RG_R2Rกลุ่มวิจัยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ปีที่ 2_2558


RG_R2R

ชื่อโครงการวิจัยของกลุ่มวิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research ; R2R )

ทีมวิจัย อุบล จ๋วงพานิช หัวหน้าทีม

สมาชิกทีม จิราพร ศิริโชค อัมพร กุลเวชกิจ พรนิภา หาญละคร ทิพยวรรณ มุกนำพร นุชจรี วุฒิสุพงษ์ บุษกร อุสส่าห์กิจ

อาภาภรณ์ ธรเสนา ญาณิกา เชษฐโชติศักดิ์ อภิญญา คารมปราชญ์ สุภาพ อิ่มอ้วน

ที่ปรึกษา ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง

ความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย : ข้อปัญหา เหตุผล สมมุติฐาน(Hypothesis)

ในบรรดาเครื่องมือพัฒนาคุณภาพ นั้น การวิจัย R2R เป็นเครื่องที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาทั้งงานประจำและพัฒนาคนหรือทีมงานไปพร้อมๆ กัน ตัวอย่างองค์กรที่นำเครื่องมือ R2R ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรจนเกิดวัฒนธรรมในการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากรอย่างกว้างขวาง คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดังนั้นเครื่องมือ R2R จึงถูกบรรจุไว้ในระบบการให้คะแนนในการตรวจประเมินคุณภาพของโรงพยาบาล (HA) โดยผลงาน R2R จะมีคะแนนสูงกว่าการผลงานพัฒนาด้วย CQI ปัจจุบัน R2R จึงเป็นเครื่องมือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เพราะงานวิจัย R2R ได้รับการพิสูจน์ชัดเจนว่าเป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการสนับสนุนทุนในการทำวิจัย R2R มาเป็นเวลา 5-6 ปี แต่ยังขาดทีมงานในการให้ความรู้ สนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุก เพื่อให้บุคลากรที่อยู่หน้างานสามารถเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองและแก้ปัญหางานประจำจนเกิดเป็นงานวิจัย R2R ได้ ทั้งนี้เนื่องจากคนที่อยู่หน้างานไม่ใช่นักวิจัยศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนามีจำกัด ทำให้ผลงานวิจัย R2R ของคณะฯ ยังมีไม่มากนัก ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์กรได้ชัดเจน

จากการสัมมนา KM ในประเด็นทิศทางการพัฒนางานวิจัย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า คณะฯ ควรให้การสนับสนุนโดยกำหนดเป็นนโยบายให้เกิดกลุ่มวิจัย R2R ของคณะฯ เพื่อให้กลุ่มวิจัยนี้เป็นผู้ส่งเสริมให้บุคลากร มีการพัฒนาตนเอง มีการเรียนรู้และพัฒนาการแก้ปัญหาในการทำงานให้เป็นงานวิจัย R2R ต่อไป ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อคณะฯ ในอนาคตเป็นอย่างมาก

วัตถุประสงค์ของกลุ่มวิจัย

เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรคณะแพทยศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย R2R สามารถเขียนโครงร่างการวิจัยและดำเนินการวิจัยได้

แผนกิจกรรมที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดปีของโครงการโดย ครอบคลุมกิจกรรมต่อไปนี้

  • จัดการประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและผู้สนใจหรือจัดการประชุมสัมมนาเพื่อเป็นการระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  • บรรยายองค์ความรู้ปัจจุบัน (state of the art) ในหัวข้อที่ศึกษาในการประชุมวิชาการทุกวันพุธ ของคณะแพทยศาสตร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ทีมพัฒนางานวิจัย R2R จัดบรรยายวิชาการ เรื่อง สร้างความรู้จากงานประจำให้เป็นงานวิจัยได้สำเร็จอย่างไร
  • ร่วมประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าทางการวิจัยกับกลุ่มในการประชุมวิชาการคณะแพทยศาสตร์ประจำปี
  • กำหนดให้กลุ่มวิจัย R2R นำเสนอรายงานความก้าวหน้าทางการวิจัยกับกลุ่มในการประชุมวิชาการคณะแพทยศาสตร์ประจำปี 2558 ทุกเรื่อง

การประชุมร่วมระหว่างกลุ่มวิจัยกับฝ่ายวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  • กำหนดให้กลุ่มวิจัย R2R เข้าร่วมประชุมกับฝ่ายวิจัย ในปี พ.ศ. 2558 อย่างน้อย 1 ครั้ง

การรายงานสรุปกิจกรรมและผลงานดำเนินงานของกลุ่มวิจัย

  • กลุ่มวิจัย R2R เป็นผู้ติดตามผลการดำเนินงานและรายงานสรุปกิจกรรมและผลงานดำเนินงานของ

กลุ่มวิจัยทุกกลุ่ม

ผลที่คาดว่าจะได้จากกลุ่มวิจัย (output): ให้ระบุผลที่คาดว่าจะได้จากกลุ่มวิจัย เช่น

  • เกิดการทบทวนวรรณกรรมที่สามารถตีพิมพ์ได้

การทบทวนวรรณกรรมเรื่องการสังเคราะห์การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

จำนวน 5 เรื่อง

  • Pilot study โครงการวิจัยที่นำไปสู่การแก้ปัญหาสุขภาพนั้น ๆ

- ไม่มี

  • โครงการวิจัย (research proposal) ที่มีศักยภาพในการขอรับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- การขอรับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนภายในจำนวนอย่างน้อย 5 เรื่อง

  • ผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ (ถ้าเป็นไปได้)

- จำนวนผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดยจะพิจารณาแหล่งตีพิมพ์หลายแห่งขึ้นอยู่กับผลงานวิจัยว่าควรตีพิมพ์ที่วารสารใด เช่น วารสาร R2R วารสารวิสัญญีสาร วารสารรามาธิบดีสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วารสารสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก และวารสารสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัด เป็นต้

- จำนวนผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เช่น Pacific Rim Int J Nurs Res., Infectious Disease Journal เป็นต้น

  • ผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในที่ประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ

- จำนวนผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในที่ประชุมระดับชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง

  • โครงการวิจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นของกลุ่มวิจัย ตลอดจนการเชื่อมโยงไปยังโครงการอื่นๆ

- จำนวนโครงการวิจัยที่ส่งขอทุนและจริยธรรมอย่างน้อย 5 เรื่อง

- จำนวนโครงการวิจัยที่สามารถดำเนินการในปีแรกอย่างน้อย 5 เรื่อง

  • จำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ได้รับการชักนำเข้าร่วมกลุ่มวิจัย

- จำนวนสมาชิกใหม่กลุ่มวิจัย R2R อย่างน้อย 30 คน

  • ยื่นขอจัดตั้งกลุ่มวิจัยหรือศูนย์วิจัยเฉพาะทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น

- จะยื่นขอจัดตั้งกลุ่มวิจัย R2R เมื่อมีกลุ่มวิจัยต่อเนื่องในปีที่ 3

บัดนี้ได้รับแจ้งว่าทุนได้รับการพิจารณาจัดสรรแล้ว

จะนัดประชุมในคราวต่อไปค่ะ

แก้ว

1 กุมภาพันธ์ 2558

หมายเลขบันทึก: 584870เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แผนการปฏิบัติงาน คณะกรรมการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

ปีงบประมาณ 2558 (1 ตุลาคม 2557- 1 กันยายน 2558)

โครงการ

ตค57

พย 57

ธค 57

มค58

กพ58

มีค58

เมย58

พค58

มิย58

กค58

สค58

กย58

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

ทีมพัฒนางานวิจัย

1. Research utilization

อุบล อุบลรัตน์

Research group R2R จะทำงานร่วมกัน

1.1 สังเคราะห์งานวิจัย

21

รัศมี อภิญญา

ณัฏฐ์ชญา

1.2 สร้างแนวปฏิบัติ (CPG/ CNPG)

21

2. R2R

พรนิภา กรรณิกา

ประชุมกลุ่มวิจัย

6

มนฑกานต์ จิราพร

2.1 การหาหัวข้อและปัญหาวิจัย

23

2.2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

23

2.3 การทบทวนวรรณกรรม

23

2.4 ประชากรและการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง

14

2.5 การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

14

2.6 การเขียนโครงร่างการวิจัย (อบรม)

18

2.7 การนำเสนอโครงร่างวิจัย

18

2.8 การนำเสนอโครงร่างวิจัยฉบับสมบูรณ์

19

2.9 ส่งขอทุนและขอผ่านจริยธรรม

19

2.10 ขั้นประเมินผล

3

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท