​พัฒนาโปรแกรมเพื่อพัฒนาทักษะการเตรียมความพร้อมด้านสังคมของผู้ป่วยจิตเวชก่อนกลับสู่ชุมชน


เมื่อเราได้ยินคำว่าผู้ป่วยจิตเวช หลายคนมีปฏิกิริยา และความคิดอัตโนมัติแตกต่างกันไป เช่นเดียวกันกับผู้เขียนเอง ย้อนไปสมัยเรียน และต้องไปฝึกงานครั้งแรกกับผู้ป่วยจริง คิดไปก่อนว่าเขาต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (ส่วนหนึ่งคิดกังวลทางลบ) สำหรับบางคนอาจจะรู้สึกกลัวก็เป็นได้ จนกระทั่งเมื่อฝึกงาน เรียนจบกิจกรรมบำบัด และเลือกทำงานด้านนี้ ทำให้เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นว่าเป็นอย่างไร เขาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และมีความสุขเมื่อได้ทำงานกับผู้รับบริการด้านนี้

เมื่อดิฉันเดินก้าวเข้าไปในโรงพยาบาล สวมชุดลำลองธรรมดา ทำให้เกิดการเข้าใจของคนขายของ ว่าตนเองมารับบริการที่นี่(เป็นผู้รับบริการจิตเวช) "มาหาหมอที่ตึกไหนล่ะ?" ซึ่่งแม่ค้าแม่ขายที่ทักทายอย่างเป็นมิตรนั้น เขาอาจจะต่างคุ้นเคยกับผู้รับบริการโดยธรรมชาติในการใช้ชีวิตร่วมกันที่นี่ ตนเองฟังเขาทักมาก็อมยิ้มและตอบกลับไป "มาที่ตึกกิจกรรมบำบัดค่ะ นานๆมาครั้งค่ะ" เข้าใจว่าบรรยากาศของที่นี่ที่เป็นการอยู่ร่วมกันโดยไม่แบ่งแยกเจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยจิตเวชให้ความอบอุ่นไปอีกแบบ เกริ่นไปเยอะและถ้าจะให้เล่าคงยาว จะไม่ได้ทันเข้าสาระสำคัญของการพัฒนาเครื่องมือครั้งนี้ค่ะ ดิฉันได้มีโอกาสอีกครั้ง ร่วมงานกับทีมจิตเวชสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาในการร่วมกันพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนกลับสู่ชุมชน ของตึกราชาวดี สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา เราไปสัมมนากันที่สมุทรสงครามค่ะ ทีมงานที่นี่มีความเข้มแข็ง อบอุ่น เป็นมิตร อาทิเช่น อ.จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ นักโภชนากร นักจิตวิทยา ถือว่าเป็นการสัมมนาโปรแกรมร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพที่ครบครัน

โปรแกรมพัฒนาทักษะการเตรียมความพร้อมด้านสังคมก่อนกลับสู่ชุมชนนี้ เป็นโปรแกรม psychosocial rehabilitation ที่ผสมผสานแนวคิดการฟื้นฟูสภาพ(Recovery) โดยทีมสหวิชาชีพ ที่มีรูปแบบและระยะเวลาการบำบัดที่ชัดเจนสำหรับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ผู้รับบริการกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวและชุมชนได้ดังปรัชญา จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา “เราจะดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีและมีศักดิ์ศรีในสังคม” เพื่อเป้าหมาย ในด้านตัวผู้ป่วย เขาจะสามารถพึ่งพาตนเองได้และได้รับการพัฒนาจนเกิดศักยภาพสูงสุด เป็นการลดภาระและการดูแลของญาติหรือผู้ดูแล และทางสถาบันเองมีการพัฒนารูปแบบการดูแลและพื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช (อ้างอิงเนื้อหาจากโปรแกรมพัฒนาทักษะการเตรียมความพร้อมด้านสังคมก่อนกลับสู่ชุมชน ฉบับร่าง) ทราบข้อมูลว่า ทางทีมได้มีการทำงานมาเป็นเวลาสองปีมาแล้ว พัฒนาโปรแกรมจนใช้จริง แต่ครั้งนี้จะลองนำโปรแกรมมานำเสนอร่วมกัน และเสนอแนวทางแก้ไข และจะนำกลับไปทดลองใช้อีกครั้ง รอแก้ไขรอบสุดท้ายและพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ เพื่อเผยแพร่ต่อไป


ในส่วนโปรแกรมที่ปรับแก้ไข จะมีทั้งส่วนโปรแกรมที่ต้องเขียนให้ชัด มีรายละเอียดการนำไปใช้ที่เข้าใจง่าย สอดคล้องกันทั้งทีมเพื่อลดความซ้ำซ้อน มีการประเมินผลที่ชัดทั้งก่อนและหลัง มีขบวนการกลุ่มชัดเจน ระบุวัตถุประสงค์ เวลา ในการทำ ความสำคัญของแต่ละกิจกรรม อุปกรณ์ การดำเนินกิจกรรม ข้อควรระวังต่างๆ มีใบงาน กิจกรรม สื่อที่ใช้ได้จริง เหมือนทำงานวิจัยหนึ่งเรื่องใหญ่ๆเลย

ยกตัวอย่างกิจกรรมของนักกิจกรรมบำบัดในโปรแกรมนี้ เช่น

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างทีมบำบัดและสมาชิก โดยนำพื้นฐานทฤษฏีเรื่อง Group dynamics พัฒนาการกลุ่มแบบต่างๆ การวิเคราะห์กิจกรรม และสื่อทางกิจกรรมบำบัด โดยใช้กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมหลัก

รวมทั้งกิจกรรมสำรวจความสนใจ ความชอบ และความถนัด กิจกรรมการจัดการค่าใช้จ่าย กิจกรรมการวางแผนกลับสู่ชุมชน กิจกรรมฝึกพื้นฐานอาชีพ และการนำดนตรีมาเป็นสื่อในการบำบัด

ภายหลังจากปรับปรุงโปรแกรมสำเร็จ ผลประโยชน์สูงสุดจะอยู่ที่......ผู้รับบริการนั่นเอง :)

หมายเลขบันทึก: 591124เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2015 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2015 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากๆ

อาจารย์หายไปนาน

คิดถึงๆๆ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จันทวรรณ และพี่ขจิต :) ห่างหายไปนานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท