ว่าด้วยทักษะ "Critical Thinking" ในทักษะศตวรรษที่ 21 (2)


คำว่า "ทักษะศตวรรษที่ 21" เป็นวาทกรรมที่ผลิตโดย บริษัทเอกชนแห่งระบบทุนนิยมใหม่
ได้แก่ พวกไมโครซอฟท์ บริษัท แอปเปิล และภาคีนอกเครือข่ายการศึกษา ที่เรียกว่า P21
ถ้าเป็นคนไทยก็จะประมาณท่านเจ้าสัวบรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่และทรงอิทธิพลมากที่สุดเมื่อ
ท่านนั้นได้แสดงวิสัยทัศน์หรือวาทกรรมออกมา คนก็มักจะจับได้ว่าท่านซ่อน "ไต๋" อะไรไว้
ในวาทกรรมนั้น บริษัททุนนิยมใหม่แห่งอเมริกานั้นสร้างวาทกรรมชุดนี้ มาเพื่ออะไร ?

ประการแรก ขอเรียกวาทกรรมชุดนี้ว่าวาทกรรม "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" มีที่มาจากไหนก็มา
จากเจ้าสัวบริษัทเอกชนทุนนิยมใหม่ทั้งสองคน เมื่อเรียนจบไฮสคูล แล้วเป็นเด็กแนวที่ไม่เข้า
มหาวิทยาลัย แต่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเป็นของตัวเอง จนร่ำรวยมาจากนวัตกรรม
ของตัวเอง มาจากทักษะการพัฒนาที่เป็นตัวของเขาเอง การตั้งวาทกรรมชุดนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะ
มีนัยยะว่า "การศึกษาที่ผ่านมาผิดพลาดอย่างมหันต์" ดังนั้นจึงนำเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ ๆ
ที่เน้นไปที่ "ทักษะที่ฝึกด้วยตัวเองได้ตลอดชีวิต" ดังเช่นสองเกลอได้เดินทางมาก่อนแล้ว
ในวาทกรรมที่เขาสร้างและแสดงขึ้นมาเอง นั่นคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต และในวาทกรรมของ
ท่านผู้นำของไมโครซอฟ เคยสัพยอกเพื่อนคนหนึ่งที่เรียนได้เกรดดี แต่สุดท้ายต้องมาเป็น
พนักงานของเขาซึ่งตัวเขาก็ไม่ได้จบปริญญาอะไรเลย

ประการที่สอง วาทกรรม "ทักษะศตวรรษที่ 21" มุ่งเป้าหมายไปที่การฝึกหัดคนในระบบทุนนิยมใหม่
ให้เป็นพนักงาน หรือ ฝึกหัดคนให้สามารถสร้างงานแข่งขันกับนายทุนแห่งระบบทุนนิยมใหม่ กันแน่
เมื่อถอดรหัสแห่งสาระที่ต้องการฝึก "นักเรียน" ซึ่งถึงแม้จะเปลี่ยนเป็นทักษะศตวรรษที่ 21 แล้วแต่ว่า
เหล่าวัฒนธรรมแห่งโรงเรียนของรัฐไม่ได้เปลี่ยนตาม ยังคงเป็นวัฒนธรรมแห่งโรงงานในศตวรรษที่ 19
ที่มุ่งหวังสร้างคนให้เป็นพนักงานในโรงงานแบบเดิม ที่มีสมรรถภาพแบบใหม่แต่ใจอยู่ในศตวรรษที่ 19
เพื่อรอการจ้างงานจากไมโครซอฟท์ แอปเปิล กูเกิล เพื่อเป็นพนักงานที่ดี ในอุตสาหกรรมทุนนิยมใหม่
สิ่งที่ยังคงค้างคาเอาไว้หรือ "ซ่อน" ไว้ในวัฒนธรรมที่เป็นบริโภคนิยมที่ดี จงรักภักดีต่อ "ระบบทุนนิยม"
ข้อเสนอของสองเกลอจึงไม่ออกมาในทำนองที่ว่า ต้องลาออกและปฏิเสธระบบการศึกษา ซึ่งนำมาซึ่ง
นวัตกรรมสร้างสรรค์อันเอกอุ เพราะเขาเห็นว่าถ้านำเสนอเช่นนี้แล้วจะขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองไม่ออก
ซึ่งตลาดส่วนใหญ่ของเขาในอนาคตอยู่ในฐานการศึกษา แถมยังจะเพิ่มคู่แข่งใหม่ที่มีความเข้มแข็งเข้มข้น
การมุ่งไปที่นักเรียน ย่อมเล็งเห็นแรงงานที่เขาต้องการใช้ เป็นไปตามที่เขาต้องการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า

ประการที่สาม การทำการศึกษาให้เป็นการค้าเป็นผลมาจาก "ทักษะศตวรรษที่ 21" ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จาก
คอมพิวเตอร์ทางการวัดผลประเมินผล จากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่กินรวบได้ตั้งแต่ โปรแกรมผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี
การเรียนรู้3 R ได้แก่ Reading , (Writing) และ (Arithmetic) และ ผลิตภัณฑ์การสื่อสารการตลาดทั้ง 4 C
Critical Thinking Communication Collaboration Creativity ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะขายตรงด้าน
สารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ นี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ออกแบบ
ระบบการศึกษาจะได้ผลประโยชน์ในระดับโลก ซึ่งก็ไม่แปลกใจอะไรที่ใครคิดตั้งองค์กรแบบไหนขึ้นมาก็ต้อง
หาประโยชน์มหาศาลจากระบบ นั่นคือเหตุผลที่ผู้นำแห่งนวัตกรรม ไม่นำเสนอให้ลาออกจากมหาวิทยาลัย
เพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างที่ตัวเองสร้างนวัตกรรมที่พิสูจน์ตัวเองได้ เนื่องจากระบบทุนนิยมมีเป้าหมายเพื่อ
กำไร อาจจะมีแบ่งผลประโยชน์เศษ ๆ เพื่อมนุษย์บ้าง แต่ก็เป็นแค่ข้ออ้าง หรือเป้าหลอก ส่วนเป้าจริงเขา
เตรียมรับทรัพย์และขายนวัตกรรมอันมีลิขสิทธิ์นี้ ไปทั่วโลก นายหน้าที่เอามาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ก่อน
ก็สิทธิ์ได้เปอร์เซ็นต์จากการขายตามระบบ นอกจากนั้นแล้วยังพัฒนาการตลาดแหล่งวิชา มหาวิทยาลัยที่
มีทักษะศตวรรษที่ 21 รอคนต่างชาติรวมทั้งสารขัณฑ์ประเทศเอาเงินจ่ายให้ไปท่องจำวิชาเอามา เพื่อขยาย
การตลาดให้กว้างไกลมากขึ้น ตลอดจนตลาดการ training

กลับมาที่ "Critical Thinking" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ทักษะศตวรรษที่ 21" ว่า จะมีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด
หรือจะถูกตัดต่อแปลงพันธุกรรมได้แค่ไหน ความจริงดูได้จากการแปล การแปลเป็นการสร้างความหมายอย่างหนึ่ง
ตามที่ตนเข้าใจด้วยบริบทและความรู้เดิมของแต่ละคน ทีนี้เอาแค่สติปัญญาที่เป็นแค่สามัญสำนึกด้วยการตั้งคำถาม
ที่ว่า "ถ้าจะพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพอย่างแท้จริงควรใช้ "Critical Thinking" แบบไหน ?

ประเภทที่หนึ่ง "Radical Critical Thinking" แบบถอนรากถอนโคน หรือ Deconstruction หมายความถึงการวิพากษ์
ในทุกเรื่องที่เรียกว่าความรู้ อำนาจ สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะถอดรหัส การแยกออกเป็นส่วน ๆ การเชื่อมโยงใหม่
และยังสังเคราะห์เรื่องนั้น ๆ เป็นข้อเสนอ ทางออก (reconstruction) เสร็จพร้อมในคราวเดียวกัน

ประเภทที่สอง "Technical Critical Thinking" การคิดวิพากษ์แบบนี้ เป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะวิชา หรือพวกที่ถือความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านเช่นทางด้านการศึกษากระแสหลัก ก็จะเป็นเทคนิควิพากษ์หลักสูตร การวิพากษ์วิธีการประเมิน การวิพากษ์การสอน
ซึ่งลึกลงไปในแต่ละด้าน แยกส่วน และทำให้มองไม่เห็นตัวระบบใหญ่ที่บกพร่องมีช่องโหว่ มีผลประโยชน์ที่ดำรงอยู่

ประเภทที่สาม " Ritual Critical Thinking" แบบขอให้มีเป็นรูปแบบไว้สักนิด แกล้งลืม หรือไม่เห็นความสำคัญ เช่นเดียว
กับพิธีกรรมที่จะต้องนำเสนอไว้ เพื่อความเป็นวิชาการ เพราะมันอันตรายต่อข้อเสนอทั้งหลาย แต่ถ้าไม่มีเลยก็เป็นสัญญะ
ว่าข้อเสนอต่าง ๆ ทำงานวิชาการได้ไม่สมบูรณ์แบบ จึงต้องคงมีรูปแบบเอาไว้ แต่ไม่มีเนื้อหาเหลืออยู่เลย

แล้วคำถามจึงมีว่า "แล้วจริง ๆ แล้วมนุษย์ในศตวรรษที่ 21จะใช้ทักษะการวิพากษ์ในระดับไหน?" คำตอบอยู่ที่วัฒนธรรม
และรูปการณ์จิตสำนึกของเราเป็นแบบไหน ถ้าระบบสำนึกของเราเป็นเสรีนิยม ก็สามารถเลือกใช้ได้ถึงระดับสูงสุดคือ Radical
แต่ถ้าวัฒนธรรมเราอยู่ภายใต้อำนาจนิยม เราก็สามารถเลือกได้ถึงระดับสูงสุดเหมือนกัน ก็คือ มีเสรีภาพและความรับผิดชอบ
เพราะโลกเราห่อหุ้มไปด้วยมายาคติ อคติทางเชือชาติ ชาติพันธุ์ เพศ ศาสนา ชนชั้นทางเศรษฐกิจสังคม และข้อมูลข่าวสาร
จำนวนมหาศาล หากเราไม่สามารถจะใช้แนวคิดในการวิพากษ์แบบถอนรากถอนโคน เราก็ไม่อาจทำลายมายาคติ และอคติ
ทั้งหลาย ที่ดูแนบเนียนเป็นธรรมชาติ


คำสำคัญ (Tags): #คิดวิพากษ์
หมายเลขบันทึก: 589239เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท