ว่าด้วยเรื่องการสร้างเสริมพลังกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการจิตเวช


เนื่องด้วยในวิชาสัมมนาตัวที่สองในคาบการถอดบทเรียน (Knowledge Translation) จากตารางรายการเดิมที่จะจัดให้มีการโต้วาทีและนำเสนอโดยทีมฝ่ายต่าง ๆ ได้ปรับเปลี่ยนให้นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอบทความวิชาการที่คิดว่าตนเองสามารถนำเสนออาจารย์ได้มากที่สุดได้โดยกำหนดกรอบเวลาให้เป็นเปเปอร์ที่อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม 2014 – ปัจจุบัน (2015) และต้องผ่านการปรึกษากับอาจารย์ฝ่ายนั้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและตอบคำถาม 3 ข้อ (Implication Application และThai culture) แทน ดิฉันจึงได้มีโอกาสค้นหาเปเปอร์ที่น่าสนใจซึงคำสำคัญที่นึกขึ้นมาได้ในเวลานั้นก็คือ Performance Participation และ Well-being การดำเนินการต่อมาก็คืองานยิ่งใหญ่ในชีวิตที่ต้องเริ่มอ่านคร่าว ๆ โดยรวม อ่านจับประเด็น และแปลเนื้อหาโดยละเอียด ทำความเข้าใจกับประเด็นหลักที่ผู้เขียนต้องการสื่อ ก่อนวันนำเสนอเปเปอร์ 1 วันได้พบอาจารย์ที่ปรึกษาเปเปอร์สัมมนาฝ่ายจิตตามคาด จึงต้องขอขอบพระคุณอาจารย์สุพรรษา ตาใจ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะที่ทำให้ดิฉันเข้าใจเนื้อหามากขึ้น เพื่อให้สามารถเน้นย้ำประเด็นสำคัญที่ควรนำเสนอให้ผู้ชมเข้าใจได้ สาธยายที่มาที่ไปอยู่นาน เข้าเรื่องกันเลย

บทความวิชาการเรื่อง Empowerment and Occupational engagement among people with psychiatric disabilities โดยนักกิจกรรมบำบัด Jenny Hultqvist Mona Eklund และ Christal Leufstadius ที่ Department of Health Sciences, Occupational Therapy and Occupational Science, Lund University ประเทศสวีเดน

Empowerment คืออะไร

Empowerment แปลเป็นไทยว่าการสร้างเสริมพลัง หมายถึง การกระตุ้นให้คน (กลุ่ม) หนึ่ง หรือกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและแสดงศักยภาพที่มีออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจซึ่งผลเกิดเป็นอิทธิพลต่อกัน เพื่อปรับปรุงพัฒนา วิถีการทำงาน วิถีชีวิตตนเองและสังคมให้สำเร็จผลโดยต่อเนื่องและยั่งยืน มีหลักการง่าย ๆ คือ Heart-Head-Hand/พลังใจ-พลังสมอง-พลังปฏิบัติ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.doctor.or.th/article/detail/10287#header-1) ยกตัวอย่างเช่น Self-health group ที่ผู้เช้าร่วมจะได้ประโยชน์ทางด้านความคิดอารมณ์และสังคมเช่นเดียวกับผู้ที่ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่มีประโยชน์ของตนให้ผู้อื่น ดังนี้

การสร้างเสริมพลังได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำงานและศึกษาวิจัยในหลายสาขา ทั้งจิตวิทยาสังคม การศึกษา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ แนวคิดนี้เริ่มตั้งแต่สมัยการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและมนุษยชน ระหว่างปี ค.ศ.1960 ได้ขยายไปยังกลุ่มค้าที่ต้องการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม และนำไปสู่กลุ่มทีมทำงานด้านการจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือตนเองในยุค 1970 ในที่สุด และแพร่กระจายไปในทุกสาขาไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยที่เห็นได้ชัดว่าถูกให้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีจุดประสงค์คือต้องการประเมินว่าปัจจัยใดบ้างที่สัมพันธ์กับการสร้างเสริมศักยภาพเมื่อพิจารณา 1) การเข้าไปมาส่วนร่วมในกิจกรรม 2) ความพึงพอใจต่อศูนย์บริการรายวัน (Day centre) และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวของกับสุขภาพและสังคมประชากร

การคัดเลือกคัดจากผู้รับบริการ Day centre 6 แห่งในสวีเดน ได้ 123 คนที่เข้าร่วม มีเกณฑ์คัดเข้าคัดออกดังข้างต้น โดยให้กรอกแบบสอบถามที่เกี่ยวกับ empowerment ผ่านการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ที่ผ่านการอบรมมาแล้ว

การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องมือการประเมิน 6 ชิ้น มีคำถามที่เกี่ยวข้องอยู่ใน 5 ขอบข่าย

1) Perceive empowerment ใช้ Empowerment Scale (ES) เกี่ยวข้องกับทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลและสังคม ประกอบด้วย 28 item 5 subscales

2) Occupational engagement ใช้ The Profile of Occupational Engagement in People with Severe Mental Illness-Productive Occupations (POES-P) เกี่ยวข้องกับการทำกิจวัตรแต่ละวันได้ตามเป้าหมายสำเร็จ ประกอบด้วย 8 items ใช้ดูปฏิกิริยาตอบสนองส่วนบุคคล ทำกับใคร ทำที่ใด เป็นความสามารถที่ทำได้

3) Client satisfaction ใช้ Client Satisfaction Questionnaire (CSQ-8) เรตคะแนนความพอใจ 1 ถึง 4 จากน้อยไปมาก

4) Socio-demographic factors ใช้การสอบถามถึงเพศ อายุ สถานะพลเมือง ระดับการศึกษา การมีเพื่อนสนิท การใช้เวลาที่ DC ในแต่ละสัปดาห์

5) Factor pertaining health ใช้เครื่องมือ 2 ชิ้น ได้แก่ FS-36 และ The Global Assessment of Functioning-Symptom (GAF-S) โดย FS-36 ถามถึงสุขภาพโดยรวมให้เรตคะแนนสุขภาพตนเอง 5 ระดับ 1-5 จากดีเยี่ยมถึงแย่ คะแนนรวมเป็นได้ตั้งแต่ 1-100 ส่วน GAF-S ยิ่งได้ค่าสูงแสดงว่าอาการรุนแรงทางจิตน้อย

วิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางสถิติดังนี้

ผลข้อมูลประชากรสังคมกลุ่มตัวอย่างปรากฏว่ามีอายุเฉลี่ย 51 ปี บอกว่าตนเองมีเพื่อนสนิทคิดเป็นร้อยละ 80 ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นโรคซึมเศร้าและ/หรือโรควิตกกังวลร้อยละ 52 จิตเภทและโรคจิตอื่น ๆ ร้อยละ 28 โรคอื่นร้อยละ 20 ตามลำดับ

ค่ากลางของคะแนนการสร้างเสริมพลังอยู่ที่ 2.8

ผลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและนัยสำคัญของการสร้างเสริมพลังที่วัดจาก GAF-S

ปัจจัยประชากรสังคมที่มีผลต่อการสร้างเสริมพลังมีเพียงการมีเพื่อนสนิทที่มีค่า p-value เท่ากับ 0.059 ส่วนปัจจัยในหัวเรื่องใหญ่ที่มีนัยสำคัญทางสถิติอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ การให้คะแนนสุขภาพตนเอง การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิต และค่า GAF-S

จึงอภิปรายผลได้ว่าเมื่อให้คะแนนสุขภาพตนเองมีค่ารวมน้อย มีการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยตนเองได้มาก มีปัจจัยทางสุขภาพที่ดีมีความรุนแรงของโรคน้อย จะทำให้การสร้างเสริมพลังเพิ่มขึ้นได้

ในฐานะนักบำบัดรวมถึงทีมดูแลผู้รับบริการทางจิตเวชควรจัดให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตทีมีความหมาย มีการเพิ่มทักษะส่วนบุคคลและแหล่งแผนงานให้หลากหลายเพื่อทำให้เกิด การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันทางสังคม (Social interaction to social engagement) นำไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ (Occupational engagement) เมื่อผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า มีเป้าหมาย และก่อให้เกิดความสุขความพึงพอใจได้แล้วนั้นย่อมเป็นไปทางที่จะเห็นแห่งทาง การสร้างเสริมพลัง (Empowerment) เพราะเมื่อได้รู้สึก (Feeling) คิด (Thinking) และลงมือทำ (Doing) การรู้ตื่นรู้เบิกบานในจิตวิญาณตนเอง (Spirituality) ก็จะเกิด

หากนำกรอบอ้างอิงหนึ่งใดทางกิจกรรมบำบัดมาจับประเด็นบรรยายให้ชัดเจนขึ้น นี่คงเหมาะกับ MoHo (Model of Human Occupation) ที่เมื่อผู้รับบริการมีเจตจำนง (Volition) รับรู้และสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดี (Health factor and self-related health) รับรู้และพัฒนาความสามารถของตนเองให้เป็นไปในทางบวก คือทำโดยมีเป้าหมาย ได้ใส่ใจให้คุณค่า ความสนใจ (Meaningful occupation) ลงไปในแต่ละการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านนั้น (Occupational engagement) และทำให้เป็นพฤตินิสัย (Habituation) ทุกวัน ๆ ใช้ศักยภาพสูงสุดที่มี (Capacity) ทำให้เกิดการสร้างเสริมพลังให้ตนเองและเผื่อแผ่ไปยังผู้อื่นให้ได้ ถ้านี่คือสิ่งที่ผู้รับบริการตระหนักและทำได้เอง ชีวิตของผู้รับบริการก็จะเข้าถึงความสมดุลของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Balance) ได้มากขึ้น เหล่านี้ไม่ได้ใช้กับเพียงแต่ผู้รับบริการเท่านั้น เราทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตตนเองอยู่ดีมีสุข สร้างเสริมพลังในทางบวกกับตนเองและสังคมได้เช่นกัน

O.o°¨ Have a Good Health ¨°o.O

▀█ █▀█ █ █▀▀▀ ::: (\_(\
█░█ █ ▀ ▀▄ *: (=' :') :* ¸.εїз
▀▀▀ ▀▀ ▀ ▀ ▀▀▀▀•.. (,(")(")¤°.¸¸.•´¯`»♫~*・♥♪´

Reference

Jenny H., et al. (2015). "Empowerment and occupational engagement among people with psychiatric disabilities." Scandinavian Journal of Occupational Therapy 22: 54-61.

หมายเลขบันทึก: 587009เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2015 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2015 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท