ประเมินเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เขตสุขภาพที่ ๘


ประเมินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กประถมศึกษาและเด็กเล็ก

เขตสุขภาพที่ ๘ (อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม บึงกาฬ หนองคาย)

วันที่ ๑๖ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘

ณ โรงแรมเอ็มเจ มาเจสติก จ.สกลนคร

สิ่งที่ได้ตามความคาดหวัง เกินความคาดหวัง

  • ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
  • ประทับใจ เพิ่มแรงบันดาลใจ
  • ทราบทิศทาง นโยบาย แนวทางการทำงานของเครือข่ายเพิ่มขึ้น
  • เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในการดำเนินโครงการ การเก็บข้อมูล
  • นำเคล็ดลับจากพื้นที่อื่น ประยุกต์ใช้พื้นที่ตนเอง
  • เรียนรู้งานเชิงรุก พัฒนาการทำงานในชุมชน

๑. ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

  • ได้รู้จักคนเพิ่ม ได้เพื่อนใหม่ รู้จักเพื่อนต่างจังหวัด
  • ได้สร้างสัมพันธ์กับทันตบุคลากรนอกเขตจังหวัด
  • พบปะพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ในแต่ละอำเภอของเขต ๘
  • ได้รู้จักเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทันตแพทย์ในเขตเดียวกัน

๒. สิ่งที่ประทับใจ เพิ่มแรงบันดาลใจ

  • เป็นเวทีการนำเสนอที่แปลกใหม่ เห็นแนวคิดการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ
  • ประทับใจช่วงเสนอโครงการที่ทำแต่ละพื้นที่ อยากฟังทุกที่ ด้วยตัวเอง
  • เป็นกันเองมาก เกิดมิตรไมตรี ต่อเพื่อนร่วมงาน หรือมีการแลกเปลี่ยนเป็นบางส่วน (มีเครือข่ายเล็กๆ)
  • ได้แรงบันดาลใจในการทำงาน
  • แรงบันดาลใจในการทำงานเชิงรุก ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน
  • เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานส่งเสริม
  • ให้ผู้ปฏิบัติงานจริงมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น
  • ได้รับ trick การทำงานส่งเสริมในกลุ่มอายุต่าง ๆ
  • ได้พักผ่อน

๓. ทราบทิศทาง นโยบาย มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการทำงานของเครือข่ายเพิ่มขึ้น

  • กิจกรรม input ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้รู้ว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับเขตสุขภาพกลุ่มเด็ก ๐ - ๑๒ ปี
  • ได้รู้จุดที่เป็นปัญหาที่เห็นร่วมกัน มีสุขภาพช่องปากเป็นอย่างไร มีแนวโน้มไปทางไหน และรวมกันหาแนวทางในการแก้ไข
  • มีการประชุมแบบเครือข่าย เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
  • กลวิธีในการประสานงานกับเครือข่าย ได้ฝึกการวางแผนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ได้รู้กระบวนการการทำงานในระดับองค์กรมากขึ้น
  • ได้แนวทางการทำงานเพิ่มขึ้น ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ชัดเจนและเป็นในทางเดียวกัน
  • เห็นภาพรวมของการทำงานทั้งเขต ได้เห็นแนวทาง ทิศทางการดำเนินโครงการของเขต ๘

๔. เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในการดำเนินโครงการ การเก็บข้อมูล

  • ได้เรียนรู้กระบวนการวางแผน เพื่อทำโครงการหนึ่ง ๆ ขึ้นมา ตั้งแต่การสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล จนถึงการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ และการติดตามประเมินผล
  • ได้ความรู้และเทคนิคเพิ่มเติมในการจัดทำโครงการ
  • ได้ประสบการณ์การออกแบบการเก็บข้อมูล
  • ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการทำโครงการ , งานชุมชนจากรุ่นพี่ เคล็ดลับต่างๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งบางครั้งไม่มีในตำราที่เรียนมา

๕. นำเคล็ดลับจากพื้นที่อื่น ประยุกต์ใช้พื้นที่ตนเอง

  • ได้แลกเปลี่ยนวิธีการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก กับจังหวัดอื่น ๆ ทำให้ได้เห็นเคล็ดลับในแต่ละที่ที่แตกต่างออกไปตามบริบทพื้นที่
  • ได้แนวคิดและเคล็ดลับในการทำงานกับเด็ก ๐ - ๑๒ ปี จากการที่ได้ฟังประสบการณ์จากทันตแพทย์ท่านอื่น ๆ
  • ได้ทราบปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องปรับให้เข้ากับบริบทแต่ละพื้นที่
  • ได้เห็นระบบการทำงานในระดับ CUP มากกว่าแค่ฟัง lecture เฉย ๆ เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์หรือเรื่องราวของพี่ ๆ จังหวัดอื่น ทำให้เราเห็นภาพและเข้าใจการทำงานในระดับนี้มากขึ้น
  • แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานของที่อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้
  • ได้วิธีการ/กลวิธี/ไอเดียใหม่ ๆ ที่จะไปประยุกต์ ลองปรับใช้กับบริบทพื้นที่ของตัวเอง
  • ได้แนวทางการทำงาน เอาไปสื่อสารต่อได้

๖. เรียนรู้งานเชิงรุก พัฒนาการทำงานในชุมชน

  • ได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการเข้าหาชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลและเงื่อนไขหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ ในแต่ละชุมชน
  • ประสบการณ์และไอเดียในเรื่องงานส่งเสริม ป้องกัน ทันตสุขภาพ (เน้นกลุ่มวัยเด็ก) ในแง่ การดำเนินงาน การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงกับหน่วยงาน/บุคคล/กลุ่มอื่น (บทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วน)
  • ได้เคล็ดลับวิชาที่จะทำให้งานส่งเสริมประสบความสำเร็จ และแลกเปลี่ยนลักษณะพื้นที่ การทำงาน การวางแผนงานและอุปสรรคต่าง ๆ
  • ได้รับฟังเทคนิค วิธีการ ได้เรียนลัดผ่านประสบการณ์การทำงานในชุมชนของพี่ ๆ ทำให้ได้แนวทางการทำงาน ที่อาจเอาไปประยุกต์นำไปใช้ในพื้นที่
  • ได้ไอเดียที่น่าสนใจในการเริ่มทำงานในเด็กช่วงอายุ ๐ - ๑๒ ปี
  • ได้แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ได้รับ trick การทำงานส่งเสริมในกลุ่มอายุต่าง ๆ
  • ได้ประเด็นที่สามารถปฏิบัติได้จริง

ส่วนสิ่งที่ยังไม่ได้ตามความคาดหวัง หรือข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • อยากได้เอกสาร powerpoint
  • เนื้อหาการประชุมหลวมเกินไป ใน ๗ จังหวัดมีโครงการดี ๆ มากกว่านี้ ควรมีการนำเสนอ
  • แบบแผนในการจัดประชุมควรชัดเจน
  • หากมีการประชุมในวิชาการที่ต้องมีข้อมูล กรุณาแจ้งหรือให้เตรียมข้อมูลล่วงหน้า
  • ควรมีการประชุมที่ไม่ซ้ำ หรือมีการจัดประชุมที่แปลกใหม่ อยากเห็นรูปแบบประชุมที่หลากหลาย ไม่ซ้ำรูปแบบเดิม การนำเสนอเป็นแบบเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมประชุม
  • อยากเห็น CUP manager เข้าร่วมกระบวนการที่แท้จริง เพราะส่วนมากจะเป็นผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในที่ประชุม
  • อยากให้จำลองสถานการณ์การทำงานจริงในรูปแบบ CUP manager เพราะจากการเข้าร่วมฟังพบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ เป็นผู้จบใหม่ และไม่ค่อยมีการแสดงความคิดเห็น
  • หากมีการประชุมครั้งต่อไป ขอให้เป็นวิชาการมากกว่านี้
  • การจัดประชุมอาจใช้เวลาน้อยไป ทำให้คนที่เดินทางมาไกลต้องรีบกลับ
  • เลือกจัดที่จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางให้ง่ายต่อการเดินทางจะดีกว่า เพื่อให้คนอยู่ประชุมครบเวลาจัดงาน
  • ได้ปวดเข่า/ก้น การรู้จักเพื่อนใหม่ยังน้อยอยู่

บันทึกปิดท้าย (ความคิดส่วนตัว)

จากความคิดเห็นและความรู้สึกส่วนใหญ่ของผู้ร่วมเวที ที่ค่อนข้างบวกต่อการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

แต่ในบทบาทสมาชิกทีมผู้จัดกระบวนการต่าง ๆ ของการเรียนรู้ครั้งนี้ ยินดีน้อมรับสิ่งที่ยังไม่ได้ตามความคาดหวังหรือข้อเสนอแนะ

นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก เขตบริการสุขภาพที่ ๘ ต่อไป

เพื่อสร้างโอกาสพัฒนาบุคลากรคนสำคัญต่อการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับอำเภอ (CUP Manager) ใน ๗ จังหวัดอีสานตอนบน

ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและสุขภาพทั้งมวลของเด็ก ๆ และประชาชนที่พวกเราทำงานด้วย (Partner)

^_,^

ขอบพระคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ติดตามอ่านนะคะ

หวังว่าจะได้รับกำลังแรงใจให้พวกเรา สู้ ๆ .... เพื่อเด็กดีมีความสุข ผู้ใหญ่พ้นทุกข์จากโรคนานาในช่องปาก วัยรุ่นปลอดภัยจากลวดจัดฟันแฟชั่น .... ส้าธุ

^_,^

หลับฝัน และฟันดี ไม่ลืมนะคะ .... อิ อิ

^_,^


หมายเลขบันทึก: 591897เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2015 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาร่วมอนุโมทนากับความดีเพื่อสุขภาพช่องปากเช่นนี้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อ.พจนา

ขอบพระคุณมากค่ะคุณป้าใหญ่ ทันตแพทย์และผู้ที่เข้าประชุมตั้งใจร่วมกิจกรรม และส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนมากค่ะ มีบ้างที่อาจจะยังกำลังค้นหาตัวเองว่าชอบทำงานกับประชาชนในรูปแบบอาชีพ "รับราชการ" หรือเปล่า หรือหาทางเลือกแบบอื่น ๆ ไปด้วย

อ่านแล้วมีความสุข

จำภาพวันเก่าๆได้เลย

คุณหมอฟันทำงานอย่างเข้มแข็ง

มาแจ้งว่าไม่ได้ทำกิจกรรมกับ ครูและนักเรียน แต่ทำกับพระด้วยครับ

5555

พลาดไป กลับมาอ่านแล้ว

อ้านแล้วได้บรรยากาศ เกิดแรงจูงใจมากจ๊ะ อยากกลับมาทำงานอีกบ้างจัง

(แก่แล้ว อยู่บ้านเตอะ ป้า ...อันนี้เตอนตัวเองจ๊ะ)

หลากหลายจริง ๆ ค่ะ สำหรับ อ.ขจิต กิจกรรม ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แม้พระสงฆ์ก็ไม่เว้นนะคะ

ภาษาอังกฤษ .... สำคัญค่ะ ^_,^

อูย !!!! ไม่แก่หรอกคร้า อย่างพี่ Nui วัยกำลังงาม เบ่งบานความคิดและมีเวลาลงมือทำตามที่สนใจ และเลือกได้

ขอบคุณที่แวะมานะคะพี่

ยอดเยี่ยมกระบวนการมากครับผม ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท