​รู้สิทธิ เรื่อง"กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ"


รู้สิทธิ เรื่อง"กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ"


เตือนใจ เจริญพงษ์

ณ เวลานี้ เรามีหน่วยงานที่ทำงานด้าน "สิทธิมนุษยชน" แล้ว
ก็ฝากให้เร่งสร้างผลงานกัน...มากๆๆ ...เร็วๆๆๆ
เพราะผู้คนในสังคมบ้านเราขณะนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจ
ทั้งเรื่องของ "สิทธิของตัวเอง"
ทั้งเพื่อ "รักษาสิทธิของตัวเอง"
ทั้งเพื่อ"รู้ว่าจะได้รับการุค้มครองจากรัฐในเรื่องใด"
รวมถึงการ "คุ้มครอง" ด้วยแล้ว ยังมีหลายมิติอีกเช่นกัน
.................................................................................................
มีโอกาสเข้าอ่านข้อมูลของ "ศาลยุติธรรม"
ชอบใจเรื่องนี้คะ.....คือ เรื่อง"กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ"
เลยนำมาฝากกันคะ
.................................................................................................
…จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
หมายถึง .....กรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ
โดยชอบแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล
และจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ
ซึ่งตามกฎหมายจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การทันที
................................................................................................
อย่างไรก็ตาม
แม้จำเลยจะขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว
แต่ก็ยังอาจขาดนัดยื่นคำให้การได้
ถ้าศาลไม่อนุญาตขยายระยะเวลาให้ยื่นคำให้การ
เนื่องจากไม่มีเหตุผลสมควร
การขาดนัดยื่นคำให้การจะมีได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น
ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การ
...............................................................................................
ทางแก้สำหรับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ
กรณีจำเลยมาศาล...ก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี
ให้จำเลยแจ้ง...ต่อศาลว่าประสงค์จะต่อสู้คดี
และขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การ
.................................................................................................

ดังนี้.....
หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
หรือมีเหตุอื่นอันสมควร
ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
จากนั้นศาลจะดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลย
ขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยสามารถแจ้ง
ต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดีเป็นหนังสือ
หรือแจ้งด้วยวาจาก็ได้
โดยจำเลยอาจมาศาลด้วยตนเอง
หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
หรือแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการแทนก็ได้
การขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การศาล
ต้องสอบถามฝ่ายโจทก์ก่อน
หรือหากจำเลยยื่นคำขอเป็นหนังสือ
ก็ต้องส่งสำเนา
................................................................................................
.....คำขอให้โจทก์ เพื่อให้โอกาสโจทก์คัดค้าน
จากนั้นศาลจะพิจารณาสั่งตามรูปคดีไป
กรณีที่จำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี
แต่จำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่า
ประสงค์จะสู้คดี หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ดังนี้จำเลยมีสิทธิถาม ค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบพยานได้
แต่จำเลยไม่มีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ
.................................................................................................
ข้อควรระวัง ......
กรณีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมาย
หรือ ศาลกำหนด ....
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอต่อศาล
เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้
ฝ่ายโจทก์ชนะคดีเพราะเหตุจำเลยขาดนัดภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะ เวลายื่นคำให้การของจำเลย
มิฉะนั้น.... ศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ได้
.................................................................................................
ผลของการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
1.จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล
หากพยานเอกสาร
2.จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้
การขาดนัดพิจารณา
.................................................................................................
การขาดนัดการพิจารณา
คือ....... คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล
(ไม่ว่าจะเป็นตัวความหรือผู้มีสิทธิทำการแทนตัวความ
เช่น ผู้รับมอบอำนาจและทนายความ)
................................................................................................
ในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี
ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา

................................................................................................

1.คู่ความ : คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา
ผล: ถ้าจำเลยไม่ประสงค์ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลจำหน่ายคดี
.................................................................................................
2.คู่ความ : โจทย์ขาดนัดพิจารณา
ผล: ถ้าจำเลยแจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ศาลดำเนินการพิจารณา
ต่อไปศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
.................................................................................................

3.คู่ความ: จำเลยขาดนัดพิจารณา
ผล: ศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
.................................................................................................
เมื่อเกิด..."คดีความ" ขึ้น ผู้คนก็จะตกอกตกใจ
หวาดกลัวไปสารพัด
เพราะต้องเข้าสู่..กระบวนการพิจารณาในชั้นศาลอีกหลายขั้นตอน
..จำเป็นที่ผู้ที่ตกเป็น"จำเลย"..ต้องรู้สิทธิของตนเอง
และ ต้องรักษาสิทธิของตนเองเช่นกัน
เชื่อว่ามีจำนวนมากที่ปล่อยเลยตามเลย รู้เท่าไม่ถึงการ...
จนเกิดความเสียหายมากมายตามมา
.................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 587496เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2015 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท