แก้ปัญหาจากโจทย์ที่ตั้งเอง


นับเป็นโชคดีของบุคลากรในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาหลายสถาบัน ที่ขานรับการจัดการอบรมหลักสูตรทางไกล หลักสูตร 1 ใช้เวลา 3 ชั่วโมง เราจึงมีโอกาสได้เติมเต็มความรู้ตามอัธยาศัยไปพร้อมๆ กันค่ะ

จากบันทึกก่อนหน้าเรื่อง

คิดๆ แล้วตั้งโจทย์ แล้วก็แก้โจทย์....

ดิฉันมองว่า การคิดที่ไม่ธรรมดา จะไม่จบเพียงแค่คิดเท่านี้ยังมีสิ่งต้องทำกันต่อไป เมื่อมีโจทย์ ก็ต้องมีการค้นหาคำตอบ โจทย์ที่เราตั้งขึ้นมาเองนั้น อาจไม่เป็นปัญหา แต่เราจะเรียกมันว่า ปัญหา เพื่อหาทางแก้ไข ทำให้ดีขึ้น การแก้ไขปัญหา จากการคิดมีกลยุทธ์ น่าจะต้องมีการตัดสินใจที่มีชั้นเชิงกลยุทธ์ ค่ะ

บันทึกนี้ ดิฉันสกัดองค์ความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรการอบรมทางไกลที่ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้น ในหัวข้อ การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดย ดร.รัฐ ธนาดิเรก (9 เมษายน 2558)

วิทยากรนำ "องค์ความรู้" มาเผยแพร่ให้ผู้เรียนรู้ มีสาระสำคัญว่าด้วย กลยุทธ์ Strategy และหลักของ Problem Solving มีไว้เพื่อแก้โจทย์ที่มีคุณค่า และ ท้าทายโจทย์ที่มีคุณค่า คือ โจทย์ทีมีไว้แล้ว คนได้รับอานิสงส์จากสิ่งที่เราทำ ความเป็นผู้นำ Leadership สะท้อนได้จากการตั้งโจทย์ที่ท้าทาย มีคุณค่าและนำพาองคืกร/ตัวเราไปสู่จุดหมา สถานการณ์ที่ต้องใช้การคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแก้โจทย์ที่มีนัยสำคัญ 4 ข้อคือ

  1. แก้ไขปัญหาที่เรื้องรัง และ มีแนวโน้มที่จะงอกเงย
  2. รองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  3. ให้ Performance / กระบวนการทำงาน / ผลงานพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
  4. สร้างรากฐานการพัฒนาในระยะยาว

โดยมีหลักการแก้ปัญหา 5 ตระกูลหลักให้เลือก คือ 1. Classical แก้ปัญหาที่เหตุ (อิงการใช้ Fish-bone Diagram เพื่อเป็นไกด์ในการกำจัดปัญหา มีโจทย์หลัก โจทย์รอง เอาเรื่องยากมาแตกเป็นองค์ประกอบต่างๆ ให้เรื่องยาก ยากน้อยลง แล้วนำหลักวิชาการเข้าไปแก้ไข (แต่ไม่ลืมว่าหลักวิชาการเป็นเพียงตัวไกด์ ไม่ต้องเลือกทำทุกเรื่อง ทฤษฎีนี้ช่วยในการมองปัญหาชัดเจนแต่ไม่จำเป็นต้องตามทฤษฎี) 2. Lateral Thinking คิดนอกกรอบ (มองมุมที่แตกต่างจากที่เคยมอง ใช้ตรรกะ คิดใหม่ ทำแล้วได้อะไร ไม่ทำแล้วได้อะไร โจทย์ต้องการแก้คืออะไร พลิกโจทย์ เกมเปลี่ยน ถามตัวเราว่าเราต้องการเปลี่ยนเขาให้เป็นอย่างที่เราต้องการหรือปรับตัวเราให้ทำงานกับเขาได้) 3. Relative Positioning บทบาทอะไร (วาง Position ว่าเป็นอะไร เช่น เป็นผู้ฟัง หรือผู้ให้คำแนะนำ เป็นผู้สอนให้คิดหรือสอนให้ทำ เป็นเพื่อนหรือเป็นคนขายของ) 4. การใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัว (กินบุญเก่า) 5. จำกัดปัญหาไม่ให้โตขึ้น (ยืดโจทย์ เพิ่มปัจจัยบวก ปัญหาอาจไม่หมด แต่มีเรื่องดีมา)

ทบทวนแล้วถามตัวเราว่า "กล้ามั้ย"

(ขอขอบคุณสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการ "การอบรมหลักสูตรทางไกลผ่านดาวเทียม"เป็นประจำทุกปี ทำให้ผู้ปฏิบัติงานชั้นผู้น้อยได้รับโอกาสเติมเต็มองค์ความรู้ฉบับลัดสั้น)

หมายเลขบันทึก: 590684เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท