​โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 11 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 29–30 เมษายน 2558 )


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 11 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่ช่วงที่ 4 ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 11 (ปี 2558) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM: EADP 2015 ระหว่างวันที่ 29–30 เมษายน 2558

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 11 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 7 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 589447เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2015 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง "The Samsung Way"

29 เมษายน 2558

กลุ่ม 2

บทที่ 3 Leadership and Governance The Core of the Samsung Way

ปัจจัยที่สำคัญซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของ Samsung จนกลายเป็น World-class Corporation

คือ Visionary Leadership and Insight Leadershipของท่านประธาน Lee Kun-Hee

ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนด Vision , Strategic Direction ของ Samsung base on " Talent and Technology"

ประวัติ

—เกิดใน South Gyeongsang Province, Korea 1942 ช่วงสงครามเกาหลี

เป็นลูกคนที่สามของ Lee Byung-Chull ผู้ก่อตั้ง Samsung

—ชั้นประถม 5 ย้ายไปเรียนที่ญี่ปุ่น

—กลับมาเรียน Middle & High School of Seoul National University

—เรียนป.ตรี Waseda University school of Commerce in Japan

—เรียน MBA ที่ George Washinton, USA

—ปี 1966 (24ปี)ทำงานที่ Tongyang Broadcating Company(TBC)

เริ่มฝึกฝนเพื่อเป็น Executive of Samsung Group

Ø as Director of JoongAng Iibo (นสพ.รายวัน) and TBC

Ø as Vise-Chairman of Samsung C&T(Trading company)

Ø ปี1979 (37ปี)ได้รับโปรโมทเป็น Vice-Chairman of Samsung Group

Ø NOV 1987 บิดา Lee Byung-Chull เสียชีวิต ได้สานต่องานจากบิดา

สรุป

-ผู้เป็นบิดา วางแผนCarrier Path ให้แก่ท่านประธาน Lee มาตั้งแต่เด็ก

-มีโอกาสเรียนรู้กับวัฒนธรรมต่างชาติ เรียนที่ญี่ปุ่น เชี่ยวชาญทั้งภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ

เรียน MBA ที่อเมริกา เรียนรู้วิธีการตลาดแบบตะวันตก เข้าใจมุมมองหลักคิดของตะวันตก

และแนวทางการบริหารสมัยใหม่เพื่อนำมาปรับใช้กับบริษัท เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

-ได้เรียนรู้ประสบการณ์ด้านงาน Marketing การสื่อสารการตลาด

มีประสบการณ์ทำงานด้านสื่อ นสพ.และTrading company

" Born to be Owner-manager , and Chairman"

เนื่องจากธุรกิจหลักของ Samsung คือธุรกิจด้านเทคโนโลยีซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็ว

Product จึงเปลี่ยนแปลงเร็ว ตกยุค ล้าสมัยเร็ว เช่น TV, Smart Phone, Semiconductor

ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ , notebook, PC , Printer

Ø ตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางในการทำธุรกิจจาก Local ไปเป็น World-class Corporation

Ø Recruit Foreign Talent นำผู้บริหารจากโลกตะวันตกเข้ามาในบริษัท

Mix Western and Eastern management style

Ø Focus on Core Talent

Recruit and maintain Geniuses, top-flight engineer

สร้างระบบ Talent Management System

High incentive & reward, high performance bonus

Ø เปลี่ยนวิธีการบริหารบุคคล จากระบบอาวุโสมาเน้นที่ฝีมือและคุณภาพ performance

Ø Focus on Intangible asset investment

ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างมหาศาล เพื่อสร้าง Soft Competitiveness and Core Talent

สร้าง passion of innovation

Ø R&D investment , and infrastructure

สถาบัน Samsung Advance Institute of Technology

Ø New Technology ,Investment for next-next generation model

Ø World-class design , Design Innovation

Ø Brand building , Global Band image creating

สิ่งที่เหมือนและแตกต่างจากกฟผ.

sumsung

EGAT

Visionary & Insight Leadership

"Talent and Technology"

องค์การชั้นนำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล เน้นด้านประสิทธิภาพ เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและมุ่งเน้นสรรหาคนเก่ง คนดี เข้ามาร่วมทำงาน

Core Talent

-Talent management system

-performance reward

Recruit talent +ให้ทุนศึกษาต่อจนถึง ป.เอก

แต่ยังไม่มีการดึงผู้บริหารจากภายนอกมาร่วมงาน

และยังไม่มีระบบบริหาร talent

R&D Investment

ลงทุนอย่างมหาศาล

จัดตั้ง Samsung Advance Institute of Technology

ส่งเสริม/ให้ทุนการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม แก่มหาวิทยาลัยต่างๆ และกำลังจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา ของกฟผ.

ข้อเสนอแนะและการนำมาใช้ในงานของกฟผ.

หากอนาคตข้างหน้า กฟผ.จะต้องขยายธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าและอื่นๆเข้าไปในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

โดยผ่านทางกลุ่มบริษัทลูกในเครือ ควรยึดเอาแนวคิดหรือระบบบริหารของ Samsung มาปรับใช้ประโยชน์

ได้แก่

Ø แนวคิดเรื่อง Core Talent ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพาองค์กรไปในระดับโลก

Ø การ recruit foreign geniuses ในประเทศต่างๆ

รวมถึง ระบบ Talent management system

Ø Corporate Strategy Office หรือ Control Tower

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการ monitoring ,supervision and analyze สภาวการณ์ขององค์กร

และเป็นที่ปรึกษา และวางแผนยุทธศาสตร์ให้แก่องค์กร

ศ.ดร.จีระ: การเป็นผู้นำมีโลกทัศน์ที่กว้างมาก การทำธุรกิจในเกาหลีนำtalent มาจากต่างประเทศ และทำงานร่วมกัน เรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำจริง

ส่วน EGAT จุดสำคัญต้องคิดให้ดีว่าส่วนไหนของ sumsung มีประโยชน์ การบริหารจัดการของเขาเป็น empower ส่วนของ EGAT ยังเป็น command and control มีระบบ silo

กลุ่ม 3

นำเสนอเรื่องกลยุทธ์ของ SUMSUNG การบริหาจัดการ และวัฒนธรรมองค์กร

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Samsung Way กับ EGAT

Samsung Way

EGAT

1.กลยุทธ์

1.1 เปลี่ยนจากปริมาณ มาเพิ่มที่คุณภาพ (New Best Products)

1.2 เน้นการเป็นผู้นำในตลาด

1.3 Focus ที่ Core Business เลือกธุรกิจที่มีช่องทางการเติบโตและมีกำไร โดยมุ่งดำเนินธุรกิจครบวงจร

1.กลยุทธ์

1.1 มุ่งสู่การเป็น Top Quartile National Pride and Global Sustainability ภายในปี 2568

1.2 มุ่งสู่การดำเนินการอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ต้นน้ำ – ขยายการลงทุน เพิ่มในธุรกิจเชื้อเพลิง เช่น หาแหล่งก๊าซธรรมชาติ ปิโตเลียม ถ่านหิน

กลางน้ำ – ดำเนินการผลิต จัดหา และส่งกำลังไฟฟ้า โดยเน้นความมั่นคงของระบบ

ปลายน้ำ – กฟผ. กฟน. และลูกค้าทั้ง 8 ราย

1.3 Focus ที่ Core Business คืองานผลิตไฟฟ้าและส่งกำลังไฟฟ้าให้ถึงลูกค้าอย่างมีคุณภาพ

2. การบริหารจัดการ

2.1 ทรัพยากรบุคคล

เปลี่ยนโครงสร้างพนักงาน เพิ่มบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาสูง เพิ่ม R&D หรือจากบริษัทคู่แข่งและ

ให้ความสำคัญกับ Talent

ให้ผลตอบแทนตาม Performance การทำงานสามารถเลื่อนขั้นแบบก้าวกระโดด

2. การบริหารจัดการ

2.1 ทรัพยากรบุคคล

งานบริการที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะ จะ Outsource เช่น พขร. นักการ-ภารโรง รปภ. เป็นต้น

สนับสนุนให้ความสำคัญกับ Successorโดยมี Fast Track

ผลตอบแทน ยังเป็นไปตามกฏระเบียบ กฟผ. ไม่สามารถเลื่อนขั้นแบบก้าวกระโดดได้

2.2 Core Management Control

1)พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ : โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้า

2)จัดหาวัตถุดิบ : ตรงเวลา และควบคุมค่าใช้จ่าย

3)ผลิต : หลากหลาย ตามความต้องการของลุกค้า

4)ระบบขนส่ง : ใช้ Logistics Company ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด

5)Marketing/ Sale : มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลุกค้ารายใหญ่และยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้แข่งขันในธุรกิจได้

6)IT : เน้นความถูกต้องและรวดเร็ว ลดการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน สามารถ Link กันระหว่าง Suppliers และ โรงงานผลิต

2.2 Core Management Control

1)มุ่งเน้นกระบวนการการผลิตไฟฟ้าและปรับปรุงคุณภาพของระบบส่ง (Quality + Reliability)

2)ระบบขนส่ง

§เชื้อเพลิง (โดย Suppliers)

§อุปกรณ์บำรุงรักษา

3)การประชาสัมพันธ์

§ด้าน Corporate เช่น ภาพลักษณ์องค์กร, CSR ฯลฯ

§ด้านการประหยัดพลังงาน

4)IT : มีศูนย์คอมพิวเตอร์ มั่นคง ปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO 27000

3. วัฒนธรรมองค์กร

3.1 Five Core Values

1)People

2)Excellence

3)Change

4)Integrity

5)Co Prosperity

3.2 Five Principles

1)สอดคล้องกับกฏหมายและจริยธรรม

2)รักษาไว้ซึ่ง Clean Organization Culture

3)เคารพลูกค้า Stakeholder ความปลอดภัย

4)ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย

5)มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

3. วัฒนธรรมองค์กร

"รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม"

ค่านิยมองค์กร FIRM-C

F: Fairness ตั้งมั่นในความเป็นธรรม

I: Integrity ยึดมั่นในคุณธรรม

R: Responsibility & Accountability สำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่

M: Mutual Respect เคารพในคุณค่าของคน

C: Commitment to continuous Improvement and Teamwork มุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานเป็นทีม

ข้อเสนอแนะและข้อคิด

• Samsung เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านมือถือ, TFT – LCD, TV และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกับธุรกิจของ กฟผ. โดยสิ้นเชิง มี Lifetime ของสินค้าและความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน

• มีกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม ที่แตกต่างกัน ประกอบกับ กฟผ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีข้อบังคับ กฎระเบียบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ ทำให้ไม่คล่องตัวในการดำเนินงาน เช่น การให้ผลตอบแทนผู้ปฏิบัติงานตาม Performance เป็นต้น

• กฟผ. สามารถทำกลยุทธ์ การบริหารจัดการ รวมถึง วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่ทันสมัยและคล่องตัวมาปรับใช้ให้เกิดความคล่องตัวแก่องค์กรได้ในภายหน้า

• แนวทางการดำเนินงานของบริษัท Samsung ที่ประสบความสำเร็จได้นั้น คือ การนำความคิดนอกกรอบมาใช้ในการทำงาน ดังนั้น กฟผ. ควรนำ Success Story ของ Samsung มาปรับใช้เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้บรรลุตามวัตถุประสงค์

ศ.ดร.จีระ: ธุรกิจของซัมซุงมีหลายคู่แข่ง แรงกดดันของมือถือในอนาคตไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะความต้องการใน social media มีมาก

กลุ่ม 1 วีซัมซุงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

§เริ่มทำธุรกิจ ปี 1938

§ประธานผู้ก่อตั้ง เบือง ชุล ลี ได้เริ่มธุรกิจที่เมืองแตกู ด้วยเงิน 30,000 วอน

§ในช่วงแรก ธุรกิจเน้นไปยังการส่งออกสินค้าโดยการขายปลาแห้ง ผักและผลไม้

§ไปยังแมนจูเรียและปักกิ่ง

§ระยะเวลาสิบปีผ่านไป Samsung มีเครื่องจักรโม่แป้งและทำขนมสี่เครื่องเป็นของตัวเอง มีแผนกดำเนินการผลิตและขาย

1970-1979

§วางยุทธศาสตร์การจัดตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อการเติบโตโดยลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก, เคมี, และปิโตรเคมี

§ก้าวสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอระดับโลก

§ควบรวมกระบวนการผลิตทั้งหมด เกิดบริษัทใหม่ๆSamsung Heavy Industries Co., Samsung Shipbuilding Co., Samsung Precision Co., Samsung Electronics Co.

§เริ่มทำการส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นครั้งแรกในตลาดเซมิคอนดัคเตอร์

1980-1989

§ปี 1978 Samsung Semiconductor และ Samsung Electronics แยกออกจากกัน

§Samsung Aerospace Industries เปิดตัวปี 1987 ดำเนินธุรกิจและพัฒนาความสามารถด้านอวกาศ

§เข้าสู่ธุรกิจการพัฒนาระบบ โดยก่อตั้ง Samsung Data Systems ในปี 1985

§ตั้งสถาบัน R&D

§ปี 1987 เบือง ชุล ลี ประธานผู้ก่อตั้ง Samsung ถึงแก่กรรม

§คุน ฮี ลี (ลูกชาย) แทนที่ตำแหน่งประธานบริษัท

§Samsung ก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าหนึ่งในห้าอันดับแรกของโลก

1990-1993

§ต้น 1990 เกิดความท้าทายอันยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจไฮเทค การควบรวมกิจการ, การเสริมสร้าง

§พันธมิตร และการเข้าซื้อบริษัทเพื่อความมั่นคง

§บริษัทต่างๆ ถูกบังคับให้ทำการทบทวนการนำเสนอเทคโนโลยีและบริการ ธุรกิจเริ่มเคลื่อนที่

ข้ามผ่านเขตแดนระหว่างประเทศและบริษัท Samsung ใช้โอกาสเหล่านี้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่เพื่อตอบสนองต่อความ

1997-1999

§วิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งหมดของสาธารณรัฐเกาหลีแต่ Samsung ยังเติบโตได้ต่อไป จากการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี

§บริษัทให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ในด้านอิเลคทรอนิกส์ การเงินและการบริการที่เกี่ยวข้อง

§Samsung ลดจำนวนบริษัทในเครือเหลือ 45 บริษัท

§ลดจำนวนพนักงานเกือบ

§50,000 คน ขายธุรกิจบางส่วน

§พัฒนาความมั่นคงของโครงสร้างทางการเงิน โดยการลดอัตราส่วนหนี้สิน

2000-ปัจจุบัน

§Samsung ได้ตอบรับด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า, ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำการแข่งขันได้, และนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

§Samsung พบว่าทุกความท้าทายคือโอกาสและเชื่อว่า Samsung คือผู้ที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลของโลก ความมุ่งมั่นที่จะเป็น "ที่สุดของโลก" ได้ทำให้ Samsung กลายเป็นผู้มีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับหนึ่งของโลกในสินค้ากว่าสิบสามชนิด

Vision 2020

Samsung ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัทสำหรับการดำเนินงานในทศวรรษใหม่ไว้ว่า "สร้างแรงบันดาลใจให้แก่โลก เพื่อร่วมสร้างสรรค์อนาคต" (Inspire the World, Create the Future) วิสัยทัศน์ใหม่นี้สะท้อนความมุ่งมั่นของSamsungในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชน ด้วยจุดเด่น ๓ ประการ นั่นคือ "เทคโนโลยีใหม่" "นวัตกรรมผลิตภัณฑ์" และ "โซลูชั่นอันสร้างสรรค์" พร้อมทั้งส่งเสริมคุณค่าใหม่ สำหรับเครือข่ายการดำเนินงานของSamsungอันได้แก่ อุตสาหกรรม คู่ค้า และพนักงาน ด้วยความพยายาม เหล่านี้ Samsung มุ่งหวังที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าและประสบการณ์อันดีเยี่ยมสำหรับทุกคน

ข้อคิดของซัมซุง

1)องค์การธุรกิจที่อยู่ในยุคการแข่งขัน องค์การจะต้องพิจารณาอย่างรวดเร็วว่า องค์การมีข้อได้เปรียบต่อคู่แข่งหรือมีชื่อเสียงที่ดีเรื่องใดในตลาด และนำกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นจากผลการวิเคราะห์รอบด้านของข้อได้เปรียบ รวมทั้งโอกาสที่มีในตลาดนั้น วางแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

2)ผู้บริหารที่ลำพองใจในความสำเร็จที่ผ่านมาขององค์การ ย่อมติดกับดักของมันจนบางครั้งก็ยากจะถอนตัวได้ทัน ซัมซุงเองไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเจ้าตลาดที่จะหยุดนิ่งได้ หากแต่ซัมซุงเป็นตัวอย่างที่ดีของการมองข้อเท็จจริงของธุรกิจตัวเองว่าจริงๆ แล้วซัมซุงอยู่ในธุรกิจแข่งขันสูง ที่ต้องอาศัยความเร็วในการสร้างนวัตกรรมของสินค้าหรือบริการที่จะสามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างหลากหลาย

3)ซัมซุงมองว่า ธุรกิจตัวเองอุปมาอยู่ในธุรกิจปลาดิบ คือเมื่อออกสินค้าใดก็แล้วแต่ ในช่วงแรกๆ ที่สินค้านั้นยังคงใหม่อยู่ ยังไม่มีคู่แข่งหรือผู้สามารถลอกเลียนแบบได้มาก ราคาของสินค้าก็จะสูง แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป เมื่อมีสินค้าหรือคู่แข่งขันมากขึ้น ราคาของสินค้าก็จะตกลง ความเร็วของการปรับตัว และการออกแบบสินค้าที่สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่ง dynamic มาก จึงเป็นเรื่องสำคัญ เน้นการออกแบบสินค้าเพื่อให้ตอบสนองต่อต้องการอย่างรวดเร็ว ปัจจัยแห่งความสำเร็จในธุรกิจก็คือความเร็ว

4)การใช้ความเร็วเป็นตัวขับเคลื่อนความได้เปรียบขององค์การ จะเป็นไปได้ยากบนโครงสร้างองค์การที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น หรือเป็นไซโล ที่ซับซ้อน ง่ายต่อการเกิดความขัดแย้งและช้าในการตัดสินใจ

5)การสร้างกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ของซัมซุงที่หลากหลายและแตกต่างจากคู่แข่งขัน คือ นอกเหนือจากการผลิตเพื่อป้อนให้กับผู้บริโภคแล้ว รายได้หลักยังมาจากการขายอุปกรณ์ให้กับบริษัทอื่นด้วย

6)กรณีของซัมซุง สะท้อนเรื่องของการให้ความสำคัญของการออกแบบ โดยใช้ concept RD&D หรือ Research, Design & Development ซัมซุงมีการจัดตั้ง Design Center ขึ้นมา และความสำเร็จของ Design Center นั้น ซัมซุงพิจารณาจากยอดขายและรางวัลในการออกแบบที่ได้รับ

สรุปการบรรยายหัวข้อ

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

29 เมษายน 2558

ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย: การปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือ รู้ เห็น และเลือกทำสิ่งใหม่ที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

Allan: กล่าวว่า สรรพสัตว์ปรับตัวได้ด้วยการเกาะกลุ่มและเรียนรู้ร่วมกัน

1. มีความคิดริเริ่ม/พฤติกรรมใหม่

2. การแผ่กระจายความคิด/พฤติกรรมใหม่

3. การเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ

(Allan Wilson, Zoologist, U.C. – Berkeley)

(Titmice V.S. Red Robins)

องค์กรส่งเสริมความคิดใหม่ และมีแรงต่อต้านภายใน สามรถขัยเคลื่อนได้หรือไม่

หลังลีกวนยูเสียชีวิต ประเทศสิงคโปร์เริ่มมองว่าทางการศึกษาต้องทำอย่างไร

  • -เรียนเพื่อนำไปปฏิบัติได้ ที่ทำได้ดีกว่าคนดี
  • -เรียนเพื่อให้ปรับตัวได้เองตลอดชีวิต
  • -มหาวิทยาลัยนันยางมีการวัด เพื่อวัด CQ คือ ความปรีชาชาญทางวัฒนธรรม
  • -ปรับโรงเรียนไม่ได้ให้มีมิติเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องรื่นรมย์ทางศิลปวัฒนธรรมด้วย
  • -การปรับเปลี่ยนทัศนคติของคน

มีองค์กรเกิดขึ้นเรียกว่า HYBRID Enterprise เน้นการปรับตัว มีแนวโน้มว่าบริษัทห้างร้านมองธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องจัดการสังคมด้วย หนังสือของ Peter drucker ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารต้องบริหารสังคมให้เก่งเพื่อให้สังคมอยู่รอด โลกทุนนิยมเปลี่ยนความคิดของคน สร้างความเหลื่อมล้ำ เกิดความคิด CSR( Corporate Social Responsibilities ) และเปลี่ยนเป็น CSV (Creating Shared Value)

CSV คนไม่ค่อยเข้าใจว่าใช้ได้จริงหรือไม่ มองว่าบริษัทต้องดูตลาดใหม่ที่ผู้บริโภค strong เกิดแนวคิดเรื่อง The bottom of the pyramid theory คนกลุ่มนี้มีกำลังบริโภคขนาดใหญ่ ตลาดล่างสำคัญมาก บริษัทได้ผลกระทบคือ The disruptive Innovation model คือ การแยกแยะคนกลุ่มหนึ่ง ต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันด้วย

Value Creating System (Value Constellation)

Co-Value creation

Co-dependency and co-evolution ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนและระบบนิเวศน์

Co-learning การสื่อสารแลกเปลี่ยน แชร์ความรู้

Co-Invention คิดเรื่องใหม่ๆ

Co-Existence การอยู่ได้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

Formulating New Business model

Value preposition เราเป็นธุรกิจที่ให้ประโยชน์กับใคร และสอดคล้องกับช่วงเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

Value Constellation ชุดหรือกลุ่มของคุณค่าที่ต้องแชร์กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรา

Value Constellation สร้างชุดของคุณค่าและมูลค่า นำไปสู่โมเดลเรียกว่า

Social Business model

  • -Value proposition
  • -Social Profit equation
  • -Value constellation
  • -Economic profit equation

เช่น IKEA มาเมืองไทยเป็นที่รวมของบริการต่างๆนอกจากเฟอร์นิเจอร์ รับบริการออกแบบบ้าน รับจ้างบริหาร มีร้านอาหาร ที่ทุกคนได้ประโยชน์

เช่น Lyonnaise des Eaux และ VEOLIA เป็นบริษัทมีความเก่งเรื่องบริหารการเงิน กฎหมาย ทำอย่างอื่นได้นอกเหนือจากการขายน้ำ

สิ่งสำคัญคือการปรับตัว แต่องค์กรที่ใหญ่และโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความไม่อยากเปลี่ยนเป็นตัวสำคัญที่ต้องทะลาย จึงเป็นเหตุให้ต้องมีเรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง

ทำอย่างไรถึงจะให้สร้างความสามารถของทุกคนเพื่อให้เกิดการ Anticipate future issues หน้าที่ของผู้บริหารคือ จัดการเรื่องอดีตให้เร็ว เพื่อจัดการเรื่องอนาคตโดยต้องหา Being business partner ที่สำคัญเมื่อคิดได้ วางคนได้แล้วเราต้องให้เขาและเราเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน โดยสร้างคนที่เรียกว่า Change Facilitators จึงจะมี result เกิดขึ้นที่ทุกคนรู้สึกว่า win

การต้องมี Sustained excellence และมีกระบวนการที่ Success in adding values

ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ (Kotter)

1. การกระตุ้นให้ผู้คนเคลื่อนไหวสร้างเป้าหมายจุดประสงค์ที่เป็นจริง (Establishing a greater sense of urgency)

2. สร้างทีมงานที่เข้มแข็ง (Creating the guiding coalition) โดยการนำคนที่เหมาะสม มีความเชี่ยวชาญ มีอารมณ์ร่วมกับงานและมีความสามารถฝีมือที่จะเข้ามาทำงานที่ได้รับมอบหมาย

3. มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง (Developing a vision and strategy) นำพาทีมงานมาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน และควรที่จะตั้งมั่นบนความรู้สึกและสิ่งสร้างสรรค์เพื่อที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผล

4.การสื่อสารต้องมีการให้คนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด(Communicating the change vision) สื่อสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ใจความเข้าใจง่ายและตอบสนองความต้องการของผู้คน

5. ให้อำนาจในการตัดสินการกระทำ (Empowering others to act) โดยการกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวาง ต้องทำให้เกิดผลตอบรับและได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ ต้องมีผลตอบแทนเมื่อสำเร็จและการรับรู้ต่อความคืบหน้าและสิ่งที่ประสบผลสำเร็จ

6. ต้องสร้างชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่าย ต้องมีการเริ่มบริหารสิ่งใหม่ๆและต้องประสบผลสำเร็จให้ได้ระดับหนึ่งก่อนที่จะไปเริ่มทำสิ่งใหม่เป็นอันดับต่อไป

7. ต้องสร้างแรงบันดาลใจและมีความเพียรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง(Consolidating gains and producing even more change) มีการสนับสนุนให้ทำรายงานความก้าวหน้า

8. ต้องสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง (Institutionalizing changes in the culture) ต้องมีการตอกย้ำค่านิยมของความสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงผู้นำใหม่ โดยการตอกย้ำการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมขององค์กร

คำถาม

ปัจจุบันกฟผ.คุ้นกับ CSR แต่ CSV ไม่คุ้นเคย อยากถามว่าความแตกต่างคืออะไร

ปัจจัยทีขับเคลื่อน CSV คืออะไร

ศ.ชาติชาย: CSV เป็นสัญลักษณ์ ให้เกิดเป็นความหวงแหน มูลค่าทางการเงินเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ศ.ดร.จีระ: เราเป็นองค์กรที่แข็ง จัดองค์กรเป็นแนวลึก ในทางทฤษฎีเป็น networking organization ต้องมีการ share value เรียนรู้สิ่งที่มากกว่าวิศวะ เราต้องมีเรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เราต้องเป็นเครือข่ายของคนที่เรียนหนังสือร่วมกัน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์:

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • -การสร้างความผูกพันกับองค์กร แต่ปัญหาคือ หัวหน้าไม่เคยดูแลลูกน้อง ไม่เคยใช้กระบวนการการเป็นพี่เลี้ยง การให้ feedback ต่างๆ เพราะคนไทยยังติดอยู่กับ การเกรงใจ รักษาหน้า
  • -โค้ช เป็นบทสนทนา พฤติกรรมของโค้ชที่สำคัญคือต้องเป็นบทสนทนา
  • -ระบบ performance management เป็นระบบที่สำคัญมาก จะเป็นระบบที่พัฒนาคนในองค์กรที่จะให้สำเร็จตาม KPI

ศ.ดร.จีระ: ทุกองค์กรคิดว่า KPI จะกำหนดเป้าหมายทางการเงินอย่างเดียว แต่กระบวนการในการสร้างคนเป็นเรื่องสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของการใฝ่รู้ ในเรื่องงานเป็นหน้าที่ของทุกคน

ดร.ศิริลักษณ์: ปัจจุบันคนในองค์กรทำงานในความกลัว โลกปัจจุบันธุรกิจเปลี่ยนไป โลกต้องมีการปรับตัว

ตัวอย่าง ค่านิยมสู่การปฏิบัติ

ค่านิยม คืออะไร

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

พฤติกรรมเชิงบวก ต้องการเห็นอะไร

พฤติกรรมเชิงลบ ไม่ต้องการเห็นอะไร

ความขัดแย้ง (ที่ลงตัว)

ปัญหาของการเปลี่ยนแปลง

1. อุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง

2. องค์กรยังขาดความสามารถ

3. การเปลี่ยนแปลงมักจะเกี่ยวข้องกับคนระดับสูง แล้วคนระดับล่างๆไม่ทราบเรื่อง

ความเชื่อมโยงของแนวคิดกับค่านิยม (GE 1980-1990)

ค่านิยม

เคารพผู้บริหารระดับสูง

ยึดมั่นกระบวนการ

กำหนดงบประมาณที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้

เชื่องช้า ระเบียบวิธีการทำธุรกิจ

ซ่อนความขัดแย้งไว้ใต้โต๊ะ ไม่ต้องการให้มารบกวนความมั่นคง

หลังจากนั้นเป็นแนวคิดของ Jack welch GE ปี 1992

โดยมีแนวคิด

ปรับเปลี่ยนกิจการเก่าๆหรือโตเต็มที่

ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เติบโตเร็วและธุรกิจใหม่

กระจายอำนาจระหว่างส่วนกลางและหน่วยงาน

ให้แต่ละธุรกิจกำหนดกลยุทธ์ของตนเอง

13 ธุรกิจหลัก ไม่ใช้หน่วยธุรกิจย่อย

ค่านิยม

ความเร็ว (Speed)

ความเรียบง่าย (Simplicity)

ความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence)

ความยืดหยุ่น (Stretch)

ไม่มีขอบเขต (Boundarylessness)

ทฤษฎี Kotter เป็นเรื่องการวางแผน แต่ต้องสร้างผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการดึงศักยภาพของคน

เรื่องความผูกพันนั้น หากหัวหน้าสามารถคุยกับลูกน้องทุกเรื่อง จะเกิดการผูกพันเอง

แนวทางการทำงานถ้าทุกคนมองเรื่องมุ่งธุรกิจสร้างรายได้มากขึ้น ผู้บริหารจะรู้จักกันในงานอย่างเดียวไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน ต้องให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นตัวนำ เพื่อให้รู้กระบวนการการเปลี่ยนแปลง

ลูกน้องในทีมทำวิจัย ทำนโยบาย ทุกกลุ่มต้องไปค้นคว้า สัมภาษณ์ ดูงานในบริษัทชั้นนำ ต้องสามารถให้คำแนะนำที่อยู่บนข้อเท็จจริงที่สามารถมาใช้ได้ในองค์กร

สิ่งสำคัญต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ กระบวนการของการถ่ายทอดและพัฒนา อาจจะออกมาเป็นรูปแบบของการทำ workshop ทุกคนต้องเข้าหลักสูตรตามมาตรฐาน

ต้องมีการ rethinking

Organization capabilities

Leading to strong culture

Business

  • -Business strategy
  • -Business model
  • -Business process
  • People
  • -Leadership
  • -Performance management ถ้าให้ feedback ลูกน้องบ่อยๆจะมีจริยธรรมในตัวเอง
  • -Learning and development
  • เพื่อไปสู่การ
  • -Collaboration
  • -Engagement
  • -Learning culture
  • -Adaptability
  • -Ethics/code of conduct

คนที่เป็น Mentor ต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี

เราสามารถคุยกับลูกน้องได้ตลอด ไม่ได้เป็นผู้นำในการทำงานเท่านั้น ต้องเป็นผู้นำทางจิตใจ

Rethinking องค์กร

สิ่งที่เราต้องทำคือ

  • -Structure
  • -Systems
  • -Processes
  • -Practices
  • สิ่งที่ต้องรู้คือ

วัฒนธรรมองค์กรตอนนี้จุดแข็ง และจุดอ่อนตรงไหน

  • -จุดแข็งคือ บุคลากรที่เชี่ยวชาญในธุรกิจที่ทำมา 50 ปี แต่ธุรกิจยังไม่มีของใหม่
  • -จุดอ่อน คือ ต้องปรับเปลี่ยน mindset การสร้างโค้ชเป็นส่วนน้อยมากในองค์กร เราจะทำให้เปลี่ยนได้อย่างไร ทั้งวิธีการจะทำอย่างไร
  • -จุดแข็ง คือ ความเชี่ยวชาญของตัวเอง
  • -จุดอ่อน คือ Mindset

ดร.ศิริลักษณ์: พนักงานที่เป็นลูกน้องต้องรู้เรื่องด้วย เพราะเป็นเรื่องของพฤติกรรม ที่ต้องให้ feedback ซึ่งกันและกัน ถ้าหัวหน้ารู้ฝ่ายเดียว ว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี แสดงว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย การพูดกับลูกน้องถ้ายังไม่เกิดผลในครั้งแรกอย่าเพิ่งถอดใจ ให้พูดไปเรื่อย ๆ

สิ่งที่คาดหวังจะใช้ town hall ให้คนรู้จักกันมากขึ้น ให้รางวัลคนที่ทำดี ต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการที่แข็งแรงเพื่อให้คนเปลี่ยน mindset ได้

ให้ค้นหาว่ามีพฤติกรรมไหนบ้างที่สำคัญ เพื่อให้คนของเราทำอะไรแตกต่างกันออกไปจากเดิม

มีความภาคภูมิใจและมีความผูกพันในองค์กร

พัฒนาตัวเองให้เป็นนักเล่าเรื่อง โดยเล่าเรื่องแห่งความสำเร็จ

การจะเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง "The Samsung Way"(ต่อ)

โดย กลุ่มที่ 4, 5, 6, และ 7 (กลุ่มละ 7 นาที)

30 เมษายน 2558

กลุ่ม 4

Keyword ของความสำเร็จ คือ Velocity เน้นการเข้าถึงตลาด & Flexibility องค์กรต้องพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อลูกค้าเสมอ

เปรียบเทียบธุรกิจตัวเองกับธุรกิจปลาดิบ ยิ่งส่งถึงมือลูกค้าเท่าไหร่ก็ยิ่งมีมูลค่าเท่านั้น

ทฤษฎีปลาดิบ

ปลาที่เพิ่งจับได้จะมีราคาแพงมาก เนื่องจากมีความสด สามารถจำหน่ายในภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นระดับ 5 ดาว

หากนำปลาไปจำหน่ายในวันรุ่งขึ้น ความสดลดลง ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งต้องนำไปปรุงอาหารไม่ว่าทอดหรือนึ่งในภัตตาคารทั่วไป

หากจำหน่ายปลาในวันที่สาม ความสดยิ่งลดลง ราคาจะเหลือเพียง 1 ใน 4

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเช่นเดียวกับธุรกิจปลาดิบ การวางสินค้าใหม่ได้ก่อนคู่แข่ง จะสามารถจำหน่ายได้ราคาที่สูงเนื่องจากไม่มีคู่แข่ง หากล่าช้าแทบไม่มีกำไร เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก

Speed management

•Samsung ลดขั้นตอน และ กระจายอำนาจ ในเรื่องของการตัดสินใจ
Decision Making & Approval Process

•การตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ ระดับ CEO's Approval ไม่เกิน 3 ระดับ

•เรื่องที่ไม่สำคัญมาก สามารถตัดสินใจทางวาจา หรือ ทาง Online

•Enter first stabilized later -> Rush to completion

žนำ Digital Technology มาปรับใช้ในการบริหารจัดการ IT Process based on global SCM & ERP System

Organizational culture

งานที่ให้ CEO ตัดสินใจ ไม่เกิน 3 ขั้นตอน งานไม่สำคัญจะมอบให้ Field manager ดูแล

นำทีมsupport ออกไปตาม Field ต่างๆเพื่อให้สาขามีอำนาจการตัดสินใจ และทำงานได้อย่างรวดเร็ว

ภาวะผู้นำต้องมีสติปัญญาเป็นเลิศ และมีความกล้าหาญอย่างสูง

Management system

ความรวดเร็วใน team เป็นแบบ Clustering เน้นเรื่องการประชุมแบบเจอหน้ากัน ได้ความร่วมมือดีกว่า

ทำงานร่วมมือในsupply chain ต่างๆพยายามทำให้ไม่มีรอยต่อในการทำงาน เป็นทีมเดียวกัน ทั้งภาษา วิธีคิด ข้อมูล ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

Goal driven R&D & Advancement R&D process

•การผลักดันการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแบบเน้นเป้าหมาย

การพัฒนาแบบคู่ขนาน

การพัฒนาแบบกบกระโดด

•การปรับปรุงกระบวนการ R&D

•กระบวนการนวัตกรรมผ่านโครงสร้างพื้นฐาน IT

ซัมซุงมีการพัฒนาแบบคู่ขนานควบคู่กัน

การพัฒนาแบบกบกระโดด การวิจัยคิด 3 ขั้น

Next next next คิดแค่อนาคตจะเกิดอะไรและต้องไปข้างหน้าให้ได้

ความมุ่งมั่นของบุคลากร >>>> ดึงตัว

การลงทุนทรัพยากรอย่างเต็มที่ >>>> รับเทคโนโลยีจากภายนอกและควบรวมเป็นของ Samsung

อ.จีระ: คนนำเสนอกลุ่มนี้มีความสามารถมาก ชัด ตรงประเด็น สิ่งที่เกิดขึ้นใน EGAT เกิดขึ้นมาก บทนี้สามารถประยุกต์ใช้กับ EGAT ได้ แต่EGAT ไม่ได้นำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งEGAT มีมากกว่าชุมชน ขอให้ทุกท่านวาด scenario ว่าอีก 20 ปี EGAT จะเป็นอย่างไร

กลุ่ม 5 บทที่ 6 Samsung's second success factor ปัจจัยของความสำเร็จ

Lee Kun-Hee ประธานบริษัท เป็นผู้ริเริ่มนำกลยุทธ์การรวมตัวทางธุรกิจแบบพัฒนาร่วมกัน

"ความหลากหลายทางธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือนี้เองที่เป็นปัจจัยหลักที่สร้างความได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งทางการตลาด"

บริษัท Samsung Electronics เป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งในโลกที่มีความหลากหลายในตัวผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิตอล (Digital Products) เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (home electronic) และธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม(communication business)"

พื้นฐานของการรวมตัวทางธุรกิจ (Synergy) ในโครงสร้างธุรกิจประเภทต่างๆ

ด้วยตระหนักในความสำคัญของการดำเนินธุรกิจแบบพัฒนาร่วมกัน(convergence) บริษัท Samsung ได้ใช้ กลยุทธ์หลัก 3 ประการเข้ามาบริหารกิจการ

1. การกระจายตัวของธุรกิจในแนวราบ (horizontal diversification) และการรวมธุรกิจตามแนวนอน (vertical integration)

2. การพัฒนาร่วมกัน(convergence) ของผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ

3. การสร้างและกระจายตัวของคลัสเตอร์ (cluster) ไปตามภูมิภาคต่างๆ

Convergence Synergy สร้างขึ้นใน Samsung ได้อย่างไร

Samsung สามารถผลักดันให้เกิดการรวมตัวทางธุรกิจแบบพัฒนาร่วมกันและเสริมซึ่งกันและกัน ท่ามกลางความแตกต่างของโครงสร้างธุรกิจ ด้วยการ

• ลู่ผลิตภัณฑ์ให้แคบลง (product convergence), )

• การรวมกลุ่มในภูมิภาค (regional cluster)

• การผสานผลิตภัณฑ์ในแนวดิ่ง (vertical integration of components)

ซึ่งกล่าวถึงในเชิงทฤษฎีการบริหารใน 2 รูปแบบคือ

กล่าวถึงทฤษฎีการบริหาร 2 รูปแบบ

1) การรวมตัวทางธุรกิจ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วม หรือการลดต้นทุนโดยใช้บริการร่วมกัน

2) การแบ่งปันความรู้ ทักษะ และการสร้าง brand

มีการเพิ่มยอดการขายและลดต้นทุน พัฒนาเทคโนโลยี สร้างความมั่นคงในการซื้อ มีการใช้บริการทั้งกลุ่ม เพื่อลดต้นทุนการผลิต

มีการแบ่งปันใช้เทคโนโลยีร่วมกัน

มีการใช้ Best practice ในหลายกลุ่มงาน

พื้นฐานของระบบการสร้าง SYNERGY)

OWNER MANAGER มีหน้าที่ ในการสร้าง SYNERGY

SAMSUNG จะแบ่งปัน ค่านิยม / วัฒนธรรมองค์กร/ ภาษา และสร้างความภักดี ความสามัคคี

การปรับและการติดตาม กลยุทธ์ของบริษัทในเครือให้สัมพันธ์กับการสร้าง SYNERGY

มีการวางแผน และการร่วมมือของคณะกรรมการฯระหว่างกลุ่มต่างๆ และบริษัทในเครือ

มีการรวมกลุ่มและการสร้างระบบ การจัดการความรู้ สร้างชุมชนความรู้ร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ: ต้องศึกษาว่าการนำ Synergy มาใช้ประยุกต์กับกฟผ.อย่างไร กฟผ.สูญเสียโอกาสเรื่องการทำธุรกิจกับลาว ในอดีตเป็นรัฐวิสาหกิจเลยช้า

กลุ่ม 6 การจัดการภายในที่ประสบความสำเร็จ

Samsung เติบโตไปเป็นบริษัทระดับโลกได้อย่างไร ?

1. การจัดโครงสร้างองค์กร

การจัดโครงสร้างองค์กรตามแนวราบ (Horizontal Organization) การมุ่งเน้นความรวดเร็ว การจ้างงานโดยสรรหาตามความสามารถหลักและเน้นหนักโดยมีแรงจูงใจเป็นตัวเงิน ทั้งหมดนี้ได้รวมอยู่ในหลักการของการจัดการตามแนว Samsung (The Samsung Way)

2. ระบบความร่วมมือและการแข่งขันภายใน (Internal Co-opetition)

3. กลไกของระบบความร่วมมือและการแข่งขันภายใน (Mechanisms of Internal Co-opetition)

Owner-Management and Conglomerate Structure

Samsung มีการบริหารโดยเจ้าของกิจการ และ มีโครงสร้างแบบรวมกลุ่ม ซึ่งโดยทั่วๆไปจะเป็นจุดอ่อน แต่ Samsung กลับเป็นจุดแข็ง โดยคิดระบบให้มีการแข่งขันกันภายใน และ มีการร่วมมือเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งภายนอก

Introduction of Market Principles & Dual Sourcing

การทำธุรกรรมภายในเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตลาด และ การจัดหาปัจจัยการผลิตดำเนินการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร

Parallel Investments in the same Projects

บางโอกาส Samsung จะเข้าแข่งขันกันเองในโครงการเดียวกัน

Sense of Urgency Created by Constant Restructuring

เมื่อเผชิญวิกฤตที่เร่งด่วน Samsung เลือกที่จะปรับโครงสร้างองค์กร

4. วิธีการสร้างศักยภาพการแข่งขัน (Three Paradoxes Enhance Competitiveness)

Balance Between Size and Speed

สร้างความสมดุลระหว่างขนาดกับความเร็ว โดยกระจายอำนาจ และเลิกกฎระเบียบที่จะเป็นอุปสรรค เพื่อทำให้ Speed ดีขึ้น

Strong Leadership from the Owner-Manager

เจ้าของบริษัทที่บริหารเองต้องใช้ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง จึงจะช่วยให้มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว และ รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น

5. การรวมพลังธุรกิจที่หลากหลายเพื่อชัยชนะ (Simultaneous Pursuit of Diversification and Specialization)

การทำธุรกิจที่หลากหลายแบบ Samsung น่าจะทำให้ขาดความเข็มแข็งในงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ แต่ระบบ Internal Co-opetition กลับเป็นการช่วยให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

6. การผสมผสานการบริหารแบบญี่ปุ่นกับอเมริกา (Combina- tion of Japanese and American Management Styles)

Japanese Style มีจุดแข็งในการบริหารจัดการ (Operational Management) โดยเน้นที่การดูแลพนักงาน แต่มีจุดอ่อนด้านยุทธศาสตร์ (Strategy)

American Style จุดแข็งในด้านยุทธศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง (Select-and-focus strategy) โดยมุ่งเน้น Talent & Competency ของคนให้แข่งขันกัน แต่มีจุดอ่อนด้านการสร้างความภักดีของพนักงาน (Employee loyalty)

Samsung Style ได้นำเอาจุดแข็งของญี่ปุ่นและอเมริกามาสร้างเป็นระบบบริหารของตนเองที่เป็นเอกลักษณ์ของ Samsung และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

การบริหารงานของ กฟผ.

โครงสร้างองค์กรมีขั้นตอนการตัดสินใจมาก

มีกฎระเบียบที่ไม่สามารถแข่งขันเชิงธุรกิจได้อย่างอิสระ

ไม่มีการแข่งขันระหว่างหน่วยงาน และ การให้แรงจูงใจมีข้อจำกัดมาก

การร่วมมือระหว่างหน่วยงานยังไม่คล่องตัว

ข้อเสนอแนะ

กระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่ระดับล่าง

ทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบที่จะทำให้เกิดความรวดเร็ว

สร้าง Benchmark ในการแข่งขันระหว่างหน่วยงาน

สร้างระบบแรงจูงใจในการร่วมมือของหน่วยงาน

กลุ่มที่ 7

Sumsung way จะยั่งยืนหรือไม่ ต้องตอบสนองกับสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงและปรับองค์กรภายในให้สอดคล้องอย่างทันท่วงที

  • -การปรับปรุงอย่างไม่หยุดนิ่ง
  • -ความสามารถในการพัฒนา สร้างนวัตกรรม

ภารกิจข้างหน้า

  • -ต้องครอบครองธุรกิจต้นแบบ
  • -ผู้ชี้นำอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม
  • -เป็นผู้นำนวัตกรรมสร้างสรรค์และดำเนินการ

ความสำเร็จของซัมซุงได้มาจาก

  • -ความคล่องตัวเชิงกลุยทธ์ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
  • -การบริหารจัดการแบบปฏิทรรศน์


อ.จีระ: ต้องรวมพลังกันเพื่อมองไปถึงอนาคต ถ้ามี Mindset ก็จะกระเด้งออกไปพัฒนาสิ่งต่างๆได้

สรุปการบรรยายหัวข้อ

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

30 เมษายน 2558

รศ. ดร.สมชาย: ทุกท่านต้องทำนายอนาคตล่วงหน้า โดยใช้ทฤษฎี Game theory ซึ่งสอนวิธีวิเคราะห์

เรื่องAEC ควรจะพูดเมื่อปี 2003 ถ้าเป็นประเทศที่ฉลาด

ปี 2010 ประเทศไทยเพิ่งเริ่มจะตระหนักว่าจะเข้า AEC

เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์เป็นทฤษฎี Game

อย่างเช่น Sumsung way เป็นเรื่อง Proactive สามารถทำนายได้

แต่คนที่เห็นต้นแล้วค่อยทำนายผล เป็น reactive

เห็นกิ่งสามารถทำนาย ผล

บางคนเห็นลำต้น ทำนายกิ่ง ทำนายผล

เห็นเมล็ด แล้วเห็นผล

AEC เกิดขึ้นเมื่อปี 2003

ปี 2015 มีข้อตกลงว่าจะเกิดขึ้นที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์

AEC Objectives

1. Common Market and Production Base

2. Competitiveness Enhancement

3. Equitable Development

4. Global Integration

มาเลเซีย

ท่านมหาเธ building regional economic strength through the Afta. In late 1991 , Mahathir proposed the establishment of an East Asian Economic Caucus (EAEC) that include China, Japan, South Korea, Taiwan and ASEAN but some ASEAN countries rejected as an anti-West policy. He thus modified to call for the set-up of ASEAN plus three as an informal dialogue.

มาเลเซียจะพัฒนาประเทศ ไม่เน้นเรื่องแรงงาน แต่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับล่างและกลาง ทำเรื่องเคมี ขนส่ง อุตสาหกรรม เน้นเรื่องพลังงาน IT

ไม่ปลูกยางพารา เน้น Manufacture

สิงคโปร์

ตอนปี 1992 ปรับแผน 2 เพื่อเป็นผู้นำอาเซียน เน้นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน

ย้ายฐานไปประเทศจีน ที่ค่าแรงต่ำ ร่วมมือจัดตั้งที่มันตัม และเอาความได้เปรียบไปหารายได้ที่บังกะลอร์ ที่อินโดนีเซีย ที่จีน ทำโรงกลั่น ช่วยเวียดนาม ไปที่กัมพูชาสร้างสนามบิน และ telecom tourism

ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ 1989 เกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • -จุดจบของคอมมิวนิสต์ตะวันออก เปลี่ยนเป็นทุนนิยม มีการเลือกตั้ง
  • -กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย

ให้วิเคราะห์ว่า โลกเปลี่ยนจากสงครามเย็น แบ่งเป็นคอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย เกาหลีเหนือ และคิวบา ยังเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่เหลืออยู่หลัง 1991

ในโลกที่ไม่มีใครถ่วง อเมริกาใหญ่สุด เป็น zero sum game จึงต้องเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก รวมตัวกันเป็น AEC

เขตการค้าเสรี คือ ไม่มีกำแพงภาษีนำเข้า

มาเลเซีย และสิงคโปร์ส่งเสริมการรวมกลุ่มในปี 1991 คือ เขตการค้าเสรี

ถ้าเราไม่ปรับตัวเข้าสู่อนาคตเศรษฐกิจก็อยู่ไม่ได้ น้ำมันปาล์ม ทำเป็นสินค้ามูลค่าเพิ่ม จัดโซนนิ่งใหม่

คนไทยมีจุดอ่อน คือ

จับประเด็นไม่เก่ง

ไม่สามารถนำประเด็นมาใช้ในงาน

อ่านไม่เก่ง

สินค้าอาเซียน สามารถแปลงสัญชาติได้ หากใช้แรงงานเกิน 40%

ปี 1992

§CEPT (AFTA)

§Sensitive List

•Coffee Potato Flower Coconut

§Highly Sensitive List

•Rice : Malaysia Philippines

•Rice & Sugar : Indonesia

ปี 1995 เวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิก สามารถทำนายอนาคตของไทยได้เลยว่าข้าวไทยจะเจ๊ง

การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน ขยายตัวเป็น 1000% มาโบโร่ ใช้สัญชาติฟิลิปปินส์ 40% เปลี่ยนสัญชาติจากอเมริกาเป็นอาเซียน

สินค้าบางอย่างจะเจ๊ง คือ น้ำมันปาล์มเพราะต้นทุนแพงกว่ามาเลเซีย เกิดเป็น take over merger

เขตการค้าเสรี

  • -ทำให้ทุกคนมาลงในอาเซียนอย่างไม่เคยมีมาก่อน

วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการทานอาหารต่างชาติมากขึ้น ให้อ่านหนังสือเรื่อง Third revolution

การประชุมอาเซียนต่อไปต้องจะมีเรื่อง Post AEC 2015 เพราะเรื่องบริการและเงินทุนไม่จบ

2006

2008

2010

2013

2015

IT / Health care / Tourism / Aviation

49%

51%

70%

Logistics

70%

Others

30%

49%

51%

70%

Free Flow of Investment

§AIA Agreement 1998

§Asean Investment guarantee Agreement Asean IGA 1987

§National Treatment

oACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement)

•Liberalization

•Protection

•Promotion

•Facilitation

มีการเปิดเสรี 8 ประเทศ : ให้คิดแบบระบบ

Healthcare: หมอ พยาบาล ทันตแพทย์

อสังหาริมทรัพย์: นักสำรวจ วิศวะ สถาปนิค

บัญชี

ท่องเที่ยว

ให้แรงงานที่ทำงานธุรกิจท่องเที่ยวเข้ามาทำงานได้ ในอนาคตทำนายได้ว่าต้องมีการเปิดเสรีแรงงานท่องเที่ยว

Competitiveness Enhancement

Cooperation

•e-ASEAN ต้องจูนเข้าร่วมกัน

•Competition Policy

•Infrastructure

•Tax

•Intellectual Property

•Consumers' Protection

ปรับปรุงเข้าด้วยกัน

Narrowing gap between old and new members

Supporting SMEs

Global Integration

§Economic Cooperation

§Logistics

§FTA

ASEAN +3

oASEAN – China เขตการค้าเสรีกับประเทศจีน

oASEAN – Korea

oASEAN- Japan

ASEAN +6

ASEAN- India

ASEAN - Australia/New Zealand

ASEAN- EU

ASEAN- US (TIFA)

เขตการค้าเสรีในอนาคต ตามมาด้วยการขยายความร่วมมือในประเทศที่ใกล้กัน

อีกไม่นานจะได้ยินคำว่า RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)

§More than Asean+3, Asean+6

§Liberalization: Service and Capital

จีนทะเลาะญี่ปุ่นเรื่องความมั่นคง

อีก 10 ปีข้างหน้าจะได้ยินประชาคมเอเชียตะวันออก

TPP มี 12 ประเทศ ในปลายปีนี้อาจจะเสร็จ แต่ถ้าไม่เสร็จรอถึง 3 ปี
Brunei,Chile, New Zealand, Singapore ,United State, Australia, Peru , Vietnam, Malaysia Mexico, Canada, Japan

การปรับ Mindset เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไปทั่วโลก องค์กรกฟผ.ต้องต่อยอดไปให้ได้

สรุปการบรรยายหัวข้อ

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC

กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด

30 เมษายน 2558

อาจารย์มนูญ: ปัจจัยพื้นฐาน มีความต้องการน้ำมันมาก มีการเติบโตขึ้นทุกปี แต่เติบโตที่อัตราที่ลดน้อยลง ประเทศไทย 2013 มีอัตราลดลงจนติดลบ

ความต้องการน้ำมันจะขยายตัวมาในแถบอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและอินเดีย

การเติบโตเรื่องพลังงานจะต้องดูเอเชีย และอาเซียนเป็นหลัก

ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน 2000-2014 หลายประเทศมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีขึ้น

ปัจจัยแรกที่มีปัญหา

  • -ภูมิรัฐศาสตร์ (NATO+USA)UKRAINE vs RUSSIA ทำให้รัสเซียมีปัญหามาก

และยังถูกคว่ำบาตรทางการเงินและการค้า

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน

  • -ปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ ระหว่าง Iran & US.
  • -ปัญหาสงครามกลางเมือง in Libya, Iraq, Syria, Ukraine and Yemen ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
  • -Increased Activities of IS in MENA

ปัจจัยเรื่องการเงินและเศรษฐศาสตร์ เห็นว่า US ยังไม่ยั่งยืน ยังมีลักษณะที่บางครั้งเศรษฐกิจออกมาดี แต่บางครั้งยังคงไม่แน่นอนว่าถาวรหรือไม่

นโยบายทางการเงินแตกต่างกันระหว่างอเมริกา ใช้ QE ปรับอัตราดอกเบี้ย ทำให้ค่าดอลล่าร์เพิ่มขึ้น

ยุโรป ญี่ปุ่น ให้การผ่อนคลายทางการเงิน

EU เหมือนอเมริกา

จีน ขยายตัวได้ 7% ไทยขยายตัวน้อยมากเพียง 3.7%

สิ่งที่กังวลคือ

  • -IMF ลดลง จาก 3.8 เป็น 3.5
  • -จีน อินเดีย การเติบโตชะลอตัวลง
  • -การบริโภคพลังงานลดลง
  • Sheikhs v Shale เป็นเศรษฐศาสตร์ใหม่ของน้ำมัน เป็นผู้รักษาดุลของราคาน้ำมัน น้ำมันโลก ดิ่ง Shale gas / Shale Oil เพิ่ม Supply น้ำมันโลก
    ทำให้ OPEC คิดนอกกรอบ เปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นผู้ป้องกัน Market share ให้กลไกราคาเป็นผู้ตัดสินใจแทน
  • ปัจจุบันนี้ต้องดูว่าใครสายป่านยาวกว่าก็อยู่รอด ซึ่งประเทศซาอุในขณะนี้สายป่านยาวที่สุด
  • ราคาน้ำมันดิบลดลง 6 เดือนแล้ว แต่สิ่งที่ลดเยอะคือ การลงทุน สำรวจ ผลิตน้ำมัน เนื่องจากไม่คุ้มถ้าต้องลงทุนใหม่
  • Supply Outlook
  • }OPEC likely to maintain their strategy on Jun.5 meeting
  • - keeping production quota unchanged
  • }US crude output still increasing but at declining growth rate
  • - 2014 - 9.3 mb/d
  • - 2015 – 9.35 mb/d
  • - 2016 – 9.49 mb/d
  • }US shale oil production is tapering in longer term
  • - due to spending cut in E&P activities
  • - 10-15% in 2015
  • ราคาน้ำมันช่วงนี้ถึง 2-3 ปี ข้างหน้า คือ 80 เหรียญดอลลาร์ ต่อบาเรล

ผลกระทบต่อประเทศไทย

-Better Demand from Low Retail Pricing

-Stronger Gasoline Demand Growth

- due to greater mobility and increasing consumer wealth

-Good Refining Margins for couple of years

- slow down of refinery expansion in the East

- fall in oil price and firmer Naphtha and Gasoline

-Lower Gas Price/Lower FT

-Higher Electricity Consumption

ความต้องการพลังงานของอาเซียนปี 2578

-ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ประเมินว่าในปี 2578 (อีก 22 ปี)

-ภูมิภาคอาเซียนจะใช้พลังงานเพิ่ม 80%

-ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นสามเท่า ประชากรเพิ่มขึ้น 25%

-ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มจาก 4.4 mb/d เป็น 6.8 mb/d

- โดยต้องนำเข้าสุทธิเพิ่มจาก 1.9 mb/d เป็น 5 mb/d (พึ่งพิงการนำเข้าสูงถึง 75%)

- เนื่องจากแหล่งผลิตในภูมิภาคเริ่มลดลง

- กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อันดับสี่ของโลก รองจาก จีน อินเดีย และยุโรป

-ขณะที่ความต้องการถ่านหินก็จะเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว

- สัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 50%

-ทำให้อาเซียนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานพุ่งขึ้นสูงแตะระดับ 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.4 ล้านล้านบาท

- โดยอินโดนีเซีย/ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึงประเทศละ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี (2.2 ล้านล้านบาท)

ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

ผลกระทบ

-เศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน (PDP 2015)

-ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

-ต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น

-ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น

-การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนัก

โอกาส

-พัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่าย

-รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน

-เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศในกลุ่ม Inland กับ Island (ASEAN GRID)

-เพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสีเขียวและเชื่อมโยงชุมชน

การสื่อสารข้อมูลกับประชาชน

-วิกฤตของการสื่อสารภาครัฐกับประชาชนในปัจจุบัน คือ วิกฤตแห่งศรัทธา

-ดังนั้นการสื่อสารที่จะประสพความสำเร็จต้องเป็นการสื่อสารที่สามารถสร้างความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจ (Trust) ให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน

-ความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเขามีส่วนร่วม (Participation) ตั้งแต่แรก

-จุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ดี คือ การเข้าไปศึกษาปัญหาของชาวบ้านและชุมชน และแนะให้เขาหาวิธีแก้ปัญหาของเขาเอง โดยเราเป็นฝ่ายสนับสนุน

-เมื่อเขาเห็นในเจตนาดีของเราและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว จึงค่อยเริ่มเสนอให้ชุมชนทำโครงการร่วมกันในโครงการนำร่องที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน

-ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆต่อไป

คำถาม

1. รัฐธรรมนูญอันใหม่เกี่ยวกับพลังงาน

อ.มนูญ: ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของประชาชน ต้องมีความชัดเจน ว่าให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนทุกขั้นตอน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการแปรญัตติ ต้องสัมผัสทำงานกับชุมชนมากขึ้น ไม่ได้เข้าไปให้แต่เข้าไปในลักษณะถามว่าจะให้ทำอะไรในการทำงานร่วมกัน

ศึกษาดูงานที่ C-asean center

โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์

30 เมษายน 2558

ดร.การดี: ความตั้งใจของ C ASEAN เกิดจากภาคเอกชน หน้าที่ของประชาชนที่ทำให้เกิดศูนย์นี้ขึ้นมา มีแรงบันดาลใจจาก UN กำลังคน ความสามารถเพื่อสร้างเสริมการพัฒนาในภูมิภาค

WEF มีแนวโน้มในอนาคตข้างหน้า

เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองอาเซียนได้ในอนาคต

ผู้ประกอบการขนาดเล็ก มีความฝันและเป็นกลไกของการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ นอกจากเด็กไทยแล้วยังส่งเสริมเด็ก ASEAN สร้าง Platform ในการเชื่อมโยง

10 ประเทศ อาเซียน คือ Base ของ C ASEAN 10 ปี หลังจากนี้ตั้งเป้าให้เป็น C ASEAN ของอาเซียน

มีขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้

  • -ร่วมมือกันและมีเครือข่าย
  • -ให้และได้รับ
  • -ข้อตกลงและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • -การพัฒนาตนเอง

Flagship Project-Startup Runway มี 3 ขั้นตอน

  • -คิดเองให้ได้
  • -ทำเองให้ได้ มีการจัดการ
  • -ขายได้ด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ

Startup Runway เน้นเรื่องธุรกิจ

C ASEAN Academy สิ่งที่เห็นเหมือนกันคือ การมี passion ของคนที่อยากจะเรียนรู้

ทักษะการเรียนรู้ ทักษะของการคิดเป็นระบบ

มีการเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรม

อะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทั้งonline และ Offline

CAF เกิดจากการรวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆกัน ตั้งส่วนของการวิเคราะห์

Crowdfunding platform มีการทำมานานแล้วตั้งแต่อดีต

เป็นการช่วยระดมทุน ไม่จำเป็นต้องง้อระบบธนาคาร มีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะสามารถเข้าถึงเงิน ตลาด ได้

ASEAN Innovation week จุดเริ่มคืออยากสร้างอะไรให้กับประเทศไทย

Intelligence Center ให้กับศูนย์ C-ASEAN ทำวิจัยในส่วนที่คนอยากรู้ เพื่อพยากรณ์ในอนาคต ประกอบด้วย ห้องสมุดแบบสาธารณะ DATABASE ต่างๆ

คำถาม

1. ทำไมเจ้าของเงินถึงได้ทำสิ่งเหล่านี้ อยากถาถึงกระบวนการ

ดร.การดี: ขอบคุณเจ้าของไอเดีย คือ มาจาดคุณฐาปนะ และคุณพิเชษฐ์ มีแนวคิดคือศูนย์อาเซียน และมีโอกาสได้ร่วมคิดในกระบวนการ และมีการพัฒนา มี focus group ขึ้นเรื่อยๆ ทางผู้ก่อตั้งไม่ได้อยากเป็นเจ้าของคนเดียวโมเดลนี้สำเร็จได้ต้องมีคนที่มี passion ในเรื่องเดียวกัน

ภารกิจ มีการทำสิ่งที่ตั้งใจ ในการพัฒนาเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน

2. C asean จะกลายเป็นมูลนิธิหรือไม่

ดร.การดี: เป็นแนวทาง แต่เพื่อการที่จะสร้างความยั่งยืน จะมองเป็น Business model และมองเป็น Hybrid model ในบางธุรกิจ

3. บุคลากรที่นี้หาอย่างไร

รับสมัครเข้ามาใหม่ทั้งหมด ตอนนี้มีประมาณ 20 คน ร่วมมือกับสถานบันการศึกษา เช่น ม.กรุงเทพ นิด้า กลุ่มที่จับมือมากกว่าเป็น practitioner นอกจากตำราที่เรียนจากมหาวิทยาลัย

เรียนรู้ หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC
กับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ท่านอาจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ท่านสอนให้มองไปข้างหน้าให้ออก ว่าในอีก 10 ปีจะเป็นอย่างไร และให้เตรียมต้วรับมือแต่เนิ่นๆ

ปรับตัวได้ทัน เช่น AEC ควรจะเตรียมตัวตั้งแต่ปี 2003

มาเลเซีย

มาเลเซียจะพัฒนาประเทศ ไม่เน้นเรื่องแรงงาน แต่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับล่างและกลาง ทำเรื่องเคมี ขนส่ง อุตสาหกรรม เน้นเรื่องพลังงาน IT ไม่ปลูกยางพารา เน้น Manufacture โดยซื้อจากประเทศไทยแทน

คนไทยมีจุดอ่อน คือ จับประเด็นไม่เก่ง ไม่สามารถนำประเด็นมาใช้ในงาน อ่านไม่เก่ง

ผลกระทบจะตามมามากมาย เช่น สินค้าบางอย่างจะเจ๊ง คือ น้ำมันปาล์มเพราะต้นทุนแพงกว่ามาเลเซีย

ดังนั้นเราต้องทำนายอนาคตให้ออก ว่าในอีก 5 ปี 10 ปี 20 ปี ข้างหน้า กฟผ.จะเป็นอย่างไร

ถ้า รัฐเปลี่ยนนโยบาย ให้ทุกคนแข่งขันผลิตไฟฟ้าได้อย่างเสรี แข่งขันกันที่ราคา มีตลาด POOL ขึ้นมา

กฟผ. จะสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับเอกชนได้อย่างไร กฟผ.ต้องเตรียม ปรับทัศนคติ พนักงาน ให้รองรับ

ให้ได้รวมถึง การผลักดันไปสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น เป้นหุ้นส่วน ในการสร้างลูกถ้วยไฟฟ้า

สร้างหม้อแปลง สร้างอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่ง รถไฟฟ้า อุปกรณ์โซล่าเซล เป็นต้น

ผลักดันให้ เป็นหุ้นส่วนธุรกิจ

สรุปการเรียนรู้วันที่ 29-30 เมษายน 2558

- ประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ The Samsung Way เริ่มจากผู้บริหารที่ผ่านความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแบบญี่ปุ่น ตะวันตก และเกาหลีตั้งแต่การศึกษาถึงการทำงาน ทำให้ผู้บริหารมี Vision ที่ดีชัดเจนและเป็นระดับโลก (Inspire the World, Create the Future) มีความมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ การสร้าง Core Value ที่ชัดเจนและปฏิบัติจริงจัง ทำให้องค์กรมีทิศทางเดียวกัน มีจุดแข็งด้านแนวคิดของคนในองค์กรเช่น ต้องรวดเร็ว ตื่นตัวเสมอว่าอยู่ในธุรกิจที่แข่งขันสูง ออกแบบสินค้าใหม่เร็วที่สนองความต้องการลูกค้า โครงสร้างองค์กรต้องเอื้อต่อความเร็วในการขับเคลื่อน มีสินค้าหลากหลายและเน้น R&D.

การบริหารความรวดเร็วใช้แนวคิดแบบปลาดิบ คือ ของใหม่สดได้ราคาดีกว่า และทฤษฎี กบกระโดด คือมองไปในอนาคต 3 ขั้น และต้องตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นให้ได้

- เรื่องวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีประเด็นที่ควรเป็น Trend ใหม่ในการทำธุรกิจในอนาคต โดยใช้แนวคิดแบบ CSV (Creating Share Value) ที่มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียให้ได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

- หัวข้อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ได้เรียนรู้การคาดการณ์โดยใช้ Game Theory คือเห็นต้นแล้วต้องทำนายผลได้ ดังนั้น เรื่อง AEC มีการหารือกันมาตั้งแต่ปี 1992 แต่ประเทศไทยเพิ่งมาเน้นเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเสียเปรียบคู่แข่งขัน สำหรับด้านพลังงานได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำใหความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่เพิ่ม. ขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซลดลง นำเข้าพลังงานสูงขึ้น และมีการต่อต้านโครงการด้านพลังงานรุนแรงขึ้น

- การดูงานที่ C Asean ได้ความรู้ในแนวทางการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับเรื่อง CSR in Process. คือทำธุรกิจที่สังคมได้รับประโยชน์ ที่ศูนย์นี้มีการ Contribution ให้สังคมส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจในการก้าวสู่ AEC ทั้งในด้านเจรจาธุรกิจและ Road Show

- มุมมองกฟผ.ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า จากสถานการณ์ปัจจุน กฟผ.ต้องปรับตัวที่ให้ทันการเปลี่ยนแปลง มีธุรกิจใหม่หลากหลายรูปแบบ เพื่อบริหารความเสี่ยงในการพึ่งพิงธุรกิจเดีย

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

จากหนังสือ The Samsung Way สามารถสรุปได้คือ ในช่วงปี 1980-1990 บริษัท Samsung เป็นบริษัทเกาหลีธรรมดาบริษัทหนึ่ง ยิ่งเวลาผ่านไป... Samsung ค้นพบว่าตนเองเป็นบริษัทที่ขาดพัฒนาการ และ Inward-looking เป็นผลให้ Output ของบริษัทเป็นสินค้าพื้นๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น และแน่นอนเมื่อสินค้าไม่มีความแตกต่าง Samsung ก็ต้องอยู่ในเกมของการต่อสู้กันที่ราคา ทำให้กำไรของสินค้าต่อชิ้นลดลงมากใน ปี 1993 คือ ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Samsung ประธานบริษัท Lee Kun - Hee ตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางในการทำธุรกิจจากการเป็นบริษัทท้องถิ่น มาเป็นบริษัทระดับโลกโดยใช้กลยุทธ์

- นำผู้บริหารจากโลกตะวันตกเข้ามาทำงานในบริษัท

- เปลี่ยนวิธีการในการบริหารงานบุคคล จากเดิมให้ความสำคัญกับคำว่า "ระบบอาวุโส" มาเน้นที่ "ฝีมือและคุณภาพ" ของพนักงาน ดังนั้นการขึ้นเงินเดือน การปรับตำแหน่ง จะอยู่ที่คุณภาพมากกว่าคำว่า Seniority

- ยกเลิกระบบ Life time employment พูดง่ายๆ ก็คือถ้าใครฝีมือไม่ดี มีสิทธิกลับไปนอนเล่นที่บ้าน

- ให้ความสำคัญ เรื่อง Research & Development เพื่อยกระดับตัวเองให้กลายมาเป็นบริษัทระดับโลกให้จงได้ด้วยวงเงินมหาศาล

-ให้ความสำคัญกับ Talentคัดเลือกคนหนุ่มคนสาวที่เป็นดาวรุ่งของบริษัทจำนวน 4,700 คน แล้วส่งคนเหล่านี้ที่เขาเรียกว่าเป็น "Regional specialist" ไปอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งหมด 80 ประเทศ โดยคนเหล่านี้จะถูกส่งไปอยู่ในแต่ละประเทศเป็นเวลา 15 เดือนในสามเดือนแรกพวก Regional specialist จะถูกส่งไปเข้าค่ายในประเทศเกาหลี เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องภาษา วัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติของแต่ละประเทศ หลังจากนั้นไปอยู่ประเทศต่างๆ หนึ่งปี หา Connection ในประเทศต่างๆนำสินค้าไปขาย เจาะตลาดด้วยยุทธศาสตร์ "Act local, think global"

การตัดสินใจอย่างนี้ยากที่จะใช้เหตุผลมา Quantify ว่าโครงการนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ นี่คือสุดยอดของคำว่า "The greatest decision of all time"

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

ศึกษาดูงานที่ C-asean center โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ 30 เมษายน 2558

C-ASEAN เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น "อาเซียน" ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)อะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทั้งonline และ Offline ซึ่งแท้จริงก็คือ เครื่องมือและกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ การสร้างแบรนด์ การขยายเครือข่ายสินค้าและการสร้างความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางธุรกิจ เนื่องจากศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษา สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยมี เจตนารมณ์ที่แสดงไว้ในพันธกิจหลักของศูนย์ C asean คือ

1. สร้างศูนย์กลางองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นด้าน การเริ่มต้นธุรกิจ ศิลปะ และวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน
2. สร้างการเชื่อมโยงที่ทรงประสิทธิภาพแก่ประชาคมอาเซียน
3. สร้างเวทีสำหรับผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่ให้ได้แสดงศักยภาพ ทั้ง ทางด้านธุรกิจ ศิลปะ และวัฒนธรรม โดยจะชักชวนภาคธุรกิจเอกชน ในตลาดอาเซียนให้มีส่วนร่วมสนับสนุนด้วย

ดำเนินการเพื่อสังตม คืนกำไรให้แก่สังคม และสร้างผู้ประกอบการใหม่ๆโดยมีการสนับสนุนจากทางบริษัทฯ

ทรงศักดิ์ ประเสริฐสิน

การวิเคราะบทเรียนที่น่าสนใจจากหนังสือ The Samsung Way ทำให้เห็นแนวคิดของ ประธาน Lee Kun Wayในการกำหนดวิสัยทัศน์เปลี่ยนจาก Local เป็น World-class Corporatio การทำธุรกิจ Samsung นำ talent มาจากต่างประเทศและทำงานร่วมกัน

กฟผ ต้องคิดให้ได้ว่าจะนำส่วนไหนของ Samsung มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อกฟผ ให้มากที่สุด

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. การมองอนาคต และการเตรียมการอนาคต แสดงให้เห็นถึง Vision ของผู้นำประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดหรือความไม่สำเร็วของแผน PDP และ กฟผ. ได้อย่างชัดเจน

ส่วน Samsung Way จุดเปลี่ยนอยู่ที่ Speed และ Innovation ซึ่งล้วนเกิดจากการบริหารงานของผู้นำที่ World Class และพนักงานที่มุ่งมั่น


นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด 30 เมษายน 2558

ก่อนอื่นต้องมาทราบเรื่องของอาเซียก่อนดังนี้ อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ คำขวัญอาเซียนคือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม ( One Vision , One Identity , One Community )ASEAN จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียวเราจะมาดู จุดแข็ง จุดอ่อน ประเด็นที่น่าสนใจ ของแต่ละประเทศดังนี้

1.ประเทศสิงคโปร์ จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ แรงงานมีทักษะสูง ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ จุดอ่อน พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง ประเด็นที่น่าสนใจ พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

2.ประเทศอินโดนีเซีย จุดแข็ง ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง จุดอ่อน ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจ การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

3.ประเทศมาเลเซีย จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร แรงงานมีทักษะ จุดอ่อน จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง ประเด็นที่น่าสนใจ ตั้งเป้าหมายเป็น "ประเทศพัฒนาแล้ว" ในปี 2563 ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

4.ประเทศบรูไน จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก การเมืองค่อนข้างมั่นคง เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน จุดอ่อน ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน ขาดแคลนแรงงาน ประเด็นที่น่าสนใจ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
5.ประเทศฟิลิปปินส์ จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน) แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จุดอ่อน ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ประเด็นที่น่าสนใจ สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการ ภายในประเทศเป็นหลัก
6.ประเทศเวียดนาม จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน) มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร การเมืองมีเสถียรภาพ ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรแต่ในปี 2020 รถไฟความเร้วสุงจะวิ่งจากเหนือมาได้ครบทุกเส้นทาง ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง ประเด็นที่น่าสนใจ มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว

7.ประเทศกัมพูชา จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (2 USD/day) จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ประเด็นที่น่าสนใจ ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้

ตอนที่ 1

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

8.ประเทศลาว จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ การเมืองมีเสถียรภาพ ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (3 USD/day) จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเด็นที่น่าสนใจ การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่


9.ประเทศพม่า จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (3 USD/day) จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย ประเด็นที่น่าสนใจ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ
10.ประเทศไทย จุดแข็ง เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง แรงงานจำนวนมาก จุดอ่อน แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง ประเด็นที่น่าสนใจ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง แต่ความจริงเรายังมีหลายจุดที่ยังไมพร้อมโดยเฉพาะที่สำคัญ เช่น คน พลังงาน วัตถุดิบต้นทาง ฯล

ความต้องการพลังงานของอาเซียนปี 2578 ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ประเมินว่าในปี 2578 ภูมิภาคอาเซียนจะใช้พลังงานเพิ่ม 80% ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นสามเท่า ประชากรเพิ่มขึ้น 25% ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้น ต้องนำเข้าเพิ่ม จะพึ่งพิงการนำเข้าสูงถึง 75% แหล่งผลิตพลังงานลดลง ในภูมิภาคนี้ กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อันดับสี่ของโลก รองจาก จีน อินเดีย และยุโรป ความต้องการถ่านหินเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว สัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 50% ทำให้อาเซียนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานพุ่งขึ้นสูงแตะระดับ 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.4 ล้านล้านบาท โดยอินโดนีเซียละไทยมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึงประเทศละ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (2.2 ล้านล้านบาท) จะเกิดผลกระทบ กฟผ . อย่างไรและต้องทำการปรับตัวไปทางไหน ในแง่ผลกระทบ จะเกิดเศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน (PDP 2015) ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและพม่าลดลงไม่เพียงพอกับการใช้ผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่ 67% อยู่แล้ว ต้องนำเข้าก๊าซ LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึงหน่วยละ 6 - 8 บาท การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนักจาก NGO โอกาสของ กฟผ. คือต้องดำเนินการพัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่าย รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศในกลุ่ม Inland กับ Island (ASEAN GRID) เพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสีเขียว ให้มีการสื่อสารข้อมูลกับประชาชนไม่ให้วิกฤตแห่งศรัทธา ดังนั้นการสื่อสารที่จะประสพความสำเร็จต้องเป็นการสื่อสารที่สามารถสร้าง ความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจ (Trust) ให้เกิดขึ้นให้ได้ ให้ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในต่างประเทศในอาเซียน โดย กฟผ. ไปสร้างโรงไฟฟ้าขายไฟฟ้าในประเทศนั้น จนเขามั่นคง มีพลังงานเพียงพอใช้จนเหลือมาขายให้ กฟผ. (ASEAN GRID) ได้ในอนาคต เนื่องจากสามารถสร้างโรงไฟฟ้าในต่างประเทศได้ง่ายกว่าในประเทศไทย และยังมีทรัพยากรถ่านหิน พลังน้ำ ชีวมวล ฯลฯ ปริมาณมาก การต่อต้านจาก NGO น้อย ต้องสร้างความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเขามีส่วนร่วม (Participation) ตั้งแต่แรกในต่างประเทศให้เขาเห็นว่าเรามาผลิตเพื่อประเทศของเขา เมื่อเขาเห็นในเจตนาดีของเราและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว จึงค่อยเริ่มเสนอให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งเริ่มโครงการนำร่องที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่วนที่เกินทำเพื่อประเทศไทย ส่งไฟฟ้าที่ต้นทุนถูกกว่าในประเทศ เข้าทางระบบสายส่งระหว่างประเทศในกลุ่ม Inland กับ Island (ASEAN GRID) กฟผ. สามารถทำได้ เพราะเรารู้ต้นทุนในโรงไฟฟ้าต่างๆสามารถโยกไฟฟ้าส่วนเกินจากที่อื่นเข้ามาได้ รวมทั้งปัจจุบันคนไทยไปสร้างนิคมอุตสาหกรรมใน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เช่น ในพม่าทางบ่อน้ำพุร้อนนิคมอัมตะไปขอสร้างไว้ใกล้ไทยมากสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ โดยใช้ถ่านหินส่งมาทางท่าเรือทวาย หรือ ขุดในประเทศก็มี เป็นต้น

ตอนที่ 2 จบ

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 29 เมษายน 2558

หัวข้อ วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

- การปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การเลือกทำสิ่งที่ดีที่สุดในช่วงเวลาหนึ่ง คือ

1. ต้องมีความคิดริเริ่มและรับพฤติกรรมใหม่ได้

2. มีการแผ่กระจายความคิด/พฤติกรรมใหม่ เรียนรู้ร่วมกัน

3. มีการเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ เป็นการย้ายความคิด และยอมรับความคิดใหม่

HYBRID Enterprise เน้นการปรับตัว ดำเนินธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการบริหารสังคมให้เก่งด้วย เพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน โดยมีการเปลี่ยน CSR ( Corporate Social Responsibilities ) เป็น CSV (Creating Shared Value)

การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะความคิด ต้องปรับความคิดให้ได้ แต่จริงๆคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความไม่อยากเปลี่ยนเป็นตัวสำคัญที่ต้องจัดการ การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1. ทำให้รู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

2. สร้างแกนนำที่เหมาะสม มีความเชี่ยวชาญนำการเปลี่ยนแปลง

3. สร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน

4. แผ่ขยายการรับรู้สื่อสารเพื่อให้คนเข้ามามีส่วนร่วม

5. ขับเคลื่อนการกระทำระหว่างหน่วยงาน

6. กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่าย บริหารให้ประสบผลสำเร็จและเริ่มทำสิ่งใหม่ต่อไป

7. ผนึกกำลังสร้างแรงบันดาลใจ ก่อตั้งให้เป็นคลื่นของการเปลี่ยนแปลง

8. ปลูกฝังแนวทางการทำงานแนวใหม่ให้เป็นวัฒนธรรม


หัวข้อ วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การบริหารงานให้สำเร็จควรต้องมีการติดตามและทบทวน และให้คำแนะนำ และการให้ขวัญกำลังใจ ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงทำให้ระบบการทำ KPI / Performance Management ไม่ได้ผล เนื่องจาก ยังคงมีระบบการเกรงใจ การรักษาหน้า และ การหลีกเลี่ยงการประจันหน้ากรณี กฟผ. ได้ใช้ KPI ประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงในการปฏิบัติงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง แต่กิจกรรมและตัวชี้วัดมักเป็นตัวชี้วัดที่ไม่ท้าทาย ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และ ผู้บริหารมักไม่ใช้ผลการประเมินประกอบการพิจารณาเลื่อนระดับและขึ้นเงินเดือน ทำให้พนักงานส่วนหนึ่งไม่เข้าใจและขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเปลี่ยนความคิด สิ่งสำคัญต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง คือ การเบื่อหน่าย ขาดความสามารถของผู้นำ และมักเป็นการวางแผนจากระดับบน โดยระดับล่างไม่เกี่ยว ทำให้ขาดการมีส่วนร่วม

คนที่เป็น Mentor ต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ไม่ได้เป็นผู้นำในการทำงานเท่านั้น ต้องเป็นผู้นำทางจิตใจ

เพื่อให้คนของเราทำอะไรแตกต่างกันออกไปจากเดิมได้ สร้างความภาคภูมิใจ และสร้างความผูกพันของคนในองค์กร

การจะเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน


หัวข้อ ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียง เนื่องจากปัญหาของโลก คือ การบริโภคที่เกินพอดี เรียกว่า บริโภคนิยม มนุษย์มีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัด ปัจจุบันอยู่ในระบบทุนนิยม ซึ่งสนใจในเรื่อง ความรู้ กำลังอำนาจ และ เงิน โดยจะวัดผลจาก GDP แต่สิ่งนี้เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เราจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต เดินทางสายกลาง โดยยังคงต้องอาศัยความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรม เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองและส่งเสริมหลักธรรมภิบาล พิจารณาวัดผลโดยใช้ ความสุขมวลรวมของประชาชน GNH

ทางสายกลางทำให้เกิดความยั่งยืนมีหลักการ 3 ประการคือ 1.พอประมาณ ต้องหาตัวตนและขีดความสามารถของตนเอง 2.มีเหตุผลและสติเป็นเครื่องนำทาง 3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีการบริหารความเสี่ยง

การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการผสมผสานของเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) กับเงื่อนไขคุณธรรมหรือธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) และจะนำไปสู่ความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP11

วันที่ 30 เมษายน 2558

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การเข้าร่วม AEC ควรจะมีการเตรียมความพร้อมก่อนหน้านี้มานานแล้ว ปัญหาคนไทยมีจุดอ่อน คือ

การจับประเด็นไม่เก่ง ไม่สามารถนำประเด็นนั้นๆมาประยุกต์ใช้ในงาน อีกทั้งยังไม่สามารถมองอนาคตได้ คาดการณ์ว่าเข้าสู่ AEC เต็มรูปแบบการค้าเกิดการขยายตัว มีคนมาลงทุน เปิดเสรีการลงทุน และเงินทุน

ในส่วนของ กฟผ. คนในองค์กรต้องมีการปรับ Mindset ซึ่ง เป็นเรื่องสำคัญและต้องต่อยอดไปให้ได้


หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ปัจจุบันโลกเริ่มมีปัญหาเรื่องพลังงาน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น จากสงครามกลางเมือง และ กลุ่ม IS อีกทั้งเศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนัก

กฟผ. จะมีโอกาสพัฒนาระบบส่ง รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศ กฟผ. ต้องเพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสะอาดสีเขียวและเชื่อมโยงชุมชน เน้นการสื่อสารข้อมูลกับประชาชน เพราะปัจจุบันยังคงมีปัญหาของการสื่อสารภาครัฐกับประชาชน ในปัจจุบัน ต้องใช้วิธีสื่อสารที่สามารถสร้างความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน เพราะความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก การเข้าไปศึกษาปัญหาของชาวบ้านและชุมชน และเสนอแนะให้ชุมชนหาวิธีแก้ปัญหาได้เอง โดย กฟผ. เป็นฝ่ายสนับสนุน เมื่อชุมชนเข้าใจเจตนาดีและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว กฟผ. จึงเริ่มชี้แจงเสนอโครงการให้ชุมชนร่วมกันพัฒนากับ กฟผ.แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน จะได้ตัวอย่างที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆต่อไป


หัวข้อ การดูงาน C-asean Center

โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์

C-asean Center เกิดจากภาคเอกชน ดำเนินการเพื่อสร้างเสริมการพัฒนาในภูมิภาค เตรียมความพร้อมสำหรับการให้คนไทยโดยเฉพาะเด็กๆสามารถเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีได้ในอนาคต เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเรียนรู้ เพิ่มทักษะการเรียนรู้ การคิดเป็นระบบ ให้มีการเรียนรู้เรื่องศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรม และธุรกิจ มีการให้ความรู้ทั้งonline และ Offline จากการเยี่ยมชมสถานที่ และ ได้รับฟังการบรรยายทำให้รับรู้ได้ว่า C-asean Center เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย มีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักตนเองและค้นพบศักยภาพในตัวเอง และองค์กรที่มีความมั่นคงทางการเงินให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาเด็กๆและประชาชนในประเทศไทย อย่างมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง

อรัญญา อมะลัษเฐียร

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ปัจจัยสำคัญของการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงคือ การเปิดใจกว้าง คิดริเริ่มใหม่ๆ กระจายความคิด/พฤติกรรมใหม่ที่ดีเช่น ใฝ่รู้ใฝ่เรียนไปสู่สังคม และการเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ เพื่อได้เห็นความแตกต่างและนำมาสร้างแนวคิดวิธีการทำงานใหม่ ได้รับทราบแนวคิด Value Creating System ,Formulating New Business model , Social Business model ซึ่งเน้นให้ ผู้บริหารเป็น Strategist ในการจัดการการเปลี่ยนแปลง การบริหารผลงาน Performance Management ไม่ใช่แค่การกำหนดตัวชี้วัดแต่เป็นกระบวนการสร้างคนให้เก่งและดี สร้างให้เกิดการเรียนรู้ ส่งผลให้การทบทวนยุทธศาสตร์ การถ่ายทอดลงสู่การปฏิบัติ สร้างความผูกพันของผู้ปฏิบัติงานต่อองค์การ ผู้บริหารต้อง Coach และให้ feedback The Samsung Way ขอบคุณอจ.จีระ ที่ให้อ่าน The Samsung Way เป็นหนังสือที่ชอบมากเล่มหนึ่ง ทำให้ทราบว่าวิถีการดำเนินงานของ Samsung ที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นองค์การที่ยั่งยืนด้วยด้วยยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวอย่างไม่หยุดยั้ง และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลา ที่สำคัญยิ่งคือ Vision & leadership ของเบอร์ 1 เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ Proactive ปรับวิธีคิด ใช้ Game theory โดยพิจารณาจากสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว เพื่อทำนายอนาคต กฟผ. 20 ปีข้างหน้า วางแผนยากขึ้น ทำไฟฟ้าอย่างเดียวไม่พอ โลกเข้าสู่ปัญหาในช่วง the third evolution และการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดเสรีการลงทุนและการบริการ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด แสดงโอกาสและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในภาพของเอเชีย อาเซียน ไทยและ กฟผ. การสร้างความเชื่อมั่นโดยการให้มีส่วนร่วมและการสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง C-asean center โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ 30 เมษายน 2558
องค์การภาคเอกชนที่มีแรงบันดาลใจ เพื่อสร้างเสริมการพัฒนาของอาเซียนในภูมิภาคด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะของการคิดเป็นระบบ มีการเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองอาเซียนได้ในอนาคต ส่งเสริมทำวิจัยเพื่อพยากรณ์อนาคต มีห้องสมุดและ DATABASE ต่างๆ สนับสนุนการเรียนรู้และทำธุรกิจ ดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของโลก ประเทศไทย อดีต-ปัจจุบัน ปัญหาคือการบริโภคเกินพอดี จุดอ่อนคือการบริหารจัดการ ต้องเปลี่ยนวิธีคิด สู่เศรษฐกิจพอเพียง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน (พอประมาณ = self assessment + Positioning ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ -> ใช้เหตุผล สติปัญญาเป็นเครื่องนำทาง -> มีภูมิคุ้มกันที่ดี = Risk management + รอบรู้รอบคอบ ระมัดระวัง +ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) ประทับใจกับท่านเลขาธิการมูลนิธิ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล บุคลิกภาพอ่อนโยน มีเมตตา มุ่งมั่นทุ่มเท รอบรู้ ในการทำงานเพื่อประเทศ

จารุพัจน์ ปุณณะหิตานนท์

สรุปสิ่งที่ได้จากบทเรียนวันที่ 29 – 30 เม.ย. 2558

1. วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง : วัฒนธรรมองค์กรต้องมีการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะ และบริบท ซึ่งการจะทำให้องค์กรสามารถดำรงคงอยู่ได้ต้อง เปิดใจกว้าง รับความคิด พฤติกรรมใหม่ ๆ และต้องมีการเผยแพร่ความคิด พฤติกรรมที่เห็นว่าดี เช่น การยกย่อง ชมเชยเมื่อมีคนทำความดี เป็นต้น ต้องรู้จัก Social เพื่อให้หูตากว้าง องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับตัว เพราะจะมองในแง่ธุรกิจเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงสังคมด้วยเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ในสังคม โดยเฉพาะคนในสังคมระดับล่าง ซึ่งเรียกว่าเป็นการทำ Social Management ทั้งนี้ เพื่อให้คนมีความไว้วางใจในองค์กร นอกจากนี้ยังต้องมีการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปด้วยกัน และอยู่ร่วมเป็นพันธมิตรกันอย่างต่อเนื่อง ในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร มีหลักการว่า ต้องเริ่มจาก Leader (ในทุกระดับ) และจะทำอย่างไรให้ทุกคนคิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในอนาคต สร้าง Value Constellation และเมื่อสื่อกับ partner แล้วต้อง change facilitators เพื่อให้ทุกคนเปลี่ยนไปด้วยกัน โดยมองเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1. การทำให้รู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และประเมินสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จ 2. หากลุ่มคนที่กล้า 3. สร้างจินตภาพ / วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ 4. แผ่ขยายการรับรู้และยอมรับในวิสัยทัศน์ใหม่ 5. ขับเคลื่อนการกระทำระหว่างหน่วยงาน กำจัด / ลด อุปสรรค 6. กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่าย เพื่อประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งก่อน จึงดำเนินการในขั้นต่อไป 7. ผนึกกำลังผลสำเร็จก่อตัวเป็นคลื่นของการเปลี่ยนแปลง 8. ปลูกฝังแนวทางการทำงานแนวใหม่ให้เป็นวัฒนธรรม ควรให้คนในองค์กรทำงานโดยนำวัฒนธรรมองค์กรมาใช้ให้เป็นนิสัย อันเป็นการนำค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารทุกคนไม่ควรหยุดคิด เพราะต้องพร้อมที่จะ Change อยู่ตลอดเวลา และควรมีความผูกพันระหว่าง นาย กับ ลูกน้องให้มากขึ้น การจะเปลี่ยนอย่างมีคุณภาพได้ ต้องเน้นไปที่พฤติกรรมของคน

2. การศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา : "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน" เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้หมายถึงการ Anti ความมั่งคั่งร่ำรวย แต่หมายถึงมีความยั่งยืนแบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ปัญหาของโลกที่เกิดขึ้น มาจากการบริโภคที่เกินพอดี ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นทางสายกลาง คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อันจะนำไปสู่การมีชีวิต มีเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

3. เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่า การวิเคราะห์อนาคต เป็นการใช้ Pro – active ส่วนคนที่มองเห็นแค่ปัจจุบัน เรียกว่า Re – active การค้าของไทยกับอาเซียน จะขยายตัวโตขึ้นถ้าไม่มีกำแพงภาษี และเมื่อมีการขยายตัวทางการค้า กลุ่มสินค้าของไทยที่มีราคาสูงกว่าจะอยู่ไม่ได้ และจะมีการ Take Over เขตการค้าเสรีอาเซียน จะทำให้มีคนเข้ามาลงทุนในอาเซียนมากขึ้น มีการส่งสินค้าเข้ามาขายมากขึ้นเพราะประชากรที่จะเป็นลูกค้ามีมากขึ้น คำว่าเปิดเสรีทางการลงทุน หมายถึงการลงทุนที่จับต้องได้ ส่วนการลงทุนที่จับต้องไม่ได้ เช่น IT เรียกว่าเป็นการเปิดเสรีการบริการ ทุกแห่งที่มีเขตการค้าเสรี จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการมีการค้าการลงทุน เช่น สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น ในอนาคต กฟผ.ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก เพราะคนจะมีความต้องการ (ใช้ไฟฟ้า) เพิ่มมากขึ้น

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ กล่าวถึงเรื่องพลังงานว่า การใช้พลังงานของไทยยังไม่ดีเทียบเท่าประเทศอื่น ความต้องการใช้พลังงานของอาเซียนจะเพิ่มขึ้น 80 % และจะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น การคาดการณ์เรื่องพลังงานในอนาคตเป็นเรื่องยาก เราจึงต้องดูที่ Demand and Supply ในอดีตประเทศแถบตะวันตกจะมี Demand มาก แต่ปัจจุบันประเทศในแถบอินเดีย และจีนจะมี Demand มากขึ้น ส่วน Supply นั้น เมื่อก่อน ประเทศในกลุ่ม OPEC จะเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ของน้ำมัน แต่ปัจจุบันประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม OPEC ได้ประโยชน์มากขึ้นจากกรณีที่ OPEC ลดปริมาณการผลิต เช่น Shell Oil ของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น กลุ่มประเทศ OPEC จึงยังคงรักษาโควตาการผลิตไว้เหมือนเดิม และคาดว่ากลุ่ม สหรัฐอเมริกา เช่น Shell Oil จะลดต้นทุนการผลิตลง ในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจของไทย นั้น การที่ราคาน้ำมันลดลงจะเป็นผลดี แต่ค่าเงินบาทจะแข็ง โรงกลั่นจะดีขึ้นเพราะค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น ค่าก๊าซจะถูกลง กฟผ.ก็จะมีต้นทุนลดลง ส่งผลให้ค่าไฟถูกลง ในอนาคต การคาดการณ์ต่อผลกระทบของกฟผ.หากเศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าจะต่ำลง และเนื่องจากปริมาณก๊าซที่ผลิตได้ในประเทศจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงจำต้องมีการนำเข้า LNG มาขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น ส่วนโอกาสของกฟผ.นั้น เมื่อการเป็นประชาคมอาเซียนเต็มตัว กฟผ.ควรเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายไฟฟ้า และต้องปรับตัวเรื่องระบบสายส่ง พัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องจำเป็น

4. การเยี่ยมชม C- asean Center: จากการเข้าเยี่ยมชมทำให้รับรู้ว่า C – asean Center เกิดจากความคิดของภาคเอกชนเพื่อต้องการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในการเป็นพลเมืองของอาเซียนในอนาคต (อันใกล้) โดยการเปิดให้มีการเรียนรู้ ทักษะ ของการคิดที่เป็นระบบ มีการเรียนรู้ในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในอาเซียน และสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนของการศึกษาในระบบ C – asean Center จัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดทำเป็นห้องสมุดสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ และห้องสำหรับรองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชน

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

เรียนรู้ หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย อาจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ในการเป็นประชาคมอาเซียน(AEC) ในสิ้นปี2558ปีนี้ประเทศไทยเราต้องมองให้ไกลไปข้างหน้าเป็นระยะเวลาที่นาน10 ปีขึ้นไป เพราะประเทศไทยเรายังอ่อนเรื่องภาษามากในกลุ่ม อาเซียน แรงงานของเรายังไม่เพียงพอขาดแรงงานพื้นฐานต้นทุนในการผลิตของเรามีราคาขายต่อหน่วยสูงกว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้เรามีตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว มาเลเซียอินโดนีเซียเวียดนาม มีการผลิตรถยนต์ส่งออกนอกเหมือนกันแต่จำนวนการผลิตจากหลายยี่ห้อของเรามากกว่าอุตสาหกรรมใหญ่ต้นน้ำเรามากแต่ถ้าเป็นมุมมองของกฟผ.ต้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเข้าประชาคมอาเซียน(AEC) ในสิ้นปี2558เราอยู่แบบเดิมไม่ได้แล้วเพราะเราพึ่งไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมากการนำเข้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าสูงเราจะยืนอยู่ไม่ได้ถ้าเราไม่อาจสร้างทางเลือกอื่นๆในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในประเทศเราบอกว่าเราเก่งเรื่องผลิตไฟฟ้าเข้าไปยังเพื่อนบ้านทำCSRให้เขาเป็นCSRin processเช่น ทำโครงการประหยัดพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน ของDSMการสร้างโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตไฟฟ้าในเมืองใหญ่บางครั้งไม่คุ้มแต่ได้ใจเพราะในอนาคตจะเหมือนบ้านเราเมื่อเราทำดีเพื่อเขาการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้ง่ายส่งมาขายบ้านเราหรือทำ อาเซียน GRIDประเทศในภูมิภาคย้ายไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่อยู่ในช่วง PEAKของเขามาใช้ในบ้านเราในช่วงON PEAKก็ทำได้นี่เป็นโครงการหนึ่งที่น่าสนใจ

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

29 เมษายน 2558 วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

คำกล่าวที่ว่า การปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือ รู้ เห็น และเลือกทำสิ่งใหม่ที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตเป็นสิ่งที่ถูกต้องการมีชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็คือตายการปรับตัวขององค์การต้องทำตามการเปลี่ยนแปลงให้ได้ที่ว่าเป็นแบบเป็ดบินได้ว่ายน้ำได้เดินบนบกได้จากหนังสือของ Peter druckerการเปลี่ยนแปลงต้องทบทวน เรื่อง "ประสิทธิผล" ในการทำงาน หลังจากที่ มักจะเน้นแต่ "ประสิทธิภาพ" ข้อแตกต่างระหว่าง ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ก็คือ ประสิทธิภาพ คือ การทำงานตามสั่งให้ถูกต้อง โดยใช้กำลังกาย(Manual worker) วัดได้จากปริมาณและคุณภาพของชิ้นงาน ประสิทธิผล คือ การทำสิ่งที่ควรทำให้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้ความรู้ (Knowledge worker) ยก ตัวอย่างให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม คือ ถ้าพูดถึงการปลูกข้าว ประสิทธิภาพ คือ ผลผลิตต่อไร่สูง ประสิทธิผล คือ ปลูกข้าวแล้วขายได้ องค์กรจำนวนมาก หวังเพียงประสิทธิภาพ แต่มองข้ามประสิทธิผล การตัดสินใจของผู้บริหารที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผล จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในแนวคิดระดับสูงสุด แต่มีผลในทางปฏิบัติได้จริงและง่ายที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ หันกลับมามองการบริหารองค์กร ที่ผ่านมา ก็มักพบว่าส่วนใหญ่ ผู้บริหารองค์กรก็มักจะมุ่งเน้นแต่ประสิทธิภาพกันมากกว่าไม่ค่อยเกิดประสิทธิผลประสิทธิภาพ คือ การสร้างภาพ เพื่อโชว์ผลงาน การทำงานพวกนี้ จะเน้น คำสั่ง หลักฐาน คณะกรรมการ รูปแบบการทำงาน การวัดผลที่ปริมาณผลงาน แต่การทำงานที่เน้นประสิทธิผล จะเน้นความรู้ในการทำให้เกิดผลจริง เน้นการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน คือ ประสิทธิภาพ มักเกิดจากงานประจำ แต่ประสิทธิผล เกิดจากการทำงานที่ต้องใช้ "ความคิด" ให้มี "ผลงาน" ออกมา แบบที่ว่า ประสิทธิภาพ (Do the thing right) และ ประสิทธิผล (Do the right thing)กฟผ.ต้องทำให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ให้ได้

สรุปบทเรียน และ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ.
โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11

ช่วงช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 29–30 เมษายน 2558

สวัสดีครับท่านอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ EADP 11 ว่าที่ท่านผู้นำทุกท่าน สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตลอด 2 วัน ระหว่างวันที่ 29 – 30 เมษายน 2558 มีดังนี้ครับ

29 เมษายน 2558
วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ เรื่อง "The Samsung Way"

ความรวดเร็ว เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญในธุรกิจของ Samsung , Economic of Scale -> Economic of Speed Samsung อุปมาธุรกิจของตัวเองเช่นเดียวกับ ธุรกิจปลาดิบ (Sashimi Theory) ปลาที่เพิ่งจับได้จะมีราคาแพงมาก เนื่องจากมีความสด สามารถจำหน่ายในภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นระดับ 5 ดาว หากนำปลาไปจำหน่ายในวันรุ่งขึ้น ความสดลดลง ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งต้องนำไปปรุงอาหารไม่ว่าทอดหรือนึ่งในภัตตาคารทั่วไป หากจำหน่ายปลาในวันที่สาม ความสดยิ่งลดลง ราคาจะเหลือเพียง 1 ใน 4

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเช่นเดียวกับธุรกิจปลาดิบ การวางสินค้าใหม่ได้ก่อนคู่แข่ง จะสามารถจำหน่ายได้ราคาที่สูง เนื่องจากไม่มีคู่แข่ง หากล่าช้าแทบไม่มีกำไร เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก Samsung ลดขั้นตอน และ กระจายอำนาจ ในเรื่องของการตัดสินใจ Decision Making & Approval Process การตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ ระดับ CEO's Approval ไม่เกิน 3 ระดับ

ในขณะที่ กฟผ. ยังไม่สามารกระจายอำนาจในการตัดสินใจหรือลดขั้นตอนลดเวลาในเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ได้

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่
/ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรธุรกิจ มองธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ผู้นำต้องบริหารสังคมให้เก่งเพื่อให้สังคมอยู่รอด โลกทุนนิยมเปลี่ยนความคิดของคน สร้างความเหลื่อมล้ำ เกิดความคิด CSR( Corporate Social Responsibilities ) และเปลี่ยนเป็น CSV (Creating Shared Value) สิ่งสำคัญคือการปรับตัว โดยมีขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน

1. การกระตุ้นให้ผู้คนเคลื่อนไหวสร้างเป้าหมายจุดประสงค์ที่เป็นจริง (Establishing a greater sense of urgency)
2. สร้างทีมงานที่เข้มแข็ง (Creating the guiding coalition)
3. มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง (Developing a vision and strategy)
4.การสื่อสารต้องมีการให้คนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด(Communicating the change vision)
5. ให้อำนาจในการตัดสินการกระทำ (Empowering others to act)
6. ต้องสร้างชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins)
7. ต้องสร้างแรงบันดาลใจและมีความเพียรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง(Consolidating gains and producing even more change)
8. ต้องสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง (Institutionalizing changes in the culture)

หัวข้อ ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพัฒนาอื่นๆ มูลนิธิมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภา ชีวิตที่ดีขึ้น และให้สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม เน้นการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการผสมผสานของเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) กับเงื่อนไขคุณธรรมหรือธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) และจะนำไปสู่ความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

30 เมษายน 2558

ช่วงเช้า : เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และ โดยอาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่

AEC Objectives

1. Common Market and Production Base

2. Competitiveness Enhancement

3. Equitable Development

4. Global Integration

มาเลเซีย จะพัฒนาประเทศ ไม่เน้นเรื่องแรงงาน แต่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับล่างและกลาง ทำเรื่องเคมี ขนส่ง อุตสาหกรรม เน้นเรื่องพลังงาน IT ไม่ปลูกยางพารา เน้น Manufacture

สิงคโปร์ ปรับแผนเพื่อเป็นผู้นำอาเซียน เน้นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ย้ายฐานไปประเทศจีน ที่ค่าแรงต่ำ ใช้ความได้เปรียบหารายได้ที่บังกะลอร์ ที่อินโดนีเซีย ที่จีน ทำโรงกลั่น ช่วยเวียดนาม ไปที่กัมพูชาสร้างสนามบิน และ telecom tourism

AEC เขตการค้าเสรี ไม่มีกำแพงภาษีนำเข้า ถ้าเราไม่ปรับตัวเข้าสู่อนาคตเศรษฐกิจก็อยู่ไม่ได้

การเติบโตเรื่องพลังงาน กฟผ. จะต้องดูแลในเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2000-2014 หลายประเทศมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีขึ้น ความต้องการพลังงานของอาเซียนปี 2578 ในภูมิภาคอาเซียนจะใช้พลังงานเพิ่ม 80% ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นสามเท่า ประชากรเพิ่มขึ้น 25% ความต้องการถ่านหินก็จะเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว สัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 50%

กฟผ. มีโอกาสที่จะพัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่าย รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศในกลุ่ม Inland กับ Island (ASEAN GRID) เพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสีเขียวและเชื่อมโยงชุมชน

Game theory เป็นทฤษฎีที่ช่วยในเรื่องของการทำนายอนาคต ... คน กฟผ. จำเป็นต้องทำนายอนาคตล่วงหน้าให้ได้ ....

ช่วงบ่าย : ศึกษาดูงานที่ C-asean Center
โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์

"C-ASEAN" ยุทธศาสตร์ ใหม่ ซึ่งกลุ่มไทยเบฟฯ ประกาศจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น "อาเซียน" ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทั้ง Online และ Offline เนื่องจากศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษา สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยมี เจตนารมณ์ที่แสดงไว้ในพันธกิจหลักของศูนย์

เจ้าของไอเดียมาจากคุณฐาปนะ และคุณพิเชษฐ์ มีแนวคิดคือศูนย์อาเซียน และมีโอกาสได้ร่วมคิดในกระบวนการ และมีการพัฒนา มี focus group ขึ้นเรื่อยๆ ทางผู้ก่อตั้งไม่ได้อยากเป็นเจ้าของคนเดียวโมเดลนี้สำเร็จได้ต้องมีคนที่มี passion ในเรื่องเดียวกัน

ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ ท่านอาจารญ์ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กฟผ. และ ทีมงานของท่านอาจารย์ ทุกท่านด้วยนะครับ

นายพิพัฒน์ บุนนาค
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง-ปฏิบัติการ

นายสุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ เรื่อง "The Samsung Way"

ปัจจัยที่สำคัญซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของ Samsung จนกลายเป็น World-class Corporation

คือ Visionary Leadership and Insight Leadershipของท่านประธาน Lee Kun-Hee ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนด Vision , Strategic Direction ของ Samsung base on " Talent and Technology"

ตัวอย่างปัจจัยทีนำสู่ความสำเร็จของ Samsung

-Focus on Core Talent

-Recruit and maintain Geniuses, top-flight engineer

-สร้างระบบ Talent Management System

-High incentive & reward, high performance bonus

-เปลี่ยนวิธีการบริหารบุคคล จากระบบอาวุโสมาเน้นที่ฝีมือและคุณภาพ performance

-ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างมหาศาล เพื่อสร้าง Soft Competitiveness and Core Talent

-สร้าง passion of innovation

-R&D investment , and infrastructure มีสถาบัน Samsung Advance Institute of Technology

-New Technology ,Investment for next-next generation model

กฟผ. สามารถจะลอกเรียนแบบอย่างวิธิการดีๆ ของ Samsung มาพยายามปรับใช้ เช่น เริ่มที่เปลี่ยนวิธีการบริหารบุคคล จากระบบอาวุโสมาเน้นที่ฝีมือและคุณภาพ performance อย่างจริงจังมีวิธีการวัด ฝีมือและคุณภาพ performance อย่างมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้ เชื่อมั่นจริงๆว่า กฟผ. มีคนดี และคนเก่ง แต่ก็คิดว่า กฟผ. ยังไม่มี innovation เป็นโจทย์ที่ ผู้บริหารต้องหาทางแก้ไข อยากให้ผู้บริหาร ของ กฟผ. พยายาม Focus on Core Talent สร้างระบบ Talent Management System

นายสุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจและประเมินแหล่งทรัพยากร

นายสุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

30 เมษายน 2558

รศ. ดร.สมชาย: ทุกท่านต้องทำนายอนาคตล่วงหน้า

เขตการค้าเสรี -ทำให้ทุกคนมาลงในอาเซียนอย่างไม่เคยมีมาก่อน

วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการทานอาหารต่างชาติมากขึ้น ให้อ่านหนังสือเรื่อง Third revolution

มีการเปิดเสรี 8 ประเทศ :เสรีเรื่องอาชีพที่สามารถจะทำงานในกลุ่มประเทศ ASEAN

  • Healthcare: หมอ พยาบาล ทันตแพทย์
  • อสังหาริมทรัพย์: นักสำรวจ วิศวะ สถาปนิค
  • บัญชี
  • ท่องเที่ยว เขตการค้าเสรีในอนาคต ตามมาด้วยการขยายความร่วมมือในประเทศที่ใกล้กัน

วิเคราะห์ ในส่วน กฟผ. ที่เป็น รัฐวิสาหกิจไทย มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ กับ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และ มาเลเซีย ที่มีการพึ่งพาไฟฟ้า และระบบส่งไฟฟ้ากันและกัน กฟผ.สัมพันธ์กับประเทศเพื่อบ้านในหลายๆด้านได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการทำงานด้านสิ่งก่อสร้าง และที่สำคัญ กฟผ. ได้เปรียบที่มีบุคลากรมากกว่า มีเงินทุนมากกว่า มีประสบการณ์มากกว่าเมื่อเทียบกันระหว่างรัฐต่อรัฐ (ยกเว้นมาเลเซีย)

เป็นโอกาสของ กฟผ.ที่จะขยายธุรกิจไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องเข้าไปใน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สนับสนุนให้บริษัทในเครือของ กฟผ. เร่งการลงทุนใน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์เพราะทั้งสามประเทศนี้มีแผ่นดินติดต่อกับประเทศไทย และภาษาไทย เงินไทย ก็เป็นที่คุ้นเคย และ ยอมรับโอกาสคือทั้งสามประเทศ ต้องการการลงทุน และ ในอนาคตจะต้องการระบบไฟฟ้าและไฟฟ้ามากขึ้นและ ประเทศไทยยังได้ประโยชน์จากไฟฟ้าส่งกลับมาใช้ในประเทศไทยด้วย

นายสุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจและประเมินแหล่งทรัพยากร

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 29–30 เมษายน 2558<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

1. วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ : มีแนวโน้มว่าบริษัทห้างร้านมองธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องจัดการสังคมด้วย หนังสือของ Peter drucker ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารต้องบริหารสังคมให้เก่งเพื่อให้สังคมอยู่รอด โลกทุนนิยมเปลี่ยนความคิดของคน สร้างความเหลื่อมล้ำ เกิดความคิด CSR (Corporate Social Responsibilities ) และเปลี่ยนเป็น CSV (Creating Shared Value)

CSV คนไม่ค่อยเข้าใจว่าใช้ได้จริงหรือไม่ มองว่าบริษัทต้องดูตลาดใหม่ที่ผู้บริโภค strong เกิดแนวคิดเรื่อง The bottom of the pyramid theory คนกลุ่มนี้มีกำลังบริโภคขนาดใหญ่ ตลาดล่างสำคัญมาก บริษัทได้ผลกระทบคือ The disruptive Innovation model คือ การแยกแยะคนกลุ่มหนึ่ง ต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันด้วย

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ : ค่านิยมขององค์กรที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงประกอบไปด้วย ความเร็ว ( Speed), ความเรียบง่าย (Simplicity), ความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence), ความยืดหยุ่น ( Stretch), ไม่มีขอบเขต (Boundarylessness)

3. เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : เรื่อง AEC ควรจะพูดเมื่อปี 2003 ถ้าเป็นประเทศที่ฉลาด ประเทศไทยเพิ่งเริ่มจะตระหนักว่าจะเข้า AEC เมื่อปี 2010 มาเลเซียจะพัฒนาประเทศ ไม่เน้นเรื่องแรงงาน แต่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับล่างและกลาง ทำเรื่องเคมี ขนส่ง อุตสาหกรรม เน้นเรื่องพลังงาน IT ไม่ปลูกยางพารา เน้น Manufacture, สิงคโปร์ ตอนปี 1992 ปรับแผน 2 เพื่อเป็นผู้นำอาเซียน เน้นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ย้ายฐานไปประเทศจีน ที่ค่าแรงต่ำ ร่วมมือจัดตั้งที่มันตัม และเอาความได้เปรียบไปหารายได้ที่บังกะลอร์ ที่อินโดนีเซีย ที่จีน ทำโรงกลั่น ช่วยเวียดนาม ไปที่กัมพูชาสร้างสนามบิน และ telecom tourism ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ 1989 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ดังนี้

1. จุดจบของคอมมิวนิสต์ตะวันออก เปลี่ยนเป็นทุนนิยม มีการเลือกตั้ง

2. กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย

ทำให้วิเคราะห์ว่า โลกเปลี่ยนจากสงครามเย็น แบ่งเป็นคอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย เกาหลีเหนือ และคิวบา ยังเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่เหลืออยู่หลัง 1991, ในโลกที่ไม่มีใครถ่วง อเมริกาใหญ่สุด เป็น zero sum game จึงต้องเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก รวมตัวกันเป็น AEC

เขตการค้าเสรี คือ ไม่มีกำแพงภาษีนำเข้า

ASEAN +3 : ASEAN – China เขตการค้าเสรีกับประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น

ASEAN +6 : ASEAN- India, Australia/New Zealand, EU, US (TIFA)

เขตการค้าเสรีในอนาคต ตามมาด้วยการขยายความร่วมมือในประเทศที่ใกล้กัน อีกไม่นานจะได้ยินคำว่า RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) และอีก 10 ปีข้างหน้าจะได้ยินประชาคมเอเชียตะวันออก

การปรับ Mindset เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไปทั่วโลก องค์กรกฟผ.ต้องต่อยอดไปให้ได้

4. เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.ความต้องการพลังงานของอาเซียนปี 2578 โดย อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ : ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ประเมินว่าในปี 2578 (อีก 22 ปี) ภูมิภาคอาเซียนจะใช้พลังงานเพิ่ม 80% ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นสามเท่า ประชากรเพิ่มขึ้น 25% ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มจาก 4.4 mb/d เป็น 6.8 mb/d โดยต้องนำเข้าสุทธิเพิ่มจาก 1.9 mb/d เป็น 5 mb/d ( พึ่งพิงการนำเข้าสูงถึง 75%)เนื่องจากแหล่งผลิตในภูมิภาคเริ่มลดลงกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อันดับสี่ของโลก รองจาก จีน อินเดีย และยุโรป ขณะที่ความต้องการถ่านหินก็จะเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว สัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 50% ทำให้อาเซียนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานพุ่งขึ้นสูงแตะระดับ 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.4 ล้านล้านบาท โดยอินโดนีเซีย/ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึงประเทศละ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี (2.2 ล้านล้านบาท)

ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ. : เศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน (PDP 2015) ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่องต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนัก

โอกาส : พัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่าย,รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน, เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศในกลุ่ม Inland กับ Island (ASEAN GRID), เพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสีเขียวและเชื่อมโยงชุมชน

การสื่อสารข้อมูลกับประชาชน : การสื่อสารที่จะประสพความสำเร็จต้องเป็นการสื่อสารที่สามารถสร้างความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจ ( Trust) ให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน โดยความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ( Participation) ตั้งแต่แรก จุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ดี คือ การเข้าไปศึกษาปัญหาของชาวบ้านและชุมชน และแนะให้เขาหาวิธีแก้ปัญหาของเขาเอง โดยเราเป็นฝ่ายสนับสนุน เมื่อเขาเห็นในเจตนาดีของเราและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว จึงค่อยเริ่มเสนอให้ชุมชนทำโครงการร่วมกันในโครงการนำร่องที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆต่อไป

5. ศึกษาดูงานที่ C-Asean center โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ : ดร.การดี: ความตั้งใจของ C ASEAN เกิดจากภาคเอกชน หน้าที่ของประชาชนที่ทำให้เกิดศูนย์นี้ขึ้นมา มีขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้ ร่วมมือกันและมีเครือข่าย, ให้และได้รับ, ข้อตกลงและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาตนเอง

6. หัวข้อ ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิชัยพัฒนาโดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนาเกิดความสมบูรณ์ขึ้น

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรูและคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในชีวิตอย่างแท้จริง

สรุปสิ่งที่ได้จากบทเรียนวันที่ 29 – 30 เม.ย. 2558

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่, ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • ปัจจัยสำคัญของการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงคือ การเปิดใจกว้าง คิดริเริ่มใหม่ๆ

และต้องมีการเผยแพร่ความคิด พฤติกรรมที่เห็นว่าดี เช่น การยกย่อง ชมเชยเมื่อมีคนทำความดี เป็นต้น ต้องรู้จัก Social เพื่อให้หูตากว้าง

  • องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับตัว เพราะจะมองในแง่ธุรกิจเพียงอย่างเดียวไม่ได้

ต้องคำนึงถึงสังคมด้วยเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ในสังคม

  • ในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร มีหลักการว่า ต้องเริ่มจาก Leader (ในทุกระดับ)

และจะทำอย่างไรให้ทุกคนคิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในอนาคต สร้าง Value Constellation และเมื่อสื่อกับ partner แล้วต้อง change facilitators เพื่อให้ทุกคนเปลี่ยนไปด้วยกัน

ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

- การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียง

- ปัจจุบันอยู่ในระบบทุนนิยม ซึ่งสนใจในเรื่อง ความรู้ กำลังอำนาจ และ เงิน โดยจะวัดผลจาก GDP แต่สิ่งนี้เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

- ทางสายกลางทำให้เกิดความยั่งยืนมีหลักการ 3 ประการคือ

1.พอประมาณ ต้องหาตัวตนและขีดความสามารถของตนเอง

2.มีเหตุผลและสติเป็นเครื่องนำทาง

3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีการบริหารความเสี่ยง

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียน AECฯ

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์/อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

  • คนไทยมีจุดอ่อน คือการจับประเด็นไม่เก่ง ไม่สามารถนำประเด็นนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ในงาน อีก

ทั้งยังไม่สามารถมองอนาคตได้ คาดการณ์ว่าเข้าสู่ AEC เต็มรูปแบบการค้าเกิดการขยายตัว มีคนมาลงทุน เปิดเสรีการลงทุน และเงินทุน

  • ปัจจุบันโลกเริ่มมีปัญหาเรื่องพลังงาน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น เศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของ

ความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน) ถูกต่อต้านหนัก

ศึกษาดูงานที่ C-asean center

โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ 30 เมษายน 2558

C-ASEAN เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น "อาเซียน" ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติอะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทีมงานเป็นคนรุ่นใหม่

Workshop วันที่ 29 มค. 2558 : นายพิชยะชนยุทธ กลุ่ม 3

โจทย์ : ความเหมือนกันของกฎทอง 25 ข้อของ Mr.Willium E.Heinecke และ Chira Hongladarom's Model ซึ่งเป็นประโยชน์กับ กฟผ

1. Creativity and Innovation เสนอรูปแบบ และแนวคิดใหม่ๆที่สร้างสรรค์มากขึ้น

2. Down and up again เมื่อเกิดผิดพลาดล้มเหลว ล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้นโดยเร็ว

3. คิด Project ที่เป็นแนวคิดใหม่ และยากเสมอ

4. Develop your Contactsโดยการสร้าง Network คือระบบโครงข่ายของความสัมพันธ์ทั้งภายใน-นอก

5. Reach for the sky ฝันให้ไกลไปให้ถึง

6. Think big picture , set Goals มองภาพใหญ่ มีเป้าหมาย

7. Customer’s focus สร้างกลยุทธมุ่งกลุ่มเป้าหมาย

8. Become a Leader การเป็นผู้นำในงานที่ทำ

9. Enjoy your work ทำงานอย่างมีความสุข และสนุกกับงาน

สรุปสิ่งทีได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ. EADP รุ่น11: 17-20 เมย. 58

วันที่ 17 เมย. 58

- หัวข้อล่องเรือเรียนรู้ภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ความเชื่อมโยง ความร่วมมือกับ ลาว พม่า

ได้เรียนรู้จากการล่องเรือเดินทางไปบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นจุดร่วมของพรมแดนของ 3 ประเทศ แม้จะมีภาษาที่แตกต่างกัน แต่ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศก็สามารถไปมาหาสู่ ทำมาค้าขายติดต่อกันได้โดยอาศัยแม่น้ำโขงร่วมกัน โดยมีสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ใช้แม่น้ำโขงขนส่งสินค้ามาภูมิภาคนี้เช่นกัน จากการเยี่ยมชมครั้งนี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากอดีตไปมากทั้งการค้าขาย การท่องเที่ยว มีการขยายสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับธุรกิจต่างๆ ทั้งฝั่งไทยและเพื่อนบ้าน จึงนับได้ว่าแม่น้ำโขงได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ลาว พม่า และจีน ได้เป็นอันมาก ดังนั้นหาก กฟผ.มีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจกิจการไฟฟ้าร่วมกับประเทศเหล่านี้เพื่อรองรับการเติบโตของพื้นที่นี้ก็ควรสร้างเครือข่ายไว้ล่วงหน้า

- หัวข้อชมศุนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ จ.เชียงราย

ได้เรียนรู้จากการเยี่ยมชม "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ " ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ในปี พ.ศ.2547 มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมันจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สายพันธุ์ Cameliaoleiferaและพืชน้ำมันอื่นๆ เพื่อผลิตน้ำมันเมล็ดชาในประเทศไทย ซึ่งศูนย์วิจัยฯ จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูง สำหรับการบริโภค และทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุด จากทุกส่วนของพืชนั้นๆ รวมถึงเป็นโรงงานต้นแบบ ซึ่งมีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด และคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อม แบบธรรมชาติ มีระบบควบคุมการใช้พลังงาน และรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย โดยสนับสนุนให้ชุมชนในพื้นที่ได้ปลูก และนำผลผลิตมาส่งให้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าส่งขายออกไปในภูมิภาคอื่น

วันที่ 18 เมย. 58

- หัวข้อเยี่ยมชุมชนแม่เมาะชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ได้เรียนรู้จากบรรยาย และตอบข้อซักถามของผู้นำชุมชนคือ ผญบ. อริสสรา เครือบุญมา ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้ว ผญบ.อำไพ ต้นศิริ สำหรับชุมชนนี้ กฟผ.ได้ให้การดูแลสนับสนุนอย่างจริงใจมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนยอมรับ และเข้าใจในภารกิจความจำเป็นในการจัดการด้านพลังงานของ กฟผ.เป็นอย่างดีมาก
- หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชนโดย คุณมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง คุณสมชาย ติวะตันสกุล ผู้บริหารของ กฟผ. คุณอนุวัตร ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดตอนเหนือภาค 1 คุณอริสสรา เครือบุญมา ผู้ใหญ่บ้านใหม่นาแขม คุณอินปั๋นอุตเตกุล ผู้ใหญ่บ้านข่วงม่วง คุณสาวกชพร สดเมือง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ ว่าที่ร.ต.เกรียงศักดิ์ ฉลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ

ได้เรียนรู้ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการเสวนา โดยท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้เห็นภาพว่า กฟผ.เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจลำปาง ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ชัดเจน เพราะทุกภาคส่วนช่วยกันทำอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งเป็นประโยชน์ในภาพรวม ดังนั้น กฟผ.ต้องรักษาเครือข่ายนี้ไว้ให้ได้ตลอดไป ตราบที่ กฟผ.ยังมีโครงการในพื้นที่

วันที่ 19 เมย. 58

- หัวข้อเยี่ยมชมไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย

ได้เรียนรู้ไร่เชิญตะวัน เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม ที่ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิระเมธี) ได้สร้างขึ้น จากแรงบัดดาลใจที่จะหาที่สั่งสอนธรรมมะในพื้นที่จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดของท่าน เพื่อให้ทุกคนได้ที่ปฏิบัติธรรม โดยได้เดินดูรอบๆทั้งพิพิธภัณฑ์และร้านอาหารต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ฟังคำสอนของพระอาจารย์ ท่านได้อธิบายความหมายของผู้นำไว้ว่า ผู้นำไม่ได้ขึ้นกับการแต่งตั้งหรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง แต่หมายถึงผู้นำที่อยู่ในใจคน เพราะหากไม่นั่งอยู่ในใจคนแล้ว ถึงแม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตก็ไม่มีใครเคารพเดินตาม การจะเป็นดังกล่าวได้ ก็จะต้องเป็นคนที่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่โดยสุจริตและตรวจสอบได้และการเป็นผู้นำต้องไม่คิดว่าเป็นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูลเพราะจะไม่มีประโยชน์ การเป็นผู้นำก็ควรต้องทำอะไรที่ดีๆ ให้เป็นที่จดจำ นับเป็นการให้ความหมายของผู้นำที่ชัดเจน เข้าใจง่าย หากใครปฏิบัติตามนี้ ก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างแน่นอน โดยพระอาจารย์ได้แนะนำให้หาความรู้หลายด้านทั้งจากการอ่านหรือการฟังผู้อื่น เพื่อให้เป็นผู้นำที่สามารถสนทนากับผู้อื่นได้อย่างมีความรู้

วันที่ 20 เมย. 58

- หัวข้อธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ได้เรียนรู้หลายอย่างทั้งความรู้ที่ควรทราบในการดูแลสุขภาพ อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกับวัยที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่างเช่น อาบแดด อบซาวน่า อบสมุนไพร ออกกำลังในน้ำ ทำให้ทราบว่ายังมีกิจกรรมที่มีประโยชน์อีกหลายอย่างที่เราสามารถเลือกปฏิบัติให้เหมาะกับสุขภาพ และวัยของแต่ละคน

สรุปสิ่งทีได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ. EADP รุ่น11: 29-30 เมย. 58

วันที่ 29 เมย. 58

- หัวข้อวัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ และดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ได้เรียนรู้การปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยต้องมีความคิดริเริ่มใหม่ มีการแผ่กระจายความคิด/พฤติกรรมใหม่ เรียนรู้ร่วมกัน และยอมรับความคิดใหม่ โดยต้องเริ่มจาก Leader ทุกๆระดับ และให้ทุกคนคิดว่าจะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคต ให้เกิดการปรับตัวโดยเฉพาะแนวคิด

ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1. ทำให้รู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและประเมินสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จ

2. สร้างผู้นำที่เหมาะสมมีความกล้า ความเชี่ยวชาญเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง

3. สร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน

4. แผ่ขยายการรับรู้ การยอมรับและสื่อสารกับกลุ่มคนต่างๆ

5. ขับเคลื่อนการดำเนินการระหว่างหน่วยงาน

6. กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่าย สามารถบริหารให้ประสบผลสำเร็จแล้วเริ่มทำสิ่งใหม่ๆต่อไป

7. ผนึกกำลังสร้างแรงบันดาลใจ ให้เป็นคลื่นของการเปลี่ยนแปลง

8. ปลูกฝังแนวทางการทำงานแนวใหม่ให้เป็นวัฒนธรรม โดยให้คนในองค์กรทำงานโดยนำวัฒนธรรมองค์กรมาใช้ให้เป็นนิสัย

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเปลี่ยนความคิด สิ่งสำคัญต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง คือ การเบื่อหน่าย ขาดความสามารถของผู้นำ และมักเป็นการวางแผนจากระดับบน โดยระดับล่างไม่เกี่ยว ทำให้ขาดการมีส่วนร่วม การจะเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

- หัวข้อศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

ได้เรียนรู้ทางสายกลางทำให้เกิดความยั่งยืนมีหลักการ 3 ประการคือ 1.พอประมาณ ต้องหาตัวตนและขีดความสามารถของตนเอง 2.มีเหตุผลและสติเป็นเครื่องนำทาง 3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีการบริหารความเสี่ยง

การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการผสมผสานของเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) กับเงื่อนไขคุณธรรมหรือธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) และจะนำไปสู่ความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

วันที่ 30 เมย. 58

- หัวข้อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์และอาจารย์มนูญศิริวรรณ

ได้เรียนรู้การเข้าร่วม AEC จะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อน สำหรับคนไทยจุดอ่อน คือจับประเด็นไม่เก่ง เห็นแล้วแต่ไม่สามารถนำประเด็นนั้นๆมาประยุกต์ใช้ ไม่สามารถมองอนาคตและ คาดการณ์ว่าเข้าสู่ AEC เต็มรูปแบบแล้ว ธุรกิจการค้าจะเกิดการขยายตัว มีคนมาลงทุน เปิดเสรีการลงทุน สำหรับกฟผ. คนในองค์กรต้องมีการปรับ Mindset ซึ่ง เป็นเรื่องสำคัญและเตรียมตัวให้พร้อม เนื่องจากปัจจุบันโลกเริ่มมีปัญหาเรื่องพลังงาน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น จากสงครามกลางเมือง การก่อการร้าย ปัญหาการเมืองระหว่างชาติ อีกทั้งเศรษฐกิจไม่ดี มีผลต่อประเทศไทยทำให้การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน รวมทั้งปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น การใช้แหล่งเชื้อเพลิงถ่านหินถูกต่อต้านหนัก แต่ กฟผ. ยังมีโอกาสพัฒนาระบบส่งเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขาย/แลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน โดยการสร้างระบบสายส่งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กฟผ. ต้อง เน้นการสื่อสารข้อมูลกับประชาชนให้ทราบความจำเป็น สร้างความเชื่อถือ และความไว้วางใจกับชุมชน โดยเข้าไปศึกษาปัญหาของชุมชน และเสนอแนะให้ชุมชนหาวิธีแก้ปัญหาได้เอง โดย กฟผ. เป็นฝ่ายสนับสนุน เมื่อชุมชนเข้าใจเจตนาดีและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว กฟผ. จึงเริ่มชี้แจงเสนอโครงการให้ชุมชนร่วมกันพัฒนากับ กฟผ.แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้

- การเยี่ยมชม C- asean Center

จากการเข้าเยี่ยมชม C – asean Center โดยการรับฟังการบรรยายเหตุผลการก่อตั้งเกิดจากความคิดของภาคเอกชนเพื่อสร้างเวทีให้คนที่สนใจได้มีโอกาสหาความรู้โดยจัดทำเป็นห้องสมุดสาธารณะในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในอาเซียน สร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เสนอและแลกเปลี่ยนแนวคิด และห้องสำหรับรองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการติดต่อกับชุมชนในอาเชียน C – asean Center ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ

สรุปสิ่งทีได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ. EADP รุ่น11: 20-22 พ.ค. 58

วันที่ 20 พ.ค. 58

-หัวข้อ Leading People โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด

ได้เรียนรู้ว่าCoach ที่แปลว่า การสอนงานนั้น คือการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ช กับผู้ถูกโค้ช เพื่อกระตุ้นให้จุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่ สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องสร้างความไว้วางใจกับผู้ถูก Coach ก่อน จึงจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง ส่วน Life coach เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในทุกด้านของชีวิต ด้วยการกระตุ้น และจุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ด้วยตนเอง เข้าใจ และขจัดอุปสรรคที่อาจมีภายในตัวตน ตัดสินใจเลือกเส้นทางการดำเนินชีวิตโดยอิสระ เพื่อนำเอาศักยภาพและความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งการ Coach เป็นการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย การ Coaching เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ Leader
- หัวข้อ Idea Reflection โดยตัวแทนรุ่นพี่ EADP8,9 และ10

จากประสบการณ์ของรุ่นพี่บอกเล่าสู่รุ่นน้องโดยการเสวนากัน โดยบอกเล่าให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมรุ่นก่อนๆ ได้รับประโยชน์อะไรจากการอบรม เพื่อให้มั่นใจในการนำหลักด้านวิชาการที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตทั้งเรื่องสัดส่วนการผลิตของ กฟผ. การขยายงานและแหล่งเงินทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับ กฟผ. โดยเฉพาะแนวคิดเห็นที่เหมือนกันจากรุ่นที่ผ่านมาคือ ต้องมีการสร้างเครือข่ายระหว่างรุ่นในทุกสายงานสายงาน

วันที่ 21 พ.ค. 58

- หัวข้อ กรณีศึกษาด้านการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ SCG โดย คุณธัญธร์รันตน์ โพธานันท์

ได้เรียนรู้ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของSCGที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเพราะSCG มีธุรกิจที่หลากหลาย และมีคนอยู่ปริมาณมากจึงต้องมีการปลูกฝังค่านิยม หรืออุดมการณ์ร่วม โดยเริ่มตั้งแต่ปรับCoreขององค์กรโดยพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเพื่อให้ได้หลักสำคัญที่เน้นหลักธรรมาภิบาลในการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อตอบรับภาวะธุรกิจที่เปลี่ยนไป แล้วสร้างบุคลากรให้มีความสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรให้ได้โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมอย่างมีขั้นตอน มีการสร้างสภาวะการเรียนรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเช่น โครงการ Eager to Learn ตลอดจนการดูแลรักษาบุคคลากรที่สำคัญไว้ ทั้งนี้ภายใต้การแสดงภาวะผู้นำของLeaderอย่างเต็มที่

- หัวข้อ EGAT Effective Teamwork and Cross Functional Team ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอ.กิตติพัฒน์ ดารากร ณ อยุธยา

ได้เรียนรู้คือในเรื่องของ Team of Rivals หรือการนำเอาคู่แข่งหรือศัตรูมาร่วมเป็นทีม โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จมาจาก Leader ที่มีวิสัยทัศน์สามารถมองเห็นถึงประโยชน์ร่วมรอบด้าน ปรับทัศนคติให้สอดคล้องมองเห็นปัญหาเดียวกัน โดยเริ่มตั้งแต่การหาRivals และสร้างทีม ตลอดจนศึกษาและความต่างเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายโดยแนะนำปัจจัย5ข้อที่จะทำให้แนวคิดนี้สำเร็จ ทั้งนี้อาจารย์ได้ยกกรณี ปธน.ลินคอล์นเป็นตัวอย่าง และกลุ่มได้ทำ Workshop เพื่อหากรณีที่ กฟผ.ร่วมกับ Rivalsแก้ปัญหาด้านต่างๆที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นตัวอย่างและเชื่อมั่นว่าหากนำแนวคิดนี้ไปใช้จริงก็จะเป็นประโยชน์แก่ กฟผ.ในอนาคต

วันที่ 23 พ.ค. 58

การนำเสนอผลงานกลุ่ม "ผลงานการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากฟผ.สู่อนาคต"

กลุ่ม 2 ในหัวข้อ "การศึกษาความพร้อมของบุคลากร กฟผ.เพื่อรองรับงานด้านพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV"

กลุ่ม 3 หัวข้อ "การสำรวจความคิดเห็นการก่อสร้างถนนเลียบสายส่งไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าของกฟผ. : กรณีศึกษาเส้นทาง 230 KV อ่างทอง 2 – ไทรน้อย"

กลุ่ม 4 " ทัศนคติของพนักงาน กฟผ.ต่อการทำกิจกรรม CSR"

กลุ่ม 5 "สัดส่วนการผลิตที่ลดลงของ กฟผ."

กลุ่ม 6 "แนวทางการพัฒนาธุรกิจใหม่ของ กฟผ."

กลุ่ม 7 "แนวทางเสริมสร้างทุนแห่งความสุขให้กับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.กลุ่ม Gen Y (อายุงาน 3-7 ปี)"

กลุ่ม 1 "การศึกษาประสิทธิผลจากการใช้เครื่องมือบริหารจัดการในสายงาน รวฟ."



สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 29 เมย.2558<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

การปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือ รู้ เห็น และเลือกทำสิ่งใหม่ที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

Allan Wilson กล่าวว่า สรรพสัตว์ปรับตัวได้ด้วยการเกาะกลุ่มและเรียนรู้ร่วมกัน

1. มีความคิดริเริ่ม/พฤติกรรมใหม่

2. การแผ่กระจายความคิด/พฤติกรรมใหม่

3. การเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ

หลังลีกวนยูเสียชีวิต ประเทศสิงคโปร์เริ่มมองว่าทางการศึกษาต้องทำอย่างไร

  • เรียนเพื่อนำไปปฏิบัติได้ ที่ทำได้ดีกว่าคนดี
  • เรียนเพื่อให้ปรับตัวได้เองตลอดชีวิต
  • มหาวิทยาลัยนันยางมีการวัด เพื่อวัด CQ คือ ความปรีชาชาญทางวัฒนธรรม
  • ปรับโรงเรียนไม่ได้ให้มีมิติเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องรื่นรมย์ทางศิลปวัฒนธรรมด้วย
  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติของคน

มีองค์กรเกิดขึ้นเรียกว่า HYBRID Enterprise เน้นการปรับตัว มีแนวโน้มว่าบริษัทห้างร้านมองธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องจัดการสังคมด้วย หนังสือของ Peter Drucker ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารต้องบริหารสังคมให้เก่งเพื่อให้สังคมอยู่รอด โลกทุนนิยมเปลี่ยนความคิดของคน สร้างความเหลื่อมล้ำ เกิดความคิด CSR (Corporate Social Responsibilities) และเปลี่ยนเป็น CSV (Creating Shared Value)

CSV คนไม่ค่อยเข้าใจว่าใช้ได้จริงหรือไม่ มองว่าบริษัทต้องดูตลาดใหม่ที่ผู้บริโภค strong เกิดแนวคิดเรื่อง The bottom of the pyramid theory คนกลุ่มนี้มีกำลังบริโภคขนาดใหญ่ ตลาดล่างสำคัญมาก บริษัทได้ผลกระทบคือ The disruptive Innovation model คือ การแยกแยะคนกลุ่มหนึ่ง ต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันด้วย

Value Creating System (Value Constellation)

Co-Value creation

Co-dependency and co-evolution ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนและระบบนิเวศน์

Co-learning การสื่อสารแลกเปลี่ยน แชร์ความรู้

Co-Invention คิดเรื่องใหม่ๆ

Co-Existence การอยู่ได้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

Formulating New Business model

Value preposition เราเป็นธุรกิจที่ให้ประโยชน์กับใคร และสอดคล้องกับช่วงเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

Value Constellation ชุดหรือกลุ่มของคุณค่าที่ต้องแชร์กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรา

Value Constellation สร้างชุดของคุณค่าและมูลค่า นำไปสู่โมเดลเรียกว่า

Social Business model

  • Value proposition
  • Social Profit equation
  • Value constellation
  • Economic profit equation

ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ (Kotter)

1. การกระตุ้นให้ผู้คนเคลื่อนไหวสร้างเป้าหมายจุดประสงค์ที่เป็นจริง ( Establishing a greater sense of urgency)

2. สร้างทีมงานที่เข้มแข็ง (Creating the guiding coalition) โดยการนำคนที่เหมาะสม มีความเชี่ยวชาญ มีอารมณ์ร่วมกับงานและมีความสามารถฝีมือที่จะเข้ามาทำงานที่ได้รับมอบหมาย

3. มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง (Developing a vision and strategy) นำพาทีมงานมาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน และควรที่จะตั้งมั่นบนความรู้สึกและสิ่งสร้างสรรค์เพื่อที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผล

4.การสื่อสารต้องมีการให้คนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด(Communicating the change vision) สื่อสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ใจความเข้าใจง่ายและตอบสนองความต้องการของผู้คน

5. ให้อำนาจในการตัดสินการกระทำ (Empowering others to act) โดยการกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวาง ต้องทำให้เกิดผลตอบรับและได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ ต้องมีผลตอบแทนเมื่อสำเร็จและการรับรู้ต่อความคืบหน้าและสิ่งที่ประสบผลสำเร็จ

6. ต้องสร้างชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่าย ต้องมีการเริ่มบริหารสิ่งใหม่ๆและต้องประสบผลสำเร็จให้ได้ระดับหนึ่งก่อนที่จะไปเริ่มทำสิ่งใหม่เป็นอันดับต่อไป

7. ต้องสร้างแรงบันดาลใจและมีความเพียรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง(Consolidating gains and producing even more change) มีการสนับสนุนให้ทำรายงานความก้าวหน้า

8. ต้องสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง ( Institutionalizing changes in the culture) ต้องมีการตอกย้ำค่านิยมของความสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงผู้นำใหม่ โดยการตอกย้ำการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมขององ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การบริหารงานให้สำเร็จควรต้องมีการติดตามและทบทวน และให้คำแนะนำ และการให้ขวัญกำลังใจ ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงทำให้ระบบการทำ KPI / Performance Management ไม่ได้ผล เนื่องจาก ยังคงมีระบบการเกรงใจ การรักษาหน้า และ การหลีกเลี่ยงการประจันหน้ากรณี กฟผ. ได้ใช้ KPI ประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงในการปฏิบัติงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง แต่กิจกรรมและตัวชี้วัดมักเป็นตัวชี้วัดที่ไม่ท้าทาย ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และ ผู้บริหารมักไม่ใช้ผลการประเมินประกอบการพิจารณาเลื่อนระดับและขึ้นเงินเดือน ทำให้พนักงานส่วนหนึ่งไม่เข้าใจและขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเปลี่ยนความคิด สิ่งสำคัญต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง คือ การเบื่อหน่าย ขาดความสามารถของผู้นำ และมักเป็นการวางแผนจากระดับบน โดยระดับล่างไม่เกี่ยว ทำให้ขาดการมีส่วนร่วม คนที่เป็น Mentor ต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ไม่ได้เป็นผู้นำในการทำงานเท่านั้น ต้องเป็นผู้นำทางจิตใจ

เพื่อให้คนของเราทำอะไรแตกต่างกันออกไปจากเดิมได้ สร้างความภาคภูมิใจ และสร้างความผูกพันของคนในองค์กร

การจะเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

ช่วงบ่ายวันที่ 29 เมย.2558

ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียง

- ปัจจุบันอยู่ในระบบทุนนิยม ซึ่งสนใจในเรื่อง ความรู้ กำลังอำนาจ และ เงิน โดยจะวัดผลจาก GDP แต่สิ่งนี้เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

- ทางสายกลางทำให้เกิดความยั่งยืนมีหลักการ 3 ประการคือ

1.พอประมาณ ต้องหาตัวตนและขีดความสามารถของตนเอง

2.มีเหตุผลและสติเป็นเครื่องนำทาง

3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีการบริหารความเสี่ยง

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 30 เมย.2558

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ในการเป็นประชาคมอาเซียน(AEC) ในสิ้นปี2558ปีนี้ประเทศไทยเราต้องมองให้ไกลไปข้างหน้าเป็นระยะเวลาที่นาน10 ปีขึ้นไป เพราะประเทศไทยเรายังอ่อนเรื่องภาษามากในกลุ่ม อาเซียน แรงงานของเรายังไม่เพียงพอขาดแรงงานพื้นฐานต้นทุนในการผลิตของเรามีราคาขายต่อหน่วยสูงกว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้เรามีตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว มาเลเซียอินโดนีเซียเวียดนาม มีการผลิตรถยนต์ส่งออกนอกเหมือนกันแต่จำนวนการผลิตจากหลายยี่ห้อของเรามากกว่าอุตสาหกรรมใหญ่ต้นน้ำเรามากแต่ถ้าเป็นมุมมองของกฟผ.ต้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเข้าประชาคมอาเซียน( AEC) ในสิ้นปี2558เราอยู่แบบเดิมไม่ได้แล้วเพราะเราพึ่งไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมากการนำเข้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าสูงเราจะยืนอยู่ไม่ได้ถ้าเราไม่อาจสร้างทางเลือกอื่นๆในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในประเทศเราบอกว่าเราเก่งเรื่องผลิตไฟฟ้าเข้าไปยังเพื่อนบ้านทำCSRให้เขาเป็นCSRin processเช่น ทำโครงการประหยัดพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน ของ DSMการสร้างโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตไฟฟ้าในเมืองใหญ่บางครั้งไม่คุ้มแต่ได้ใจเพราะในอนาคตจะเหมือนบ้านเราเมื่อเราทำดีเพื่อเขาการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้ง่ายส่งมาขายบ้านเราหรือทำ อาเซียน GRIDประเทศในภูมิภาคย้ายไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่อยู่ในช่วง PEAKของเขามาใช้ในบ้านเราในช่วงON PEAKก็ทำได้นี่เป็นโครงการหนึ่งที่น่าสนใจ

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ปัจจุบันโลกเริ่มมีปัญหาเรื่องพลังงาน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น จากสงครามกลางเมือง และ กลุ่ม IS อีกทั้งเศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนัก กฟผ. จะมีโอกาสพัฒนาระบบส่ง รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศ กฟผ. ต้องเพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสะอาดสีเขียวและเชื่อมโยงชุมชน เน้นการสื่อสารข้อมูลกับประชาชน เพราะปัจจุบันยังคงมีปัญหาของการสื่อสารภาครัฐกับประชาชน ในปัจจุบัน ต้องใช้วิธีสื่อสารที่สามารถสร้างความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน เพราะความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก การเข้าไปศึกษาปัญหาของชาวบ้านและชุมชน และเสนอแนะให้ชุมชนหาวิธีแก้ปัญหาได้เอง โดย กฟผ. เป็นฝ่ายสนับสนุน เมื่อชุมชนเข้าใจเจตนาดีและมีความไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้ว กฟผ. จึงเริ่มชี้แจงเสนอโครงการให้ชุมชนร่วมกันพัฒนากับ กฟผ.แสดงให้เห็นว่า ชุมชนและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน จะได้ตัวอย่างที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆต่อไป

บ่าย วันที่ 30 เมย.2558

ศึกษาดูงานที่ C-asean Center โดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์

"C-ASEAN" ยุทธศาสตร์ ใหม่ ซึ่งกลุ่มไทยเบฟฯ ประกาศจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น "อาเซียน" ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทั้ง Online และ Offline เนื่องจากศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษา สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยมี เจตนารมณ์ที่แสดงไว้ในพันธกิจหลักของศูนย์

เจ้าของไอเดียมาจากคุณฐาปนะ และคุณพิเชษฐ์ มีแนวคิดคือศูนย์อาเซียน และมีโอกาสได้ร่วมคิดในกระบวนการ และมีการพัฒนา มี focus group ขึ้นเรื่อยๆ ทางผู้ก่อตั้งไม่ได้อยากเป็นเจ้าของคนเดียวโมเดลนี้สำเร็จได้ต้องมีคนที่มี passion ในเรื่องเดียวกัน

10 ประเทศ อาเซียน คือ Base ของ C ASEAN 10 ปี หลังจากนี้ตั้งเป้าให้เป็น C ASEAN ของอาเซียน

มีขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้

  • ร่วมมือกันและมีเครือข่าย
  • ให้และได้รับ
  • ข้อตกลงและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • การพัฒนาตนเอง

Flagship Project-Startup Runway มี 3 ขั้นตอน

  • คิดเองให้ได้
  • ทำเองให้ได้ มีการจัดการ
  • ขายได้ด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ

Startup Runway เน้นเรื่องธุรกิจ

C ASEAN Academy สิ่งที่เห็นเหมือนกันคือ การมี passion ของคนที่อยากจะเรียนรู้

ทักษะการเรียนรู้ ทักษะของการคิดเป็นระบบ

มีการเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรม

อะไรที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็จะสอนที่นี่ให้หมด ทั้ง online และ Offline

CAF เกิดจากการรวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆกัน ตั้งส่วนของการวิเคราะห์

Crowdfunding platform มีการทำมานานแล้วตั้งแต่อดีต

เป็นการช่วยระดมทุน ไม่จำเป็นต้องง้อระบบธนาคาร มีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะสามารถเข้าถึงเงิน ตลาด ได้

ASEAN Innovation week จุดเริ่มคืออยากสร้างอะไรให้กับประเทศไทย

Intelligence Center ให้กับศูนย์ C-ASEAN ทำวิจัยในส่วนที่คนอยากรู้ เพื่อพยากรณ์ในอนาคต ประกอบด้วย ห้องสมุดแบบสาธารณะ DATABASE ต่างๆ

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 29-30 เมษายน 2558

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • CSR( Corporate Social Responsibilities ) และเปลี่ยนเป็น CSV (Creating Shared Value)
  • สำคัญคือการปรับตัว แต่องค์กรที่ใหญ่และโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง.
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • การสร้างความผูกพันกับองค์กร แต่ปัญหาคือ หัวหน้าไม่เคยดูแลลูกน้อง ไม่เคยใช้กระบวนการการเป็นพี่เลี้ยง การให้ feedback ต่างๆ เพราะคนไทยยังติดอยู่กับ การเกรงใจ รักษาหน้า
  • การใช้วิธีโค้ช
  • ระบบ performance management เป็นระบบที่สำคัญมาก จะเป็นระบบที่พัฒนาคนในองค์กรที่จะให้สำเร็จตาม KPI
  • ความผูกพัน หากหัวหน้าสามารถคุยกับลูกน้องทุกเรื่อง จะเกิดการผูกพันเอง

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • ต้องทำนายอนาคตล่วงหน้า โดยบางคนเห็นกิ่งสามารถทำนาย ผล /บางคนเห็นลำต้น สามารถทำนายกิ่ง ทำนายผล /บางคนเห็นเมล็ด สามารถทำนายผลได้

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ความต้องการพลังงานของอาเซียนปี 2578

IEA ประเมินว่าในปี 2578 (อีก 22 ปี) ภูมิภาคอาเซียนจะใช้พลังงานเพิ่ม 80%

ความต้องการถ่านหินก็จะเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว -สัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 50%

-ทำให้อาเซียนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานพุ่งขึ้นสูง

ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

ผลกระทบ

  • เศรษฐกิจไม่ดี การขยายตัวของความต้องการไฟฟ้าต่ำกว่าแผน (PDP 2015)
  • -ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • -ต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น
  • -การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง (ถ่านหิน/นิวเคลียร์) ถูกต่อต้านหนัก

โอกาส

  • พัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่าย รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน
  • เพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสีเขียว
  • การสื่อสารข้อมูลกับประชาชน ความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเขามีส่วนร่วม (Participation) ตั้งแต่แรก จุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ดี คือ การเข้าไปศึกษาปัญหาของชาวบ้านและชุมชน และแนะให้เขาหาวิธีแก้ปัญหาของเขาเอง โดยเราเป็นฝ่ายสนับสนุน

29 เมษายน 2558

หนังสือ The Samsung Way ทำให้เห็นแนวคิดของประธาน Lee Kun Way ที่ผ่านการเรียนรู้และการทำงานในแบบญี่ปุ่น ตะวันตก และเกาหลีตั้งแต่การศึกษาถึงการทำงาน ได้กำหนดวิสัยทัศน์เปลี่ยนจาก Local เป็น World-class Corporationนำ talent มาจากต่างประเทศและทำงานร่วมกัน

เดิมนั้นบริษัท Samsung เป็นบริษัทเกาหลีธรรมดาบริษัทหนึ่ง ยิ่งเวลาผ่านไป Samsung ค้นพบว่าตนเองเป็นบริษัทที่ขาดพัฒนาการ และ Inward-looking เป็นผลให้ Output ของบริษัทเป็นสินค้าพื้นๆ ไม่มีอะไรน่าตี่นเต้น เมื่อสินค้าไม่มีความแตกต่าง Samsung ก็ต้องอยู่ในเกมของการต่อสู้กันที่ราคา ทำให้กำไรของสินค้าต่อชิ้นน้อยมาก

ปี 1993 คือปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Samsung ประธานบริษัท Lee Kun-Hee ตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางในการทำธุรกิจจากการเป็นบริษัทท้องถิ่น เขาต้องการให้ Samsung กลายมาเป็นบริษัทระดับโลก

-นำผู้บริหารจากโลกตะวันตกเข้ามาทำงานในบริษัท เปลี่ยนวิธีการในการบริหารงานบุคคล

-เดิมที่เคยให้ความสำคัญกับคำว่า “ระบบอาวุโส” มาเน้นที่ “ฝีมือและคุณภาพ” ของพนักงาน ดังนั้นการขึ้นเงินเดือน การปรับตำแหน่ง จะอยู่ที่คุณภาพมากกว่าคำว่า Seniority

-ยกเลิกระบบ Life time employment พูดง่ายๆ ก็คือถ้าใครฝีมือไม่ดี มีสิทธิกลับไปนอนเล่นที่บ้าน

-ลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาลในเรื่อง Research & Development เพื่อยกระดับตัวเองให้กลายมาเป็นบริษัทระดับโลก

หากอนาคตข้างหน้า กฟผ.จะต้องขยายธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าและอื่นๆเข้าไปในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

โดยผ่านทางกลุ่มบริษัทลูกในเครือ ควรยึดเอาแนวคิดหรือระบบบริหารของ Samsung มาปรับใช้ประโยชน์

ได้แก่ แนวคิดเรื่อง Core Talent ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพาองค์กรไปในระดับโลก การ recruit foreign geniuses ในประเทศเพื่อนบ้านรวมถึง ระบบ Talent management system Corporate Strategy Office หรือ Control Tower และเป็นที่ปรึกษา และวางแผนยุทธศาสตร์ให้แก่องค์กร

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือ รู้ เห็น และเลือกทำสิ่งใหม่ที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

HYBRID Enterprise เน้นการปรับตัว ดำเนินธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการบริหารสังคมให้เก่งด้วย เพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน โดยมีการเปลี่ยน CSR ( Corporate Social Responsibilities ) เป็น CSV (Creating Shared Value)

Value Creating System (Value Constellation)

Co-Value creation

Co-dependency and co-evolution

Co-learning

Co-Invention

Co-Existence

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

-การสร้างความผูกพันกับองค์กร แต่ปัญหาคือ หัวหน้าไม่เคยใช้กระบวนการการเป็นพี่เลี้ยง การให้ feedback ต่างๆ เพราะคนไทยยังติดอยู่กับการเกรงใจ รักษาหน้า

-ระบบ performance management เป็นระบบที่พัฒนาคนในองค์กรที่จะให้สำเร็จตาม KPI

ปัญหาของการเปลี่ยนแปลง

1. อุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง

2. องค์กรยังขาดความสามารถ

3. การเปลี่ยนแปลงมักจะเกี่ยวข้องกับคนระดับสูง แล้วคนระดับล่างๆไม่ทราบเรื่อง

คนที่เป็น Mentor ต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี และเป็นผู้นำทางจิตใจ เพื่อให้คนของเราทำอะไรแตกต่างกันออกไปจากเดิมได้ สร้างความภาคภูมิใจ สร้างความผูกพันของคนในองค์กร การจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

หัวข้อ ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย ดร สุเมธ ตันติเวชกุล

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน" เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้หมายถึงการไม่มุ่งในความมั่งคั่งร่ำรวย แต่หมายถึงมีความยั่งยืนต่อเนื่องปัญหาของโลก คือ การบริโภคที่เกินพอดี เรียกว่า บริโภคนิยม จึงควรเน้นทางสายกลาง คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อันจะนำไปสู่การมีชีวิต มีเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ระบบทุนนิยม สนใจในเรื่อง ความรู้ กำลังอำนาจ และ เงิน โดยจะวัดผลจาก GDP แต่เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต อาศัยความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรม เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองและส่งเสริมหลักธรรมภิบาล

30 เมษายน 2558

หัวข้อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ต้องสามารถทำนายอนาคตล่วงหน้า โดยใช้ทฤษฎี Game theory ซึ่งสอนวิธีวิเคราะห์

เรื่องAEC ควรจะเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อปี 2003 ถ้าเป็นประเทศที่มองการณ์ไกล

แต่สำหรับประเทศไทยเพิ่งเริ่มจะตระหนักว่าจะเข้า AEC เมื่อ ปี 2010

AEC Objectives

1. Common Market and Production Base

2. Competitiveness Enhancement

3. Equitable Development

4. Global Integration

มาเลเซีย จะพัฒนาประเทศ ไม่เน้นเรื่องแรงงาน แต่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับล่างและกลาง ทำเรื่องเคมี ขนส่ง อุตสาหกรรม เน้นเรื่องพลังงาน IT จะไม่ปลูกยางพารา แต่เน้นน้ำมันปาล์ม เน้นผลผลิต Manufacture

สิงคโปร์

ตอนปี 1992 ปรับแผน 2 เพื่อเป็นผู้นำอาเซียน เน้นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ย้ายฐานไปประเทศจีน ที่ค่าแรงต่ำ เอาความได้เปรียบไปหารายได้ที่บังกะลอร์ ที่อินโดนีเซีย ที่จีน ทำโรงกลั่น ช่วยเวียดนาม ไปที่กัมพูชาสร้างสนามบิน

ถ้าเราไม่ปรับตัวเข้าสู่อนาคตเศรษฐกิจก็อยู่ไม่ได้ เช่น น้ำมันปาล์ม

คนไทยมีจุดอ่อน คือจับประเด็นไม่เก่ง ไม่สามารถนำประเด็นมาใช้ในงาน อ่านทางไม่เก่ง

ปี 1995 เวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิก สามารถทำนายอนาคตของไทยได้เลยว่าข้าวไทยจะเจ๊ง

สินค้าบางอย่างจะเจ๊ง คือ น้ำมันปาล์มเพราะต้นทุนแพงกว่ามาเลเซีย

เขตการค้าเสรี จะทำให้ทุกคนมาลงทุนในอาเซียนอย่างไม่เคยมีมาก่อน

วิถีชีวิตของคนไทยจะเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการทานอาหารต่างชาติมาก ให้แรงงานที่ทำงานธุรกิจท่องเที่ยวเข้ามาทำงานได้ ในอนาคตทำนายได้ว่าต้องมีการเปิดเสรีแรงงานท่องเที่ยว

จีนทะเลาะญี่ปุ่นเรื่องความมั่นคง อีก 10 ปีข้างหน้าจะได้เห็น ประชาคมเอเชียตะวันออก

กฟผ.ต้องต่อยอดไปให้ได้ มองถึงผลกระทบและโอกาสในการปรับเปลี่ยน เพื่อให้อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ปัจจัยพื้นฐาน มีความต้องการน้ำมันมาก มีการเติบโตขึ้นทุกปี แต่เติบโตที่อัตราที่ลดน้อยลง ประเทศไทย 2013 มีอัตราลดลงจนติดลบความต้องการน้ำมันจะขยายตัวมาในแถบอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและอินเดีย

การเติบโตเรื่องพลังงานจะต้องดูเอเชีย และอาเซียนเป็นหลัก ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน 2000-2014 หลายประเทศมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีขึ้น ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยและเมียนมาร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น กฟผ. จะมีโอกาสพัฒนาระบบส่ง รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน เชื่อมต่อระบบสายส่งระหว่างประเทศ กฟผ. ต้องเพิ่มบทบาทผู้ผลิตพลังงานสะอาดและเชื่อมโยงชุมชน

ศึกษาดูงานที่ C-asean centerโดย ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์

C ASEAN เกิดจากภาคเอกชน ดำเนินการเพื่อสร้างเสริมการพัฒนาในภูมิภาค เตรียมความพร้อมสำหรับการให้เด็กไทยสามารถเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีได้ในอนาคต เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเรียนรู้ เพิ่มทักษะการเรียนรู้ การคิดเป็นระบบ ให้มีการเรียนรู้เรื่องศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรม และผู้ที่มีความฝันอยากทำธุรกิจ และเป็นกลไกของการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ นอกจากเด็กไทยแล้วยังส่งเสริมเด็ก ASEAN สร้าง Platform ในการเชื่อมโยง 10 ประเทศ อาเซียน คือ Base ของ C ASEAN 10 ปี หลังจากนี้ตั้งเป้าให้เป็น C ASEAN ของอาเซียน

Flagship Project-Startup Runway –คิดเองให้ได้-ทำเองให้ได้ มีการจัดการ -ขายได้ด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ

Startup Runway เน้นเรื่องธุรกิจ

C ASEAN Academy การมี passion ของคนที่อยากจะเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ ทักษะของการคิดเป็นระบบ มีการเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรม เป็นการช่วยระดมทุน ให้สามารถเข้าถึงเงินลงทุนทำธุรกิจ

Intelligence Center ให้กับศูนย์ C-ASEAN ทำวิจัยในส่วนที่คนอยากรู้ เพื่อพยากรณ์ในอนาคต ประกอบด้วย ห้องสมุดแบบสาธารณะ DATABASE ต่างๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท