นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

คุณยายอยากเล่นไลน์


ก็เริ่มสอนอีกครั้ง ..สอนเท่าใด จนแล้ว จนเล่า ยายก็ทำไม่ได้

เมื่อสักประมาณปีใหม่ ลูกหลานทุกคน เชียร์คุณยายให้ ใช้มือถือเล่นไลน์ เพื่อสื่อสารกับคนในครอบครัว ณ วันนั้น คุณยาย (อายุ 77 ปี) ก็อิดๆ ออดๆ แบ่งรับแบ่งสู้ แต่ขัดขืนไม่ได้ จำใจถอยมือถือใหม่ สมาร์ทโฟน ใหม่อีกเครื่อง ..

ลูกหลานทุกคน ก็อาสา สอนยายเล่นไลน์ แต่.. คนแล้วคนเล่าก็ ค่อยๆ ล่าถอยออกมา เพราะคุณยาย สอนปุ๊บ ลืมปั๊บ

คุณยาย มีมือถือสองอัน สองซิม .. เครื่องหนึ่งเล่นไลน์ เครื่องหนึ่งรับโทรศัพท์เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ แต่ปรากฏว่า เครื่องที่ใช้เล่นไลน์ ก็ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะใช้ไม่เป็น

อยู่มาวัน .. ทางเทศบาล จัดหลักสูตร โรงเรียนผู้ใหญ่สอนรุ่นคุณปู่คุณยาย เล่นไลน์ เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ เขาทำกันได้ แต่คุณยาย ทำไม่ได้ ... คงส่งผลต่อ จิตใจ คุณยายไม่ใช่น้อย

นับจากวันนั้น คุณยายเทียวไล้ เทียวขื่อถามลูกคนนั้น คนนี้ ให้สอนให้ แต่ทุกคนก็ล้วนส่ายหน้า .. เพราะ คุณยายไม่จำเอาเสียเลย

แต่..ยังไม่ยอมแพ้

.... คุณยายมาปรึกษา ว่าอยากเล่นไลน์ มากจริงๆ แต่ทำไม่ได้ ช่วยยายหน่อย

ก็เลยบอกคุณยายให้ใช้เบอร์เดียว ทั้งรับโทร เล่นไลน์ อีกเครื่อง (แบบกด) ให้เอาเก็บไว้ ไม่ต้องใช้อีก

ก็เริ่มสอนอีกครั้ง ..สอนเท่าใด จนแล้ว จนเล่า ยายก็ทำไม่ได้...มาวนเวียนขอให้สอน..ตัว เราเองก็ผลัดวันประกันพรุ่ง (ในใจคือ ไม่อยากให้คุณยายใช้แล้ว ถอดใจ เพราะดูเหมือนไม่จดจำอะไรเลย) บอกไปแบบว่าอีกสามวันจะเป็นวันเสาร์ ยายค่อยมา งานเยอะทุกวันเลย วันนี้ ไม่ว่างจริงๆ


.จนมาถึง.วันเสาร์ .ตัวเองก็เตรียมตัวไปทำงาน วันหยุด มีอบรม คุณ ยายมาหาต้ั้งแต่ เจ็ดโมงเช้า บอกมาตามนัดแล้ว .. ณ วันนั้น คือ ที่คิด "คุณยายไม่ยอมแพ้จริง อยากเรียนรู้ให้ได้" รู้สึกสงสาร แล้ว ..ก็คิดในใจว่า คงต้องสอนให้ เล่นไลน์ได้จริงๆ แล้วล่ะ ตัวเองก็ ต้องนัดกลยุทธ์ ต่างๆ นา ออกมา หลังๆ เริ่มสังเกต ว่าทำไม ยายทำไม่ได้สักที ..ก็เริ่มจับพฤติกรรมที่เป็นสไตล์การเรียนรู้ ของคุณยายได้ .... ดังนี้

๑. คุณยายไม่ค่อยสังเกต ต้องย้ำให้หัดสังเกต ข้อความ สัญลักษณ์ บนหน้าจอมือถือ ไม่ใจร้อน อ่าน และ ทำทุกอย่างให้ช้า ลง
๒. วิธีการบอก และ สาธิตให้ดู ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ เลย เพราะจะจำไม่ได้เหมือนเดิม ต้องใช้การวาดเป็นภาพ ให้ดู ประกอบ กับการสาธิต ด้วย
๓. ขณะเรียน เมื่อคุณยายบอกเข้าใจแล้ว ก็จะต้องบังคับให้มีการจด (ไม่ให้จำอย่างเดียว) บันทึก ลงไป และ ต้องเป็นลายมือ ที่เกิดจากความเข้าใจ ของตัวเอง ในแต่ละขั้นตอน
๔. ต้องฝึกใช้สมาร์ทโฟนทุกวัน เพื่อฝึก ให้เกิดความชำนาญ (ต้องรับ call line ทุกวันเลย เพราะยายต้องโทรหา)
๕. การอธิบาย ต้องพูด ช้าๆ และ ซ้ำๆ เปิดโอกาสให้ถาม (ต้องใจเย็นๆ) โดยห้ามแสดงอาการหงุดหงิด เด็ดขาด

ใช้วิธีการนี้ ประมาณ ๓ ครั้ง ปรากฏว่า คุณยาย เริ่มรับโทรศัพท์ แบบรุ่นที่เป็น Android ได้ ใช้ ไลน์ได้ (ไม่คล่องมากนัก) ..สังเกต ว่า คุณยาย เริ่ม มีความสุขอีกครั้ง ไม่มีสีหน้าวิตก กังวล เกี่ยวกับการเรียนรู้ไลน์ ตรงข้ามกับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ....

สะท้อนตัวเอง ..

ผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน สมัยยังสาว คุณยายมักเป็นที่หนึ่งเสมอ ในเรื่องเรียน ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย และเรียนดี แต่เมื่ออายุ ย่างแปดสิบ คุณลักษณะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ยังคงเหลืออยู่บ้าง แต่ความจำ ..ก็เป็นไปตามวัยค่ะ ลูกหลาน ต้องหัดสังเกต ..แต่ละคน จะมีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน

คำสำคัญ (Tags): #ยาย#ไลน์
หมายเลขบันทึก: 591876เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหตุการณ์นี้พิสูจน์ชัดเจนว่า ไม่มีใครแก่เกินเรียน ... และบทบาทของอาจารย์ สมกับ ศน. ยุคใหม่จริงๆ ครับ...ฮา


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท