หมอจิ๋ว
นาย ธวัชชัย หมอจิ๋ว แสงจันทร์

02092558 การเรียนรู้ 7BUILDINGBLOCK


2 กันยายน 2558 16.25 น

สรุปผลการประชุมงานยุทธศาสตร์ วันนี้

0930 น seven building block
บรรยายโดย นางพรรณธิพา มีธรรม นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านบริการทางวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

เมื่อวานเรียนรู้
- ทบทวน เน้นกลยุทธ กับ นวัตกรรม
- ในแต่ละ เป้าประสงค์ ให้วิเคราะห์ให้ได้ว่า แต่ละประเด็นเราทำดีในเรื่องอะไร ต้องการความเป็นเลิศในเรื่องอะไร (เราอยู่อันดับ๖ของเขต) ให้ต่อยอดเพื่อแข่งขันในเขต ๘ (ป็นเลิศ) แต่ละเรื่องต้องให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ปรับโปรไฟล์ให้มีความท้าทายได้
- ความเป็นมาของ เซเว่นบิวดิ้งบลอก
เริ่มที่เอธิโอเปีย
หมอก้อง เป็นคนนำมาใช้ ปรับให้เป็น ๗ รายการ
มี ๑.ระบบบริการทั้ง ๔ด้าน รักษา ป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู
๒. ระบบบุคลากรกำลังคนด้านสุขภาพ
๓.ระบบข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ
๔. ระบบการสนับสนุนยา วัคซีน
๕. ระบบการเงิน วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ
๖. ผู้นำ ธรรมาภิบาล
๗. การมีส่วนร่วม
การจัดทำแผน ให้จัดทำเป็นช่อง ด้านซ้ายจะเป็น ตารางช่องของ ๗ บล็อค ตารางด้านบน เป็นส่วนของระดับบริการ เริ่มที่ สสจ. รพท. คปสอ. และ รพ.สต. ตามลำดับ

รายละเอียดแต่ละบล็อคมีดังนี้
๑. ระบบบริการ ervice delivery ดูว่ากิจกรรมบริการที่จะพัฒนามีอะไรบ้าง คำจำกัดความของบริการ การพัฒนาระบบส่งต่อ มาตรฐานของระบบบริการในแต่ละด้าน ความต่อเนื่องของงบริการ กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคแบบบูรณาการ
๒. กำลังคนด้านสุขภาพ workforce ตั้งแต่การจัดหา พัฒนา จนถึงขั้นการประเมินผล
๓. ระบบข้อมูลข่าวสาร IT แหล่งข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องทางอะไรบ้าง การนำมาวิเคราะห์ทำอย่างไร
๔. ระบบการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ วัคซีน เทคโนโลยี เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ Drug & equipment เพิ่มเติมคิดต่อยอด
๕.งบประมาณ Financing ให้ระบุให้ได้ว่าใช้ที่ไหน เช่น กองทุนตำบล คัพ หรือ สสจ. ตามระดับของหน่วยบริการ
๖. ผู้นำ การนำ ธรรมาภิบาล Government ใครเป็นผู้นำ นำอย่างไร จัดการอย่างไร ต่อยอดอย่างไร การเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างไร
๗. การมีส่วนร่วม Participation หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานอย่างไร
การจัดเขตบริการสุขภาพ
เขต ๘ เราแบ่งออกเป็น ระดับพื้นฐาน รพ.สต. /รพ.ชุมชน / รพ.แม่ข่าย / รพ.ทั่วไป

focal point ระดับจังหวัด
๑. เบาหวานความดัน ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
๒. อาหารเป็นพิษ อุจจาระร่วง
๓. ไข้เลือดออก

- ภาคบ่าย นำเสนอ

เป้าประสงค์ที่ ๗ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๑. การจัดการความรู้
+ ปัญหา ไม่มีการต่อยอดผลงาน นวัตกรรมที่เกิดขึ้น
ให้มี
๑. ฐานความรู้ระดับจังหวัด เวบไซต์
๒. เพิ่มช่องทางการสื่อสาร
๓. ติดตามผลการใช้ความรู้ การนำนวัตกรรม ประยุกต์ ขยายหรือใช้งานในพื้นที่
๔. ทำมาตรฐานหรือคู่มือในการดำเนินงานตามมาตรฐานต่างๆ
๕. สร้างเครือข่ายในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
๖. พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
๗. พัฒนาองค์กรสู่การเรียนรู้ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
๘. งบประมาณในระดับอำเภอ จาก คัพ รพสต.
๙. จังหวัดกำหนดนโยบาย
คัดเลือกปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญในระดับอำเภอ
สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอ
+ ให้แต่ละ goal มี best practise สิ้นปีมานำเสนอ และขยายผลต่อเนื่องไปให้พื้นที่ดำเนินการ
+ กระบวนการจัดการความรู้ น่าจะมีแกนนำในระดับอำเภอ ตำบล ที่ทำหน้าที่ในการดูแล จัดการงานวิชาการ นวัตกรรม
+ มีช่องทางการสื่อสาร / คลังความรู้ระดับจังหวัด
goal 1 งานส่งเสริม อนามัยแม่และเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ ทันตสาธารณสุข

ปัญหา ตั้งครรภ์ก่อนวัย / สูงอายุขาดคนดูแล
หลักคิด ใน7building block
+ การประเมิน แบบบูรณาการกับ รพสต.ติดดาว ตำบลนมแม่
+ พัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินในระดับอำเภอ
+ ระบบข้อมูล ฐานข้อมูลมีหลายแหล่งเกินไป จะมีการปรับระบบข้อมูล
+ จังหวัดจะกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ รวมทั้ง การสร้างความเข้มแข็งของการวางแผนครอบครัว
+ ให้มี MCH BOARD ระดับจังหวัด อำเภอ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็ง ของ MCH BOArD
+ ทำ MOU ในภาพรวม
+ พัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
+ ในระดับ รพสต. เน้นวางแผนครอบครัว ยาคุมฉุกเฉิน /พัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะการกำหนดให้มาตรฐานเป็นที่รับทราบ ทั่วถึง และปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐาน / การพัฒนาเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล / การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์อย่างทั่วถึง / กระตุ้นการเสนอ จัดทำโครงการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ / ใช้กลไก การคืนข้อมูลในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจูงใจ ชุมชน มีส่วนร่วม

+ งานสูงอายุ
ข้อเสนอแนะ
+ คิดกิจกรรมใหม่
+ พัฒนาทักษะของผู้ให้บริการ ระดับพื้นฐาน ให้ประเมินความรู้ ทักษะผู้ให้บริการในเรื่องการแปรผลยังไม่ดี
+ รพช. เน้นคุณภาพการส่งต่อ / ในระดับตำบล ให้มีคุณภาพการวางแผนครอบครัว
+ ในระดับเขต เราได้อันดับต้น ๆ ชื่นชมข้อมูล ด้อยในเรื่องมาตรฐาน ให้แต่ละพื้นที่วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา แก้ไขปัญหาร่วมกับพื้นที่ได้อย่างไร /ต่อยอดให้เป็นbest ของเขต / งานส่งเสริมเล่นเรื่องข้อมูลก่อนจะทำได้ดี /
+ การใช้เกณฑ์ของเขต ปัญหา คือ เกณฑ์ไม่นิ่ง ควรใช้เกณฑ์จากผู้ตรวจหรือกรมอนามัย / ในระดับ คปสอ. จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

งานทันตกรรม
+ การประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ พัฒนาทักษะ ออกหน่วยทันตกรรมใน รพ.สต. / รร.
+ จัดสรรบุคลากร สนับสนุนวิชาการ เพิ่มขวัญกำลังใจ พัฒนาทักษะทันตแพทย์ ให้เป็นหน่วยด้านการผ่าตัด
+ ข้อมูลในการบริการยังไม่เสถียร การนำข้อมูลมาใช้ยังน้อยและการลงข้อมูลไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ขาดทักษะ ไม่มีการติดตามประเมินผล
+ รพช. จัดหาครุภัณฑ์ทันตกรรม รวมทั้งระบบการป้องกันการติดเชื้อ การประเมิน
+ รพ.สต. ดูแลเรื่องมาตรฐาน / งบประมาณจาก รพ.สต./คัพ
ข้อเสนอแนะ
+ เครื่องมือทันตกรรมใน รพสต. การซ่อมบำรุงใช้งบประมาณมาก ให้มีการสนับสนุน
+ การสร้างอาสาสมัครทันตกรรม เพื่อให้การเข้าถึงบริการและเน้นการป้องกัน
+ให้มีคู่มือในการดำเนินงานตามมาตรฐานทันตกรรมของ รพสต.

งานควบคุมภายใน
+ การวางระบบ เป็นการประชุมมอบแนวทางนโยบายการดำเนินงาน
+ พัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่ สอนทักษะในการประเมิน ตรวจสอบภายใน
+ ประเมินผลตามมาตรฐานที่กำหนด ปีนี้ ประเมิน Out come ด้วย
+ คู่มือ กรอบการดำเนินงาน
เสนอแนะ
+ Outcome
+ `ทำให้เป็น Best P!
+ เตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจ
+ การควบคุมภายใน รองรับตัว Focal point ด้วย
+ ให้มีการคืนข้อมูล และการฟีดแบค ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
+ ให้มีการพัฒนาในระดับอำเภออย่างเป็นรูปธรรม

อนามัยสิ่งแวดล้อม
+ การพัฒนาส่วนอำนวยการ / จัดระบบบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการ
+ มีการพัฒนางานในระดับอำเภอ ล้อภาพจังหวัด
+ พัฒนาศักยภาพบุคลากร ในระดับอำเภอ ตำบล ด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการ จัดทำบัตรเจ้าพนักงาน

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
+ ทีม คบส.ระดับจังหวัด ระดับ คปสอ. เน้นใน ๔ เทศบาลใหญ่ มี เมือง ศรีสงคราม นาแก ธาตุพนม ในระดับ รพสต. เน้นเรื่องการป้องปราม เชิงบวก ในเรื่องการโฆษณา มีการอบรมดีเจสถานีวิทยุ มีเฟสบุคโซน จำนวน ๔ โซน ให้พี่เลี้ยงทำหน้าที่ดูแล สนับสนุนอุปกรณ์ การวิเคราะห์ไฟล์โฆษณา ว่ามีข้อความที่เกินจริงหรือไม่ นครพนม เป็นจังหวัดเดียวที่ใช้งบกองทุน ในงาน คบส. ทำงานในลักษณะ goal ทีม
+ มีภาคีเครือข่าย โรงเรียน อย.น้อย /อสม./สถานีวิทยุ/ ผู้ประกอบการร้านค้าขายส่ง อาหารสด / ผู้บริหาร ทำตามมาตรฐาน gmp / ส่งเสริมให้ท้องถิ่นบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง/ เกษตรร่วมทีมตรวจสอบ primary GMP
ข้อเสนอแนะ
+ ปรับกระบวนการ ในลักษณะโคชชิ่งและการป้องปราม มากกว่า ตรวจจับ
+ ยาสุนไพรที่จำหน่ายในงานพระธาตุพนม เยอะมาก ทำอย่างไร กระบวนการจัดการ สายลับ อย. มีหรือไม่ ทำอย่างไร

สุขภาพภาคประชาชน แพทย์แผนไทย
+ ปัญหา ขาดการมีส่วนร่วม /วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ/ จนท. อสท. ขาดความรู้ทักษะ /ขาดการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ
+ ให้มีการกำหนดนโยบายเป็นวาระจังหวัด / จัดทำแผนงานโครงการ / เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน
+ พัฒนาบุคลากร เจ้าหน้าที่ อสม. / เน้นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ / ถอดบทเรียนการจัดการสุขภาพ /
+ พัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน / ระบบข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
+ งบประมาณ ได้จากกรม สบส. เน้นการพัฒนา อสม. / การจัดงานวัน อสม. /
+ มีคณะกรรมการบริหารเป้าประสงค์ ตำบลจัดการสุขภาพ
ข้อเสนอแนะ
+บูรณาการการประเมิน ไม่ให้เป็นภาระของพื้นที่
+ การพัฒนาให้แต่ละอำเภอมี best practise
+ บูรณาการเข้ากับโครงการนครพนมเมืองสะอาด คนในชาติเป็นสุข

โรคติดต่อ
+ มีตัวชี้วัด ๒ ตัว
๑. การจัดการโรคภัยที่สำคัญของจังหวัด
๒. การเตรียมความพร้อมโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน
+ จัดทำ ๗บล๊อคในแต่ละเรื่องและโรค
ข้อเสนอแนะ
+ การสนับสนุนในพื้นที่ เพราะเราคาดหวังจากท้องถิ่นไม่ได้เต็มที่ เพิ่มก่อนช่วงการระบาดต้องมีระบบการสนับสนุนก่อน

การเงินบัญชี ประเมิน รพ.
นวัตกรรม
๑. คู่มือระดับอำเภอ
๒. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ
+planfil รพ
+แบบตรวจจับทางการเงิน
+ความรู้ผู้จัดการทางการเงินของ รพ. ต้องมีการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่
+ให้มีเจ้าหน้าที่การเงินเข้าร่วมร่วม ให้มีการบูรณาการ

ระบบข้อมูลข้อมูลข่าวสาร it
ข้อเสนอแนะ
+ เน้นข้อมูลที่ส่งผลต่องบประมาณ

ระบบการพัฒนาคุณภาพ
+ ทุติยภูมิ
+ปฐมภูมิ
เน้น มาตรฐานคุณภาพเพิ่มเติม /เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / พัฒนาฐานข้อมูลตามเทมเพลตคุณภาพต่างๆ / การวางระบบไอซีใน รพ.สต. ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน รพสต.ตามเกณฑ์ที่กำหนด / พัฒนาเจ้าหน้าที่ทั้งความรู้ ทักษะ ภาษา
นวัตกรรม
+ พัฒนานวัตกรรมในระดับพื้นที่ / ต่อยอดองค์ความรู้ในการดำเนินงานแพทย์แผนไทย

ยุทธศาสตร์
๑. ให้มีการประเมินแบบใหม่

ความคิดของคนเนาะ มากมายหลากหลาย ดีๆ ทั้งนั้น แต่ให้ทำทั้งหมดคงไม่ไหว ขอให้มีตัวเลือกหน่อยก็แล้วกัน

กลับบ้านค่ำอีกแล้ว
17.00น

หมายเลขบันทึก: 594344เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2015 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2015 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท