​ รู้ไหม? ถ้าเราให้ความสำคัญกับดินก็จะไม่สิ้นเปลืองต้นทุนการเพาะปลูก



ในหลวงของเราท่านได้เคยตรัสไว้ว่า ถ้าจะปลูกพืชก็ควรให้ความสำคัญกับ “ดิน” และถ้าจะเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาก็ต้องให้ความสำคัญกับ “น้ำ” ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรทั้งหลายเมื่อจะทำอาชีพเกษตรกรรมตามสาขาต่างๆ ก็จงอย่าลืมน้อมนำคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำไปปรับประยุกต์ใช้กันด้วยนะครับ โดยเฉพาะการเพาะปลูกนั้น เรืองดินนี้ถือเป็นเรื่อที่สำคัญและควรเอาใจใส่ให้มากที่สุด

ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชดังที่ม้ง แม้ว กะเหรี่ยง มูเซอ ชาวดอยชาวเขาเผ่าต่างๆ เขาขุดป่าถากถางเพื่อทำการเพาะปลูกในช่วงใหม่ในระยะแรกๆ นั้นจะไม่มีการซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่หรือใช้ฮอร์โมนฉีดพ่นแม้แต่หยดเดียว เพราะพริก มะเขือ กะหล่ำ ฟัก แฟง แตงกวาของเขาเหล่านั้นมีการเจริญเติบโตที่ดีเป็นที่น่าพึงพอใจ

ที่เป็นดังนี้ก็เพราะดินตามป่าเขาลำเนาไพรนั้นจะมีองค์ประกอบของดินที่เพียบพร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด ส่วนประกอบดังกล่าวก็คือ มีอินทรียวัตถุ 5 % น้ำ 25 % อากาศ 25 % และอนินทรีย์หินแร่อีก 45 % โดยถ้าดินที่มีรูปแบบตามธรรมชาติเขาก็จะจัดองค์ประกอบให้สมดุลแบบอัตโนมัติ ด้วยอิทธิพลของอินทรีย์วัตถุเพียงแค่ 5% นี่แหละครับ ที่สามารถน้อมนำทำให้องค์ประกอบอื่นๆ เข้าที่เข้าทางและสามารถทำให้เผ่าพันธุ์ของพืชเจริญเติบโตขึ้นมาได้แม้ว่าจะไปตกอยู่บนหินหรือหน้าผาที่สูงชัน ดังเช่นฝรั่งขี้นกที่เจริญเติบโตได้ หรืออาจจะเป็นพืชชนิดอื่นๆ ดังที่เราๆ ท่านๆ อาจจะเคยได้เห็นกันไปบ่อยๆ เมื่อไปเที่ยวป่าเขาลำเนาไพรหรือถิ่นถ้ำน้ำตกตามวนอุทยานต่างๆ ที่มักจะมีต้นไม้ขึ้นอยู่บนหินบนหน้าผาหาดูได้ไม่ยาก

การเพาะปลูกในแปลงเรือกสวนไร่นาของพี่น้องเกษตรกรก็เช่นเดียวกันนะครับ ถ้าเราให้ความสำคัญในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรดและด่างที่ควรจะต้องอยู่ในห้วงช่วงพีเอช 5.8 – 6.0 คือช่วงกรดอ่อน ๆ การเพิ่มเติมอินทรียวัตถุอยู่บ่อยๆ ทำให้เหมือนกับเศษไม้ใบหญ้าที่ร่วงหล่นจากยอดด้านบนลงสู่โคนต้นด้านล่างอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ช่วยทำให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เป็นบ้าน เป็นอาหาร ทำให้ดินนั้นดีมีคุณภาพและมีศักยภาพในการปลดปล่อยธาตุและสารอาหารให้กับพืชได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมและธาตุพิเศษ (H4Sio4, Chitosan)

อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน ก็คือการนำเอาหินแร่ภูเขาไฟ(Volcanic Rock) หินแร่ที่ผ่านความร้อนหลายร้อยหลายพันองศาหลอมละลายกลายเป็นหินหนืดระเบิดเกิดขึ้นเป็นลาวา ก๊าซและไอน้ำระเหยออกเกิดรูพรุนมหาศาลเข้ามาแทนที่ ผ่านกาลเวลายาวนานหลายล้านปีกลายเป็นผลึกแร่รูปแบบต่างๆ เมื่อนำมาบดมาป่นแล้วนไปโปรยโรยรอบโคนต้น ได้ฝนได้น้ำก็ละลายกลายเป็นอาหารให้แก่พืชพืชก็จะได้รับแร่ธาตุและสารอาหารจนเกือบครบโภชนาการไม่ว่าจะธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตเสริมและธาตุพิเศษ จะมีขาดอยู่บ้างก็ธาตุไนโตเจน เพราะฉะนั้นถ้าใส่พร้อมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ดินก็จะมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตให้แก่พืชทุกชนิดทันที

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595527เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท