ตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย (1)


เรือนจำสีเขียว กับ ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีอาคารประหยัดพลังงาน ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และ ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์.................................

การศึกษา เรื่อง ตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวแบบ (Model) โครงสร้าง แนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย นโยบายและแนวทางปฏิบัติของเรือนจำสีเขียว ในต่างประเทศ ศึกษาตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อนำผลการศึกษาวิจัย ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเรือนจำสีเขียวในเรือนจำ/ทัณฑสถานต่างๆ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยการวิจัยเอกสาร (Document Research) การวิเคราะห์ สรุป โครงสร้าง แนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย นโยบาย แนวทางปฏิบัติที่ใช้รองรับตัวแบบเรือนจำสีเขียว จากเอกสาร หนังสือ กฎหมาย รายงานวิจัย บทความจากเว็บไซต์และเอกสารหนังสือจากในและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ อินเดีย รวันดา บราซิล และ ฮ่องกง และ การวิจัยภาคสนาม (Field research) โดยการเก็บข้อมูลจากเรือนจำ/ทัณฑสถานของประเทศไทย จำนวน 11 แห่ง โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) อันได้แก่ การสังเกต การถ่ายภาพ การสนทนา แล ะสรุปสาระสำคัญจากการสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดเรือนจำสีเขียวจากผู้บัญชาการเรือนจำ หรือ เจ้าหน้าที่ที่ผู้บัญชาการเรือนจำมอบหมาย เพื่อศึกษาตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เรือนจำสีเขียววอสโค่ แคลิฟอร์เนีย

ผลการศึกษาเรือนจำสีเขียวในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ อินเดีย รวันดา บราซิล และฮ่องกง พบว่า เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชุน และแนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังโดยการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการฝึกอาชีพ ทักษะสีเขียว ได้แก่ ทักษะการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชุน แก่ผู้ต้องขังเพื่อให้ผู้ต้องขังเกิดการเคารพกฎหมายและทำให้เขาช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อได้รับการปล่อยตัว


โครงการพลังงานก๊าซชีวภาพเรือนจำสีเขียวรวันดา

โครงการพลังงานก๊าซชีวภาพเรือนจำสีเขียวรวันดา

โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ ทักษะสีเขียว เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและ ชุมชุน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชน เพื่อการปกป้องสังคมและชุมชนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม เพื่อ การยอมรับ และเพื่อความไว้วางใจของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก ส่วนทฤษฎีที่รองรับได้แก่ กลุ่มทฤษฎีมานุษยวิทยา ประกอบด้วย ทฤษฎีนิเวศวิทยามนุษย์ (Human Ecology Theory) และทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)

โครงการพลังงานชีวมวลเรือนจำสีเขียวมาร์ช สหราชอาณาจักร

โดยสามารถจำแนกตัวแบบเรือนจำสีเขียว ได้ 3 ตัวแบบ คือ ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีอาคารประหยัดพลังงาน ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เรือนจำสีเขียว Wallkill นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

สำหรับแนวคิดเรือนจำ สีเขียวในประเทศไทย กรมราชทัณฑ์ได้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) มาปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารองค์กร โดยเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังได้เน้นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การใช้ชีวิตพอเพียงเมื่อพ้นโทษ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวเป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวคิดเรือนจำสีเขียวของต่างประเทศ โดยมีรูปแบบคล้ายคลึง กับเรือนจำสีเขียวที่ได้ศึกษาทั้ง 3 ตัวแบบ


.....................



หมายเหตุ โปรดติดตามตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย (2) เป็นตอนต่อไปน่ะครับ



คำสำคัญ (Tags): #เรือนจำสีเขียว#ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)#เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)#เรือนจำเทคโนโลยีอาคารประหยัดพลังงาน#เรือนจำเทคโนโลยีพลังงานทดแทน#เรือนจำเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์#เรือนจำพลังงานก๊าซชีวภาพ#เรือนจำเกษตรอินทรีย์#เรือนจำสวนป่า#เรือนจำฟาร์ม#หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว#เรือนจำสีเขียวเขากลิ้ง ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีอาคารประหยัดพลังงาน#เรือนจำสีเขียวเขากลิ้ง ตัวแบบเรือนจำเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์#เรือนจำสีเขียวเขากลิ้ง (เรือนจำดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก)#เรือนจำสีเขียวเขากลิ้ง (เรือนจำสวนป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก)#เรือนจำพลังงานชีวมวล#เรือนจำพลังงานแสงอาทิตย์#เรือนจำสีเขียวแห่งแรกของประเทศไทย#เรือนจำพลังงานทดแทน#เรือนจำคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน#การฝึกอบรมความรู้ ทักษะ สีเขียว#การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมความรู้ ทักษะ สีเขียวแก่ผู้ต้องขัง
หมายเลขบันทึก: 587040เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2015 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าทำได้จริงก็น่ายินดีนะคะ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งดีถ้าเราได้ปลุกฝังเรื่องการประหยัด ปกป้อง และไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท