แรกเริ่มเรียนรู้ ระบบ CUPT QA 1


แรกเริ่มเรียนรู้ ระบบ CUPT QA 1


ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยในการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาระบบประกันคุณภาพ CUPT QA ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของ ทปอ. เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถนำระบบดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน และมีมติเห็นชอบขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิก ทปอ. ทั้ง 27 แห่งและมหาวิทยาลัยสงฆ์อีก 2 แห่งนำระบบ CUPT QA ไปใช้แทนระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป โดยขอให้แต่ละสถาบันนำระบบประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อเสนอขอความเห็นชอบ แล้วเสนอ สกอ. เพื่อพิจารณาต่อไป นั้น

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมใน ทปอ.และเปลี่ยนแปลงมาใช้เกณฑ์ CUPT QA ดังกล่าวตามมติ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษานำร่อง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบเริ่มต้นจึงขอสรุประบบเก่าและระบบใหม่ไว้ดังนี้


เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาเดิม (สกอ.,สมศ.)

เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาใหม่ (CUPT QA)

เน้นการตรวจสอบ(Audit) ยังไม่สามารถแข็งขันได้

แนวคิดของการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ (Assessment) อย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลกทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ ระดับสถาบัน

เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน (สมศ.) เป็นภาระสำหรับสถาบันอุดมศึกษาต้องทำรายงาน 2 ชุด แยก 2 หน่วยงาน

CUPT Indicators พัฒนาขึ้นจากตัวบ่งชี้ของ สกอ.และ สมศ. เป็นการใช้เกณฑ์ชุดเดียวกัน ลดภาระที่เกิดจากการทำงานซ้ำซ้อน

เป็นไปตามมาตรา 47 หมวดที่ 6 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545 และ(ฉบับที่3)พ.ศ.2553

การประเมินมีทั้งเชิงคุณภาพ(การประเมิน7ระดับ)และปริมาณ

สามารถเลือกระดับประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะได้เอง มีเป้าหมายสู่ระดับสากล การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรที่มีอยู่

ตัวบ่งชี้บางตัวสามารถใช้เป็นค่าเฉลี่ยในกลุ่ม ทปอ. และสามารถใช้สำหรับ benchmarkingตัวบ่งชี้เลือกบางตัวสามารถตอบเกณฑ์การจัดอันดับ(ranking) ระดับสากลได้

หมายเลขบันทึก: 591818เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท