ลำเจียก
อาจารย์ ลำเจียก กำธร (อ.น้อง)

ความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกกับผู้ป่วยจิตเวช ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์......


บทความวิจัย : ความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกกับผู้ป่วยจิตเวช ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่3

นางลำเจียกกำธร*พยม.(สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช) และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและวิธีการปรับแก้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรังในการฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกรายวิชา ปฎิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตจำนวน91 คนแบบสอบถามที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามความเครียดและการเผชิญความเครียดในการเรียนทางคลินิก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวดทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของเครื่องมือในแต่ละหมวดดังกล่าวข้างต้นเท่ากับ 0.810.620.85และ0.79ตามลำดับและแบบสอบถามการปรับแก้ความเครียด ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.9

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลมีความเครียดระดับเล็กน้อยต่อการฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกรายวิชา ปฎิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตและวิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ใช้บ่อยสามลำดับแรกคือการแสวงหาการเกื้อหนุนทางสังคมการวางแผนการแก้ปัญหาและการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาคิดเป็นร้อยละ35.23 , 32.96และ 11.37ตามลำดับ

คำสำคัญ : 1.ความเครียด ; 2.การเผชิญความเครียด ; 3.นักศึกษาพยาบาล; 4. การฝึกภาคปฎิบัติทางคลินิกกับผู้ป่วยจิตเวช

  • ABSTRACTThe purpose of this descriptiveresearch was to assessstressandwayofcopingwithstressamong91 thirdyearnursingstudentofBoromarajonani Nursing Collage, Trangwhohastraininginclinicalpractice of psychritric nursing, duringtheacademicyear2010.The nursing students participated by completing the Pagana Clinical Stress Questionnaire (1988),translated into Thai by Nipa Rujanantakul (1998).This questionnaire consisted of two parts: part one included one question to assess the stress level among the nursing students, and part two included items that allowed for categorization emotions of clinical experience such as harm/loss, threat, challenge, or benefit. Cronbach's alpha coefficient have been calculated for categories of harm/loss, threat, challenge, and benefit as 0.810.620.85 and 0.79 , respectively. The questionnaire also included one open-ended question that allowed nursing students to specifically describe the situation in clinical practice that gave them stressful emotions according to part two of the Pagana Clinical Stress Questionnaite. The Folkman & Lazarus's ways of Coping Questionnaire (1998) was translatedinto Thai by Siriluk Vadtanapong (1996) and proven reliable with a cronbach's alpha coefficient of 0.9 The result of this study revealed that most of the nursing students perceived the practice of clinical nursing in the third year atmild stressful level. The three most frequently used coping strategies were seeking social support(35.23%), planful problem solving (32.96%).

Keyword: 1. stress; 2. way of coping; 3.nursing students ;4.Clinical Practice of Psychritric Nursing

หมายเลขบันทึก: 585590เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท