อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี


อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

(อดีต-ปัจจุบัน)

อำเภอท่าวุ้ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี แรกตั้งเป็นอำเภอชื่ออำเภอโพหวี อำเภอท่าวุ้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่นำเสนอต่อไปนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ดังนี้

ยุคที่ ๑. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว (พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๕๑)

ยุคที่ ๒. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๕๒ - ๒๔๕๙)

ยุคที่ ๓. อำเภอท่าวุ้ง ตั้งอยู่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๖๐ - ปัจจุบัน)

ยุคที่ ๑. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว (พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๕๙)

เมื่อตั้งอำเภอท่าวุ้งในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จังหวัดลพบุรี มีอำเภอร่วมสมัย อยู่ ๔ อำเภอ คือ

๑ อำเภอเมืองลพบุรี ๒ อำเภอโพหวี

๓ อำเภอสนามแจง (บ้านหมี่) ๔ อำเภอสระโบสถ์ (อำเภอโคกสำโรง)

(ภาพซ้ายมือเป็นภาพอาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรก ที่สร้างประมาณปีพ.ศ. ๒๔๔๒ภาพอาคารขวามือเป็นอาคารที่กรมศิลปากรสร้างใหม่ ณ ที่เดิมในปีพ.ศ.๒๕๕๔ ตามแบบแปลนเดิมขยายกว้างขึ้น โดยเพิ่มยกพื้นใต้ถุนสูงและออกมุขคลุมบันได)

อำเภอโพหวีแรกตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี (หันหน้าล่องตามน้ำ) ลักษณะอาคาร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นกลางให้สูงขึ้นประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร จากพื้นระเบียงรอบๆ ต่อมาหลวงพิจารณา (หร่ำ) นายอำเภอคนที่ ๒ เห็นว่าตั้งอยู่ใกล้ริมตลิ่งแม่น้ำลพบุรีมากเกินไปจึงขยับย้ายเข้ามา ๑๐ วาเศษ ส่วนรูปแบบอาคารเหมือนเดิม ไม่มีฝารอบขอบชิด เป็นศาลาโถงมักเรียกกันว่า “ศาลาหลวง” บางคนก็เรียกว่า “ศาลาตาหลวง” เพราะหลวงพิจารณา (หร่ำ)เป็นคนสร้าง และใช้ว่าราชการงานอำเภอ และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน


ตั้งเป็นอำเภอโพหวีครั้งแรกและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าวุ้งแล้ว รวมมีนายอำเภอเรียงลำดับดังนี้

๑.นายนวน (พ.ศ. ๒๔๔๒)

๒.หลวงพิจารณา (หร่ำ) (พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๔๙)

๓.ขุนภูดาษ (โอด) (พ.ศ. ๒๔๕๐)

๔.ขุนมนุญกิจกรณ์ (ต้อ) (พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๑)

ยุคที่ ๒ : อำเภอโพหวี ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๕๒ - ๒๔๕๙)

ในยุคที่ ๒ ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว มาตั้งที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง แต่ยังคงใช้ชื่อว่า “อำเภอโพหวี” เหมือนเดิม

สาเหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านคลองโพมาที่บ้านท่าวุ้ง เพราะเหตุผลที่ต้องยอมรับและน่าจะถูกต้อง ๓ ประการดังนี้

ใกล้ที่ตั้งที่ว่าราชการเมือง บ้านคลองโพ ห่างจากที่ว่าราชการเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร เพราะที่ว่าราชการเมืองขณะนั้นอยู่ที่บ้านต้นสะตือ เยื้องหน้าวัดมะปรางหวาน ตำบลพรหมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี เกือบตรงข้ามวัดกำแพง (ปัจจุบันคือวัดเทพโพธิกุญชร)

ไม่เป็นศูนย์กลางพื้นที่การปกครอง ระยะทางจากตำบลต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอโพหวี ที่บ้านคลองโพ มีความแตกต่างกันมากบางตำบลก็อยู่ใกล้ บางตำบลก็ไกลมาก ดังนั้นการไปมาของราษฎรที่จะมาติดต่องานกับทางอำเภอจึงยากลำบากมากสำหรับตำบลที่อยู่ห่างไกล

ที่ตั้งใหม่เป็นศูนย์กลาง การสร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง นั้นทำให้หมู่บ้านหรือตำบลต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอพอๆ กัน นับว่าที่ตั้งอำเภอโพหวีแห่งใหม่นี้ เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกตำบลไปมาสะดวก ไม่ใกล้ที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองมากเหมือนที่ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ

(ภาพที่ว่าการอำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี แบบแปลนร่วมสมัยกับที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง ที่สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๒)

สำหรับปีที่ย้ายที่ว่าการอำเภอโพหวี ที่บ้านคลองโพ มาอยู่ที่บ้านท่าวุ้งนั้น สันนิษฐานว่าคงสร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงย้ายมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่ว่าการอำเภอโพหวีที่บ้านท่าวุ้ง นับเป็นที่ว่าการอำเภอโดยแท้จริงหลังแรก ที่ว่าการอำเภอมีลักษณะเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูงชั้นเดียวแบบออกมุขตรงกลาง หันหน้าสู่แม่น้ำลพบุรี ที่หน้าอำเภอมีสะพานท่าน้ำทอดออกพ้นตลิ่งไปประมาณ ๔ วา ระหว่างที่ว่าการอำเภอกับสะพานท่าน้ำ มีการสร้างถนนติดต่อกันยาวประมาณ ๑๗ วา และถนนอีกสายหนึ่งจากที่พักกรมการอำเภอไปจดท่าน้ำยาวประมาณ ๑๗ วา เช่นกัน


  • ยุคที่ ๒ นี้ มีนายอำเภอมาดำรงตำแหน่งอยู่ ๓ ท่าน ดังนี้

๕.นายเขิน สิงหพันธ์ (พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๖)

๖.ขุนพิทักษ์ประชาชน (สมพงษ์) (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗)

๗.ขุนสระธานี (โต่ง) (พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๕๙)

สำหรับอำเภอโพหวีที่ยกมาตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง ยังไม่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า อำเภอท่าวุ้งในขณะนั้น จนกระทั่ง วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอโพหวี เป็นอำเภอท่าวุ้ง ตามชื่อที่ตั้งของตำบลท่าวุ้ง

ยุคที่ ๓ : อำเภอท่าวุ้ง ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๖๐-ปัจจุบัน )

ยุคที่ ๓ นี้ ที่ว่าการอำเภอท่าวุ้งลงหลักปักฐาน ที่บ้านท่าวุ้ง และมีพัฒนาการไปตามทิศทางของผู้นำ และสังคมแต่ละสมัยทำให้อำเภอท่าวุ้งมีความเจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ มีผู้มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ดังนี้

๘.ขุนพิทักษ์ลพนิกร (ปั่น นิยมจันทร์) (พ.ศ.๒๔๕๙ - ๒๔๖๘)

๙.ขุนสมิงสมัครการ (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๖๙ หรือ ๒๔๗๐)

๑๐.นายถวิล บัณฑิตกุล (พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๕)

๑๑.นายศิริ สันตะบุตร (๑ เมษายน ๒๔๘๐ - ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๓)

๑๒.นายสาลี สุวรรณเทศ (๑๓ ตุลาคม ๒๔๘๓ - ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๔)

๑๓.นายเสริม สายเขมะ (๑ เมษายน ๒๔๘๕ - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖)

๑๔.นายอเนก พยัคฆันตร์ (๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗)

๑๕.นายเพชร บูรณะวรศิริ (๑ มีนาคม ๒๔๘๗ - ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๘)

๑๖.นายวิเชียร นาคภพ (๑ เมษายน ๒๔๘๔ - ๑ ธันวาคม ๒๔๘๙)

๑๗.หลวงสีหบุรานุกิจ (๑ มกราคม ๒๔๙๐ - ๑ ธันวาคม ๒๔๙๑)

๑๘.นายประชิต อินทรัมพรรย์ (๑ ธันวาคม ๒๔๙๑ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๔)

๑๙.นายวงษ์ ช่อวิเชียร (๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๙๖)


(ภาพที่ว่าการอำเภอพล จ.ขอนแก่น แบบแปลนร่วมสมัยกับที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง ที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๔)

ในสมัยนายวงษ์ ช่อวิเชียร พ.ศ. ๒๔๙๔ รื้อที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ที่นับว่าเป็นหลังแรกเมื่อมาอยู่ที่บ้านท่าวุ้ง เพราะอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก และสร้างใหม่แล้วเสร็จเปิดเป็นที่ว่าการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕

๒๐.นายวิเชียร จะวะสิต (๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๘

๒๑.นายวงศ์ ประพันธเสน (๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑)

๒๒.นายบำรุง สุขบุษย์ (๑ เมษายน ๒๕๐๑ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๒)

๒๓.นายประเวศ ศรีปลั่ง (๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ - ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๓)

๒๔.สีห์ ปล่องทอง (๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๓ - ๓๐ กันยายน ๒๕๐๗)

๒๕.นายธานี โรจนลักษณ์ (๑ ตุลาคม ๒๕๐๗ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗)

๒๖.นายสีห์ ปล่องทอง (๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ - ๒๙ เมษายน ๒๕๐๙)

๒๗.นายพิริยะ ชาตะสุภณ (๒๙ เมษายน ๒๕๐๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓)

๒๘.นายปรีชา กาญจนานนท์ (๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๑๕)

๒๙.นายพิสิษฐ์ ชมปรีดา (๒๗ มีนาคม ๒๕๑๕ - ๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)

๓๐.นายอรุณ วิไลรัตน์ (๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ - ๘ ตุลาคม ๒๕๑๙)

๓๑.นายประคอง วปินานนท์ (๙ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒)

๓๒.นายสมจิตต์ ริ้วทอง (๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๒)

๓๓.นายวัฒนะ เก็จมะยูร (๑ มิถุนายน ๒๕๒๒ - ๒๑ เมษายน ๒๕๒๗)

๓๔.นายบุญธรรม กลั่นขจร (๒๑ เมษายน ๒๕๒๗ - ๓ ตุลาคม ๒๕๒๙)

๓๕.นายจำนูญ กาวิละ (๖ ตุลาคม ๒๕๒๙ - ๓๐ กันยายน๒๕๓๐)

๓๖.นายวิทยา อุยะเสถียร (๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๐ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๒)

๓๗.นายมนตรี ตระกูลแพทย์ (๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ - ๕ ตุลาคม ๒๕๓๕)

๓๘.นายถาวร โพธิสมบัติ (๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๕ - ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๗)

๓๙.นายสมยศ วิทวัสสำราญกุล (๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๗ - ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐)

มีเหตุการณ์สำคัญในสมัยของท่าน คือ กรมการปกครองจัดสรรงบประมาณมาให้ก่อสร้างอำเภอใหม่ จึงรื้ออาคารที่ว่าการอำเภอเก่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างอาคารใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๓๙ นับเป็นอาคารหลังที่ ๓ ที่ตั้งอยู่ที่บ้านท่าวุ้ง


๔๐.นายนิพันธ์ ชลวิทย์ (๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ - ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑)

๔๑.นายปรีชา หุ่นสุวรรณ (๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ - ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๔)

๔๒.นายสาโรช แสงอรุณ (๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ - ๕ ตุลาคม ๒๕๔๖)

๔๓.นายยุติศักดิ์ เอกอัคร (๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐)

๔๔.นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม (๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒)

๔๕.นายวิบูลย์ เลาหสุรโยธิน (๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ – ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔)

๔๖.นางสาวปาณี นาคะนาท (๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ – ๗ พฤษภาคม ๒๔๕๕)

๔๗.นายธานี มาลีหอม (๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ – ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๖)

๔๘.นายสมยศ มะลิลา (๑๑ มีนาคม ๒๕๕๖ - ๒๕ มกราคม ๒๕๕๘)

๔๙.นายปรัชญา เปปะตัง (๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘ - ถึงปัจจุบัน)

---------------------------------------

อ้างอิง : นายศรี อิ่มสุข และ ผศ.ศิริเพ็ญ มากบุญ , ถิ่นที่อยู่ “อำเภอท่าวุ้ง” , โรงพิมพ์กรุงไทยการพิมพ์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี , ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖, หน้า ๑-๒๗

หมายเลขบันทึก: 592314เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2015 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท