นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี งบประมาณ 2550


ศ.ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายและการนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ๕ ประเด็นหลัก
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี งบประมาณ 2550ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  มีนโยบายและการนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ๕ ประเด็นหลักได้แก่ 1. เรื่องคุณธรรมนำความรู้   เน้นเรื่องการปรับปรุงหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการพัฒนาครู คณาจารย์ ที่จะสอดคล้องกับหลักการคุณธรรมนำความรู้ ที่สำคัญท่านได้นำเสนอการสร้างเครือข่ายคุณธรรมในทุกพื้นที่โดยเริ่มจากเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากอดีตคือบ้าน วัด โรงเรียน และขยายไปสู่องค์กรอื่นๆ ตามลำดับ ทั้งนี้ จะมีการหารือระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติร่วมกัน                 2. เรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษา เน้นบทบาทความรับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่จะต้องดูแล และแสวงหาแนวทางที่จะดูแลให้เด็กและเยาวชนในวัยการศึกษาภาคบังคับได้เข้าเรียนทุกคน โดยจะต้องสำรวจล่วงหน้าและจัดสรรโอกาส ซึ่งเป็นงานที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบดีอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร จึงได้ย้ำเตือนถึงพันธกิจที่สำคัญนี้  จะพยายามผลักดันให้การศึกษาเป็นการศึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง โดยท่านได้เสนอขอปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในทุกระดับ และเพิ่มให้โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีว่าจะเพิ่มในปีเดียวหรือสองปี ท่านยังได้กล่าวถึง การยกระดับการศึกษาของประชากรนอกโรงเรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถมีบทบาทในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วย 3. เรื่องคุณภาพ เน้นเรื่องการปรับการเรียนเปลี่ยน การสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยเฉพาะในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ รวมทั้ง การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู การนำเทคโนโลยีมาเสริมประสิทธิภาพการเรียน การสอน 4. เรื่องการกระจายอำนาจ  เร่งให้จัดทำกฎกระทรวงว่าด้วย การกระจายอำนาจให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ เปิดศูนย์ฝึกอบรมทั่วประเทศ และการมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดระบบบริหารโรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อม นโยบายการกระจายอำนาจ และเสริมความเข้มแข็งนี้จะครอบคลุมถึงสถาบันอาชีวศึกษา และ สถาบันอุดมศึกษาที่จะสนับสนุนให้ออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ให้มากขึ้น 5. เรื่องการมีส่วนร่วม เน้นการมีส่วนร่วมของ กลุ่มต่างๆ ได้แก่ สมาคมผู้ปกครองและครู องค์กรนักเรียนนักศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จะต้องมี การหารือเรื่องบทบาท องค์ประกอบของคณะกรรมการ ตลอดจนการพัฒนาให้มี ความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังย้ำเรื่อง การดูแลสถานศึกษาเอกชนและไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น จะเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดเอง เช่น ที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549  จะมีการหารือร่วมกันว่าในพื้นที่ที่ขาดโรงเรียน กรุงเทพมหานครจะช่วยสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นอย่างไร ร่วมกันจัดอย่างที่หลายๆจังหวัดได้ทำ MOU ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ อบจ.อุบลราชธานี และโรงเรียนมัธยมศึกษานับสิบแห่ง ก็จะทำข้อตกลงเชิงวิชาการกัน ท่านรัฐมนตรีฯ เรียกวิธีการนี้ว่า สหหกิจ เพื่อให้ต่างจาก สหการ ที่องค์กรปกครองท้องถิ่นใช้เรียกการรวมกลุ่มกันเองเพื่อดำเนินงาน และท้ายสุดจึงใช้วิธีการถ่ายโอน ซึ่งในปีนี้ได้หารือร่วมกันว่า จะถ่ายโอนโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ความพร้อมในบัญชีที่ 1 ไป ส่วนบัญชีที่ 2 นำไปสมทบกับการพิจารณาในปีนี้ ซึ่งทราบว่า จะหมดกำหนดในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549   
คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 58939เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท