วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (1) “หนักกว่า 2550”


ความเห็นส่วนตัว มองว่าเป็นการวิเคราะห์แบบตรงไปตรงมา มีองค์ความรู้เทียบเคียงกับของเยอรมัน จนเห็นข้อเท็จจริงเด่นชัดมาก ไม่อยากเห็นการหมกเม็ดในการร่าง รธน.ฉบับนี้เลย ได้โปรดทำเพื่อประเทศชาติกันบ้างเถอะ ให้ลูกหลานเคารพนับถือ อย่าทำลายชาติแบบเนียนๆเลย/เตือนใจ เจริญพงษ์

บรรยากาศขณะนี้ต้องใส่ใจกับเนื้อหาสาระของร่าง รธน.กันจริงๆ

เพราะหากปล่อยไปเหมือนว่าจะเละเสียตั้งต้น

อ่านแนวคิดของ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (1) "หนักกว่า 2550"

ใบตองแห้ง และกองบก. ข่าวการเมืองประชาไท
สัมภาษณ์/เรียบเรียง

"รัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามที่จะสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมา
คล้ายๆ กับย้อนไปปี พ.ศ. 2492 ที่เป็นการ Counter การอภิวัฒน์ 2475
รัฐธรรมนูญนี้มีทิศทางแบบนั้น แต่หนักกว่าปี 2492 และปี 2550 เข้าไปอีก"

รัฐธรรมนูญที่มีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง

จะขาดการแสดงความคิดเห็นจากวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้อย่างไร

ในฐานะนักกฎหมายมหาชนที่มีคนเชื่อถือมากทั้งคู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้อ้างระบบเลือกตั้งและหลายสิ่งหลายอย่างจากเยอรมัน

ซึ่งวรเจตน์จบทั้งปริญญาโทและเอกจากเยอรมันด้วยคะแนนสูงสุด

อะไรคือระบบเลือกตั้งเยอรมัน ที่เขียนมานี้ใช่หรือไม่

อะไรคือ "กล่องดวงใจ" ของระบอบอำนาจใหม่ที่รัฐธรรมนูญจะสร้างขึ้น

ฟังความเห็นตั้งแต่เรื่องใหญ่ไปเรื่องเล็ก แม้การสัมภาษณ์ครั้งนี้อาจมีเวลาไม่มากนัก

ไม่ครบถ้วนทุกประเด็น แต่ก็เห็นภาพรวม

บทสัมภาษณ์นี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นการวิจารณ์รายหมวดจนถึงวุฒิสภา

ตอนที่สองเริ่มต้นจากคณะรัฐมนตรีจนถึงบทเฉพาะกาล

มองเตสกิเออผิดยุค

รัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามที่จะสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมา

คล้ายๆ กับย้อนไปปี พ.ศ. 2492 ที่เป็นการ Counter การอภิวัฒน์ 2475

รัฐธรรมนูญนี้มีทิศทางแบบนั้น แต่หนักกว่าปี 2492 และหนักกว่าปี 2550 เข้าไปอีก

เพราะรัฐธรรมนูญ 2492 ซึ่งสืบต่อจากรัฐธรรมนูญรัฐประหาร 2490

ยังมีด้านที่เป็นประชาธิปไตยบ้างโดยเฉพาะการแยกข้าราชการประจำ

กับข้าราชการการเมืองออกจากกัน

รัฐธรรมนูญ 2550 ยังให้วุฒิสมาชิกครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง

แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กลับเน้นอำนาจขององค์กรที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนเยอะมาก

ถ้าพูดถึงหลักการพื้นฐาน เราอาจจะกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้

ไม่ได้ตั้งอยู่บนรากฐานที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นประชาธิปไตยแน่ๆ

แม้ว่าจะมีหลักนิติธรรม ในมาตรา 217

ที่พยายามพูดถึงหลักนิติธรรมที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย

ต้องมีหลักการพื้นฐานสำคัญดังต่อไปนี้....ฯลฯ แล้วก็พูดถึงเรื่องซึ่งอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง

ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเหนืออำเภอใจของบุคคล และพูดเรื่องการแบ่งแยกการใช้อำนาจ

คือผมอยากให้ดูหลักตรงนี้สักนิดก่อน ในเจตนารมณ์มีการพูดถึงมองเตสกิเออ (Montesquieu)

ที่บอกว่ารัฐธรรมนูญที่ดีคือ การพยายามเอากลุ่มพลังต่างๆ มาไว้ในรัฐธรรมนูญ

แต่หลักคิดของมองเตสกิเออ ไม่ได้เป็นการแบ่งแยกอำนาจบนฐานประชาธิปไตย

ตอนที่เขาเสนอหลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นการเสนอในช่วงที่ฝรั่งเศสยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์

และพยายามเอาหลักการหลายหลักเข้ามาผสมกัน อย่างเช่น อำนาจนิติบัญญัติ

เขาเสนอว่าต้องใช้หลักอภิชนาธิปไตยกับหลักประชาธิปไตยประกอบกัน

ในแง่ที่ว่ามีสภาขุนนางเป็นสภาสูง แล้วก็มีสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนอำนาจในทางบริหารเขาใช้หลักราชาธิปไตย

คือให้กษัตริย์มีอำนาจในการบริหารประเทศ ส่วนอำนาจตุลาการนี่ยังไม่ชัด

แต่บอกว่าผู้พิพากษาจะมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ ให้กษัตริย์เป็นคนแต่งตั้ง

แต่ให้เป็นอิสระจากกษัตริย์

เราจะเห็นว่าการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ ไม่ได้วางอยู่บนฐานของประชาธิปไตย

เพียงแต่พยายามปรับปรุงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศส

ให้มีลักษณะของการแบ่งแยกอำนาจเกิดขึ้น

พอเราเอามองเตสกิเออมาอ้างในยุคสมัยนี้ สิ่งเดียวที่เราควรจะรับก็คือแนวคิด

ในเรื่องของการแบ่งแยกอำนาจ ให้มีการคานและดุลอำนาจกัน

ไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งใหญ่กว่าอำนาจอื่น แต่ว่าการแบ่งแยกอำนาจ

ต้องเป็นการแบ่งแยกบนฐานประชาธิปไตย แปลว่าทุกอำนาจรัฐต้องมีความเชื่อมโยง

กลับมาหาประชาชนได้ ซึ่งเราเรียกว่า ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจ

ส่งความชอบธรรมในอำนาจของเขาไปยังองค์กรของรัฐ

ฉะนั้นวิธีการที่เราจะเช็คว่ารัฐธรรมนูญนั้นวางอยู่บนฐานของประชาธิปไตยหรือไม่

คือการเขียนผังขึ้นมา แล้วดูว่าองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐแต่ละหน่วย มีองค์กรใดบ้าง

ที่โยงกลับมาหาประชาชนได้ รัฐธรรมนูญในโลกนี้ที่เป็นประชาธิปไตยต้องอธิบายตรงนี้ได้

ถ้าไม่เช่นนั้น อย่าไปบอกว่าเป็นประชาธิปไตย

แล้วสิ่งที่เขียนในมาตรา 217 ก็เป็นการเขียนอย่าง "มุสา" ที่บอกว่าหลักนิติธรรมเป็นรากฐาน

ของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย แต่อำนาจที่แบ่งไปในรัฐธรรมนูญฉบับนี้

หลายอำนาจมันไม่ได้ยึดโยงกับประชาขนเลย

"สิ่งที่เห็นคือ วุฒิสภา หน่วยองค์กรอิสระ ที่มีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ซึ่งนี้องค์กรพวกนี้น่าจะเป็นอนุมูลอิสระมากกว่า ไม่ใช่องค์กรอิสระ มีสภาพเป็นอนุมูลอิสระ

ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาธิปไตยไปแล้ว"

ที่มาข้อมูล:ประชาไท

........................................................................................................................................................................................ความเห็นส่วนตัว มองว่าเป็นการวิเคราะห์แบบตรงไปตรงมา

มีองค์ความรู้เทียบเคียงกับของเยอรมัน จนเห็นข้อเท็จจริงเด่นชัดมาก

ไม่อยากเห็นการหมกเม็ดในการร่าง รธน.ฉบับนี้เลย

ได้โปรดทำเพื่อประเทศชาติกันบ้างเถอะ ให้ลูกหลานเคารพนับถือ

อย่าทำลายชาติแบบเนียนๆเลย/เตือนใจ เจริญพงษ์


หมายเลขบันทึก: 590528เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2015 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท