ซีโอฟาร์ม ช่วยลดยาปฏิชีวนะในฟาร์มสัตว์เลี้ยงปลอดภัยต่อผู้บริโภค



ตังแต่ญี่ปุ่นอนุญาตให้เรานำเข้าไก่สดแช่แข็งตั้งแต่ปลายปี 2556 หลังจากที่หยุดสั่งเราไปตั้งแต่ปี 2547 เนื่องด้วยปัญหาไข้หวัดนก หลังจากนั้นก็มีจีน ไต้หวัน สิงคโปร์และกลุ่มแอฟริกาใต้ สั่งนำเข้าตามมาอีกเป็นระลอก ก็เป็นไปตามหลักของเศรษฐศาสตร์และธรรมชาติที่เมื่อมีประเทศที่มุ้นเน้นมาตรฐานความสะอาด ปลอดภัยสูงอนุญาตให้นำเข้าไก่สดแช่ได้ ประเทศที่ต้องการความปลอดภัยเหมือนกันแต่อาจจะมีศักยภาพในการประเมินต่ำกว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่า เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นซื้อได้ เขาก็ต้องซื้อได้ด้วยเช่นกัน (อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานความจำเป็นของแต่ละประเทศด้วยนะครับ ว่าประชาชนคนของเขานั้นนิยมบริโภคไก่และในประเทศมีศักยภาพการผลิตที่เพียงพอหรือไม่)

อีกทั้งรัสเซียหลังจากถูกอียูและอเมริกาคว่ำบาตร จากการที่มีการขวักไขว่รัสเซียของประชาชนคนในแคว้นไครเมียที่แต่ก่อนก็ขึ้นอยู่ประเทศยูเครน ดังนั้นเมื่อรัสเซียเอื้อมมือเข้าไปชักใยไกล่เกลี่ยก็เป็นธรรมดาที่อภิมหาอำนาจทางฝั่งตะวันตกย่อมไม่พอใจ จึงเป็นโอกาสมายังประเทศไทยและอีกหลายประเทศทางฝั่งเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะจีนนั้นค่อนข้างที่จะชัดเจนที่มีการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างสินค้าต่างๆกับก๊าซธรรมชาติของรัสเซียประเทศไทยของเรานั้นรัสเซียก็ให้ความสนใจในเรื่องของภาคปศุสัตว์และประมง ทั้ง เนื้อวัว หมู ไก่ กุ้ง ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาสำรวจตรวจสอบมาตรฐานตามฟาร์มต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่มองตาพยักหน้าตกลงกันก็ส่งออกได้ทันที

การดูแลแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรานั้น ถ้าไม่ใช่ฟาร์มใหญ่จริงๆ การบริหารจัดการก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นจึงเป็นโอกาสที่ฟาร์มใหญ่จะได้ใช้บริการ และบางครั้งก็รับซื้อต่อจากฟาร์มเล็กๆ อีกทอดหนึ่ง เพราะถ้ามีการออร์เดอร์จ่างต่างประเทศมากๆ เข้าสินค้าที่เตรียมไว้ก็อาจจะไม่เพียงพอ แต่ปัญหาที่เมื่อรับซื้อจากฟาร์มเล็กก็คือมักจะมีสารปนเปื้อนตกค้างสะสมอยู่ค่อนข้าง เนื่องด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ไก่ แกะ แพะ สุกร และกุ้ง หอย ปู ปลา ทั้งหลายนั้น มักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดที่พื้นคอก พื้นบ่อ หรือโรงเรือน จนทำให้เกิดการหมักหมมเน่าเสียของมูลสัตว์และเศษอาหารที่ตกค้าง จนเกิดเป็นแก๊สของเสียที่รบกวนระบบทางเดินของสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ สัตว์ตัวเล็กก็ส่งผลกระทบเร็วหน่อย หมู วัว ควาย ตัวใหญ่หน่อยก็ได้รับผลกระทบช้าเร็วแตกต่างกันไป

ไม่ว่าสัตว์เหล่านี้จะเดินหนีไปกลับหัวเล้าท้ายเล้าก็ไม่สามารถที่จะหลีกหนีกลิ่นเหม็นจากแก๊สของเสียเหล่านี้ได้ ทั้งแก๊สแอมโมเนีย (NH4+) แก้สไข่เน่า (ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ H2S) หรือแม้แต่แก๊สมีเทน (CH4) ทำให้ไก่เกิดอาการไอ จาม น้ำมูก น้ำตาไหล ระบบทางเดินหายใจเกิดอาการอักเสบ บวม พอง จนเครียด อ่อนแอเจ็บป่วยพอปรึกษานักวิชาการประจำฟาร์มที่ส่งมาจากบริษัทต่างๆ ก็จะได้รับแต่การแนะนำให้ใช้ยาในเชิงปฏิชีวนะ จึงทำให้เป็นสาเหตุของการที่มีสารพิษ สารต้องห้ามปนเปื้อนไปยังประเทศที่รับซื้อปลายทางประเทศที่เข้มงวดก็จะส่งกลับ หรือไม่ก็เผาทำลายทิ้ง ส่วนที่ส่งขายในตลาดภายในประเทศก็มีแต่สารที่มีโอกาสก่อโรคมะเร็งกับผู้บริโภค

การใช้หินแร่ภูเขาไฟ ซีโอฟาร์ม (ZEO FARM) ซึ่งก่อกำเนิดเกิดขึ้นจากหินหนืด (แมกมา) ใต้เปลือกโลกที่ลึกลงไปใกล้แกนโลกถึง 50 – 60กิโลเมตร ซึ่งถูกแรงอัดและแรงต้านมหาศาลในสัดส่วนที่เท่ากัน เมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังส่วนของเปลือกโลกที่บางเบากว่า อย่างใต้ท้องมหาสมุทรในส่วนที่ลึกที่สุด หรือจุดที่เป็นรอยต่อของแผ่นทวีป ก็เกิดการระเบิดเก็ดเป็นภูเขาไฟทำให้หินหนืด (แมกมา) กลายเป็น ลาวา (lava) มาสู่ชั้นบรรยากาศเหนือพื้นโลกที่มีความบางเบากว่าใต้ผืนโลก จึงทำให้ก๊าซ ไอน้ำ ระเหิดระเหยออกไปจากลาวาอย่างรวดเร็ว เกิดรูพรุนมหาศาลเมื่อเย็นตัวลง หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้เมื่อผ่านอายุอยู่ในธรรมชาติเป็นระยะเวลาหลายสิบหลายร้อยล้านปีจึงก่อให้เกิดกำเนิดแร่ในรูปแบบชนิดต่างๆ อีกเยอะแยะมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มของ ซีโอไลท์ (Zeolite) ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้คนชนทั่วไป

รูพรุนมหาศาลนี่เองครับ ที่ทำหน้าที่ช่วยจับกลิ่นเหม็น แก๊สของเสียที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะสัมผัสได้ง่ายเมื่อท่านไปแวะเวียนเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านที่ทำการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ท่านจะเดินผ่าน ๆ พอสัมผัสกลิ่นก็อาจจะเดินเลียบๆ เคียงๆ หลีกเลี่ยงไปที่อื่น แต่สัตว์ที่เลี้ยงไว้ในโรงเรือนเหล่านั้นไม่สามารถเดินหนีจากไปได้ไกลๆ เต็มที่ก็เดินไปเดินมาอยู่ในเล้าเจอแบบนี้ทุกวันก็เครียดอ่อนแอเจ็บป่วยดังที่ได้เล่าให้ฟังไปในย่อหน้าก่อน ๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้หินแร่ภูเขาไฟจากธรรมชาติ (Mineral Volcanic Rock) ซึ่งมีรูพรุนจากการระเหิดระเหยของก๊าซและไอน้ำในช่วงที่ภูเขาไฟกำลังระเบิดอยู่ รูพรุนเหล่านี้นักวิชาการโดยทั่วไปจะเรียกว่า ค่าความมสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวก (Catch Ion Exchange Capacity) หรือเรียกสั้นๆว่า ซี.อี.ซี. (C.E.C.)เพียงเกษตรกรใช้ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ก็ช่วยทำให้ ไก่ แกะ แพะ สุกร โค กระบือของท่านมีความสุขกายสบายใจไม่เครียดอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่ายๆ ช่วยลดการแก้ปัญหาจากการใช้สารปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์โตเร็ว สุขภาพดี นำมาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและได้เนื้อที่คุณภาพดี ยิ่งขึ้น

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595504เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท