การจัดการความรู้ของ สพท.


เกือบ 3 ปี ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลการจัดการความรู้ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี สิ่งที่ได้ทำก็คือ คัดเลือกทีมงานที่สมัครใจมาทำงานร่วมกัน โดยเราจะเป็นผู้ขออนุญาตหัวหน้าของน้องๆที่เป็นทีมงานให่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความสบายใจของทุกคน สิ่งแรกที่ได้ดำเนินการก็คือ ประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ KM เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม ส่วนใหญ่จะท่องจำ แต่ก็มีบางท่านที่เข้าใจก็จะทำหน้าที่ในการเคลียร์กันเอง โดยใช้เครื่องมือสายธารปัญญา

ความพร้อมของทีมงาน "ใจ" เป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนงานได้มากที่สุด โดยให้เลือก ให้กำหนดประเด็น และให้วางกระบวนงานกันเอง คำว่า "KM เนียนอยู่ในเนื้องาน" เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากต่อการเข้าใจ เพราะส่วนใหญ่จะแบก KM ไว้กับตัว จึงใช้วิธีการฟังน้องๆทีมงานดูว่า จะเอางัยกัน เราก็เอาตามนั้นเพื่อให้ลองทำกันเอง หลังจากนั้นค่อยมาหารือ อภิปรายผลร่วมกันเอง ก็จะเกิดความรู้และเข้าใจ ซึ่งแต่ละคนจะต้องสรุปความรู้ด้วยตนเอง ถามว่า ยากมั้ย คำตอบคือ ยากค่ะ

การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร ตอนนี้ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม แต่ปรับเปลี่ยนไปตามหน่วยงานต่างๆ ส่วนสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบงาน KM ก็เลยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรโดยเริ่มจากน้องๆภายในสำนักฯ และกำลังขยายวงสู่การจัดเก็บความรู้ของหน่วยงานย่อยต่างๆ ในรูปสื่อต่างๆ ส่วนการแลกเปลี่ยนก็อาศัยช่องทาง Social Media ตามที่กลุ่มคนต่างๆถนัด มาถึงวันนี้ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ถ้าใช้เป็น KM จะเป็นทางลัดในการทำงานได้เยี่ยมมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 593151เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2015 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2015 09:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-สนับสนุน"การทำให้ KM เนียนอยู่ในเนื้องาน"....ครับ

-ณ ตอนนี้มี "คลังความรู้อยู่ในตัวนักส่งเสริมการเกษตร"เหลือเพียงแต่การนำมา"เปิดและเผยแพร่พร้อมกับส่งต่อความรู้ให้กับนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นต่อไปครับ...

-ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท