ติวเข้มนักศึกษาเชื่อมโยงหลักภาวนาผลิตงานสารคดี เพราะ "การภาวนา" นั้นไร้ข้อจำกัด


ติวเข้มนักศึกษาเชื่อมโยงหลักภาวนาผลิตงานสารคดี เพราะ "การภาวนา" นั้นไร้ข้อจำกัด

ตอนสายเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บรรดานักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
จึงเชื่อมโยงหลักคิดการภาวนาเข้ากับการผลิตสื่อผ่านโครงการ “กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสารคดี” ศ.ดร. อภิญญา อิงอาจ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า กิจกรรมนี้เป็นโครงการย่อยในชุดโครงการ “ภาวนาคือชีวิต : วิถีชีวิตที่เอื้อต่อชุมชนและสังคม” ที่มีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันบ่มเพาะจิตสู่การแปรเปลี่ยนสังคมให้การสนับสนุน โดยนำหลักคิดของการภาวนามา อาทิ การเท่าทันความรู้สึกของตนเอง การมีสติในทุกขณะ การเปิดใจกว้างรับฟังผู้อื่น การทบทวนตัวเองมาเชื่อมโยงเข้ากับการฝึกทักษะการผลิตสื่อ

จากนั้นจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปหาข้อมูลจากบุคคลอื่นๆ เพื่อสร้างงานสารคดีในประเด็นและรูปแบบที่ตนเองสนใจ ทั้งนี้มองว่า หลักการภาวนาสามารถเชื่อมโยงกับงานสารคดีได้ เพราะเมื่อนักศึกษาเข้าใจตนเองและพร้อมจะรับฟังผู้อื่นอย่างจริงใจแล้ว
จะสามารถสะท้อนเรื่องราวที่จะนำเสนอได้ลึกขึ้น เข้าถึงผู้สัมภาษณ์ได้ดีขึ้น มีการปฏิบัติตัวกับแหล่งข่าวมีการตั้งคำถามอย่างมีมารยาท “นักสื่อสารที่ดีจะเข้าใจบริบทสังคมรู้จักการหลบเลี่ยงในเรื่องที่สังคมมีความอ่อนไหวอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทั้งหมดคือหลักสำคัญอย่างหนึ่งในการทำสื่อ ที่ต้องผ่านการคิดอย่างมีเหตุและผล” ผศ.มัทนา เจริญวงศ์ อ.ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักวิจัยโครงการการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เพื่อการผลิตสารคดี อธิบายเสริมว่า ถึงแม้กิจกรรมในครั้งนี้จะดำเนินการเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่อย่างน้อยก็ทำให้เด็กเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจและฝึกปฏิบัติการหาเหตุของผลที่เกิดขึ้น เช่นกิจกรรม การ์ดความรู้สึก ซึ่งมีวิธีการคือให้คนหนึ่งคนหยิบความรู้สึกของตัวเองขึ้นมาและให้เพื่อนๆ พิจารณาถึงสาเหตุของความรู้สึกนั้นๆ

ด้านมุมมองของนักศึกษาอย่าง ศิรวิชญ์ บุญทน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวหลังจากร่วมกิจกรรมว่า กระบวนการภาวนาแม้จะเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาสั้นๆ แต่ทำให้กลับมาวิเคราะห์และมองตัวเองและผู้อื่นมากยิ่งขึ้น “เราเปิดใจรับรู้ความคิดความรู้สึกคนอื่นมากขึ้น ทำให้รู้ว่าควรทำอย่างไรในสถานการณ์แบบไหน ได้รู้จักตัวเอง” ศิรวิชญ์ อธิบายสั้นๆ

ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันเดียวกัน กล่าวว่าที่ได้เข้าร่วมตัวกิจกรรมที่เกี่ยวกับการภาวนาอาจารย์เขาก็สอนว่าให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง รู้สึกอะไร ต้องการอะไร อย่างไรก็ตามมองว่าการภาวนามาเราจะเอาไปปรับใช้ได้เพราะเราเรียนการสื่อสารต้องมีการสัมภาษณ์ การที่เราผ่านกระบวนการภาวนามาก็ทำให้เรารู้ว่าคนที่เราคุยด้วยเขารู้สึกยังไง การกระทำทุกการกระทำเขาอาจมีเหตุผลของเขา วันนี้ที่ลงพื้นที่ได้มาสัมภาษณ์ชาวบ้านก็ได้คุยกับชาวบ้านได้คุยกับเขาได้มองในวิถีการชีวิตเขาว่าเขาต้องการอะไร นอกจากนี้การภาวนายังเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยเพราะมันเป็นวิธีที่ทำให้เราเข้าใจตัวเองช่วยให้จิตใจสงบ”

ขณะที่ ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมภาวนาก็รู้สึกสับสนว่าให้มาทำอะไร แต่พอเข้าร่วมแล้วก็ได้สังเกตความรู้สึกคนอื่น นอกจากนี้การภาวนายังช่วยให้เรามีสมาธิในการเรียน จัดการกับความรู้สึกตัวเองได้ง่ายขึ้นเราก็จะแยกความรู้สึกและจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้มากขึ้น หลักคิดการภาวนา จึงเชื่อมโยงเข้ากับ “กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสารคดี” ได้อย่างลงตัวและเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า“การภาวนา" นั้น ไร้ข้อจำกัดและ ไม่ผูกติดกับเรื่องใดเพียงเรื่องหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 592916เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท