​“๕๐ ปี ชุมชนของข้าพเจ้า และภาพนิมิตการพัฒนา” : บ้านชุมโค หมู่ที่ 2 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร


“๕๐ ปี ชุมชนของข้าพเจ้า และภาพนิมิตการพัฒนา”

บทนำ

ชุมชนบ้านชุมโค – หมู่บ้านพัฒนา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีประชากรประมาณ ๔๑๓ คน เป็นหญิง ๒๐๖ คน ชาย ๒๐๗ คน จำนวนครัวเรือน ๑๓๐ ครัวเรือน ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีเลี้ยงสัตว์บ้าง อาชีพรองคือ รับจ้าง และค้าขาย

ชุมชนยังมีการยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม ใช้วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ยังมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นถิ่น เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ และงานสืบสานประเพณีเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น สงกรานต์ มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ , งานลอยกระทง , งานปีใหม่ ฯลฯ

  • องค์การชุมชน รวมทั้งผู้นำของชุมชน
  • เป็นชุมชนที่มีโครงสร้างองค์กรที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
  • ชุมชนทำงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล ครอบครัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และทำตามความสามารถที่มีอยู่ เช่น มีพื้นที่ทำเกษตรจำนวน 50 ไร่ ก็ทำเพียง 50 ไร่ ไม่มีการไปเช่าพื้นที่อื่นเพื่อทำการเกษตรเพิ่มเติม และพื้นที่ไหนเหมาะกับทำอาชีพอะไรก็ทำอาชีพนั้น ๆ
  • รายได้จากภาคเกษตรกรรมเฉลี่ย 230,000 บาท/ครัวเรือน /ปี
  • รายได้จากอื่น ๆ เฉลี่ย 250,000 บาท/ครัวเรือน /ปี
  • รายได้เฉลี่ยของประชากร 230,000 บาท /คน/ ปี
  • ประมาณ 20,000 /คน/ครอบครัว/เดือน
  • หนี้สินจากการทำการเกษตร
  • หนี้สินจากการสร้างที่อยู่อาศัย
  • หนี้สินจากการซื้อสินค้าเงินผ่อน
  • หนี้สินจากการส่งบุตรเรียนในระดับสูง ๆ
  • จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประมาณ 60 %
  • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประมาณ 20 %
  • จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประมาณ 20 %
  • สระน้ำหนองยาง เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในชุมชนเพื่อการเกษตรและเพาะพันธ์สัตว์น้ำจืด
  • คลองชุมโค เป็นคลองดั้งเดิมที่เชื่อมทุกหมู่บ้านในตำบลชุมโค และใช้น้ำในลำคลองเพื่อการเกษตร
  • สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะกับการทำการเกษตร แต่ก็เป็นจุดเสี่ยงต่อภัยพิบัติการเกิดน้ำท่วมขังในแต่ละปี
  • มีการจัดการขยะกันเองในครัวเรือน
  • ไม่มีสถิติของสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค นอกจาก การระบาดของโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย ก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลอยู่คือ รพสต.ชุมโค ผ่านมาทาง อสม. เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย
  • พัฒนากลุ่มองค์กรในชุมชน
  • จัดเวทีปรึกษาหารือร่วมกัน
  • ตรวจสุขภาพชุมชนทุก ๆ เดือน
  • รณรงค์เรื่องปัญหายาเสพติด
  • พัฒนาเรื่องไฟฟ้า น้ำประปา และถนนหนทาง
  • สร้างการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการชุมชน
  • พัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งทรัพยากรในชุมชน

กลุ่มที่เป็นทางการ เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น โดยส่วนใหญ่หวังผลในทางเศรษฐกิจ มีผู้นำ และผู้ตามที่ได้มาโดยการเลือกตั้งทั้งในระบบราชการ เช่น กลุ่มผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.บ.ต. โครงสร้างองค์กรชุมชนที่เป็นทางการ ยังมีกลุ่มย่อยๆอีกหลายกลุ่ม โดยมีการขึ้นทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรหลายกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.)

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

กลุ่มเกษตรกรออมทรัพย์

กลุ่มสงเคราะห์ประจำหมู่บ้าน

กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท

กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มจักสาน เช่น ทำเสื่อกระจูด ตะกร้า ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มที่เป็นทางการ เพราะชาวบ้านหาตลาดได้เอง มีคนสั่งก็ทำ ไม่สั่งก็ไม่ทำ เป็นอาชีพเสริมเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างองค์กรชุมชน

องค์กร ที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการมีความสัมพันธ์กันฉันเครือญาติ บางครั้งเป็นไปในเชิงขัดแย้ง ชาวบ้านบางคนมีความสัมพันธ์กับหลายกลุ่ม เพราะต้องการที่จะกู้เงินมาลงทุน แต่ผลที่ตามมาคือ หนี้สิน ไม่มีที่สิ้นสุดเสียที แต่มีกลุ่มหนึ่งที่สามารถดึงคนในหมู่บ้านให้มารวมทำกิจกรรมกันมากที่สุดก็ คือ กลุ่มผู้นำทางธรรมชาติที่มีตัวแปรสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร คือ การประชุม และงานบุญต่างๆ

ความสามารถในการทำงานแต่ละอาชีพ

ระดับรายได้เป็นรายบุคคล และครอบครัว

รายจ่ายเป็นรายบุคคล และครอบครัว

ภาระหนี้สิน

ระดับการศึกษา

การคมนาคมไปสู่ชุมชนอื่น

- มีถนนหนทางติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ หลายเส้นทาง แต่ยังไม่สะดวกมากนักเนื่องจากยังเป็นถนนลูกรังเสียเป็นส่วนใหญ่ มีถนนลาดยางเพียงเส้นหลัก ๆ เพียงเส้นทางเดียว

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1)ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่า น้ำ พืช สัตว์ แหล่งน้ำดื่ม เป็นต้น

- ป่าชายเลน เป็นพื้นที่สาธารณะและอนุรักษ์ เพื่อการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ทำให้คนในชุมชนมีอาชีพอีกอาชีพหนึ่งคือ การทำการประมงในลำคลอง ขายในตลาดได้ เช่น ปูดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งขาว และปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ

2) สิ่งแวดล้อม เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพและลักษณะบ้านแต่ละครอบครัว ขยะมูลฝอย น้ำเสีย แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรค

ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน

ประวัติความเป็นมาตำบลชุมโค

ตำบลชุมโค จากหลักฐานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาจากคนเก่า คนแก่ดั้งเดิม ได้เล่าว่า แต่เดิม มีไม้เถาชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่ชุกชุมมากในพื้นที่แห่งนี้เรียกว่า ไม้ชุมโค และมีมาจนถึงในปัจจุบันนี้ซึ่งไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นในที่ราบลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ของตำบลชุมโค จึงเรียกหมู่บ้านตามเถาไม้เลื้อยชนิดนี้ว่า ตำบลชุมโค แต่ตำบลชุมโคไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดว่ายกฐานะเป็นตำบลชุมโคตั้งแต่ พ.ศ. ใด แต่พบจากหลักฐานที่อ้างอิง คือยกฐานะเป็นตำบลชุมโคก่อนพ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในขณะที่ยกฐานะเป็นตำบลนั้นตำบลชุมโคมีอยู่แค่ ๕ หมู่บ้าน โดย มีกำนัน คือ หมื่นอนันต์แพทย์และขุนคุ้นชุมโคเขต ซึ่งเป็นกำนันที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยรวมของตำบลชุมโคนั้นมีพื้นที่เป็นจำนวนมากและกว้าง และพื้นที่ส่วนหนึ่งก็ติดกับชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกฝั่งอ่าวไทย ได้แก่หมู่ที่ ๑ และ หมู่ที่ ๕ ต่อมาได้มีการเพิ่มของประชากรทั้งประชากรที่มีอยู่เดิมแยกครอบครัว และประชากรที่มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการขยายอาณาเขตการปกครอง และตำบลชุมโคได้ถูกแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ บ้านชุมโค และบ้านชุมโคล่าง โดยมีการแบ่งแยกพื้นที่การปกครองใหม่ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ เป็นต้นมาดังนี้ หมู่ที่ ๑ ได้ถูกแบ่งแยกเป็นหมู่ ๖ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ หมู่ที่ ๔ แยกออกเป็นหมู่ที่ ๗ และปีพ.ศ.๒๕๒๑ หมู่ที่ ๔ แยกออกเป็นหมู่ที่ ๘ อีกหมู่หนึ่ง ปีพ.ศ.๒๕๓๓

หมู่ที่ ๓ ได้แยกออกเป็นหมู่ที่ ๙ ปีพ.ศ.๒๕๓๕ ได้แยกหมู่ที่ ๔ อีกครั้ง เป็นหมู่ที่ ๑๐ กับ ๑๑ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้แยกหมู่ที่ ๘ ออกเป็นหมู่ที่ ๑๒ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้แยกหมู่ ๗ ออกเป็นหมู่ที่ ๑๓ ปีพ.ศ.๒๕๓๘ ได้แยกหมู่ที่ ๗ ออกเป็นหมู่ที่ ๑๔ ปัจจุบันตำบลชุมโคมีเขตการปกครองรวมเป็น ๑๔ หมู่บ้าน

วิถีชีวิตเดิม ๆ ของคนตำบลชุมโคนั้นมีอาชีพทำนา และหาปู ปลา หอยเป็นอาหารหลัก ใช้ชีวิตแบบพอเพียง

ทำเนียบกำนันตำบลชุมโค

๑. นายหยอยหรือน้อย อสิอุโค

๒. หมื่นอนันต์แพทย์ เศลาอนันต์

๓. ขุนคุ้มชุมโคเขต (ดวงกมล)

๔. นายวงศ์ เศลาอนันต์

๕. นายย้วน สงวนชาติ

๖. จ.ส.อ. เสงี่ยม ตั้งสุข

๗. นายวิเชียร ชุมเกษียร

๘. นายแจง เทพพิทักษ์

๙. นายสันทัด ดวงกมล

๑๐. นายสุชาติ ชื่นแก้ว

๑๑. ร.ต. ดุษฏี จินดาพรหม

๑๒. นายสมศักดิ์ เพชรคีรี

๑๓. นายพัทธนดล สืบถวิลกุล

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านตำบลชุมโค

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑

นายเสงี่ยม สัจจวิโส

นายทรงสวัสดิ์ นุชศรี

นายโสพจน์ ธรรมรักษา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒

กำนันแจง เทพพิทักษ์

นายโกวุฒิ แท่นเผือก

นายทวี บุญพา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓

นายเพิ่ม ศรีสังข์

นายเวียน ทองภูเบศร์

นายชัด อุทุมพร

นายสุรชัย อุทุมพร

นายสาลี สีนวล

นายปรีดา ศรีสรนัย

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔

นายปก คล้ายพรหม

นายเสงี่ยม ตั้งสุข

นายวิเชียร ชุมเกษียร

นายเฉลิม แซ่คู

นายรุ่ง ดวงภุมเมศร์

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕

นายป่าน สัจจวิโส

นายสันทัด ดวงกมล

นายสุพนัด ดวงกมล

นายสุริยัน สัจจวิโส

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖

นายเฮ้ง มือสันทัด

นายสละ ศิลปะเศวต

นายสมศักดิ์ เพชรคีรี

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗

นายเสน่ห์ สุขปะวิทย์

นายธรรมเรียง ศาสตร์สาคร

นายวีรสันต์ พัดทรัพย์

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘

นายสมนึก มีแก้ว

นายพัด คงสงฆ์

นายสังเวียน พัฒนา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙

นายสันติ อาจอ่อนศรี

นายสุนทร ธรรมเนียม

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๐

จสต.ชอบ คอจอหอ

นายอดุลย์ อาจอ่อนศรี

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๑

นายธนเทพ กมศิลป

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๒

นายทวี ศรีสวัสดิ์

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๓

นางกฤษณา จิตเรืองรอง

นายวิเชียร ชุมชื่น

นางกฤษณา จิตเรืองรอง

กำนันตำบลชุมโค หมู่ที่ ๑๔

นายพัฒนดล สืบถวิลกุล

ประวัติหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ บ้านชุมโค

จากการสัมภาษณ์ นายสุชาติ ชื่นแก้ว อดีตกำนันตำบลชุมโค ปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว อายุปัจจุบัน ๗๒ ปี ได้เล่าว่า ชุมโคหมู่ที่ ๒ ในอดีตมีเรียกหลายชื่อ คือ บ้านชุมโค บ้านดอนทราย และหมู่บ้านพัฒนา เนื่องจากหมู่ที่ ๒ ตำบลชุมโค มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็นทิศเหนือ ทิศใต้ และ ด้านทิศตะวันออก และ มีกำนันตำบลชุมโคคนแรกชื่อกำนัน วงศ์ เสลาอนันต์ เป็นกำนัน นายขัด เจริญฉาย เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านดอนทราย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ตั้งขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีใครจำได้ เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งที่มีประชากรไม่มากนัก

หมู่ที่ 2 บ้านชุมโค - หมู่บ้านพัฒนา ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหมู่ที่ 2 หรือเรียกว่า หมู่บ้านชุมโคล่าง แต่ถ้าคนที่อาศัยอยู่เดิมจะเรียกว่า บ้าน ชุมโคบน โดยได้ขยายประชากรจากชุมโคบนลงมาจึงมาเป็นหมู่บ้าน และได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนชื่อโรงเรียนบ้านดอนทราย ได้เปิดทำการสอนและรับนักเรียนรุ่นแรกใน ปีพ.ศ.2496 โดยครูประภาส ศุภโสภณ์ เป็นครูใหญ่ในสมัยนั้น และศิษย์ที่จบจากโรงเรียนบ้านดอนทรายปีการศึกษาแรกคือ นายสถิต ป้อมแดง จบเมื่อปีพ.ศ.2500 หลังจากนั้น โรงเรียนได้ย้ายไปสร้างใหม่ที่หมู่บ้าน พรุนาใน ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าโดนยายไว ใจแก้ว เป็นผู้บริจาคที่ดิน ให้กับโรงเรียนในขณะนั้นเป็นจำนวนเนื้อที่13ไร่ เมื่อปีพ.ศ.2522 เดือนเมษายน โดยต่อมาได้มีราษฏรจำนวนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมาตั้งถิ่นฐานขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่งริมขอบสนามบินปัจจุบัน โดยได้สร้างสวนมะพร้าวด้วย การทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นอาชีพหลัก ต่อมาในสมัยนายอำเภอปะทิว นายกิตติพงศ์ สถิรกุลซึ่งเป็นนายอำเภอนักพัฒนาได้ชักชวนประชาชนดังกล่าวเข้าร่วมพัฒนาโดยเฉพาะคนหมู่ที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ พัฒนาที่บ้านแหลมแท่น โดยตั้งใจจะทำให้แหลมแท่นกลายเป็นแหลมทอง จนคนหมู่ที่ 2 ของตำบลชุมโคหมู่ที่2 ส่วนหนึ่งมีคำขวัญว่า เป็นนายอำเภอนักพัฒนาตัวยง และนายอำเภอกิตติพงศ์ สถิรกุล ได้มอบป้ายหมู่บ้านพัฒนาหมู่ที่2 มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม บ้านชุมโค หมู่ที่ 2 ต. ชุมโค นั้นมีมาตั้งแต่ดั้งเดิมพร้อมกับการก่อตั้งตำบลชุมโค และอำเภอปะทิว ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงควาย การทำนาของชาวบ้านสมัยนั้น ใช้วิธีการตามแรง (หมายถึงเมื่อครอบครัวทำนา อีกหลายครอบครัวก็จะไปช่วยกัน) จนครบหมดทุกแปลง เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็เช่นเดียวกัน จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนช่วยกันจนเสร็จบ้านชุมโค จะมีคลองชุมโคไหลผ่านไปจนถึงสะพานเหล็กไฟ พื้นที่หมู่ที่ 2 ของบ้านชุมโคนั้นมีการแบ่งพื้นที่เป็น 2 ด้านด้วยกัน ซีกด้านทิศเหนือเรียกว่าบ้านชุมโค ซีกด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีถนนซอย (เดิมเป็นถนนดินเดิน) แยกจากถนนสายหลัก (ลูกรัง) เข้าไปในหมู่บ้าน ประมาณ 500 เมตร เรียกว่า บ้านดอนทรายเก่า (เดิมมีโรงเรียนบ้านดอนทรายตั้งอยู่ ปัจจุบันย้ายไปอยู่บริเวณเขตติดต่อกับหมู่ที่ 9 ต. ชุมโค) เป็นสายแยกจากถนนปะทิว – สนามบินด้านซ้ายมือ เข้าไปประมาณ 500 เมตร ) บริเวณหมูบ้านพัฒนานั้นสมัยก่อน เรียกว่า “หนองไซ” เพราะในบริเวณนั้นจะเป็นที่ลุ่ม ทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางเดินดิน และฤดูฝนน้ำจะท่วมหนัก ระดับน้ำ ลึกประมาณ 50 ซม. บางคนเดินข้ามต้องถอดกางเกงเดิน (ตามคำบอกเล่าของครูท่านหนึ่ง คุณครูไพศาล จินดาพรหมปัจจุบันเป็น ผอ.โรงเรียนศรียาภัย ท่านเคยบรรจุให้สอนที่โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ ปั่นจักรยานไปสอนเด็ก หน้าน้ำท่วมต้องถอดกางเกงจูงรถจักรยานข้ามน้ำพอเลยน้ำก็ค่อยนุ่งกางเกง และบริเวณนั้นไม่มีบ้านคนแม้แต่หลังเดียว) ป่าบริเวณนั้นมีต้นไม้ใหญ่เล็กสลับกันไป และมีลำคลองบางมูลไหลผ่านด้านทิศใต้ และมีป่าชายเลนและสัตว์ในป่าชายเลนที่สมบูรณ์พอสมควร เดิมตรงนั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาในปี 2523-2525 ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม เข้ามาจับจองที่ดินดังกล่าว ทีละครอบครัว แผ้วถางป่าในบริเวณนั้นและสร้างบ้านพักอาศัยจนกลายเป็นหมู่บ้านอีกหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านกลุ่มนี้มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพแบบไม่เลือกงาน ทั้งรับจ้าง หาปู หาปลาในป่าชายเลนขายและกินเอง และปลูกพืชเกษตร (มะพร้าว) และทำน้ำตาลมะพร้าวขายในอำเภอปะทิว จึงเรียกต่อเรียกตามกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า “หมู่บ้านพัฒนา” ต่อมาภายหลัง ชนกลุ่มนี้ได้ทำเรื่องขอเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน และบางส่วน ก็ได้เอกสารสิทธิ์เป็นของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน

วิถีชีวิตหรือประเพณี วัฒนธรรม

  • การไปร่วมงานประเพณีพื้นบ้านร่วมกัน เช่น งานศพ, งานบวช, งานแต่ง, งานขึ้นบ้านใหม่
  • งานประเพณีทำบุญกลางบ้าน ทำประจำทุกปี
  • การประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์

ภูมิปัญญา

  • นวดแผนไทย
  • การทำเครื่องแกงตามวิถีดังเดิมของชุมชน เช่น เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงเผ็ด
  • การทำกะปิจากกุ้งเคยปะทิว
  • การทำน้ำตาลมะพร้าว
  • การสานเสื่อกระจูด
  • การทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ เช่น กราด (สุ่ม) ไก่, ข้องปลา , ไซดักปลา, เข่ง , ตะกร้า ฯลฯ
    • เทศบาลชุมโค
    • รพสต.ชุมโค
    • พัฒนาชุมชนอำเภอปะทิว
    • กลุ่มทำน้ำตาลมะพร้าว
    • กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
    • กลุ่มผู้สูงอายุ
    • กลุ่มแม่บ้าน
    • กลุ่ม อสม.
    • กลุ่มทำกะปิ
    • กลุ่มทำเครื่องแกง
    • กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน]
    • กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมโค
    • สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ ๔๓ (ปะทิว)
    • ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๓ (ชุมพร)
    • ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง
    • สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร
    • ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว

เครือข่ายชุมชน

สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน

ไม่มี

กองทุนชุมชนและสวัสดิการชุมชน

1) กองทุนสัจจะออมทรัพย์

2) กองทุนเพื่อการเกษตร

3) กองทุนหมู่บ้าน

4) กองทุนน้ำตาลมะพร้าว

5) กลุ่มทำกะปิ

6) กองทุนพัฒนาสตรี

การสร้างสรรค์เศรษฐกิจวัฒนธรรมของชุมชนสู่การพึ่งตนเอง

สถานการณ์ปัจจุบันคนในชุมชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางร่างกาย คือ มีสุขภาพร่างกายค่อนข้างสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรคระบาดหรือโรคเรื้อรัง ในชุมชน แต่จะมีบ้างในผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน ส่วนของสภาพจิตใจ ไม่มีเรื่องราวที่ทำให้เกิดสภาวะเครียดในชุมชน จะมีบ้างในส่วนของการขาด สภาพคล่องด้านการเงิน เศรษฐกิจรายได้ในครัวเรือน และภาระหนี้สิน ในส่วนของสังคมนั้นยังเป็นสังคมเครือญาติ คนในชุมชนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันฉันท์พี่น้อง และไปร่วมงานตามประเพณีกันอย่างถ้วนหน้า ตามโอกาส ด้านปัญญา คนในชุมชนให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการรับรู้เรื่องราวใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่ในชุมชน และต้องการพัฒนาชุมชนให้มีความอยู่ดีกินดีในอนาคต

พันธกิจของชุมชน คือมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้เกิดความมั่นคงการเงินด้วยการพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ พัฒนาชุมชน พัฒนาทีมงาน และชุมชนสามารถอยู่ได้อย่างพึ่งพาตนเองโดยมีเป้าประสงค์คือ

  • พัฒนาชุมชนน่าอยู่ โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มองค์กร ในชุมชน
  • พัฒนาชุมชนน่าอยู่ด้วยการมีสุขภาวะที่ดี
  • มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินปลอดจากคดีอาชญา กรรม
  • มุ่งให้ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรมเน้นการศึกษาและมีงานทำและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
  • สิ่งแวดล้อมน่าอยู่

มียุทธวิธีดังนี้

ผลการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน (ตามแบบประเมิน รอด พอเพียง มั่นคง ยั่งยืน)

-มีผู้ทำแบบประเมินทั้งสิ้นคน ผลสรุปตามแบบประเมินได้ดังนี้

ภาพนิมิตการพัฒนา

-มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถดึงสมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พัฒนากลุ่มองค์กร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น และมีการดึงงบประมาณจากหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่ และสร้างภาคีเครือข่ายจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน และกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ เข้ามาเป็นภาคีความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชน เพื่อยกระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

บันทึกสรุปสิ่งที่ได้เรียน

สมาชิกกลุ่มลงพื้นที่ร่วมกัน ในการเรียนรู้ชุมชน และร่วมกันเรียนรู้ดังนี้

-ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง และมีวิสัยทัศน์

-สมาชิกในชุมชนมีความศรัทธาในตัวผู้นำ ทำให้มีความสามัคคี ให้ความร่วมมือกับผู้นำชุมชนแบบร่วมแรงร่วมใจ ร่วมพัฒนา

-ชุมชนใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นแหล่งขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชน คือ ป่าชายเลนบ้านชุมโค

-ผู้นำชุมชนมีความสามารถ และศักยภาพในการดึงภาคีเครือข่ายเข้ามาพัฒนาชุมชน

-ผู้นำชุมชนมีมนุษย์สัมพันธ์ ในการสานสัมพันธ์กับชุมชนใกล้เคียง สถาบันการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน

-มีการทำกิจกรรมอย่างจริงจัง และประสบผลสำเร็จ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์

หมายเลขบันทึก: 591055เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Lots of good details. Perhaps a "big picture" would explain the structures and (special) features of these communities better.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท