สรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2558


ผลการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน

1. โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558 ให้ได้มาตรฐานสากล

จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 -2561) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ว่าด้วยการพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง และทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ โดยพัฒนาส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) ได้กำหนดกลยุทธ์ให้ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ ใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1.พัฒนาหน่วยงานของรัฐให้มีขีดสมรรถนะสูง 2.พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ 3.เพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการโดยการลดต้นทุนและส่งเสริมนวัตกรรม 4.สร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งกรมควบคุมโรคในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในระบบราชการ ได้รับถ่ายทอดนโยบายดังกล่าว และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูงได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้เพื่อให้กรมควบคุมโรคมีระบบบริหารจัดการองค์กรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล และมีบุคลากรที่มีขีดสมรรถนะตามที่กำหนด

ในการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขมีการกำหนดบทบาทกรมควบคุมโรคที่ชัดเจนคือ National Health Authority (NHA) and Regulator ซึ่งมียุทธศาสตร์หนึ่งคือ การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการระบบสนับสนุน มีความท้าทายในการขับเคลื่อนงานของกรมควบคุมโรคในประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ การสื่อสารทั่วทั้งองค์กรและสมรรถนะ ศักยภาพของบุคลากรด้านการควบคุมโรค รวมถึงจุดเน้น 5 ปี กรมควบคุมโรคในการพัฒนาเชิงระบบ (Backbone) ด้านกลไกการเฝ้าระวัง ตอบสนองต่อโรคและภัยสุขภาพ (HL1) การจัดการความรู้ การรับรองมาตรฐาน และการประเมินเทคโนโลยี (HL102) และการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (HL103) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดระบบการพัฒนาคุณภาพด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่ประสิทธิภาพต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการปรับปรุงการทำงานยกระดับการบริหารจัดการโดยนำเทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐสำนักงาน ก.พ.ร.ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)โดยต้องการที่จะเห็นหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นการนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเอง มีความคิดริเริ่ม ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ และทำงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ กรมควบคุมโรค ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจึงมีนโยบายให้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานขององค์กรไปสู่มาตรฐานสากล ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมควบคุมโรค ในส่วนภูมิภาคที่ร่วมผลักดัน/สนับสนุนให้กรมควบคุมโรคบรรลุเป้าหมายดังที่กล่าวในข้างต้น ได้รับมอบนโยบาย และกรอบการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 6 ของกรมควบคุมโรค ในการพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กร และบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูง ได้มาตรฐานสากล โดยใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ให้ครอบคลุมทั้ง 7 หมวด ดังนั้น ในการนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการองค์กรมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เพื่อให้องค์กรดำเนินการบริหารจัดการภาครัฐได้ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด ตามนโยบายการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ที่ 6 ปีงบประมาณ 2558 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558 ให้ได้มาตรฐานสากล ขึ้น เพื่อพัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการองค์กรตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด และพัฒนาปรับปรุงองค์กร เพื่อมุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศต่อไป

2. วัตถุประสงค์

เพื่อให้ระบบบริหารจัดการองค์กรมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล

3. ผลการดำเนินงาน

ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558 มีผลการดำเนินงานดังนี้

3.1 หน่วยงานดำเนินการบริหารจัดการภาครัฐ ตามตัวชี้วัดที่ 6 ระดับความสำเร็จของหน่วยงานในการดำเนินการบริหารจัดการภาครัฐได้ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด 5 ขั้นตอน ดังนี้

  • แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร และจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน
  • ทบทวนและจัดทำรายงานลักษณะสำคัญองค์กร
  • คัดเลือกและจัดทำ (ร่าง) รายงานผลงานคุณภาพ ปี 2558
  • จัดทำรายงานผลงานคุณภาพเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพ ปี 2558 เรื่อง การรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (MDR-TB) แบบ Delivery (ประเภทรางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ) และเตรียมการขอรับรางวัลคุณภาพ ปี 2559 เรื่อง อุปกรณ์ลดฝุ่นหินนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน (ประเภทรางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ)
  • สรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน

3.2 มีการดำเนินการตามแผนงานโครงการ 6 กิจกรรม ดังนี้

  • การนำองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม (หมวด 1 การนำองค์กร)
  • การจัดทำยุทธศาสตร์และการถ่ายทอดกลยุทธ์หลักเพื่อนำไปปฏิบัติ (หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์)
  • ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
  • การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการ การจัดการสารสนเทศและความรู้ (หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้)
  • กระบวนการสร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุน (หมวด 6 การจัดการกระบวนการ)
  • ประสิทธิผล คุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาองค์กร (หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ)

หมายเหตุ: หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร ได้จัดทำโครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ให้มีขีดสมรรถนะสูง ปี 2558

3.3 มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน 12 กิจกรรม ดังนี้

  • สื่อสารถ่ายทอดการถ่ายระดับตัวชี้วัดที่ 6 ระดับความสำเร็จของหน่วยงานในการดำเนินการบริหารจัดการภาครัฐได้ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด (ต.ค.-พ.ย.2557)
  • แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร (PMQA) สคร.5 ประกอบด้วย ผู้บริหาร และบุคลากรจากทุกกลุ่มงาน (ต.ค.2557)
  • รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร ในการประชุมผู้บริหาร สคร.5 (ทุก 2 เดือน)
  • จัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของสคร.5 เสนอผู้บริหารหน่วยงาน (15 ธ.ค.2557)
  • ร่วมประชุมเรื่อง หลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณารางวัลคุณภาพ ปี 2558 ผ่านระบบ VDO Conference (10 พ.ย.2557)
  • ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร (PMQA) สคร.5 วันที่ 9 ธ.ค.2557 เพื่อจัดทำรายงานลักษณะสำคัญองค์กร ส่ง กพร. (16 ธ.ค.2557) และคัดเลือกผลงานคุณภาพ ปี 2558 จำนวน 1 ผลงานเรื่อง “การรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (MDR-TB) แบบ Delivery”
  • รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงาน (SAR) รายงานในระบบ EstimatesSM และแนบไฟล์ที่กำหนดในแต่ละขั้นตอน รอบ 3, 6, 9, 12 เดือน
  • จัดทำ (ร่าง) รายงานผลงานคุณภาพที่ครบถ้วน และจัดส่ง กพร. (30 ธ.ค.2557)
  • ผู้เขียนผลงาน ผู้ช่วยเขียนผลงาน และบุคลากรกลุ่มพัฒนาองค์ สคร.5 เข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาในการพิจารณาการเขียนขอรับรางวัล ผ่านระบบ VDO conference (7 ม.ค.2558)
  • จัดทำรายงานผลงานคุณภาพ ปี 2558 เสนอผู้บริหาร ส่ง กพร. (15 ม.ค.2558)
  • ประชุมคัดเลือกผลงานคุณภาพ ปี 2559 (9 ธ.ค.2557) จัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำผลงานคุณภาพ และจัดทำ (ร่าง) เอกสารสมัครขอรับรางวัลผลงานคุณภาพ ปี 2559 จำนวน 1 ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน” ส่ง กพร. (ภายใน 15 ก.ย.2558)
  • สรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน (19 ส.ค.2558)
  • 3.4 ผลผลิตของกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558 ให้ได้มาตรฐานสากล มีรายละเอียดดังตาราง ตารางที่ 1 ผลผลิตของกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรฯ ปี 2558
    ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลลัพธ์
    (1) ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการนำองค์การของผู้บริหาร ร้อยละ 70 ร้อยละ 79.85
    (2) ร้อยละของตัวชี้วัดระดับบุคคลที่สอดคล้องตามเป้าหมายขององค์การ ร้อยละ 70 ร้อยละ 100
    (3) ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ (คลินิกมาลาเรีย ณ ก.ค.2558) ร้อยละ 75 ร้อยละ 98.61
    (4) ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าถึงหรือเข้ามาใช้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ของส่วนราชการ ร้อยละ 70 ร้อยละ 84.07
    (5) ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จจากผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้อย่างน้อย 3 องค์ความรู้ ร้อยละ 90 ร้อยละ 100
    (6) ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อองค์การ ร้อยละ 70 ร้อยละ 81.75
    (7) ร้อยละของกระบวนการสร้างคุณค่าที่มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ร้อยละ 50 ร้อยละ 66.67
    (8) ร้อยละของผลลัพธ์การดำเนินการ (หมวด 7) ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ร้อยละ 80 ร้อยละ 96.67
    มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานในการประชุมผู้บริหาร สคร.5 ทุก 2 เดือน มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงาน (SAR) ในระบบ EstimatesSM รอบ 3, 6, 9, 12 เดือน และมีการจัดทำบทสรุปผู้บริหาร เสนอผู้อำนวยการ สคร.5 รอบ 6, 12 เดือน 4. ปัญหาในการดำเนินงาน (1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการทบทวนลักษณะสำคัญองค์กรหรือโครงร่างองค์กร การร่วมพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กร และการพัฒนาสมรรถนะองค์กร (เพื่อปิด GAP ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ ด้านการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร) เฉพาะบุคลากรบางกลุ่มและยังไม่ต่อเนื่อง (2) คณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร และทีมเขียนรายงานคุณภาพ ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลสำหรับใช้ในการจัดทำรายงาน ยังมีข้อมูลไม่ครอบคลุม ไม่ทันสมัยในบางประเด็น และบางส่วนยังไม่ได้ดำเนินการ (3) ยังไม่มีการทบทวนระบบงาน (Work system) กระบวนการทำงาน (Work process) และจัดทำ/ทบทวนคู่มือการปฏิบัติงาน (Work manual) หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ทุกด้าน (4) ยังไม่มีกลไกในการสร้างทีมเพื่อพัฒนาองค์กรและการเขียนรายงานผลงานคุณภาพ ผลงานที่จะนำมาเขียนรายงานผลงานคุณภาพเป็นผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินบางประเด็นอาจยังไม่ครบถ้วน ทำให้ต้องดำเนินการเพิ่ม ผู้รับผิดชอบและผู้เขียนรายงานคุณภาพยังไม่เข้าใจการเขียนผลงานอย่างลึกซึ้ง ยังไม่มีความสนใจและไม่มีแรงจูงใจที่มากพอ 5. การแก้ไขปัญหาที่หน่วยงานได้ดำเนินการ (1) การสื่อสารถ่ายทอดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร และการเขียนรายงานคุณภาพ โดยผู้อำนวยการ สคร.5 อย่างต่อเนื่อง (2) มีการถ่ายระดับตัวชี้วัดด้านการพัฒนาองค์กรลงสู่กลุ่มงานต่างๆ (Supporter) อย่างเป็นขั้นตอน และกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน โดยกำหนดเป็นข้อตกลงการปฏิบัติราชการของกลุ่มงาน (MOU) และสามารถถ่ายระดับลงสู่บุคคล (PMS) ได้ชัดเจน รวมทั้งใช้ในการติดตามการดำเนินงาน (แบบมอบหมายงาน) และเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มงานและบุคคลได้ (3) สร้างทีมในการเขียนรายงาน ตามบทบาทหน้าที่ คุณสมบัติและความสามารถด้านการเขียนรายงาน โดยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มงาน ให้การสนับสนุนร่วมมือ (4) เลือกผลงานที่เคยได้รับรางวัลหรือเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่อง มาพัฒนาการเขียนขอรับรางวัลคุณภาพ พัฒนาทีมในการเขียนรายงานผลงานคุณภาพ เพื่อให้มีความเข้าใจในการจัดทำผลงาน เกณฑ์ประเมิน สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาร่วมกับทีมงาน และนำเสนอให้ผู้บริหารทราบเพื่อผลักดัน สร้างแรงจูงใจด้านการสนับสนุนงบประมาณ นำไปเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มงานและบุคคล (5) ใช้การสื่อสารประสานงานหลายช่องทาง สร้างสัมพันธภาพ และมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานทุกด้าน รวมทั้งการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร การขอสนับสนุนงบประมาณ เป็นต้น 6. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา 6.1 การดำเนินการโดยหน่วยงาน (1) นโยบายของผู้บริหารในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพองค์กร การจัดทำรายงานคุณภาพตามเกณฑ์ และพัฒนา (ปิด GAP) มีการสื่อสารถ่ายทอดไปยังกลุ่มงานและบุคคล (2) วางแผนการสร้างผลงานคุณภาพในแต่ละปี สอดคล้องกับแผนงานโครงการและการดำเนินงาน โดยกลุ่มพัฒนาองค์กรร่วมกับกลุ่มงานที่จัดทำรายงานคุณภาพ เสนอแผนปฏิบัติราชการประจำปี (3) สร้างทีมเขียนรายงานผลงานคุณภาพจากหลายกลุ่มงาน ตามบทบาทหน้าที่ คุณสมบัติ และความสามารถด้านการเขียนรายงานและการหาข้อมูล รวมทั้งสร้างแรงจูงใจที่เพียงพอเหมาะสม โดยผู้บริหารหน่วยงานให้การสนับสนุนร่วมมือ 6.2 ข้อเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อการกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ (1) การกำหนดโครงร่างองค์กรให้ชัดเจน และทบทวนก่อนการทำแผนปฏิบัติราชการทุกปี เช่น ผลิตภัณฑ์หลักของหน่วยงาน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จุดแข็งของหน่วยงาน การพิจารณาความคาดหวังหรือความต้องการของลูกค้า เป็นต้น (2) การส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง เช่น ด้านการเรียนรู้ การบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน การสร้างแบบอย่างที่ดี เป็นต้น (3) การกำหนดนโยบายและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางวิชาการของหน่วยงาน และเป็นผลงานหลักขององค์กร สนับสนุนแผนงานโครงการด้านผลงานคุณภาพและการประเมินผลลัพธ์ ในแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานทุกปี เพื่อสร้างแรงจูงใจ 7. ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงาน (1) ผู้บริหารของกรมควบคุมโรค และผู้บริหารของสคร.5 มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กรที่ชัดเจน ขับเคลื่อนด้วยผู้บริหาร และบุคลากรทุกกลุ่มงานให้ความสำคัญ มีการสื่อสารให้บุคลากรทราบหลายช่องทางอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนงบประมาณ มีการกำกับติดตามในการประชุมผู้บริหารทุกเดือน โดยมีการถ่ายระดับตัวชี้วัดสู่กลุ่มงานและบุคคลอย่างชัดเจน (2) มีคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรของหน่วยงาน และผู้เขียนผลงานคุณภาพที่เสียสละ ทุ่มเท อดทน ในการทบทวนลักษณะสำคัญองค์กร การจัดทำ/ทบทวนคู่มือการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน และการเขียนรายงานผลงานคุณภาพ (3) มีเครือข่ายการพัฒนาองค์กรสคร.5 6 7 ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสื่อสารประสานงานกับส่วนกลางทันทีเมื่อเกิดความไม่ชัดเจนหรือเกิดปัญหาในการดำเนินงาน
หมายเลขบันทึก: 593944เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท