"การฟ้อนสาวไหม"


"การฟ้อนสาวไหม"
เป็นการฟ้อนรำที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นการเลียนแบบท่าทางการสาวไหมของหญิงสาว ที่ยามค่ำว่างจากการทำงาน ในพื้นที่เกษตรก็จะนิยมทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม
ผู้คิดค้นประดิษฐ์ ท่าฟ้อนสาวไหมขึ้นเป็นคนแรก ได้ค้นจากหลาย website พบว่าข้อมูลได้ระบุผู้คิดค้นคือ พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาพ่อครูกุยได้ถ่ายทอดท่าฟ้อนให้บุตรสาวคือแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีพรเป็นผู้สืบทอด
แม่ครูบัวเรียว เล่าถึงประวัติความเป็นมาของ การฟ้อนสาวไหมว่าถ่ายทอดมาจาก วิถีชีวิตของชาวล้านนา ตั้งแต่การเก็บดอกฝ้าย สาวเส้นฝ้าย เข้าสู่กระบวนการถักทอที่ปราณีตบรรจง จนกลายมาเป็นผืนผ้าในที่สุด
สำหรับท่ารำแม่ครูบัวเรียวได้ดัดแปลงลีลา การฟ้อนต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยและลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ซึ่งในแต่ละท่วงท่าก็มีที่มาจาก ภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิมทั้งสิ้น ส่วนท่ารำปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 593695เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2015 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2015 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท