ดรามา SCB กับกรณี 14 สถาบัน จะไปต่ออย่างไร


....ช่วงนี้กำลังมี ดรามาที่ธนาคารแห่งหนึ่งประกาศรับสมัครงานเฉพาะ 14 มหาวิทยาลัยเท่านั้น ทำให้ศิษย์เก่าและอาจารย์บางคนของมหาวิทยาลัยที่ไม่อยู่ใน 14 แห่ง ไม่พอใจจนจะตอบโต้ด้วยการปิดบัญชีธนาคาร

....ในฐานะที่ทำงานด้าน HR มาหลายปี ต้องยอมรับว่าบริษัทเอกชนชั้นนำมีการแบ่งเกรดมหาวิทยาลัยนานแล้วเพียงแต่ไม่ แจ้งออกมาเหมือนธนาคารนี้ ใบสมัครของนักศึกษาจำนวนมากไม่ถูกหยิบมาดูด้วยซ้ำ

....ถ้าสถาบันการศึกษาต้องการยกระดับเพื่อให้ฝ่ายนายจ้างยอมรับมากยิ่งขึ้น คงต้องยกเครื่องกันยกใหญ่ โดยเปลี่ยนวิธี จัดการศึกษาจากแบบSupply Side มาเป็น Demand Side คือจัดการศึกษาที่เอาความต้องการของภาคธุรกิจเป็นหลัก ไม่ใช่เอาความสะดวกของสถานศึกษาเป็นหลัก เช่น เข้าไปหาว่า เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์อาหาร เขาต้องทำอะไรเป็นบ้าง แล้วจึงมาทำหลักสูตร โดยหาผู้สอนที่มีประสบการณ์จริงมาสอน เปลี่ยนวิธีประเมินผลใหม่ แทนที่จะเน้นสอบข้อเขียน ก็สอบเน้นปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาที่จบมาทำงานได้จริง "ไม่ใช่แค่รู้"

...มหาวิทยาลัย ต้องเลิกการรับนักศึกษาเยอะๆ ที่เน้นแต่ปริมาณ มาเน้นคุณภาพผู้เรียนมากยิ่งขึ้น และให้โอกาสเด็กได้ฝึกงานในสถานที่ทำงานจริงเยอะๆ

...แต่การเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการศึกษาแบบนี้ อาจจะกระทบกับผลประโยชน์อาจารย์หลายคน เพราะการมีนักศึกษาน้อย ค่าตอบแทนที่มหาวิทยาลัยได้ ก็จะน้อยไปด้วย อาจารย์ต้องลงไปฝึกงานในโรงงานก่อนมาสอน และต้องเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่หมด อาจารย์ส่วนใหญ่คงไม่อยากมือเปื้อนหรอก

..แต่วิธีนี้น่าจะเป็นการยกระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม อย่างง่ายที่สุดแล้ว ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า

..."สถานศึกษาต้องการเปลี่ยนเอง หรือถูกบังคับให้เปลี่ยนในอนาคต"

คำสำคัญ (Tags): #ไทยพาฌิชย์#scb
หมายเลขบันทึก: 591888เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2015 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2015 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับอาจารย์

การศึกษาไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการครับ

พอเรียนจบมาสามารถ ทำงานได้ทันที ตรงกับสายงานที่เรียน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท