กุ้งไทยในวิกฤติที่ต้องฝ่าฟัน


กุ้งไทยในวิกฤติที่ต้องฝ่าฟัน

shrim-1

ดูๆสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในบ้านเรานั้นจะซึมเศร้าเหงาหงอยลงไปอย่างผิด หูผิดตา ดูจากตัวเลขการส่งออกจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรย้อนหลังไปหลายๆปี เท่าที่ข้อมูลจะสืบค้นไปได้ในปี 2541 -2547 ตัวเลขการส่งออกกุ้งทุกชนิดที่นำมาแช่เย็นเป็นน้ำแข็งหรือเรียกแบบชาวบ้าน ว่ากุ้งแช่แข็งก็อยู่ในหลักแสนกว่าไปจนเกือบสองแสนตันต่อปี จนมาถึงปี 2551 ตัวเลขก็ยังอยู่ในระดับที่จะรับได้คือในระดับใกล้เคียงกับเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่ถ้ามาดูสถิติจากตารางที่ 2 ตัวเลขการส่งออกกลับลดฮวบฮาบหายไปอย่างน่าใจหาย โดยตัวเลขการส่งออกของกุ้งแช่แข็งอยู่ในระดับแค่หลักไม่กี่หมื่นตันเท่านั้น เอง อย่างนี้จะไม่ให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งงุนงงสงสัยเป็นไก่ตาแตกได้ อย่างไร ว่ากำลังซื้อที่ดีเคยดีมาในอดีตนั้นหายไปไหน รายได้ที่เคยมีเป็นกอบเป็นกำดำดิ่งหายวับไปกับตา และไม่มีทีท่าจะกลับมาดีได้เหมือนเดิมโดยเริ่มแสดงอาการมาตั้งแต่ปี 2556 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

shrim-2

ข่าวคราวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านการประมงที่ไม่ดีนักจากประเทศ อินโดนีเซีย ที่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับชาวประมงไทย ด้วยการประกาศระงับการออกใบอนุญาตทำประมงและระงับการต่อใบอนุญาตให้แก่เรือ ประมงที่เข้าไปทำในน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยเฉพาะการนำกฎหมาย “ยิงและจม” (Shoot and Sink) มาใช้ ทำให้อำนาจเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียสามารถที่จะจมเรือประมงของคนไทยที่ลอบเข้า น่านน้ำผิดกฎหมายได้อย่างเสรี ทำให้เรือประมงไทยไม่กล้าเข้าไปในน่านน้ำที่ยังไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือ เพราะหมิ่นเหม่ต่อการบุกรุกน่านน้ำ (อันนที่จริงก็น่าจะเป็นเรื่องการกีดกันกันทางการค้าอย่างหนึ่ ง หรือไม่ก็อาจจะเป็นการที่รัฐบาลของเขาไม่พอใจที่มีชาวประมงไทยยิงเจ้า หน้าที่ของอินโดนเซียตายไป 2 คนก่อนหน้าที่จะมี่การประกาศกฎหมายใหม่ทางทะเลออกมาใช้ก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าทางการไทยจะมีการจับตัวและคลี่คลายคดีได้แล้วก็ตาม)

พายุลูกใหญ่อีกสองลูกที่กระหน่ำซ้ำเติมสถานการณ์การประมงของไทยเราก็คือ มาตรการต่างๆ จากทางอเมริกาและยุโรป ล่าสุดที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ปรับลดอันดับการค้ามนุษย์ของประเทศไทยจากระดับเทียร์ 2 วอตช์ ลิสต์ (Tier 2 Watch List) ลงสู่ระดับต่ำสุดหรือเทียร์ 3 (Tier 3) โดยใช้ข้ออ้างโจมตีปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานทาส แรงงานเถื่อน แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฏหมายในอุตสาหกรรมประมงไทย ทำให้ผู้คนชนทั่วโลกมองสินค้าจากประเทศไทยเราในแง่มุมที่ติดลบ โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง ซึ่งวันนี้ยังถูกสหรัฐฯจับขึ้นบัญชีดำเป็นสินค้าเฝ้าระวัง อันนี้ยังไม่นับรวมเรื่องในอดีตเกี่ยวแอนตี้แอนดั๊มปิ้ง ที่เราเคลียร์กับสหรัฐมาหลายปีดีดักก็ยังไม่มี่อะไรชัดเจนขึ้นมาเลยแม้แต่ น้อย

ส่วนอีกเรื่องจากอียูคือการพิจารณาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี สินค้าจากไทย ซึ่ง กุ้ง ก็เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย มูลค่าการส่งออกจะหายไปทันที 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท จะต้องเสียภาษีสำหรับสินค้า กุ้งสด จากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 12 และสินค้า กุ้งต้มสุก จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 20 อย่างนี้พี่น้องเกษตรกรไทยโดยเฉพาะผู้เลี้ยงกุ้งส่งออกจะเอาน้ำยาที่ไหนไป ต่อสู้ในเรื่องราคากับประเทศอื่นๆ หรือประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรจากยูโรปได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่าเขาไม่พอใจเราในเรื่องของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือก ตั้งด้วยหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ) จึงทำให้อุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งของเราร่วงผล็อยเป็นนกถูกยิงปีกหัก ดังที่เราๆท่านๆได้ประสบพบเจออยู่ในขณะนี้นั่นเอง

สถานการณ์การผลิตกุ้งของไทย นอกจากจะพบกับปัญหาภัยแล้ง ไม่ว่าจะเป็นที่ อ. ยางตราด กาฬสินธุ์ อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี อ. บางเลน จ. นครปฐม อ. บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ อ. แหลมสิงห์ จ. ตราด อ. แกลง จ. ระยอง อ. ระโนด จ. สงขลา จ. พังงา จ. กระบี ฯลฯ แล้วก็ยังจะประสบกับภาวะ ปัญหาอาการของโรคตายด่วนและโรคตัวแดงดวงขาว โรคหัวเหลือง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสทำให้กุ้งล้มตายเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของสมาคมกุ้งไทย ส่งผลทำให้การผลิตกุ้งทั้งหมดหายไปกว่าร้อยละ 50 จากปี 2555 จาก 540,000 ตัน เหลือเพียง 250,000 ตันในปี 2556 มูลค่าการส่งออกลดลงจาก 3,075 ล้านเหรียญสหรัฐฯเหลือเพียง 2,169 ล้านเหรียญ

การดูแลแก้ไขในด้านต่างๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนก็ยังต้องรอต้องลุ้น ยังไม่มี่มาตรการใดๆ ที่เด่นชัด เพราะรัฐบาลเองก็คงจะประสบพบกับปัญหา โดยเฉพาะภาคเกษตรนี้คงจะหลายด้านพอสมควร ทั้งข้าว ปาล์ม ยางพารา ไหนจะปัญหาเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ หวย ล็อตเตอรี่ อีกบานเบอะเยอะแยะ ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งควรจะดูแลแก้ปัญหาให้แก่ตนเองในเบื้องต้นก็น่า จะเป็นเรื่องที่สมควร ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นดูแลแก้ปัญหาปรับพีเอชของน้ำให้เหมาะสม การใช้จุลินทรีย์ (Bacillus Subthilis spp) ดูแลแก้ไขปัญหาย่อยสลายขี้เลนอย่าให้ตกค้างบูดเน่าอยู่ที่ก้นบ่อ การแก้ปัญหากุ้งล่อง ลอยหัว พีเอชแกว่งจากน้ำหนืดน้ำเขียวเข้มมากเกินไป การใช้ใบพัดตีเคล้าน้ำมิให้เกิดการแยกชั้นในระหว่างที่มีฝนตก ฝนหลงฤดู การลดจำนวนปริมาณอาหารอย่าให้กุ้งกินจนเหลือตกค้างบูดเน่าอยู่ในบ่อในช่วง ที่อากาศหนาว ฟ้าหลัว อากาศปิด ฯลฯ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595501เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท