เรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพ


เรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพของประเทศรวันดา ได้ใช้ของเสีย (อุจจาระ) ของนักโทษในเรือนจำผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) มาใช้เป็นพลังงานสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารสำหรับนักโทษ ใช้เป็นกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่าง ในเรือนจำ 14 แห่งของประเทศ มีการใช้ก๊าซชีวภาพ ร้อยละ 75 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าพลังงานได้ถึงร้อยละ 85 คิดเป็นเงินเท่ากับ 8,500 ล้านฟรังก์รวันดาต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 39,012,078 บาท ......


เรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.


บ่อก๊าซชีวภาพ (Biogas) ของเรือนจำรวันดา


ในปัจจุบันเรือนจำในประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดในการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยเฉพาะการนำพลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas) มาใช้เป็นพลังงานทดแทน สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร ใช้เป็นกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่างในเรือนจำ เช่น ประเทศรวันดา เคนยา อินเดีย ฟิลิปินส์ ที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามา มีส่วนร่วมโดยทั้งรวันดา เคนยา อินเดีย ฟิลิปินส์ ดำเนินงานโดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดสากล International Committee of the Red Cross (ICRC) สำหรับเรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพที่นำ มาเสนอในบทความนี้ ได้แก่ เรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพของประเทศรวันดา ข้อมูลจากเว็บไซต์ http ://www.icrc.org/eng/resources/documents/feature/2010/... และเว็บไซต์ http://www.rwandaenergy.com/2012/01/rwanda-prisons-save-8500000000-rfrs-annually -due-to-biogas/ ได้กล่าวถึงเรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพของประเทศรวันดา สรุปความได้ว่า "ของเสีย (อุจจาระ) ของนักโทษในเรือนจำประเทศรวันดากลายเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยพลังงานทันที ที่ได้ถูกดัดแปลงเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ที่ติดไฟได้หรือก๊าซมีเทนมาใช้เป็นพลังงานสำหรับ ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการปรุงอาหารสำหรับนักโทษ ใช้เป็นกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่าง ในเรือนจำ 14 แห่งของประเทศ มีการใช้ก๊าซชีวภาพ ร้อยละ 75 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าพลังงานได้ถึงร้อยละ 85 คิดเป็นเงินเท่ากับ 8,500 ล้านฟรังก์รวันดา" โดยจักได้กล่าวถึง ความเป็นมา แนวคิด ลักษณะก๊าซชีวภาพ และผลการดำเนินงานโดยสังเขปตามลำดับ ดังนี้


นักโทษและเจ้าหน้าที่เรือนจำรวันดา


Ø ความเป็นมา

โครงการพลังงานก๊าซชีวภาพของประเทศรวันดา เป็นโครงการพลังงานทางเลือกที่สามารถช่วยลดการใช้ฟืนและรักษาไว้ซึ่งป่าไม้ของประเทศ เริ่มดำเนินงานในปี 2005 โดยคณะกรรมการกาชาดสากล (ICRC) ร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการจัดการคิกาลี (KIST) กระทรวงมหาดไทยและเรือนจำแห่งชาติรวันดา ถึงปัจจุบัน (ปี 2011) การก่อสร้างระบบการผลิตก๊าซชีวภาพในเรือนจำแห่งชาติ ของประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้ง 14 เรือนจำ


บ่อก๊าซชีวภาพ (Biogas) ของเรือนจำรวันดา


Ø แนวคิดในการดำเนินงาน

การดำเนินงานติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพของเรือนจำในประเทศรวันดา ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน และแนวคิด ในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน (คณะกรรมการกาชาดสากล) เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน การให้ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ในการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการใช้งานก๊าซชีวภาพแก่หน่วยงานและนักโทษ ในเรือนจำรวันดา

Ø ลักษณะของก๊าซชีวภาพ

ก๊าซชีวภาพ เป็นระบบที่ใช้แบคทีเรียสลายสารอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ ของเสีย (อุจจาระ) หรือเศษอาหารของมนุษย์ ในการผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นส่วนผสมของก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และ สารตกค้างกึ่งของแข็ง ก๊าซชีวภาพสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการปรุงอาหาร แสงสว่างหรือการผลิตกระแสไฟฟ้า การใช้ก๊าซชีวภาพสามารถประหยัดแรงงานในการจัดหาไม้ฟืนสำหรับการปรุงอาหาร ลดควัน ที่เป็นอันตรายในเรือนจำ ลดการตัดไม้ทำลายป่า และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้นการติดตั้งโรงงานก๊าซชีวภาพ ยังมีส่วนช่วยให้สามารถปรับปรุงระบบการสุขาภิบาลให้สะมีความสะอาดเพิ่มขึ้น ส่วนที่เหลือจะใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยที่ปราศจากกลิ่นสำหรับสวนในเรือนจำ


โครงสร้างระบบบ่อก๊าซชีวภาพ (Biogas) ของเรือนจำรวันดา


สารอินทรีย์จากของเสียของผู้ต้องขังเรือนจำรวันดา


สารอินทรีย์มูลวัวสำหรับใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเรือนจำรวันดา


Ø ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานติดตั้งระบบระบบก๊าซชีวภาพของเรือนจำแห่งชาติ 14 แห่ง ในประเทศรวันดาเริ่มต้นในปี 2005 แล้วเสร็จในปี 2011 สามารถใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร ใช้เป็นกระแสไฟฟ้า ให้แสงสว่างในเรือนจำ ช่วยให้พื้นที่ในเรือนจำมีความสะอาดเพิ่มขึ้น กลิ่นหายไป แมลงวันลดน้อยลง สามารถ ลดปริมาณการใช้ไม้ฟืนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ลดการทำลายป่าไม้ ทำให้นักโทษประมาณ 68,000 คน มีสภาพความเป็นอยู่ สุขอนามัย และสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพ ของรวันดายังได้รับรางวัล Ashdenพร้อมเงินรางวัลมูลค่าประมาณ 50,000 ดอลล่าร์ เป็นรางวัลสำหรับ การใช้พลังงานที่ยั่งยืนมอบโดยองค์กรการกุศลส่งเสริมเทคโนโลยีสีเขียวของประเทศอังกฤษ และยังได้ชื่อว่าเป็นเรือนจำระบบก๊าซชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก


การหุงต้มอาหารนักโทษโดยใช้ไม้ฟืนในเรือนจำรวันดา ก่อนปี 2013


การใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารสำหรับนักโทษ


โดยสรุป การผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในเรือนจำประเทศรวันดาเป็นการดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับคณะกรรมการกาชาดสากล โดยใช้สารอินทรีย์จากของเสีย (อุจจาระ) ของนักโทษ ประมาณ 68,000 คน เป็นส่วนใหญ่ (บางส่วนใช้สารอินทรีย์จากมูลวัวจากฟาร์ม ของเรือนจำ) สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas) มาใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารสำหรับนักโทษ ใช้เป็นกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่าง ในเรือนจำของประเทศร้อยละ 75 ของความต้องการ ใช้พลังงานทั้งหมด สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าพลังงานได้ถึงร้อยละ 85 คิดเป็นเงินเท่ากับ 850,000,000 ฟรังก์รวันดาต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 39,012,078 บาท เมื่อลองคิดเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทยที่มีนักโทษสูงถึง 268,095 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2556) ถ้าเราจะผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ จากของเสีย (อุจจาระ) ของนักโทษก็จะสามารถผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพได้มากกว่าประเทศรวันดา ประมาณ 4 เท่า หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 160,000,000 บาท นั่น ก็หมายความว่าประเทศไทย เราจะสามารถประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารสำหรับนักโทษ และพลังงานที่ใช้เป็นกระแสไฟฟ้า ให้แสงสว่างในเรือนจำของประเทศไทยได้ถึงปีละประมาณ 160,000,000 บาท จึงนับเป็นนวัตกรรม ในการประหยัดพลังงานและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่น่าสนใจอีกนวัตกรรมหนึ่ง


...........................



หมายเหตุ บทความเรื่องนี้ได้มีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารราชทัณฑ์ ฉบับที่ 3 ปีที่ 61 พ.ศ. 2556 หน้า 60 - 65 อีกช่องทางหนึ่งด้วยแล้ว


หมายเลขบันทึก: 587757เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2015 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2015 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีบ้างในเรือนจำนำร่องใช้เศษอาหาร 5 แห่ง และที่เรือนจำอื่นๆก็มีบ้าง แต่ยังไม่มีชื่อเสียงเหมือนของต่างประเทศครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท