ศาสตร์พระราชา _ ๐๒ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (๒)


ในบันทึกศาสตร์พระราชา _ ๐๑ ผมตีความว่า สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นตัวอย่างของหลักการทรงงานที่โดดเด่นเรื่อง "One Stop Service" ที่รวบรวมเอา One Stop Service คือ เบ็ดเสร็จในที่เดียว แหล่งผลิต ศึกษา วิจัย และเป็นทั้งแหล่งพักผ่อนหย่อนใจให้ผู้มาพักท่องเที่ยว บันทึกนี้ผมจะเขียนสำหรับผู้ที่ตัดสินใจแล้วว่าจะเดินทางมาศึกษาที่นี่ ท่านจะได้วิธีที่เจ้าหน้าที่นำชม ซึ่งผมเองได้สัมผัสมาด้วยตนเอง

จะเริ่มที่ ศูนย์ประสานงานและนิทรรศการ ๙ มหามงคล

การทัศนศึกษาเริ่มด้วยการมาฟังบรรยายภาพรวม ประกอบฉายวีดีทัศน์แนะนำ (ด้านล่าง) ก่อนจะเปิดให้เข้าศึกษาจากนิทรรศการ ๙ มหามงคล และประวัติของการพัฒนาตั้งแต่มีปัญหา "ฟ้าพิโรจ" และในหลวงทรงลงมาช่วยเหมือน "ฟ้าประทาน" จนเมื่อเวลาผ่านไป ๑๕ ปี เกิดอานิสงค์สำเร็จจน "ไพร่ฟ้าหน้าใส" และเป็นแหล่งศึกษา เป็นที่พึ่งพาของประชาชนต่อเนื่องมากว่า ๓ ทศวรรษ (๓๕ ปีแล้ว)




๙ มหามงคล (the Royal Blessing) ที่แสดงไว้ในนิทรรศการ ได้แก่



๑) ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ทรงปลูก วิทยากรบอกว่า ในหลวงทรงปลูกต้นไม้นี้เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๓ นับเป็นต้นไม้ต้นแรกที่ยั่งรากลงตรงพื้นที่แถบนี้


๒) ห้วยเจ็ก เป็นอ่างเก็บน้ำแห่งแรกที่ในหลวงทรงโปรดให้ขุดบนพื้นที่เดิมที่เคยเป็นที่ปลูกฝักของเจ็ก (ชาวจีน) โดยพระราชทานเงินที่ราษฎรน้อมถวายเมื่อคราวเสด็จศูนย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๒ และเริ่มก่อสร้างเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๒


๓) สวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสวนพฤษาศาสตร์ของภาคตะวันออกบริเวณเขาหินซ้อน เป็นสวนป่าสมุนไพร


๔) ศาลาเทิดพระเกียรติ เป็นศาลาทรงงานที่จังหวัดฉะเชิงเทราสร้างถวายเมื่อคราวเสด็จครั้งแรก


๕) พระตำหนักสามจั่ว ในหลวงทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างบ้านพักรับรอง เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง ออกแบบด้วยพระองค์เอง เรียกว่า "บ้านสามจั่ว"


๖) พลับพลาพระราม ราษฎรอำเภอพนมสารคาม สร้างถวายเพื่อเป็นอาคารรับเสด็จ โดยการนำของนายวิเชียร ต้นเจริญ ทรงเรียกว่า "พลับพลาพระราม"


๗) เครื่องสีข้าวพระราชทาน เป็นเครื่องสีข้าวรุ่น ๑๐๗๐ ที่น้อมเกล้าฯ ถวายโดยบริษัททาซาเก้ เอ็นจิเนียรื่ง ประเทศญุี่ปุ่น เริ่มใช้งานเมื่อปี ๒๕๒๗


๘) หญ้าแฝก ในหลวงทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกเมื่อ ๒๕๓๔


๙) ทฤษฎีใหม่


หลังจากนั้นก็เป็นการทัศนศึกษาผ่านฐานการเรียนรู้แต่ละฐานต่างๆ จะมาเล่าให้ฟังในบันทึกต่อๆ ไปนะครับ





หมายเลขบันทึก: 591611เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท