัญญู ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ และ

() คนใฝ่หาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และ สังคม

โดยค่านิยมแกนหลักในแต่ละด้าน มีรายละเอียดดังนี้

ค่านิยมแกนหลัก รายละเอียดของค่านิยมที่เกี่ยวข้อง

() คนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ สังคม

(๑) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (๕) รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม (๗) เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง (๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

() คนดี มีศีลธรรม กตัญญู ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ

(๓) กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ (๖) มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน (๘) มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ (๑๑) มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา

() คนใฝ่หาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และ สังคม

(๔) ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม (๒) ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม (๙) มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๑๐) รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี


๒.๒ จากปริมาณของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ส่งผลงานเข้ามาในโครงการทำให้พบว่า วันนี้สังคมไทยมีต้นทุนของเด็กที่ดีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะมีค่านิยมแกนหลักใน ๓ ค่านิยม ทั้งนี้ จากค่านิยมแกนหลักจะสามารถทำให้เกิดการสร้างค่านิยมอื่นๆได้ไม่ยากแต่ต้องการ "วิธีการ" ที่เหมาะสม และการสนับสนุนใน ๔ ปัจจัย กล่าวคือ (๑) การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก และเยาวชน โดยสร้างแรงบันดาลใจจากต้นแบบหรือ Role Model รวมทั้ง (๒) การมีระบบพี่เลี้ยงและระบบการสนับสนุน หรือ หนุนเสริมการทำงาน และการจัดกิจกรรม (๓) การมีพื้นที่ในการทำงาน พื้นที่ในการแสดงผลงาน ภายใต้โจทย์ของการทำงานที่สร้างสรรค์โดยเฉพาะโจทย์ของการทำงานที่เน้นการทำงานร่วมกับสังคมและชุมชน และ (๔) การสร้างและสนับสนุนการพัฒนากระบวนการทำงานให้กับเด็กๆผ่านเครื่องมือและวิธีการที่ไม่ถูกจำกัดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการออกแบบการทำงานในโครงการ

() ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชนต้นแบบที่ผ่านการพิจารณาและคัดเลือก จะเป็นการออกแบบกิจกรรมในฐานะกิจกรรมตัวอย่างเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเชิงกระบวนการให้กับเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีเป้าหมายของการจัดกิจกรรมใน ๓ ประการคือ (๑) เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในการเรียนรู้ ระหว่างกัน (๒) เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการมีค่านิยมแกนกลางและค่านิยมต่างๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ (๓) เพื่อเสริมสร้างทักษะในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือจัดการปัญหาในสังคม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบของการออกแบบโครงงาน และ (๔) เพื่อสร้างและพัฒนาเป็นเครือข่ายระหว่างเด็ก เยาวชนที่สามารถยกระดับไปสู่การเป็นเครือข่ายนักปฎิบัติได้ในระยะต่อไป


ช่วงที่ ๑ แลกเปลี่ยน เรียนรู้และเสริมสร้างแรงบันดาลใจระหว่างกัน โดยให้เด็กๆให้เรียนรู้และพบปะกับบุคคลต้นแบบที่น่าสนใจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและทำให้เห็นตัวอย่างเชิงรูปธรรมของการมีค่านิยม หรือ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จากบุคคลต้นแบบ

ช่วงที่ ๒ ออกแบบการทำงานภายใต้โจทย์สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน การได้มาซึ่งโจทย์ของการทำงาน อาจเป็น โจทย์โจทย์จากบุคคลต้นแบบ หรือ โจทย์ที่เด็กๆเสนอและนำไปขอความเห็นจากบุคคลต้นแบบโดยเน้น โจทย์การทำงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาในชุมชน ทั้งนี้ในกระบวนการกลุ่มอาจจะต้องหาพี่เลี้ยงกลุ่มที่สามารถเสริมแรงบันดาลใจให้กับเด็กและเยาวชนได้ด้วย

ช่วงที่ ๓ ค้นหาเครื่องมือ เรียนรู้การออกแบบด้วยกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ เป็นช่วงของการให้เด็กและเยาวชนได้ออกแบบการทำงานโดยใช้โจทย์ที่ได้มา ออกแบบการทำงานในลักษณะของโครงาน โดยให้แต่ละคนนำเสนอว่าตนเองจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานได้อย่างไรบ้าง โดยเน้นการทำให้เด็กๆค้นหาข้อมูล ออกแบบเครื่องมือกระบวนการทำงาน

ช่วงที่ ๔ นำเสนอและร่วมค้นหาทุนทางสังคม สร้างกลุ่มเครือข่าย เป็นช่วงของการนำเสนอ และ ระดมความคิดกันว่า โครงงานแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร โดยให้ครูที่มาด้วยมาช่วยกันหนุนเสริมว่าจะสนับสนุนอย่างไร


1อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ในฐานะ คณะกรรมการสรรหาเยาวชนต้นแบบระดับประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

2 (๑) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (๒) ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม (๓) กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ (๔) ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม (๕) รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม (๖) มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน (๗) เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง (๘) มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ (๙) มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๑๐) รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี (๑๑) มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา (๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 596927เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท