โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 11 (ช่วงที่ 1: 28-30 มกราคม 2558)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 11 ทุกท่าน

เช้าวันนี้ (วันอังคารที่ 28 มกราคม 2558 ) จะเป็นพิธีเปิดหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 11 (ปี 2558) หรือEGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2014

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 11 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 7 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


หมายเลขบันทึก: 584675เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2015 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2015 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (105)

พิธีเปิด

นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์

รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

28 มกราคม 2557

นายสืบพงษ์: รู้สึกยินดีที่ได้มาในพิธีเปิดโครงการในวันนี้ เป็นโครงการที่ผู้ว่าการให้ความสำคัญเพราะเป็นหลักสูตรที่พัฒนาระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า เป็นการเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด ต้องเตรียมตัวให้ดีที่สุด การบรรลุวิสัยทัศน์ต้องขับเคลื่อนเรื่องคน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในอนาคตต้องคิดว่าลู่วิ่งของแต่ละท่านจะไปไหนทางไหนได้บ้าง เพื่อรองรับภารกิจใหม่ๆด้วย

ผู้บริหารต้องภาพอย่างมีวิสัยทัศน์ ต้องมีมุมมองอย่างกว้างไกลขึ้น ต้องมีการนำเอาองค์ความรู้มาใช้ เพื่อให้ขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

ผู้บริหารต้องใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ในการทำงานในชีวิตประจำวัน พบว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการดำเนินงานของกฟผ. การจัดอบรมเป็นโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับข้อมูลจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับใช้ในการทำงานต่อไป

วันนี้กฟผ.ต้องมองเรื่องการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ถึงจะเกิดความยั่งยืน และต้องมีการสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์อันดีกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของท่าน

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ดำเนินการหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และให้เกียรติบรรยายกับพวกท่าน

ขอเปิดการอบรม EADP 11 และขอให้บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

28 มกราคม 2558

ศ.ดร.จีระ: ก่อนการเริ่มหลักสูตรต้องรู้ว่าหลักสูตรนี้คืออะไร สิ่งที่ทำอยู่ถ้าสำเร็จจะเป็นความสุข ลูกศิษย์ทั้ง 10 รุ่นที่ผ่านมา ได้ขึ้นมาเป็นระดับรองผู้ว่าและผู้ว่าหลายคน ซึ่งเป็นจุดที่ทุกท่านในห้องนี้จะเป็นผู้นำในอนาคต ข้อดีของหลักสูตรนี้ คือต่อเนื่อง

ถ้าเราไม่มีคนการไฟฟ้าและเน้นเฉพาะเรื่องวิศวกรองค์กรก็จะไปไม่รอด ความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องนี้เกิดจากความรู้ที่เกิดในห้องและนอกห้องด้วย

มนุษย์ต้องมีความ Respect และ Dignity

การทำหลักสูตรให้สำเร็จ ต้องมีความแตกต่างจากคนอื่น หลักสูตรนี้ไม่ได้เป็นการ Transfer knowledge เน้นไปที่ 2R's คือ ต้องมีความ Reality และ Relevance ต้องมีการผนึกกำลังเพื่อหา Solution

ความใฝ่รู้ คือ ต้องมีการถามคำถามเยอะๆ ต้องมีการจับประเด็นว่าสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในเป็นอย่างไร

จุดแข็ง คือ ความต่อเนื่อง และต้องคำนึงว่าแก่นของมันคืออะไร สิ่งทีค้นพบคือ Chira way เป็นแนวทางที่เราจะกระตุ้นให้คนในห้องนี้รวมพลังหาความรู้ใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหา คือ Do what you know ต้อง Turn Idea to action และ Turn action into success

ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง และต้องรู้ว่าข้อดีของกฟผ. คือ ธรรมาภิบาลของกฟผ.

จุดอ่อน คือ ความสำเร็จไปกระจุกตัวอยู่ในผู้นำมากเกินไป แต่ความจริงคือต้องกระเด้งไปสู่ลูกน้องด้วย

ควรจะทำเป็น Training for Trainer มากขึ้น

การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จคือ ต้องไม่ทำตัวเป็น Silo

โลกเราขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง คือ

1. การเปลี่ยนแปลงเร็ว

2. การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

3. การเปลี่ยนแปลงทำนายไม่ได้

สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับเรา ต้องมีการกระจายความรู้ และต้องไม่มองข้างบนอย่างเดียว ต้องมองข้างล่าง และมองข้างๆบ้าง เช่น มองชุมชน เช่น ท่านครูบาสุทธินันท์ กล่าวว่า EGAT ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ สามารถไปอ่านได้ที่ www.chiracademy.com

หลักสูตรนี้เป้าหมายคือต้องทะลาย Silo

หลักสูตรนี้ต้องกระจาย ไม่กระจุกมากเกินไป

หลักสูตรนี้ต้องเน้นเรื่อง 2R's เพื่อให้ปฏิบัติได้

Relevance ต่อ EGAT ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง และต้องมีความใฝ่รู้ อ่านหนังสือเยอะๆ แต่ข้อเสียคือเมื่อจบไปแล้วไม่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

นอกจากคิด วิเคราะห์ แล้วต้องอ่านหนังสือ แล้วแชร์เยอะๆ

ต้องมีการส่งการบ้านในแต่ละวันว่าได้อะไรจากการเรียนรู้ในแต่ละวิชา

กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติ

บุคลากรระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ กฟผ. ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะความสามารถที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในอนาคต จำนวน 43 คน

­ กฟผ. 36 คน

­ กระทรวงการคลัง 2 คน

­ กระทรวงพลังงาน 2 คน

­ บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 1 คน

­ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 1 คน

­ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 1 คน

วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ เพื่อ HR เป็นเลิศ

4L's

Learning Methodologyมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunitiesสร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2I's

Inspiration – จุดประกาย

Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

3L's

­Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

­Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

­Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C – U – V

•Copy

• Understanding

• Value Creation/Value added

Learning How to Learn.. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณพิชญ์ภูรี: รุ่นที่ 11 น่าจะเป็นรุ่นที่รับความรู้ได้มากที่สุด และโชคดี เพราะมีส่วนผสมเหมาะกับงาน ต้องผ่านการเจ็บปวดของการเป็นผู้นำ

ต้องเดินทางในแนวทางที่ถูกต้อง เรื่องทุนมนุษย์ต้องผ่านกระบวนการต่างๆมากมาย

ศ.ดร.จีระ: ในอดีตมีการดูถูกเรื่องการบริหารงานบุคคล EGAT ต้องมีการคิดนอกกรอบถึงจะชนะชุมชน เรื่องทุนมนุษย์เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ ที่มีการลงทุน

Human Capital เป็นการเรียนรู้ และต้องพร้อมที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ

ศ.ดร.จีระ: หลักสูตรนี้ต้องเพิ่ม Soft skill หรือ ทฤษฎี Intangible นักวิศวะต้องรู้เรื่องเศรษฐกิจสังคมมากขึ้น

หลักสูตรนี้ต้องมีการ Learn share และ Care มีความเอื้อเฟื้อ และยอมรับความหลากหลายมากขึ้น

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

Leadersที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่

ดังเรื่องต่อไปนี้

Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ

เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน

บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right

เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ

เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย

เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน

เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Fourth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

§sustainability+

§wisdom+

§creativity+

§Innovation+

§intellectual capital.

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร

ผู้นำ

ผู้บริหาร

•เน้นที่คน

•Trust

•ระยะยาว

•What , Why

•มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

•เน้นนวัตกรรม

•Change

•เน้นระบบ

•ควบคุม

•ระยะสั้น

•When , How

•กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

•จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

•Static

ชนิดของผู้นำ

- Trust / Authority

- Charisma

- Situational

- Quiet Leader

Trust มี 3 ขั้นตอน

­สร้าง (Grow)

­ ขยาย (Extend)

­ ดึงกลับ ถ้าหายไป (Restore)

Trust มีหลายประเภท

(1)Self -Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

(2)Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

(3)Organization Trust

(4)Social Trust

สิ่งแรก EGAT มี คือ การสร้าง Trust ของ EGAT คือ การมีธรรมาภิบาล

ต้องมีการปลูกฝังให้คนใน EGAT มีRespect กับ Dignity

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล (Relationship Trust)

1)พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

2)ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3)ทำงานด้วยความโปร่งใส

4)มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5)เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6)ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7)รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8)มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9)รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

10)รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

วิธีการได้มาซึ่ง Organization Trust ในที่นี้หมายถึงชุมชนของเรา

1)มี VISION – MISSION – Strategies + Core Value

2)ไปสู่ความสำเร็จด้วยทุกกลุ่ม (Alignment)

3)มี Shared Vision

วิธีการได้มาซึ่ง Social Trust หมายถึงสังคมวงกว้างออกไป ต้องมีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง และ ความมั่นคงของคนในประเทศ

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำ สำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

ผมได้วิเคราะห์ตัวอย่างผู้นำที่โลกกำลังให้ความสนใจในยุคปัจจุบัน และผู้นำที่สำคัญของไทยไว้ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้นำของฮิลลารี คลินตัน

­เรียนรู้ตลอดชีวิต

­ อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น

­ อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

­ สนุกกับการคิดนอกกรอบ

­ สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์

ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

6 of the Dalai Lama's Leadership Principles

1.อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

2.ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล

3.อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

4.มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

5.สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง

6.มีความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ "Super K"

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

ทฤษฎีล่าสุดของ Jack Welch: ควรเป็นทั้งLeader / Teacher

Xi jinping

•พื้นฐานดี เรียนวิศวะ แล้วจึงมาเป็นผู้นำ คือ มีระบบความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เหมือนผู้นำไทยส่วนใหญ่คิดไม่เป็นระบบ

•ชีวิตช่วงวัยรุ่น เจ็บปวด เพราะ มีปัญหาทางการเมืองในจีนจึงถูกส่งไปฝึกงานในชนบท คลุกคลีกับชาวบ้าน คือ ติดดิน เห็นความจริงของสังคม เปรียบเทียบกับอดีตนายกอภิสิทธิ์เป็นคนดี แต่ไม่รอบรู้สังคมและวิถีชีวิตไทยอย่างลึกซึ้ง

•เป็นคนมีหลักการ มีวิธีการที่ปฏิบัติดีที่ทำให้หลักการไปสู่ความสำเร็จ คือ หลักการไม่เคยเปลี่ยน คือ จีนเป็นสังคมนิยม กระจายรายได้เสมอภาคไม่ใช่รวยอย่างเดียว ต่างกับอุดมการณ์ของระบอบทักษิณ มีวิธีการอย่างเดียวคือรวย แต่ได้มาอย่างไรก็ได้

•ยกย่องเติ้งเสี่ยวผิงที่ให้ประเทศจีนมี 2 ระบบการเมืองและดึงทุนนิยมเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก

•เน้นคุณธรรมจริยธรรมก่อน ความรวย หนังสือของเขาชื่อ The Governance of China แปลว่าเป็นประเทศจีนโปร่งใส ไม่ยอมให้เกิดการโกงขึ้นในประเทศ จึงเป็นผู้นำที่น่ายกย่อง ยุคเขาจัดการผู้นำจีนใหญ่ๆหลายคนเข้าคุก ดำเนินคดีเป็นตัวอย่างโดยไม่กลัวอิทธิพลใดๆ

และที่ถูกใจผมมาก คือ เรื่องทุนมนุษย์ สรุปว่าเขาเน้น 2 อย่าง

•ทุนมนุษย์พื้นฐานคือ จริยธรรมต้องมาก่อนคล้ายๆ 8K's

•ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานเป็นเลิศ

ซึ่งผิดกับคนไทย ตกทั้ง 2 ด้าน ที่ไม่เน้นปัญญาและไม่เน้นการเรียนเพื่อมืออาชีพ

หนังสือเล่มนี้ควรอ่านด้วย

จากการทำ Expert Opinions Survey ของผมกับผู้เชี่ยวชาญอีก 15 ท่านได้ร่วมกันในโครงการปริญญาเอก ค้นหาคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนบริบทของไทย มีหัวข้อที่สรุปได้ มีประโยชน์ต่อ EADP รุ่น 11 ที่จะนำไปปฏิบัติดังต่อไปนี้

11.1 Integrity Leadership Style คือ เน้นเรื่องความซื่อสัตย์และมีหลักการ เห็นถูกเป็นถูก เห็นผิดเป็นผิด หรือ ทำตาม "หลักการ" ไม่ใช่ "หลักกู"

11.2 Transparency Leadership Style

-โปร่งใส

-ตรวจสอบได้เสมอ

-ผู้อื่นคาดเดาได้ว่าทำอะไรอยู่

11.3 Grooming Future Leaders

-Jack Welch..ทำได้ดี

-Steve Jobs..กำลังถกเถียงกันว่า Apple หลังยุค Steve Jobs ยังมีผู้นำรุ่นใหม่แทนหรือไม่?

-ท่านเองมองไปข้างหน้าหรือมองสูงขึ้นว่าจะถึงรองผู้ว่าการฯ ไหมไม่พอ ต้องคิดจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Coaching หรือ Mentoring

-คนรุ่นใหม่ ๆ (ขาดมารยาท ขาดความสุภาพนอบน้อม ฯลฯ แต่เก่ง) มี Diversity แตกต่างกับคนรุ่นท่าน จะจัดการอย่างไร?

-มอบหมายงานให้คนอื่น ๆ ได้ทดลองทำ อย่าสอนงาน

-ถ้าลูกน้องผิดพลาด จะดูแลอย่างไรไม่ให้เขาตกรางหรือขาดกำลังใจ

-จะปกป้องลูกน้องให้กล้าทำงานยากหรืองานที่เสี่ยงได้อย่างไร?

-รับได้ไหมถ้าลูกน้องจะเก่งกว่าตัวเองหรือมีความไม่สุภาพต่อหน้า

11.4 Global Network Leadership

-ในทฤษฎี 8K's 5K's ของผมเน้นคุณสมบัติเรื่อง Networking

-Networking ในประเทศก็สำคัญ

-แต่งานวิจัยที่ผมได้พบ ก็คือ ผู้นำจะต้องเก่งเรื่อง Global Networking ซึ่งเหมาะกับ Theme ปีนี้ คือ รุ่นที่ 9 ต้อง Local / Global + ASEAN 2015

-คำถามคือทำอย่างไร?

§ภาษา

§รู้เขา (Know them)

§รู้มากกว่า "วิศวะ" ต้องข้ามศาสตร์ รู้เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในภาวะผู้นำของคน กฟผ. ในยุคต่อไป

§ใช้ ICT ในการหาความรู้ แต่วิเคราะห์ให้เป็น มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ หิวความรู้ที่สด ข้ามศาสตร์

11.5 Balancing Style Leadership

-คล้าย ๆ เน้นความสมดุลย์

-เน้นการเป็นวิศวะอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความสุข (Happiness) ในการทำงาน (8K's+5K's)

-บทบาทสตรีใน กฟผ. ต้องมากขึ้นหรือเปล่า? เพราะจะได้สมดุลมากขึ้น

-เดินสายกลางแบบเศรษฐกิจพอเพียง

-WORK/LIFE Balance

-จากการวิจัยโดยเน้นปรัชญาของศาสนาพุทธ พรมวิหาร 4 คือ 1)เมตตา 2)กรุณา 3)มุทิตา 4)อุเบกขา

-สมดุลย์อย่างไรระหว่างมืออาชีพกับการเมืองแบบรุกคืบ

11.6 สุดท้ายผู้นำที่ดีต้องเป็น Leadership of Diversity and Innovations

-จะต้องบริหารความหลากหลายให้ได้

•ในประเทศ / ต่างประเทศ

•คนรุ่นใหม่ / คนรุ่นเก่า

•วิศวะ / สาขาอื่น ๆ

•แนวคิดที่ไม่เหมือนกัน

-มูลค่าเพิ่มจะมาจากความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากเดิม

-ผู้นำจะสร้างบรรยากาศให้เกิด Value Creation ได้อย่างไร?

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1. Character หรือ คุณลักษณะ ที่พึงปรารถนา เช่น

- ชอบเรียนรู้

- มีทัศนคติเป็นบวก

- การมีคุณธรรม จริยธรรม

2.มี Leadership skill ที่สำคัญ คือ

- การตัดสินใจ

- การเจรจาต่อรอง

- การทำงานเป็นทีม

- Get things done

3. เรียกว่า Leadership process

คือ การมี Vision และมอง อนาคตให้ออก

4. คือ Leadership value

สำคัญที่สุดคือ

Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

Leadership & 8K's+5K's

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

คุณพิชญ์ภูรี: อ.จีระ จะกระตุ้นความเป็นเลิศ โดยใช้ทฤษฎีขั้นบันได ซึ่งการทำ Workshop เป็นบันไดขั้นที่ 1 โดยต้องดูจากความจริง เป็นขั้นที่ 2

ขั้นที่ 3 คือ วิธีการ Learn share care v

ขั้นที่ 4 คือ การมีความหลากหลาย โดยการมี networking และ

ขั้นที่ 5 ผู้นำต้องมองไปยังความเปลี่ยนแปลงด้วยไปยังปี 2020

ขั้น 6 คือ ต้องมีการนำเสนอ

ต้องทำให้เกิด Execution

Workshop กลุ่ม 1

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ: อยากได้ผู้ว่าอยู่นานจริงหรือไม่

- ควรตอบ Hypothesis ด้วยข้อมูลแบบใด ศึกษาภารกิจ วิสัยทัศน์ของกฟผ. โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และ ทำ Focus group

- ข้อสรุปจะนำไปใช้อย่างไรใน EGAT ได้ออกมาเป็น Success profile ของผู้บริหาร ทำให้หมุนคนข้ามrole กันได้ และประเมินหา GAP

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ต้องมีผู้นำที่มีความรู้และมีความกล้าหาญ ผู้นำต้องมีความรู้ และกล้าหาญจัดการ เพื่อให้สิ่งที่ Stakeholder ต้องการ

-

Workshopกลุ่ม 2

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ : สเปคผู้นำของกฟผ.รุ่นใหม่เป็นอย่างไร และควรให้โอกาสหรือไม่

- ควรตอบ Hypothesis ด้วยข้อมูลแบบใด จัด Focus group ทุกระดับ และเปรียบเทียบกับ EGAT นานาชาติ

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

ปัญหาจีน คือ ระบบราชการเดิม ล่าช้า และมีเรื่อง Global change ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แต่มีผลกระทบการต่อต้านจากชุมชน

Workshopกลุ่ม 3

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ: การสื่อสารสาธารณะของกฟผ.ดีหรือไม่ ปัญหาคือ การยอมรับของชุมชน ชาวบ้านไม่รู้กฟผ.ที่แท้จริง ปัจจุบันมีการสร้างแบรนด์โดยการใช้ CEO

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร? การต่อต่านของชนกลุ่มน้อย ส่วนของ EGAT มีปัญหาเรื่องคนต่าง GEN และมีเรื่องการแข่งขันทางธุรกิจ ต้องคิดถึงอนาคตไม่ใช่มองไปวันๆ

- เฉพาะ EGAT ต้องการผู้นำแบบไหนที่จะจัดการกับปัจจัยท้าทายได้

ผู้นำต้องมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ และมีคุณธรรม

Workshopกลุ่ม 4

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ : ทิศทางคัดและพัฒนาไปในทางเดียวกันดีหรือไม่

- ควรตอบ Hypothesis ด้วยข้อมูลแบบใด : สัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชา และผู้บริหารทุกกระดับ

- ข้อสรุปจะนำไปใช้อย่างไรใน EGAT: โดยการนำมารวบรวมและสรุป

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

จีนมีคนมาก มีทุนมนุษย์มหาศาล และมีคนที่รอบริโภคมาก ทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพมากขึ้น

- เฉพาะ EGAT ต้องการผู้นำแบบไหนที่จะจัดการกับปัจจัยท้าทายได้

เรื่องการออกไปหาทรัพยากรข้างนอก ปัญหาคือ จะบริหารอย่างไรให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

จริยธรรมของกฟผ. ยังเป็นที่น่าสงสัยของชุมชน ชุมชนมองว่ากฟผ.จะเอาแต่ไฟฟ้า ไม่เคยดูว่าสังคมรอบข้างจะเป็นอย่างไร

อ.จีระ: เราต้องมีการบริหารความสมดุลให้ดี

เรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมต่างๆ กฟผ.ยังขาดเรื่องนี้อยู่มาก

Workshopกลุ่ม 5

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ: Networking ของ EGAT ยังดีหรือเปล่า

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

จีนต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

เน้นความเป็นมืออาชีพ และเป็นระบบ

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

- เฉพาะ EGAT ต้องการผู้นำแบบไหนที่จะจัดการกับปัจจัยท้าทายได้

Workshopกลุ่ม 6

(1)ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ ต้องทำเรื่อง Focus group และพัฒนา Focus groupทุกระดับ และมีการทำ Cross culture ต้องมีการแลกเปลี่ยนผู้นำระหว่างประเทศ ต้องมีการทำกระบวนการ Successor โดยตั้งอยู่บน EGAT Policy

อ.จีระ: ความพึงพอใจระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าใน EGAT เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

ต้องตั้งสมมติฐานว่า ในอดีตนั้นการสร้างผู้นำเราสร้างเฉพาะกลุ่มจริงหรือไม่

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

- Good Governance เป็นสิ่งที่ EGAT ท้าทายมาก

- Politics เรื่องการเมือง

- การยอมรับของสังคม

- เฉพาะ EGAT ต้องการผู้นำแบบไหนที่จะจัดการกับปัจจัยท้าทายได้

- ผู้นำต้องมี Business mindset

- ต้องไม่ยึดแบบเดิมในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

- ต้องมีเครือข่ายในองค์กรต่างๆ

Workshopกลุ่ม 7

(1) ถ้าจะทำให้การพัฒนาผู้นำของ EGAT ประสบความสำเร็จ ลองเสนอแนวทางการวิจัย โดยเน้น

- Hypothesis ที่น่าสนใจ : ความศรัทธาของผู้นำใน EGAT ดีแล้วหรือยัง

- ควรตอบ Hypothesis ด้วยข้อมูลแบบใด

ทำ Focus group

(2) เปรียบเทียบผู้นำ Xi Jinping และผู้นำคนต่อไปของ EGAT

- ปัจจัยท้าทายของจีน และ EGAT 3 เรื่อง คือ อะไร?

จีน

EGAT

ประชาธิปไตย

ความมีส่วนร่วมของประชาชน

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

สิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี

- เฉพาะ EGAT ต้องการผู้นำแบบไหนที่จะจัดการกับปัจจัยท้าทายได้

- ต้องมี Trust

- ต้องมีการบริหารจัดการได้

- ต้องมีความคิดสร้างสรรค์

วันพุธที่ 28 มกราคม 2558

Learning Forum –Activities & Game Simulations

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

Executive Coach at Jimi The Coach Co., Ltd.

Founder, Director at 3Ls Coaching - Thailand

การประสบความสำเร็จ คนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบ

การทำงานได้ดีต้องเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น

โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก องค์กรใช้ Coaching มาก

โค้ชกีฬา ทำหน้าที่โค้ชด้านอื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากกีฬา โดยเฉพาะการใช้ชีวิต

การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่คนต้องการ

คนเราต้องปลุกตัวเองให้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ในตัวเอง

ก่อนเกษียณ ควรคิดว่า จะฝากผลงานอะไรให้แก่องค์กร

กิจกรรม ชมภาพยนตร์

บทเรียนที่ได้รับ

เรื่องที่ 1

คนคิดว่าตนถูกทำร้ายตลอด ทำให้เราตกอยู่ในวังวนนั้น

เรื่องที่ 2

ความโกรธทำให้งานไม่เดิน

เรื่องที่ 3

พบความผิดหวัง ก็ต้องรีบจากมัน จะได้ไม่ทุกข์

เรื่องที่ 4

อยากได้มาก หนี้ก็มาก ต้องรีบจากมัน

โค้ชต้องทำให้ผู้ได้รับการโค้ชอยู่ในภาวะสงบที่สุด ถ้าเครียด แกนกลางสมองเต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก สั่งงานมาที่ร่างกายทำให้มึนและเบลอ

ลูกน้องที่ถูกด่ามากๆ มักมีอาการ

Fight ต่อสู้ ด่าว่า ทำร้ายคนอื่น

Freeze นิ่งเฉย สูญเสียประสิทธิภาพ

Flight หนี

พ่อแม่ต้องเป็นโค้ชคุยกับลูก ลูกสมัยนี้ทิ้งพ่อแม่ได้เลย เพราะไปพูดกับคนอื่นในสื่อสังคมออนไลน์

การโค้ชต้องให้ความสำคัญ Content และ Context คือทั้งเนื้อหาและบริบท

กิจกรรม Stop to think พยายามจำชื่อเพื่อนให้ได้ เรียกชื่อคนที่ไม่ได้อยู่ติดกับคุณ

บทเรียนที่ได้รับ

Stop to think เป็นเรื่องของ Mindfulness

ชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่เรียกว่า ยาก มีแต่ยังไม่คุ้นเคย

กิจกรรมนี้เป็นการฝึกสติ

เหมือนชีวิตการทำงานคือ ยังไม่ได้ทำงาน แต่มีคนมาทวงงานแล้ว

บางครั้งคิดเร็ว ทำให้ความคิดไปอยู่ในอนาคต ต้องกลับมาคิดถึงปัจจุบัน

เราต้องคิดสิ่งที่ดีแล้วจะนำชีวิตไปสู่ทางที่ดี

เนื้อหา (ต่อ)

อีก 6 ปี จะมีเด็ก Gen Y 60% ต้องรู้จักการโค้ชคนกลุ่มนี้

การเป็นโค้ช ต้องถามคำถามผู้รับการโค้ช ทำให้เกิดการคิด เป็นการดึงความเป็นเลิศออกมาด้วย

เวลาโค้ชเด็กมหาวิทยาลัย ทุกปี เด็กเปลี่ยนแปลงไป มีหลายประเภท

แรงบันดาลใจสำคัญ เจ้านายต้องสร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้พนักงานทุ่มเททำงานให้ดี โดยเฉพาะการทำงานที่ต้องใช้ทักษะใหม่

การโค้ชทำให้คนเข้าใจกันและ Engage กันได้

เราสั่งให้คนทำงานไม่ได้ แต่ต้องทำอะไรเพื่อให้เขาอยากทำ แล้วเขาจะทำได้ดี

เวลาเลือกคน เราเลือกที่ความรู้และทักษะ แต่สิ่งที่สำคัญคือตัวพนักงานเอง ถ้าคนรู้จักบริหารศักยภาพตนเองได้ ก็จะประสบความสำเร็จไปไกล บางคนทำไม่ได้เพราะงานรุมเร้า

Competency ประกอบด้วย Skill, Knowledge, Attribute ตัวตนข้างใน

ต้องวิเคราะห์ค่านิยมส่วนบุคคลเปรียบเทียบกับค่านิยมองค์กร ต้องทำให้สอดคล้องกัน

คนเราใช้ศักยภาพแค่ 7% ส่วนที่เหลือซ่อนอยู่

การเรียนเป็นการค้นพบศักยภาพเพิ่มเติม

ควรมีเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน แล้วจะหาวิธีการทำงานได้ง่าย

ต้องทราบว่าปัญหาของคุณคืออะไร พอคุยกับโค้ชแล้ว ต้องการให้สถานการณ์เป็นอย่างไร เป็นการสอนให้หาคำตอบด้วยตนเอง

ควรรับผิดชอบชีวิตของคุณเอง 100%

กิจกรรม ชมภาพยนตร์

บทเรียน คุณโจน จันได เคยไม่เชื่อมั่นในตนเองเหมือนคนอีสานทั่วไปที่รู้สึกว่าตนด้อย เมื่อเข้ากรุงเทพ ไม่กล้าซื้ออาหารกิน กลัวพูดไม่ชัด ไม่กล้าหางาน เรียนการศึกษานอกโรงเรียน จะคิดเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยเผชิญกับความกลัวเพื่อที่จะได้อยู่กับมัน การหนีทำให้ไม่เข้าใจความกลัว การเผชิญทำโดยใส่ชุดชาวนา เผชิญการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้คุ้นเคย ความกลัวลดลง และได้พัฒนาตนเองมากขึ้น ต้องเผชิญอารมณ์ตนเอง ให้สติปนใหญ่และใจเข้มแข็งขึ้นมา เราไม่ควรอายที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นความสว่างที่ทำให้อยากมีชีวิตต่อไป

เนื้อหา (ต่อ)

น่าเสียดายที่บางคนเก่งแต่ศักยภาพถูกกดทับไว้

เด็กบางคนชอบดนตรีแต่พ่อแม่ไม่ให้เรียน จึงไปคุยกับป้า ป้าให้เรียนแต่ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ จึงเรียนจิตวิทยา แต่ก็ยังเล่นดนตรีไปด้วย เขามีเป้าหมายจะนำดนตรีมาบำบัดจิต เป็นการที่ไม่ทิ้งศักยภาพตนเอง แต่ก็ถูกใจพ่อแม่

เจ้านายต้องฝึกพนักงานให้ทำสำเร็จทีละขั้น

การรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100%

เหตุการณ์+การตอบสนอง = ผลลัพธ์

คุณมีสิทธิ์ที่จะเลือกการตอบสนอง เป็น Stop to think ควรดูว่าเป้าหมายของเราว่าคืออะไรด้วย

เวลาอบรมลูก ให้อธิบายพฤติกรรม แทนที่จะบอกว่าไม่ดีเท่านั้น

อิทธิพลจากคำพูด 7% โทนเสียง 38% และท่าทาง 55% ควรอธิบายถึงเจตนาที่อยู่เบื้องลึกด้วย ติพฤติกรรม ไม่ใช่ตัวตนของคน

อย่าตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ เจ้านายควรเป็นผู้สังเกตการณ์ คอยให้คำแนะนำ จะได้ไม่ต้องเป็นหน่วยกู้ภัยตลอด

เข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณอยู่ตรงนี้

ชีวิตเรามี 3 คำ คือ Be, Do, Have

ต้องคุยกับลูกน้องเรื่องเป้าหมาย ถ้าเขาเข้าใจ ก็จะสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

วันที่ 28 มกราคม 2558

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ทุกราคาที่ลูกค้าเสียไปต้องชดเชยด้วยความแตกต่าง แม้ราคาถูก แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคุณภาพ

เช่นอาหารต้องอร่อยตรงตามความต้องการลูกค้าและสมราคา

เราก็ยังมีคู่แข่ง เราต้องเข้าใจวิธีคิดว่าไม่มีอะไรขาวกับดำ ความสมดุลราคากับความแตกต่างดิ้นได้

คู่แข่งขายอาหารอร่อยเท่ากัน แต่ราคาถูกกว่า คนก็ไปซื้อที่ร้านคู่แข่ง

ร้านอาหารอร่อยราคาแพงกว่า คนก็ไปซื้อที่ร้านนี้มากกว่าร้านที่อร่อยน้อยกว่า ราคาถูกกว่า

บางทีร้านอาหารราคาและคุณภาพต่างกัน อยู่รอดทั้งหมดถ้าไม่อยู่ติดกัน

ถ้าอาหารอร่อย แต่บริการไม่ดี ก็อยู่ไม่รอด

บ้านไร่กาแฟเดิมกำหนดราคา 80 บาท รสชาติใช้ได้ แต่บริการไม่สุภาพ ใช้เวลาชงนานทั้งๆที่เป็นร้านในปั๊มที่คนมาแวะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ถือว่าวางตำแหน่งไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ร้านอเมซอน แพงกว่า แต่บริการเร็วกว่า

ราคาแพง รสชาติต้องอร่อยมาก ได้มาตรฐานคงเส้นคงวา

อย่ามองอะไรจากมุมตนเองเท่านั้น

ถ้าวางตำแหน่ง ต้นทุน ราคา สอดคล้องกับลูกค้า ก็จะรอด

สายโซ่แห่งคุณค่าสำคัญ สตาร์บัคมีการกำหนดอุณหภูมิชงกาแฟ และมีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าได้สินค้ามีคุณภาพ

ประเทศจะขายสินค้าได้ดีต้องกำหนดราคาและคุณภาพให้ตรงตำแหน่งของลูกค้า

เมื่อมีเขตการค้าเสรี ก็มีการแปลงสัญชาติสินค้าเพื่อเข้ามาขายในประเทศเลี่ยงภาษี

ประเทศเล็กแข่งขันลำบากต้องวางตำแหน่งใหม่ เช่นรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเหมือนได้อีก 9 ประเทศฟรี

ตำแหน่งของประเทศเกิดจากตำแหน่งขององค์กรต่างๆในประเทศ ถ้าสินค้าตรงกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศเจริญ

มาเลเซียประสบความสำเร็จเพราะวิเคราะห์ SWOT ดี มองอนาคตเก่ง

ความสามารถในการจับประเด็นเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ชนะได้

จาก Balance Scorecard วัตถุประสงค์ได้แก่ การเงิน ลูกค้า ระบบ การเรียนรู้ (Learning Growth)

ในมุมมองลูกค้า การทำให้ลูกค้าพอใจสำคัญสุดเพราะมีอิทธิพลต่อการรักษาลูกค้า หาลูกค้าใหม่ หากำไร และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

ลูกค้าอาจจะพอใจในสิ่งที่ต่างกันคือ ราคา คุณภาพ ภาพลักษณ์

ต้องมีการพัฒนาภาพลักษณ์ โดยพัฒนาระบบ ประชาสัมพันธ์ให้ตรง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

ต้องมีการเพิ่มพูนสินค้าใหม่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

เมื่อวางระบบ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับลูกค้า

Balance Scorecard ช่วยป้องกันภัย เพราะช่วยจัดระบบโดยจัดการฝึกอบรม

ต่อมามี Balance Scorecard สำหรับรัฐวิสาหกิจ แต่เรื่องการเงิน เป็นการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

Competing for Core Competency เป็นความแตกต่างที่คนเลียนแบบยาก นี่คือที่มาของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อย่ามองแค่สินค้า จุดอ่อนที่แก้ได้ ทำได้โดยไปหาพันธมิตร

วันนี้อย่ามองแค่ Core Competency แต่ให้มองตนเป็น Strategic Resources

Strategic Resources ประกอบด้วย Core Competencies, Strategic Asset, Core Processes

สมัยนี้ การขายไม่อาศัยเนื้อที่ แทนที่จะเป็นร้านหนังสือธรรมดา ก็เป็นร้านอเมซอนขายทางอินเตอร์เน็ต

ขายแซนวิชโดยเป็นพันธมิตรกับวัดขายเป็นอาหารแจกในงานศพได้เป็นวันละหมื่นชิ้น

การได้คนดี 1 คนก็จะดึงดูดคนดีๆเข้ามาอีกมาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงทิศทางโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนจุดแข็ง ตรง KPI

การทำ SWOT ต้องมองอนาคต

การทำให้ลูกค้าพอใจต้องทำให้เป็นรูปธรรม

สิ่งสำคัญที่สุดคือปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์

นักคิดเชิงกลยุทธ์มีลักษณะดังนี้

รู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง ลูกค้าต้องการ One Stop Service ดังนั้นหลายธุรกิจจึงไปเปิดในห้างทำให้ลูกค้าไปใช้บริการได้หลากหลาย

Blue Ocean มีนวัตกรรมใหม่ เช่น สายการบินต้นทุนต่ำ ที่เกิดจากคนอยากนั่งเครื่องบินในราคาถูกแบบรถเมล์

เมื่อโลกเปลี่ยน เราทำได้หลายเรื่อง แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง

วันนี้สินค้าชนะกันด้วยความแตกต่างและสิ่งที่จับต้องไม่ได้

โลกยุคปัจจุบันเข้าสู่ยุคพลังงานทางเลือกบวกไอทีแล้ว ไทยกำลังใช้พลังงานทางเลือก 12% และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้องปรับวิสัยทัศน์ อย่ามองแค่ไทย มองอาเซียนและโลกด้วย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ใน blog นี้ เป็นประโยชน์มากครับ ไม่เฉพาะแค่ผู้เข้าอบรม เท่านั้น ท่านยังแบ่งปันให้คนทั่วๆไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าย่างยิ่ง ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ต่อในเวปไซด์ www.thaiihdc.org เวปไซด์ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ที่ท่านเป็นประธานครับ

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

สรุปการบรรยายหัวข้อ

3V & Innovative Project: โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ.

(Problem Based Learning..ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคต

กฟผ. ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย

29 มกราคม 2558

ศ.ดร.จีระ: ต้องนำความรู้ หรือ Input ที่ได้ไปใส่ในสายงานวิจัยด้วย โดยใช้ Chira way ในการเก็บข้อมูล

การตั้งสมมติฐาน ต้องตอบโจทย์อนาคต และต้องมองเรื่อง 3V ด้วย

ห้องนี้ได้ Vตัวที่ 1 แล้ว ต้องเน้นเรื่อง V2 และ V3

การต่อสู้โดยให้มูลค่าโดยต้องทำCreativity และต้องมีนวัตกรรม

หากมีช่องว่างที่เลี่ยงวัฒนธรรมองค์กร ก็ควรทำเพื่อให้ได้โครงการ 3V

ค้นหาตัวเองว่ามีอะไรข้างใน และต้องรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน Value creation และไปสู่ Value diversity

ถ้ามี Value diversity มากๆ ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์

ขอให้รุ่น 11 เอาจริงเรื่อง 3v

ฝึกวินัยในการตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis ที่น่าสนใจ และนำไปใช้ได้ แล้วเก็บข้อมูลนำเสนอว่าตอบโจทย์ Hypothesis ที่ตั้งไว้ว่าทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้ก็เดินหน้าต่อ ถ้าทำไม่ได้ก็เก็บข้อมูลพื้นฐานไว้ก่อน

Hypothesis ของ รุ่น 11 จะต้องเน้น..

  • -Relevant นำไปใช้ในองค์กรของเรา
  • -มองอนาคต
  • -Expand to high value, 3V โดยเฉพาะระหว่างประเทศ หรือระหว่างหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะ Diversity เน้นภาคประชาชน นักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่นและต่างประเทศ
  • -ต้องคิดว่าร่วมกัน Learn อย่างวันนี้ จะให้สบายๆ แค่ explore หัวข้อ Hypothesis ก่อน แล้วค่อยๆ มาดูว่าอะไรเป็นไปได้ แล้วจึงวางแผนเก็บข้อมูล และ Review Literature ขั้นต้นอย่างไร?
  • -ที่สำคัญ คือ มองอนาคตของเราว่าจะไปทางไหน? และย้อนกลับมาดูว่าจะต้องทำอย่างไร? ทำได้ดีหรือไม่? ดูสภาพแวดล้อมในอนาคตคล้าย ๆ คลื่นลูกที่ 4 ของผม และการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและต่างประเทศที่มากระทบ เราจะฉกฉวยโอกาสอย่างไร?
  • -ข้อดีของรุ่นที่ 11 คือ มีการวางแผนล่วงหน้า ผมเป็นหัวหน้า research ทุกกลุ่มปรึกษาผมได้ และผมจะมีอาจารย์ กิตติ และทีมวิทยากรพี่เลี้ยงมาช่วย
  • ข้อที่พึงพิจารณา คือ
  • -Timing เวลามีไม่มาก
  • -ทำงานเป็นทีมอย่างวันแรกดีมาก คล้ายๆ Workshop หาหัวข้อที่ Relevant และไปต่อยอด 3V ให้ได้
  • -อยากเห็น V ที่ 2 กับ V ที่ 3 มากหน่อย คือ มองอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์ และนอกจากสร้างสรรค์แล้วต้องทำให้สำเร็จ คล้าย ๆ จาก Creativity ไปสู่ Innovation แต่จะต้องเน้น Reality and Practical โดยมองจากองค์ความรู้ Basic Knowledge ที่มีและหาได้
  • วันนี้เป็นวันแรก.. หารือหัวข้อกันก่อน ควรจะเป็น Hypothesis ต้อง Relevant แต่ยังขาดการวิเคราะห์และเก็บข้อมูล ซึ่งจะยืนยันว่า Hypothesis ถูกต้องหรือไม่?
  • -Secondary Data
  • -Primary Data / Questionnaires / Focus Group หรือ In-depth Interview
  • แต่ที่สำคัญที่สุด คือ
  • - อ่าน Case กรณีศึกษาต่าง ๆ ในด้านการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกระเด้งไปสู่การบริหารจัดการของเรา และเน้นทุนมนุษย์ 8K's และ 5K's ให้มาก
  • -มองอุปสรรคมากกว่าการตั้งโจทย์เท่านั้น อุปสรรค ต้อง Realistic อยู่ในบริบท (Context) ของเรา
  • -มอง Research ว่าเป็นการฝึกอ่าน เรียนรู้เชิงลึก มีระบบความคิดเพราะต้องแยกข้อมูลที่จำเป็นกับไม่จำเป็น และสรุปมาเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเรา และในระยะยาวบางคนอยากเรียนปริญญาเอกต่อให้ดี

ทุกเรื่องที่สอนในห้องนี้ แม้กระทั่งการให้อ่านหนังสือ ก็สามารถนำไปใส่ได้ในงานวิจัย หรือโครงการได้

ผมมีโอกาสดูแลวิทยานิพนธ์ของปริญญาโทและเอกหลายแห่ง และครั้งนี้ในฐานะ Coach ใหญ่ เรื่อง Projects ของรุ่น 11 ผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ผมมี Passionแล้ว ทุก ๆ คนปรึกษาได้ เป้าหมายของผม คือ เรียนรู้เรื่อง Research ไปด้วย โดยเฉพาะช่วงที่เบรก ทุกวัน คือ คิดถึง Projects และนำเอาแนวคิดที่เรียนทุก ๆ วันในห้อง + การอ่านเพิ่มเติม มาใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมของเรา อย่าให้แตกแยกไปจากการเรียนในห้อง ให้การทำ Research เป็นเนื้อเดียวกันกับการเรียน

โครงการ Mini-Research & Projectsของ EADP10

™กลุ่มที่ 1 การเตรียมแหล่งเงินทุนในการสร้างโรงไฟฟ้า

™กลุ่มที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดสัดส่วนกำลังไฟฟ้าที่ผลิตของกฟผ.

™กลุ่มที่ 3 การก่อสร้างไฟฟ้าของกฟผ.เป็นอย่างไรในปี 2020

™กลุ่มที่ 4 ทัศนคติของคนกฟผ. ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

™กลุ่มที่ 5 การลดการต่อต้านของชุมชนในการสร้างพลังงานของกฟผ.

™กลุ่มที่ 6 การพัฒนาศักยภาพ EGAT Group เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

™กลุ่มที่ 7 ปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างระบบส่งของกฟผ.: ศึกษากรณีการได้มาซึ่งที่ดิน

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล: เป้าหมายคือ ต้องสร้างโครงการ และทำอย่างไรให้ EGAT พัฒนา ไม่ใช่เป็นโครงการแบบ Routine ต้องเป็นโครงการที่ใหม่ และน่าสนใจ ให้ทุกคนคิดว่าอยากทำอะไร

งานวิจัยต้องทำเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่คิดมันใช่ เช่น ปีที่แล้วมีปัญหาเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้า คือ ชุมชนต่อต้าน มีกลุ่มหนึ่งทำเรื่องทำอย่างไรให้ชุมชนต่อต้านน้อยลง มีการสำรวจ สอบถาม ลงพื้นที่ชุมชน นำเสนอดี ต่อไปคือ ถ้า EGAT ทำโรงไฟฟ้า จะต้องมีปัจจัยอะไรเพื่อให้ชุมชนไม่ต่อต้าน เพราะฉะนั้นต้องทำแบบมียุทธศาสตร์ ปัญหาคือ ปีที่แล้ว ไปดูที่โรงไฟฟ้ากระบี เพราะกระทบเรื่องการท่องเที่ยว เพราะต้องทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ยอมรับ ต้องทำอย่างมียุทธศาสตร์ วันนำเสนอปรากฎว่าไม่ใช่อย่างที่ตกลงกัน

  • ดังนั้นการที่จะโครงการอะไร โดยหลักต้องดูว่า EGAT 2015 มีปัญหาอะไร
  • แต่ละกลุ่มต้องช่วยกันคิดว่า EGAT 2015 มีปัญหาอะไร และจะมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร และต้องดูว่า EGAT 2020 เป็นอย่างไร และมีการเตรียมตัวอย่างไร
  • ปัญหา
  • •EGAT 2015 -----> EGAT 2020
  • •Many PROBLEMS!
  • •Thinking à Sharing à Selecting
  • Choose ONE Problem เลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด และส่งผลทางลบขององค์กร
  • Workshopกลุ่ม 1
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบันที่ส่งผลต่อ EGAT 2020 กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - ความห่างของ Gen เกิดความไม่ต่อเนื่องของแนวคิดของการสร้างผู้นำ
  • - EGAT Positioning กำลังผลิตลดลงไปเรื่อยๆ
  • - ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรลดลง
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - สนับสนุนรุ่นเด็กๆเพื่อต่อจากรุ่นเกษียณ
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - ดูเรื่องการรองรับของวัฒนธรรม และเรื่อง Mindset
  • Workshopกลุ่ม 2
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - ปัญหาคนขาดช่วง จะมีคนลดลง
  • - การจัดการองค์ความรู้ หรือ KM เพื่อส่งไปยังคนรุ่นใหม่
  • - ยังไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - ไม่มีการให้ความสำคัญกับ KM อย่างแท้จริง เน้นไปที่บริหารก่อน
  • - คนที่ขาดหายไปเป็นประเด็น
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • ต้องทำ fast track เพื่อให้มีคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ
  • การหาคนจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามา
  • มีการวางแผนรับคนเข้ามาเรื่อย เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
  • Workshopกลุ่ม 3
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - โครงสร้างองค์กรที่ใหญ่และซ้ำซ้อนของงาน
  • - การยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าจากชุมชน
  • - การขยายและบำรุงรักษาระบบส่ง
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - ควรจะ Reengineering
  • - ต้องเปลี่ยนวิธีทำประชาสัมพันธ์ชุมชน
  • - สายส่งไฟฟ้าส่งผลกระทบกับชุมชน
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • - สื่อสารให้เข้าใจหลายทาง
  • Workshopกลุ่ม 4
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - EGAT ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้
  • - อนาคต EGAT ต้องบูม แต่เรื่องการดึงบุคลากรเป็นปัญหาใหญ่
  • - ต้องเตรียมความพร้อมในขณะที่ทรัพยากร โดยต้องเตรียมพร้อมทำธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่การไฟฟ้า
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - ใช้การเข้าถึงชุมชนเข้าไปเสริม
  • - ต้องทำเรื่อง Happiness workplace
  • Workshopกลุ่ม 5
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - สัดส่วนกำลังผลิตของกฟผ.ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • - ความแตกต่างระหว่างวัย
  • - การทำงานที่ไม่ใช่งานหลักเยอะมาก
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - กระทบต่อความยั่งยืน
  • - ปัญหาเรื่องการส่งต่องาน
  • - อัตรากำลังไม่พอ แต่การทำงานไม่ได้เน้นงานหลัก
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - ต้องสร้างเครือข่ายให้ดีขึ้น
  • - เน้นการสร้างการยอมรับและFast track
  • - ต้องทำงานเฉพาะจุด แต่ไม่จำเป็นต้องลงไปทุกฝ่าย
  • Workshopกลุ่ม 6
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - การขาดช่วงของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เชี่ยวชาญ
  • - การต่อต้านของชุมชนต่อการพัฒนาไฟฟ้า
  • - ขาดการบริหารจัดการที่รวดเร็ว
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - นโยบายลดคนตั้งแต่ 15 ปี ก่อน ไม่มีแผนการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
  • - โครงสร้าง และระดับชั้นมาก ไม่ทันต่อสถานการณ์ ทำให้งานล่าช้า
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - การทำ Successor plan
  • - ต้องทำแผนยุทธศาสตร์ และเปิดรับมืออาชีพเข้ามาร่วมทีมสังคมชุมชน
  • - มองเรื่องโครงสร้างและระบบการทำงานว่าเอื้อต่อการทำงานหรือไม่
  • Workshopกลุ่ม 7
  • 1. ให้แต่ละกลุ่มเสนอปัญหาที่ EGAT เผชิญอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มละ 3 ประเด็น
  • - คนขาดช่วง ความรู้เก่าหายไป
  • - โครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน
  • - โครงการ Early
  • 2. วิเคราะห์ว่าปัญหานั้น เกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใด
  • - รับพนักงานน้อย ลูกจ้างเยอะ เอาความลับองค์กรออกมาเยอะ
  • - นโยบายรัฐบาล
  • 3. เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • - กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม

ศ.ดร.จีระ: ขอชมเชย และตอบคำถามได้ตรงประเด็น แต่ขาดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยังไม่มีความเป็นสากลเท่าที่ควร

ประเด็นปัญหา นวัตกรรมคือ ถ้าเราเลือกก็เจอ แต่เราต้องทำแบบเกือบสำเร็จ

ผมเห็นปัญหาที่นี่เยอะ ขอให้คำนึงถึงปัจจัยของอุปสรรคเป็นหลัก เรื่องการปรับองค์กรน่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้แล้ว คือ ต้องให้ Flow วิ่งไปทางขวาไม่ใช่แนวดิ่ง ภารกิจเมื่ออยู่กับภาคเอกชนแล้วต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ต้องปรับองค์กรซึ่งน่าจะทำง่ายกว่าชุมชนทั้งสายส่งกับการสร้างโรงไฟฟ้า เมื่อเลือกแล้วก็อยากให้ realistic

Role model ในยุคต่อไปคือกลุ่มนี้ แล้วรวมตัวกัน

การทำโครงการครั้งนี้สามารถนำเรื่องของรุ่นที่ 10 มาดูและเปรียบเทียบ

ศักยภาพในตัวหากไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่เนื่องจากติดที่โครงสร้าง

เรื่อง International area ต้องเน้นมากขึ้น คือ ต้องปรับmindset ต้องเป็นมืออาชีพ และ มีความเป็น Internationalism ปรับองค์กรภายนอก

อย่าเป็นเหยื่อของความสำเร็จ ต้องมีการลงทุนเรื่องคน

SCG ให้เรียนทุกปี ไม่นับวันลา อย่างน้อย 7 วัน

EGAT ยังลงทุนเรื่องคนน้อย

อ.กิตติ: แต่ละกลุ่มมองปัญหาขององค์กรคล้ายกัน ให้แต่ละกลุ่มเลือกปัญหาของตัวเองไว้

กลุ่ม 5 : สัดส่วนกำลังผลิต

กลุ่ม 4: การสร้างการยอมรับของชุมชน

อ.กิตติ เสนอว่าควรทำเรื่องใหม่

อ.จีระ: ควรสัมภาษณ์ประชาชน 200 คน

กลุ่ม 1: การบริหารจัดการองค์กร (management tool)

กลุ่ม 3: การขยายระบบส่ง

กลุ่ม:

กลุ่ม:

กลุ่ม:

ศ.ดร.จีระ: แต่ละโต๊ะให้ตัดสินใจเรื่องหัวข้อและให้ส่งข้อมูลกลับมา

สรุปการบรรยายหัวข้อ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ.

: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน"

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

29 มกราคม 2558

กิจกรรม: ให้เสนอผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม

  • -อยากเห็นการประเมินผลการปฏิบัติงานชัดเจนขึ้น
  • -ทำอย่างไรให้วิเคราะห์เร็วมากขึ้น และลดความผิดพลาดให้น้อยลง
  • -การคิดเชิงคุณภาพ การเพิ่มคุณภาพให้มากขึ้น ใช้เวลาให้น้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนให้น้อยลง ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
  • -เพิ่มคุณภาพการทำงาน ต้องลดเวลา ลดความซ้ำซ้อนของระบบงาน ลดจำนวนการประชุม
  • -อยากให้ชาวบ้านเรียกร้องให้กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้า
  • -อยากมีความสุขในการทำงาน รับโบนัส 5 เดือน
  • ศาสตร์แห่งความสุข ของดร.เดวิด กล่าวว่า ความลับของความสุข คือ
  • ความคืบหน้า
  • ที่มุ่งสู่
  • ที่มีความหมาย
  • เป้าหมาย

แชร์ความคิดเห็นเรื่องความสุข

ความสุขหาตัวดัชนีชี้วัดยาก อยู่ที่ตัวบุคคลเป็นที่ตั้ง ต่อเนื่องหรือไม่ ตอบได้ว่าไม่น่าจะต่อเนื่อง เพราะไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา เรื่องความคืบหน้าไม่จำเป็น เพราะชีวิตคืบหน้าไป ไม่จำเป็นว่าต้องมีความสุขเสมอไป

อ.ศรัณย์: ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเคลื่อนที่ไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ

คนเราจะประสบความสำเร็จในการทำงานขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

ตั้งคำถาม และหาคำตอบว่าท่านจะลงกี่ชิป ถ้ามั่นใจมากลงมาก มั่นใจน้อยลงน้อย

1. 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับขึ้นอยู่กับ

- มนุษย์สัมพันธ์

- ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่ต่างไปจากเดิม เป็นการพัฒนาและปรับปรุง และทำให้มีความสุข และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

ความคิดบางคิดก็ติดอยู่ในกรอบความคิด บางครั้งติดนโยบายองค์กร ติดงบประมาณ ติดบทบาท กรอบสังคม คิดกลับไปที่เดิม เลยผิดธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์

ต้องสลายกรอบความคิด

คิดนอกกรอบ เอาไปใช้เลยไม่ได้เหมือนเป็นความคิดดิบๆ ต้องบ่มความคิด ดึงความคิดอยู่ในกรอบองค์กร และกรอบสังคม

คิดคร่อมกรอบ โดยแนะนำตัวเองแบบใหม่ว่า

รูปอะไร

ผลไม้อะไร

กลิ่นอะไร

เสียงอะไร

กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนส่วนใหญ่

  • -การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง
  • -การเซนเซอร์ตัวเอง
  • -การเดินตามผู้อื่น
  • -ความกลัว

จริงๆแล้วทุกคนมีไอเดียมีความคิดใหม่ๆแต่เราไม่สามารถผลักดันให้เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะกลัวผิด ไม่อยากต่างจากคนอื่นๆ

กิจกรรม: ในการทำลายกรอบความกลัว

ให้เขียนว่ากลัวอะไรอยู่

จริงหรือไม่

ถึงตายมั้ย

  • -นักประดิษฐ์ ISPT INFP
  • -นักประพันธ์ ISFP
  • -นักผจญภัย ESTP ESFP
  • -ผู้นำทาง ISTJ ISFJ
  • -นักสำรวจ ENTP
  • -ผู้มีวิสัยทัศน์ INTJ INFJ
  • -นักบิน ESTJ
  • -นักประสานเสียง ESFJ ENFJ

กิจกรรม แนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์ และเปลี่ยนคู่ เปลี่ยนกลุ่มแนะนำตัวไปเรื่อยๆ

เทคนิคทำอะไรเพิ่มเติมได้อีกบ้าง

  • -ทำอะไรอยู่บ้าง

เราต้องคิดไอเดียออกมาเรื่อยๆ ไอเดียหลังมักจะแปลกไปจากเดิม วิธีคิดนอกกรอบคือ คิดปริมาณเยอะๆ

  • -ทำไปทำไม
  • -มีวิธีอื่นอีกหรือไม่
  • คิดคร่อมกรอบ PPCO
  • -คิดถึงข้อดี Pluses
  • -ข้อดีในอนาคต Potentials
  • -ติด...แต่ว่า...กังวล.... Concerns
  • -หลบ เลี่ยง Opportunities

ให้บอกว่าที่เรียนในวันนี้ชอบ ไม่ชอบ อยากจะเสนอแนะอะไร

1. ให้คิดแบบไม่ยั้ง เน้นปริมาณเยอะ divergent thinking

2. ต้องไม่กีดกั้นความคิดคนอื่น และต้องเตรียมความคิดแปลกๆ

3. เป็นการสอนแบบใหม่ เปิดใจรับฟังสิ่งแปลกๆเข้ามา

4. ต้องรู้จักคน ต้องอดทน

5. เวลากลัวอะไร ต้องถามว่ากลัวอะไรอยู่ แล้วไง ตามมั้ย

6. ต้องกล้าคิด กล้าพูด จะได้ความหลากหลาย

7. เป็นการคิดนอกกรอบที่จับต้องได้

8. เริ่มคิดจากตัวเราเองก่อน

9. หากโลกนี้ไม่มีคนเพ้อเจ้อ เพ้อฝัน ก็ไม่มีคนคิดนอกกรอบ

10. รับฟังความคิดของผู้ร่วมงาน

11. ปัญหาที่คิดว่าแก้ไม่ได้ ต้องลองกลับไปคิดดูใหม่

12. ได้ความคิดหลากหลายจากเพื่อนที่เข้าอบรม

13. การคิดนอกกรอบไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้ารู้วิธีคิด

14. อาจารย์มีไอเดีย สามารถนำไปสอนลูกน้องได้

15. มีความกล้ามากขึ้น

16. ต้องคิดร่วมกันเพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์

17. ได้ความคิดเป็นรูปธรรม

18. เทคนิค PPCO สามารถนำไปใช้ได้จริง

19. ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองจากความคิดใหม่ก่อน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงงาน

20. ได้รู้เทคนิคว่าต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นการคิดนอกกรอบ

21. ปัญหาของคนไทยคือ อายและกลัวความคิดของตัวเอง

22. นำความรู้ไปปรับใช้ในที่ทำงาน

23. เข้าใจความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

24. บางครั้งต้องคิดกลับด้าน

25. ได้เทคนิค 4 คำถามสลายความกลัว และ PPCO

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 28 ม.ค. 58

สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ (ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์)

1.ภาวะผู้นำ ได้เรียนรู้ถึงตัวอย่างภาวะผู้นำที่เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และทีมงาน ที่สำคัญต้องมีธรรมาภิบาล

2.วางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการวางแผนระยะยาว เช่น ผู้นำจีนที่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 8 ปี ซึ่งเป็นแนวทางในการทำ Successor. ขององค์กรได้ และในการพัฒนาควรใช้หลักการ 8 k's+5 k's

3.หลักการเรียนรู้ที่สำคัญคือต้อง Reality และ Relevant

4.การจัดทำ workshop ช่วยให้ได้ Network เพิ่ม และได้ทบทวนหลักการวิจัย

Managing Self Performance (อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์)

1.เรียนรู้หลักการ Coaching นำไปพัฒนาทีมงานในองค์กรและครอบครัว

2.การทำกิจกรรม Stop to Think สามารถนำไปประยุกต์ในการบังคับบัญชา

3.หลักการของ Competencies ต้องมีทั้ง Knowledge Skill & Attributes

กลยุทธ์ เครื่องมือ และเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของกฟผ. (รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์)

1.การจับประเด็นให้ถูกต้อง และทันการณ์ ช่วยให้ทิศทางของแผนกลยุทธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.การจัดทำแผนกลยุทธ์ ความสำคัญลำดับต้น ต้องวิเคราะห์ SWOT อย่างถูกต้อง แม่นยำทั้งปัจจุบันและอนาคต

3.แผนกลยุทธ์ทั้งหลายในปัจจุบัน พัฒนามาจากหลักการเดิม แต่ควรนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม

4.Strategic Resource ประกอบด้วย Core Competencies, Strategy Asset และCore Process

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 29 ม.ค.58

3V & Innovative Project: โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. (ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ และ อ.กิตติ ชยางคกูล)

  • 1.ฝึกการตั้ง Hypothesis จาก Problem Base Approach โดยใช้หลัการทฤษฎี 3 V ได้แก่ Value Added, Value Creation และ Value Diversity โดย Hypothesis ที่ได้ต้อง Reality และ Relevant
  • 2.อ.กิตติ ให้โจทย์ในการตั้งหัวเรื่องงานวิจัย ในปี 2020 EGAT จะต้องเจอกับปัญหาอะไร ซึ่งต้องเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้ ถ้าไม่แก้ไข ปี 2020 จะแก้ไขไม่ทัน โดยให้กลุ่มคิด 3 เรื่อง ได้แก่
  • a.เสนอปัญหา 3 ประเด็น
  • b.วิเคราะห์ว่าปัญหาเกิดจากอะไร มีผลกระทบอย่างไร
  • c.เสนอแนะแนวทางการแก้ไข

ตัวอย่าง ปัญหาที่จะรักษาบุคลากรไว้ได้อย่างไร คำตอบคือใช้ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ, Happy Work Place, Happiness @ Work และทฤษฎี HRDS ทั้งนี้ Trend ในการพัฒนาคนในระยะหลังนี้ มักจะพัฒนาจาก Intangible

สำหรับกลุ่ม 6 ได้คิดถึงปัญหา 3 ประการคือ

1.กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการต่อต้านของชุมชน แนวทางการแก้ปัญหาคือ ทำสวนทางเดิมคือ ให้ชุมชนเรียกร้องให้ กฟผ.ไปสร้างโรงไฟฟ้า

2.กฟผ.ถูกดึงบุคลากรที่ลงทุนสร้างขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการ Bloom ของธุรกิจผลิตไฟฟ้า แนวทางแก้ปัญหาคือ การทำ Happy Work Place, Happiness @ Work และทฤษฎี HRDS

3.กฟผ.มีคู่แข่งมากขึ้น เนื่องจากนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าพัฒนารวดเร็ว อาจมีการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ได้ง่าย ต้นทุนต่ำ แนวทางการแก้ปัญหาคือ ค้นหาธุรกิจที่ กฟผ.มีศักยภาพไว้สำรองเพื่อการสยายปีกในอนาคต

ทั้งนี้ เมื่อต้องเลือก 1 เรื่อง กลุ่ม 6 เลือกข้อ 1 ในการทำวัจัย

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) (อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์)

ความคิดสร้างสรรค์ ทำได้ 3 แบบคือ สลายกรอบ (กรอบความคิด กรอบองค์กร กรอบสังคม) คิดนอกกรอบ และคิดคร่อมกรอบ ซึ่งมีวิธีแก้ไขคือ

1.จางกรอบความคิดคนเอง (ซึ่งอาเธอร์ กล่าวว่า "การคิดนอกกรอบคือ อย่าเอาตัวเข้าไปอยู่ในกรอบ") แล้วคิดนอกกรอบทั้งหมด (ถูกธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์) แต่ยังเอาไปใช้ไม่ได้

2.คิดนอกกรอบ Think out of the box ซึ่งเป็นความคิดแบบดิบๆ ต้องนำมาบ่มความคิด แล้วดึงกลับเข้ามาในกรอบซึ่งคือ คิดคร่อมกรอบ

3.กรอบที่กีดกั้นความคิดสร้างสรรค์คือ

a.การยึดติดกับภาพลักษณ์ของตนเอง

b.ความต้องการสร้างความประทับใจ

c.การ Sensor ตนเอง

d.การเดินตามผู้อื่น

e.ความกลัว ซึ่งมีคำถามแก้ความกลัว 4 ขั้นคือ กลัวอะไรอยู่ แล้วไง จริงอ๊ะเปล่า และถึงตามไหม

4.เทคนิคในการคิดสร้างสรรค์ต้องถามตัวเอง 3 ข้อคือ ทำอะไรอยู่บ้าง ทำอะไรเพิ่มได้อีกบ้าง ทำไปทำไม มีวิธีอื่นไหม แล้วนำมาสกัดในเป็นความคิดคร่อมกรอบด้วยหลักการ PPCO

a.Pluses ข้อดีคืออะไร

b.Potentials ข้อดีในอนาคต

c.Concerns ติดอะไร กังวลอะไร

d.Opportunities หลบหรือเลี่ยง หรือทะลุได้อย่างไร

นายไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากหัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์

การนำหลักการ PPCO ไปใช้ในการบ่มความคิดสามารถใช้งานร่วมกับกรอบขององค์กรและกรอบของสังคม

P คือ Pluses ข้อดีของความคิด

P คือ Potentials ข้อดีที่จะเกิดในอนาคต

C คือ Concerns ข้อติดขัด ข้อกังวล ข้อแม้ ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น

Oคือ Opportunities การหลบเลี่ยง การทะลุ ข้อกังวล

ความเหมือนกันของกฎทอง 25 ข้อของ Mr.Willium E.Heinecke และ Chira Hongladarom's Model ซึ่งเป็นประโยชน์กับ กฟผ.

1.สนุกกับงาน

2.คิดถึงภาพใหญ่

3.ฝันให้ไกลและไปให้ถึง

4.Focus ที่ลูกค้า

5.เป็นผู้นำในงานที่ทำ

6.เรียนรู้ประโยชน์จากความเจ็บปวด

7.ล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้น

8.สร้าง Network

9.เสนอรูปแบบใหม่ที่ทำให้ดีขึ้น

นายไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

สรุปสิ่งที่เรียนรู้ EADP วันที่ 28 ม.ค. 58

สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ (ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์)

ผู้นำจะต้องมีจริยธรรมที่ดีและมีความรอบรู้ ใฝ่รู้

ซึ่งการเรียนรู้ที่เป็นเลิศได้แก่

4L's

Learning Methodologyมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunitiesสร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2I's

Inspiration – จุดประกาย

Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

3L's

­Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

­Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

­Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C – U – V

•Copy

• Understanding

• Value Creation/Value added

โดยเฉพาะหากจะนำความคิดของผู้อื่นมาใช้ ควรใช้ด้วยความเข้าใจ ให้เกียรติที่มาของความคิด และที่สำคัญต้องสามารถนำไปใช้อย่างเพิ่มมูลค่าให้กับความคิด

นอกจากนี้ผู้นำจะต้องมีน้ำอดน้ำทนต่อความเจ็บปวดและต้องมีความสามารถในการเรียนรู้จากความเจ็บปวดที่ได้รับจึงจะสามารถนำพาองค์กรไปรอด

และการพัฒนาผู้นำนอกจากความสามารถด้านความรู้และความคิดแล้ว ยังต้องพัฒนาความเป็น Coach ด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติเป็น Coach ที่ดีด้วย

นายไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

วันพุธที่ 28 มกราคม 2558

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ คนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบ

องค์กรจึงต้องทำให้คนในองค์กรมีความสามารถในการเป็นโค้ช

จากการชมภาพยนตร์

ความโกรธ ความโลภ ความกลัวหรือกังวล จะเป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์ เกิดความเครียดมนุษย์ ถ้ามนุษย์เครียด แกนกลางสมองเต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก จะสั่งงานมาที่ร่างกายทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้ ผู้นำจะต้องสามารถทำให้ผู้ตามปราศจากความเครียดอยู่ในภาวะสงบที่สุด

การโค้ชต้องให้ความสำคัญ Content และ Context คือทั้งเนื้อหาและบริบท

การเป็นโค้ชที่ดี จะต้องใช้การตั้งคำถามที่ดีเพื่อให้เกิดการคิด เป็นการดึงความเป็นเลิศของผู้รับการโค้ชออกมา

นอกจากนี้การสื่อสารจะต้องระมัดระวังเนื่องจากในการสื่อสารนั้น

อิทธิพลจากคำพูด 7%

โทนเสียง 38%

ท่าทาง 55%

ต้องคุยกับผู้รับการโค้ช เรื่องเป้าหมาย ถ้าเขาเข้าใจอย่างชัดเจน เรื่องก็จะสามารถทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างในการสร้างจิตวิญญาณ

พิจารณาจาก Model ข้อ 1- 9 ของอาจารย์จีระ มีความเหมือนกับมุมมองของ Mr.William ในประเด็น network

เน้นความเป็น 1 และมีความต่างในเรื่องบริหารคน ของอาจารย์จะเน้นลูกน้องด้วย จะพัฒนาลูกน้องให้เก่งด้วย แต่

Mr.William จะพัฒนาเฉพาะตนเอง โดยส่วนตัวชอบในเรื่องการปฏิบัติตนเหมือนเจ้าของ เพราะจะทำให้การคิด

การทำอะไร ก็จะระมัดระวัง และคิดทำเพื่อประโยชน์ขององค์กรจริงๆ เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของเองซึ่งก็ได้ใช้แนวคิดนี้ในการทำงานเช่นเดียวกัน

สรุปการเรียนรู้ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กฟผ. EADP 11/2015 โดย อ.ดร.จีระ หงส์ลดาลมภ์

การอบรมในวันแรก สร้างแรงกระตุ้นในการรับฟังวิทยากรมาก เนื่องจากเป็นรูปแบบใหม่ ที่ค่อนข้างออกแนวบู๊ สามารถกระตุ้นผู้เข้าอบรมวัยนี้ให้ตั้งใจฟังได้เป็นอย่างดี และมี work shop ที่ต้องใช้เวลาน้อยมากในการกลั่นควาคิดออกมานำเสนอให้ได้ สร้างความกดดัน ทำให้เกิดการตื่นดัว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบแรกของการอบรมคือ การ Turn Idea to be action แล้วให้ Turn action to be success ด้วยการคำนึงถึง 2 R คือการอยู่ในโลกของความจริง Reality และ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในเข้าด้วยกัน Relavant ต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้ มีความต่อเนื่องในงาน

และประเภทผู้นำ มี 2 ประเภท คือ ผู้นำโดยตำแหน่ง กับผู้นำที่มาจากความศรัทธา โดยคุณสมบัติผู้นำที่ดี ต้องมีศรัทธานในตัวลูกน้อง ไม่ใช้การสั่ง คนทุกคนสามารถฝึกได้ และผู้นำต้องมีอิทธิพลทางความคิด ไม่ใช้อำนาจเพียงอย่างเดียว

จุดอ่อนของ กฟผ. คือการประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้กับชุมชน ในชุมชนที่มีการดูแลจนโครงการสำเร็จแล้ว ต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> Compare เปรียบเทียบ กฎทอง 25 ข้อของ Mr.Willium E.Heinecke และ Chira Hongladarom’s Model ซึ่งเป็นประโยชน์กับ กฟผ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 1.Creativity and Innovation สนอรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ดีขึ้น </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 2.Down and up again มื่อเกิดผิดพลาดล้มเหลว ล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้นโดยเร็ว </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 3.คิด Project หม่ และยากเสมอ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 4.Develop your Contacts -ร้าง Network </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 5.GTD(get things done) บริหารเวลาuse your time wisely </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 6.Failure is lesson , recognize a failure and move on </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 7. Reach for the sky ฝันให้ไกลไปให้ถึง </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 8.Think big picture , set Goals องภาพใหญ่ มีเป้าหมาย </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> 9.Customer’s focus </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: normal;"> </p>

วุฑฒิชัย รัชตมุทธา

29 ม.ค. 58

1) การตั้งสมมติฐาน จะต้องคำนึง 3V

- Value added

- Value creation

- Value diversity

ปกติทั่วไปเรามักจะทำเรื่อง Value added อยู่แล้ว หากสามารถพัฒนาไปอีก 2 value ได้ จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ที่สร้างสรรค์ และหากเป็นการรวมความหลากหลายไว้ด้วยกันแล้ว ยิ่งทำให้บรรลุสิ่งที่ต้องการใด้ชัดเจนตรงประเด็นที่ต้องการ ความหลากหลายจะเป็นการสร้างพันธมิตรเครือข่าย ทั้งภายใน+ภายนอก ซึ่งจำเป็นต้องมีในโลกใบนี้

2) ความคิดสร้างสรรค์ :

* สลายกรอบ -> คิดนอกกรอบ -> คิดคร่อมกรอบ

โดยใช้เทคนิค Pluse Potential Concern Opportunity ทั้งนี้ จะต้องกล้าคิด คิดให้หลากหลาย ไม่ต้องให้มีอะไรมาขวางความคิด แล้วมาดูกรอบองค์การ + กรอบสังคม ว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นสอดคล้องกับ 2 กรอบนี้

* แนวคิดนี้สามารถนำมาปรับใช้กับทีมงานเรา เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ จะต้องตั้งใจอดทนรับฟัง ทุกความคิดเป็นสิ่งที่ดี แต่บางความคิดอาจยังไม่เหมาะกับปัจจุบัน /กรอบองค์กร(ที่อยู่ แต่อาจเหมาะกับองค์กรอื่นได้) / กรอบสังคมที่อยู่ (สังคมวัฒนธรรมอื่นอาจยอมรับก็ได้)

28 ม.ค. 58

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ :

1) ทุกคนต้องใฝ่รู้เรียนรู้ตลอดเวลา ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆมาเพิ่มปัญญา แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ "Chira Way" ก็เป็นอีกองค์ความรู้แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจศึกษานำมาประยุกต์ใช้งาน

2) Stop to Talk เราต้องรู้จักรอ รู้จักสงบ ฟังคนอื่น บางครั้งในการมอบหมายงานให้ลูกน้อง เรามักจะใจร้อน ไปติดตามเร่งงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เราควรรอด้วยความสงบ ในช่วงระยะเวลาที่มอบหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกน้องรู้จักคิดรู้จักทำเอง

3) นักคิดกลยุทธ์ต้องรู้จักนำ Tool Management ใหม่ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งต้องสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจเพื่อร่วมกันปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย

ถึงลูกศิษย์ EGAT 11 ทุกท่าน

ผมได้อ่าน Blog รุ่น 11 แล้ว ช่วงแรกก็ถือว่ามีความสำเร็จระดับหนึ่งเพราะขณะนี้ประมาณของวันที่ 30 มกราคม

กฌ็มีคนเข้าไปใน Blog เกือบ 100 คนแล้ว แสดงว่ามีคนสนใจที่จะอ่าน

ผมหวังว่าในช่วงที่ไม่ได้พบกันประมาณ 1 เดือนคงจะมีโอกาสได้แบ่งปันข้อมูลกันโดยเฉพาะประเด็นหลักๆก็คือ

- แต่ละวันได้อะไร

- มี Impact ต่อเราหรือ EGAT อย่างไร

- วันเสาร์ผมจะ Post บทความของผมให้อ่านดูเพื่อ Share

ผมจะเขียนมาถึงบ่อยๆมีความสุขที่ได้รับใช้เป็น Servant Leadership รุ่น 11 ครับ

อยากให้รู้จักวันดีๆกระเเด้งไปสู่แนวร่วมข้างล่างด้วยไม่ใช่คิดแต่ไปสู่ระดับบนเท่านั้น

ภูมิใจที่ได้พบทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


Learning Forum & Practice

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

­ ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

­ เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์

­ การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่

­ มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย

­ มารยาททางธุรกิจ

­ มารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่าง ๆ

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

30 มกราคม 2558

อาจารย์ณภัสวรรณ: ผู้บริหารต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ภายนอก ดูทั้งเครื่องแต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดี ทั้ง เสื้อผ้า หน้า ผม

แนะนำการแต่งกายคุณปฏิพัทธ์

  • -ควรเลือกเสื้อผ้าสีอ่อน เช่นสีฟ้า จะขับให้ผิวขาวมากขึ้น
  • -ปรับแต่งทรงผมใหม่
  • -การย้อมผมไม่ควรย้อมผมทั่วศีรษะ ควรเลือกย้อมสีน้ำตาลเข้ม

แนะนำผู้บริหาร

  • -ต้องดูแลหน้าตาให้สดใส ทาครีมบำรุง ทาครีมกันแดด
  • -ปรับทรงผมให้เข้ากับหน้า จะเสริมบุคลิกให้ดีขึ้น
  • -ผิวคล้ำต้องใส่เสื้อสีสดใส อย่าใส่สีมอๆ
  • -ใส่รองเท้าหัวยาว เสริมบุคลิก และใส่สบาย ดูเพรียว
  • -คนที่ตาบวมอยู่แล้วไม่ควรทาตาสีมุก จะดูบวมมากขึ้น
  • -คนที่จำเป็นต้องใส่ถุงน่อง ควรใส่สีเนื้อ
  • -สูทควรใส่พอดีตัว ไม่ควรปล่อยลุ่มล่าม พับแขนเสื้อให้พอดี
  • -ผู้หญิงควรใส่รองเท้าปิดหัว
  • -ปากกาควรใช้ให้ดูดี
  • -กางเกงควรมีความยาวที่พอดี

สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ

  • -พูดจาดี
  • -แต่งตัวดี
  • -มาดดี
  • -รู้จักกาลเทศะ
  • -อารมณ์ดี

First Impression

55% รูปลักษณ์ภายนอก

38% น้ำเสียง

7% การพูดจา

  • -การไหว้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องไหว้สวย เป็นการสร้างความประทับใจแรก
  • -คำนึงถึงธรรมเนียมไทยและธรรมเนียมฝรั่งว่าไม่เหมือนกัน มันจะตรงข้ามกันเสมอ

สีโทนร้อน: แดง เหลือง ชมพู ส้ม น้ำตาล แดง

สีโทนเย็น: น้ำเงิน เขียว ขาว เทา เงิน

แนะนำสุภาพสตรี

  • -ไม่ติดกิ๊ฟ โบว์ผูกผม
  • -กระเป๋าต้องไม่ใส่
  • -ต่างหูต้องไม่ห้อย
  • -เล็บต้องไม่ทาสีฉูดฉาด

แนะนำสุภาพบุรุษ

  • -รองเท้าต้องขัดเงา

แนะนำเรื่องการนั่ง

  • -ผู้หญิงไม่ต้องนั่งเต็มเก้าอี้ ให้นั่งแค่ครึ่งเก้าอี้
  • -ผู้ชายอย่านั่งไขว่ห้าง

เวลายืน: ผู้หญิงควรเก็บขาข้างหนึ่งไว้ข้างหลัง ทิ้งมือทั้งสองข้างสบายๆ

การเดิน: ควรเอาส้นลงก่อน ทำให้การทรงตัวดีขึ้น

กางเกงยีนส์สีซีดๆ ไม่ควรใส่

รูปร่างที่ต้องแก้ไข

หน้าท้องยื่น

ไหล่ห่อ ก้มงอไปข้างหน้า

ก้นยื่นไปข้างหน้า

ตำแหน่งของการนั่งที่ถูกต้อง Seating Position

การนั่งตามตำแหน่งที่ถูกต้อง: หากมี 3 คน เบอร์ 1 โซฟาเป็นที่ของแขก

เก้าอี้ ที่ใกล้ประตูเป็นที่ของเจ้าของบ้าน เบอร์ 2 นั่งเก้าอี้

ผู้หญิงไม่ควรนั่งใกล้ประตู เพราะต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย

แต่ถ้าบังเอิญผู้ใหญ่นั่งโซฟา ก็ให้ผู้อาวุโส หรือผู้ใหญ่นั่งใกล้ที่สุด

ถ้าผู้ชายที่ไปด้วย อาวุโส ก็ต้องนั่งใกล้เจ้าของบ้าน และนั่งใกล้ประตู

การประชุม นำเสนองาน

ผู้พรีเซนต์ ต้องนั่งฝั่งตรงข้ามประตู เพื่อให้เห็นว่าเขามาหรือยัง

การนั่งรถยนต์: รถยนต์ ผู้ช่วยเจ้านายนั่งหลังคนขับ เจ้านายนั่งเยื้องคนขับ

ถ้าเจ้านายขับเอง เรานั่งข้างๆแบบเจียมเนื้อเจียมตัว

รถตู้ : ถ้าไปกันเยอะ เด็กขึ้นก่อน และเข้าด้านใน ผู้ใหญ่นั่งแถวแรกตรงกลาง

เวลาลงแถวหน้า คือ แถวผู้ใหญ่ลงก่อน

การไปงานแต่งงาน คนที่ไปรดน้ำสังข์ คือ คนที่อายุมากกว่า

เจ้าบ่าวนั่งทางขวา เจ้าสาวนั่งฝั่งซ้าย

ต้องรดเจ้าสาวก่อน เพื่อให้เกียรติ แล้วค่อยกลับไปรดเจ้าบ่าว

การยื่นนามบัตร ต้องยื่นให้ผู้รับอ่าน โดยมารยาทต้องแนะนำตัวคร่าวๆด้วย

Tips 5 ข้อ

1. ปลอดภัย

2. สะดวกสบาย

3. ให้เกียรติ

4. อัธยาศัยไมตรี

5. ความมีระเบียบเรียบร้อย

บุญสม จันทร์อำรุง

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 30 ม.ค.58

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ (อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์) (9.00-12.30น.)

1.ได้เรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี ตั้งแต่การแต่งกายอย่างเหมาะสม การเลือกสี และแบบที่เหมาะสมกับโอกาส

2.การนั่งในที่ประชุม เมื่อนำเสนองานต้องนั่งหันหน้าเข้าหาประตู ผู้มีตำแหน่งสูงสุดนั่งใกล้ประธาน

3.การนั่งโซฟา ให้เจ้าของบ้านนั่งใกล้ประตู เข้าออกสะดวก

4.การยื่นนามบัตรให้ผู้อื่น ต้องหันด้านที่ผู้รับอ่านได้ ใช้สองมือ และเมื่อรับควรอ่านชื่อผู้ให้

5.หลักการจัดที่นั่งรถกับผู้อื่น

6.การขึ้นลงบันไดและใช้ลิฟท์ควรใช้หลักให้เกียรติและปลอดภัย

7.มารยาทบนโต๊ะอาหาร เช่นใช้ช้อนหรือซ่อมคู่นอกก่อนเสมอ การวางช้อนเมื่อรับประทานเสร็จแล้วให้วางเฉียงด้านขวาให้บริกรยกเก็บสะดวก การจับแก้วไวน์ใช้สามนิ้ว เป็นต้น

บุญสม จันทร์อำรุง

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 30 ม.ค.58 (13.30-17.00 น.)

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน (อ.สุขุม นวลสกุล)

1.เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในการเจรจากับ Mob ต้องศึกษาข้อมูลและที่มาของม็อบ อย่าขึ้นเวทีโดยไม่รู้ข้อมูล และควรเป็นฝ่ายที่ควบคุมเวที หรือหากไม่ได้ ต้องมีการตกลงเงื่อนไขก่อน เช่น ขอจำนวนคนเพิ่ม วิธีการถาม

2.จิตวิทยามวลชน ประกอบด้วย มีความเชื่อมั่น รู้ทันท่าที ตีเรื่องแตก แลกหมัด (ต้องพร้อมแล้ว)

สรุปการบรรยายหัวข้อ

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

30 มกราคม 2558

ความขัดแย้ง

  • -ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน
  • -มีทั้งส่วนรวมและส่วนตัว
  • การบริหาร ต้องไม่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
  • ที่ต้องระวัง คือ ต้องไปเอาความขัดแย้งส่วนรวมไปส่วนตัว
  • -คนเราถ้ามีการดูถูกกัน ต้องระวังเรื่องนี้ ไม่ให้มีการดูถูกเสียดสีกัน
  • หากต้องการความสามัคคี หัวหน้าต้องประสานความขัดแย้งให้เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน
  • -สิ่งที่ต้องระวัง คือ อย่าปล่อยให้มีการถกเถียงแบบจับคู่ ต้องมีทางออกให้ด้วย

การมองปัญหา คือ

  • -ทัศนคติที่ดี
  • - มองหลายมุม
  • -ใจเขา-ใจเรา อย่าไปสรุปปัญหาไปก่อน ต้องรับฟังปัญหา และต้องใจเขาใจเรา ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะยึดใจเรา แต่การแก้ปัญหาต้องนึกถึงใจเขาด้วย
  • - ปัญหาใหม่ ทุกครั้งที่มีการแก้ปัญหาจะต้องมีปัญหาใหม่ คนที่เป็นนักบริหารต้องคิดก่อนว่าแก้ปัญหานี้แล้วจะเกิดปัญหาอะไร และอะไรเป็นปัญหาที่สาหัส

Crowd

Mob เหมือนกันกับ Crowd คือ มาโดยมีจุดประสงค์ มีเป้าหมายเดียวกัน แต่ Mob จะมีอารมณ์ร่วม ต้องมีการแสดงพลัง

Mass ทำอย่างไรให้เป็น Crowd ได้ คือ อาจจะให้มีการแสดงดนตรี

  • ต้องมีจิตวิทยามวลชน
  • -ต้องมีความเชื่อมั่น
  • -รู้ทันท่าที
  • -ตีเรื่องแตกต้องส่งสายไปรับฟัง ไปบันทึก และต้องสรุปเรื่องราวมาให้ได้ แล้วเมื่อไหร่ที่เรารู้คำถามทั้งหมด ก็มาหาคำตอบแต่ละอันได้
  • -แลกหมัดการตั้งโต๊ะประจันหน้ากัน การมีข้อมูลพร้อมที่จะตอบคำถามทุกคำถาม เวทีที่เหมาะสมในการตอบโต้ คือ มีลักษณะ Crowd

ในการดูแลขององค์การนักศึกษา จะเลือกคำถามที่มาจากนักศึกษาจริงๆ เพื่อการควบคุมได้ไม่บานปลาย

การถามคำถามสดจากเวที บางครั้งควบคุมดูแลไม่ได้ แต่วิธีการแก้ปัญหาต้องปล่อยให้เวทีข้างล่างสามารถถามคำถามขึ้นมาได้ แต่ผู้ควบคุมเวทีต้องมีเทคนิคในการคุมด้วย

การเจรจาต่อรอง

  • -ไม่ได้จบลงที่แพ้ชนะ ไม่แสดงอาการดีใจเมื่อได้สิ่งที่ต้องการเป็นแค่ข้อตกลง
  • -การพูดคุย เพื่อหาข้อตกลงจากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน
  • หลักการเจรจา
  • -ความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ
  • สร้างความเข้าใจ
  • ใช้ปิยวาจา อย่าใช้วาจาเสื่อมเสีย
  • หาสิ่งจูงใจ ชี้จุดในสิ่งที่เขาจะได้
  • ให้ข้อสรุป
  • การเตรียมการ
  • -ใคร อะไร
  • -เป้าหมาย อ่านใจ
  • เวลาเจรจาต้องมีการจับสัญญาณ
  • -คำพูดคนเป็นนักการเมืองชอบสั่งด้วยวาจา เพื่อไม่ให้ผูกมัดตัวเอง
  • -ท่าทาง ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคน ซึ่งจะแตกต่างกันตามท่าทางที่แสดงออกมา คนที่อ่านท่าทางจับสัญญาณคนต้องใช้การมีประสบการณ์ด้วย
  • ขณะพูด สิ่งที่ต้องระวัง 3 อย่าง คือ
  • -ควบคุมอารมณ์คนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยดีเช่น สมัคร สุนทรเวช คนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี เช่น คุณชวน หลีกภัย
  • คนที่จะพูดในที่ชุมชน ต้องใช้น้ำเสียง เพื่อขอความเห็นใจได้
  • -ระมัดระวังเรื่องถ้อยคำอย่าหลุดถ้อยคำเสียดสี เพราะไม่ใช่การโต้วาที อย่าโจมตีกลับในการพูดกับมวลชน เพราะต้องการความเห็นอกเห็นใจมากกว่า
  • -คำนึงสถานการณ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เวลาแถลงไม่ควรขึ้นเอง เพราะอาจจะรู้สึกว่าเป็นคนละฝ่าย

คำถาม:

1. เรื่องเขื่อนปากมูล

การเมืองมี 2 ฝ่าย เสมอ ต้องยอมรับตรงนี้เป็นเรื่องเรื้อรัง แต่คิดว่ากฟผ.เป็นต่อ และคิดว่าน่าจะพอใจที่ผลลัพธ์ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็ตามมาด้วยเงินเพื่อให้หยุดการต่อต้าน

2. คุณสมบัติของคนที่เก่งเรื่องเจรจาต่อรอง

- อดทน

- หน้าตาต้องไม่ดุดัน

- มีความสามารถในการพูดเร็ว และช้า

- ต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ต้องการเจรจา

3. มองอนาคตการเมืองไทยอย่างไร

การเมืองไทยวันนี้กำลังร่างกันอยู่ จะกลับไปเป็นปี 2522 สมัยพลเอกเปรม คือ ข้าราชการ เป็นใหญ่ นายกไม่ต้องมาจากสส. ทำอย่างไรไม่ให้เป็นพรรคใหญ่ เลือกตั้งน่าจะเป็นกลางปี 2559

4. ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ได้อย่างไร

การโกงและคอรัปชั่นไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลอะไรก็เอาทั้งนั้น สิ่งแรกที่อยากได้ คือ การเคารพกฎหมาย และกฎหมายต้องเป็นธรรม ซึ่งคนต้องเคารพกฎหมายด้วย

การเจรจา มีหลักอยู่ที่ พยายามทำให้คนที่มาเจรจากับเรา ต้องอ่านว่าเขาชอบอะไร เอาอกเอาใจเขา ให้เขารู้สึกถึงการเอาอกเอาใจ ถ้าเขารู้สึกว่าอีกฝ่ายให้ความสนใจเรา เขาก็รู้สึกลดความต่อต้านลง

เวลาที่ไม่มั่นใจอย่าตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ขอให้นิ่ง และขอเวลาก่อน

สรุปหัวข้อที่ 2 ของการอบรม Managing Self Performance โดย อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

ได้เรียนรู้เรื่องการฝึกตนเองให้มีความสามารถในการสื่อสารมากขึ้น โดยเน้นที่ content และ context บางครั้งเมื่อต้องตอบคำถาม ไม่ต้องตอบในทันที อาจใช้การถามกลับ เพื่อรับฟังความเห็น มุมมองของคู่สนทนา เพื่อให้คู่สนทนาดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น จากการเสนอ idea

การพูดคุยแบบมีประสิทธิภาพ สำคัญที่ใจต้องเปิดรับ โดยความสำคัญของการสื่อสาร 7% เป็นเนื้อหา 38% เกิดจากน้ำเสียง และ 55% เป็นสื่อจากภาษา/ท่าทาง

ในระหว่างอบรม มีการฝึกสติ การรับรู้ และการทดสอบทำให้เห็นภาพชัดขึ้น และให้ฝึกที่ฝืนความรู้สึกเพื่อให้เอาชนะและเพิ่มความเชื่อมั่นมากขึ้น เช่นขณะที่รู้สึกชอบ ก็ฝืนที่จะไม่คล้อยตามอารมณ์ หากการตอบสนองนั้นไม่เกิดประโยชน์

สรุปหัวข้อที่ 3 จากการอบรมในวันที่ 28 มกราคม 2558 กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

หังข้อนี้ อ.สอนเรื่องการจับประเด็นของการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ ลูกค้า สิ่งแวดล้อม แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา ทั้งจากธรรมชาติ และคู่แข่ง เน้น Value ของสินค้าที่ต้องมีการบริการที่เหนือกว่า

เน้นการ SWOT ให้แม่น โดยต้องมีระบบการศึกษาที่ดี เพื่อ support แนวคิดที่ถูกต้อง เน้น 4 มุมมองคือ

1. ด้านการเงิน

2. ลูกค้า

3. ระบบ

4. ด้าน HR

การสอนของ อ. จะเป็นการเล่าประสบการณ์ที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อนำมาปฏิบัติ เพราะต้องทำนายอนาคตให้แม่น ซึ่งเป็นจุดที่ยาก ต้องทายใจลุกค้าให้โดนใจ ทำสิ่งที่เหมือนกัน ภายใต้ความแตกต่าง เป็นการเอาชนะการแข่งขันแบบนามธรรม จับต้องไม่ได้

อ. สอนให้เน้นการมองออกไปภายนอกประเทศ ทำตัวให้เหนือคู่แข่ง เน้น 3V คือ

Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation การสร้างคุณค่าเพิ่มเติม

และ Value Diversity การสร้างมูลค่าจากความหลากหลาย

สรุปบทเรียนจากวันที่ 29 มกราคม 2558 เรื่องที่ 1 3V & Innovation project โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.กิตติ ชยางกุล

เป็นการเรียน Chira Way เน้นความเป็นเลิศ มืออาชีพ ดดยใช้ 2R คือ Reality และ Relavant ทำให้ดีกว่าลูกค้าพอใจ โดยใช้ C U V คือ Copy Understand and Value สร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม ความคิดที่หลากหลาย

ผู้นำที่เก่งที่สุด อาจไม่ได้เป็นผู้นำบนเวที แต่สามารถคิดเพื่อให้คนอื่นทำตามได้ Quiet Leadership

เวลาที่จะคิดทำอะไร ให้เริ่มต้นจาก Where are we? ต่อด้วย What do you want to go? What is Strategy? และ How to overcome to strategy?

มองอนาคตว่าเราจะไปทางไหน ดูสภาพแวดล้อมในอนาคต ย้อนมาดูว่าต้องทำอย่างไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศ และนอกประเทศ จะฉวยโอกาสนั้นได้อย่างไร

มีการทำ Work shop ให้มองปัญหาของ กฟผ. ในปี 2015 และจะก้าวผ่านไปได้อย่างไรในปี 2020 โดยกลุ่ม 5 ทำเรื่อง ปัญหาการทำงานที่เกิดจากกฎระเบียบที่รกรุงรังมาก และสายรองมีถึง 10 สายรอง ควรแปรรูปทำเป็น BU ให้กระชับ และแต่ละ BU มีการดูแลและตั้ง KPI วัดงาน เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน

หัวข้อ การพัฒนาบุคลิกภาพอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

บุคลิกภาพเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหาร วันนี้ได้รับทราบถึงการแต่งกาย การยืน การเดิน การนั่ง อย่างไร ให้ดูดี

เหมาะสมกับที่เป็นผู้บริหาร รวมทั้งในอีกหลายๆเรื่อง แม้กระทั่งการแจกนนามบัตร ก็ควรต้องทำให้ถูกวิธี สิ่งต่างๆที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ เป็นประโยชน์มาก จะได้นำปปรับใช้ให้ถูกต้องต่อไป

หัวข้อ การสร้างผู้นำศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชอบทฤษฏี 3 วงกลม ที่แนะนำในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากในแต่ละองค์กรเรื่องบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราสามารถบริหารและพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ซึ่ง กฟผ.เองก็เป็นองค์กรที่น่าอยู่ และมีคนเก่งอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องสร้างแรงจูงใจให้คนมีความอยากที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถในลักษณะที่เป็น Happy at work

สรุปบทเรียนจากวันที่ 29 มกราคม 2558 เรื่องที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์ กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

เป็นการเรียนสลายกรอบความคิด ให้คิดนอกกรอบ และนำกรอบขององค์กรและกรอบของสังคมไปประสานเป็น "คิดคร่อมกรอบ" มีการทำเกมส์การฝึกคิด

คนที่ประสบความสำเร็จ 86% ต้องมี

1. มนุษยสัมพันธ์

2. ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ ส่วนมากถูกปิดกั้นจากความกลัว เช่นกลัวการไม่ยอมรับ กลัวผิด กลัวต่างจากคนอื่น

วิธีแก้ไขความกลัว เพื่อให้เปิดความคิดแนวสร้างสรรค์ขึ้น อาจคิดในเรื่องไม่เหมาะสมก็ได้ แต่ให้คิดต่อเนื่องไปว่า หากคิดเช่นนั้นขึ้นมาแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นจึงถามย้ำว่า จริงหรือเปล่าที่จะเกิดผลเสียตามความกลัวนั้นจริง และวถ้าหากเป็นจริง ผลเสียนั้นร้ายแรงเพียงใด ถึงตายหรือเปล่า

ไม้ขีดไฟ 2 ก้านที่มาจุดประกายความคิดสร้างสรรค์คือ

1. ความตระหนักรู้ว่าเรามีความคิดสร้างสรรค์

2. การบ่มเพาะความคิดนั้นตามหลัก PPCO คือ pluses คิดถึงข้อดีของความคิด Potentials คิดถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต Concerns คิด....แต่ว่า ....กังวล Opportunities หาวิธีจัดการกับข้อกังวลนั้น

สรุปบทเรียน วันที่ 30 มกราคม 2558 ช่วงเช้า เรื่อง บุกคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

อ. สอนเรื่องการแต่งการ เสื้อผ้า หน้า ผม เน้นที่รองเท้า และการพูดจา ทักทาย การไหว้ มารยาทการรับประทานอาหารฝรั่งบนโต๊ะอาหาร

สรุปโดยรวม ไม่ค่อยเชื่อมั่นในคาบนี้นัก เนื่องจากวิทยากรยังไม่สามารถเป็นแม่แบบที่จะบ่มเพาะศรัทธาให้โน้มใจทำตามได้ เพราะการแต่งกายของอาจารย์ขัดกับหัวข้อที่สอนมากกกกกก

หัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์อาจารย์ศรัณ จันทพลาบูรณ์

เรื่องการคิดนอกกรอบคนส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าทำได้ยาก แต่เมื่อฟังจากที่อาจารย์ให้แนวคิดแล้วจะรู้สึกว่าการคิดนอกกรอบเป็นอะไรที่สามารถทำได้ เป็นจริงได้ หลักการทำก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงขอให้กล้าที่จะคิด คิดไปเรื่อยๆแล้วจะได้คำตอบเอง เป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง จิตวิทยามวลชน รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

ได้ข้อคิดดี ๆหลายเรื่องในการบริหารความขัดแย้ง คือ ต้องไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นเรื่องส่วนรวม ต้องไม่ดูถูกความเห็นคนอื่น ต้องหลีกเลี่ยงการถกเถียงแบบจับคู่เพราะจะทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง เวลามองปัญหา ต้องมองเชิงบวกปัญหามีไว้แก้ไม่ได้มีไว้แบก และต้องไม่มองแบบเอาผิดเอาถูก โดยเฉพาะอย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เวลาแก้ปัญหาต้องพิจารณาให้รอบคอบมิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้ ในการบริหารความขัดแย้งต้องเตรียมแนวทางของตัวเองไว้ด้วยเพื่อเป็นทางเลือกไม่ให้คู่ขัดแย้งรู้สึกว่าเสียหน้าหากไปเลือกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สำหรัในเรื่องการเจารจาต่อรอง หากเราเป็นฝ่ายได้ก็จะต้องไม่แสดงอาการดีใจแพราะมิฉะนั้นจะทำให้คู่เจารณารู้สึกว่าเป็นผู้แพ้ ซึ่งข้อคิดดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้

สรุปบทเรียนจากวันที่ 30 มกราคม 2558 ช่วงบ่าย เรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน โดย รศ. สุขุม นวลสกุล

อ. สอนเรื่องการมองปัญหา ให้มองด้วย ทัศนคติที่ดี มองหลายมุม คิดถึงใจเขา-ใจเรา และคิดด้วยว่าจะเกิดปัญหาใหม่หรือไม่ หากแก้ปัยหาด้วยวิธีนี้

จิตวิทยามวลชน ต้องมีความเชื่อมั่น รู้ทันท่าที ตีเนื้อเรื่องให้แตก และมีความพร้อมที่จะแลกหมัดในเวที

ส่วนด้านการเจรจาต่อรอง เป็นการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลง จากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกัน ไม่ใช่การโต้วาที อย่าแสดงท่าทีชนะเมื่อได้ตามที่หวัง และต้องพูดให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกดีด้วย

หลักการเจรจา ให้สร้างความเข้าใจ ใช้ปิยวาจา มีการเตรียมการ ต้องอดทน เวลาไม่มั่นใจ อย่าเพิ่งให้คำตอบ คนที่นิ่ง คือคนที่ได้เปรียบ ทำตัวให้พร้อมที่จะเล่นเกมส์ยาว รู้ว่าคุยอยู่กับใคร มีเป้าหมายอย่างไร และต้องอ่านใจฝ่ายตรงข้ามให้ออก

นอกจากนี้ ยังรับฟังประสบการณ์จริงของ อ. อีกมากมาย คาบนี้น่าสนใจมาก แม้ว่าจะง่วงๆในครึ่งแรกก่อนเบรคค่ะ

วุฑฒิชัย รัชตมุทธา

30 ม.ค. 58

1) บุคคลิกภาพนักบริหารยุคใหม่

"บุคลิกภาพของคนในองค์จะสะท้อนถึงองค์กร" คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ในวันนี้ ผมคงไม่ต้องกล่าวถึงประเด็นต่างๆที่อาจารย์ได้นำเสนอซึ่งมีและเป็นประโยชน์กับเรามาก สิ่งที่ได้รับรู้ไม่ใช่แค่ปรับบุคลิกภาพเราเอง แต่เราจะเป็นตัวแทน กฟผ. คนอื่นจะดูจากตัวเราก่อน รู้จักเราก่อน ถึงจะรู้จัก กฟผ. จงภูมิใจที่เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนภาพ กฟผ. ที่เราภูมิใจ

2) การบริหารความขัดแย้ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :)

@ มั่นใจ ในสิ่งที่ทำ

@ เข้าใจกัน

@ รู้เขารู้เรา

@ ให้เกียรติกัน

@ ไม่มองอีกฝ่ายเป็นศัตรู

@ เวที (เจรจา) นี้ เป็นของเรา

@ ได้ทั้งคู่

@ มีนำ้ใจนักกีฬา

วันที่ 28 ม.ค.58

ประทับใจ หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ : เครื่องมือในการจัดการเชิงกลยุทธ์ เช่น Strategic Planning , Balanced Screcard , Five Forces เป็นต้น ล้วนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา มีการปรับปรุงบ้าง แต่หลักการใหญ่ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เราต้องเข้าใจการใช้เครื่องมือนั้นอย่างท่องแท้ จึงจะมีประสิทธิผล ประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้ และจะเป็นประโยชน์ในการทำงานต่อไป ได้แก่

- การวิเคราะห์ SWOT จะต้องวิเคราะห์อนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน ซึ่งจะสอดคล้องกับ Scenario Planning และ ควรวิเคราะห์ O (Opportunity) & T (Threat) ก่อนที่จะวิเคราะห์ S (Strength) & W (Weakness) โดยความเห็นส่วนตัวก็น่าจะถูกต้อง เพราะ O & T เราควบคุมไม่ได้ แต่ S & W เราจัดการได้

- กลยุทธ์ Cost Leadership กับ Differentiation นั้น ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สามารถใช้พร้อมๆกันได้ แต่ต้องสมดุลย์ โดยความเห็นส่วนตัวก็น่าจะถูกต้อง เพราะว่า Target customer ไม่ได้มีอยู่กลุ่มเดียว

- Positioning มีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ หรือ องค์กรรัฐวิสาหกิจ เพราะถ้าวางตำแหน่งไม่ถูกต้องในแต่ละ Segment ก็มีโอกาสที่จะล้มเหลวสูงกว่าประสบความสำเร็จ

- Customer Value มีความสำคัญมากต่อการยอมรับของลูกค้า ซึ่งลูกค้าบางกลุ่มไม่ได้ต้องการซื้อสินค้าที่ราคาถูก ถ้า Value ที่ได้รับคุ้มค่าก็จะตัดสินใจซื้อทั้งๆที่ราคาแพง ซึ่งเรื่องนี้ก็ตรงกับค่านิยมของสายงาน รวธ. คือ PIC-C (Personal Mastery , Integrity , Customer Value , CSR in Mind) เราก็มุ่งมั่นในการส่งมอบ Value ให้กับลูกค้า

- Balanced Scorecard มี 4 มุมมอง คือ Financial , Stakeholder , Internal process , Learning & Growth จะช่วยให้มีการวางกลยุทธ์ครอบคลุมทุกมุมมอง แต่ที่สำคัญ ในการกำหนด KPI ไม่ควรกำหนดเฉพาะ Lag KPI แต่ควรกำหนด Lead KPI เพื่อจะได้ทราบถึงอันตรายหรือความเสี่ยงในการดำเนินงานล่วงหน้าก่อนที่จะสายเกินเยียวยา

- ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จ ควรจะคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Thinking)

จาการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว จะนำไปใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และถ่ายทอดในหน่วยงานต่อไป

นายสุวรรณ กลิ่นมะลิ ฝ่ายบำรุงรักษาโยธ

วันที่ 29 ม.ค.58

ประทับใจ หัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ : ได้เรียนรู้ว่าคนเก่งย่อมมีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างจากคนอื่น เริ่มตั้งแต่การแนะนำตัวของ อ.ศรัณย์ฯ ดูแล้วก็ชวนให้น่ามั่นไส้ (ช่วงที่ล้อมวงช่วงท้ายของการสอน ก็ได้บอก อ.ศรัณย์ฯไปแล้วว่า " มั่นไส้ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็ยอมรับในฝีไม้ลายมือในการนำเสนอและถ่ายทอด) สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น มีประเด็นที่สำคัญที่ตั้งใจจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ได้แก่

- การคิดสร้างสรรค์ มี 3 ขั้นตอน คือ

1. สลายกรอบความคิด : สลายกรอบความคิดของเราก่อน ถ้าเราไม่สามารถสลายกรอบความคิดของเราเองแล้ว ก็จะไม่สามารถที่คิดสร้างสรรค์ได้ เพราะเราจะติดอยู่แต่ในกรอบเนื่องจากเกิดความกลัว ซึ่งเราจะต้องเอาชนะความกลัวให้ได้ โดยให้ถามตัวเรา 4 คำถาม (บางคนแค่ถามข้อแรกก็สามารถสลายกรอบความคิดได้แล้ว แต่ถ้าถามข้อแรกแล้วยังไม่กล้าคิด ก็ถามต่อไปจนถึงข้อ 4 และ ถ้าถามทั้ง 4 ข้อแล้ว ก็ยังไม่กล้าอยู่อีก ก็จงลืมมันไปเลย เพราะพระเจ้าก็ช่วยไม่ได้)

- คำถาม : 1. กลัวอะไรอยู่ ? 2. แล้วไง ? 3. จริงอ๊ะป่าว ? 4. ถึงตายมั๊ย ?

2. คิดนอกกรอบขององค์และกรอบของสังคม : ขอให้คิดแบบหลุดโลกไปเลย ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น และให้มีปริมาณความคิดมากๆ

3. คิดคร่อมกรอบ : ให้นำเอาความคิดนอกกรอบจากข้อ 2 ที่ยังเป็นความคิดดิบ มาคัดกรองหรือบ่มให้สุกเหมือนบ่มผลไม้เพื่อนำไปใช้งานต่อไป ซึ่งการบ่มความคิดดิบมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

(1) Plus : ให้คิดถึงข้อดีของความคิดนั้น

(2) Potential : ให้คิดถึงข้อดีของความคิดนั้นในอนาคต

(3) Concern : ให้วิเคราะห์ว่ายังกังวลอะไรเกี่ยวกับความคิดนั้นอยู่ หรือ ยังติดขัดในเรื่องอะไร

(4) Opportunity : ให้พิจารณาว่าสามารถหลบเลี่ยงความกังวล หรือ อุปสรรค ต่างๆในข้อ 3 ได้หรือไม่ ? อย่างไร ?

- เทคนิคในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

1. ให้ถาม 2 คำถาม : ทำอะไรอยู่ ? และ ทำอะไรเพิ่มเติมได้อีกบ้างไหม ?

2. ให้ถาม 3 คำถาม : ทำอะไรอยู่บ้าง ? ทำไมต้องทำล่ะ ? และ มีวิธีอื่นอีกไหม ?

ความเห็น : การคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) และองค์กรที่มีนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง จะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท 3M เดิมทำธุรกิจเหมืองถ่านหิน ธุรกิจประสบการขาดทุนเกือบล้มละลาย แต่ 3M สนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานสร้างนวัตกรรม จนในปัจจุบัน 3M ก็ยังอยู่รอดได้ และมีนวัตกรรมใหม่ๆจากความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกสู่ตลาดมากมาย

จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ ก็จะนำไปฝึกใช้กับตัวเอง และถ่ายทอดในหน่วยงานต่อไป ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนยุทธ์ศาสตร์หนึ่งของสายงาน รวธ.คือ " มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม "

นายสุวรรณ กลิ่นมะลิ ฝ่ายบำรุงรักษาโยธ

ส่งการบ้านชิ้นสุดท้ายของการเรียนช่วงนี้ค่ะ เป็นการนำ 9 ข้อจากมุมมองของ William E. Heinecke และของ อ.จีระ มาเพื่อประกอบการนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์ใน กฟผ. โดย 9 ข้อที่เลือกมาคือ (ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะคะ)

1. Work with Other People's Brains หรือ พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว นั่นคือการนำประโยชน์จากทีมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะบุคคลากรในทีมคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาก และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการที่เราให้การพัฒนา ประโยชน์สุดท้ายเกิดกับทุกฝ่าย ทั้งผู้นำ ทีมงานและภารกิจที่จะเป็นไปอย่างมีคุณภาพสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมในองค์กร กฟผ. สำหรับผู้นำทุกระดับ

2. Reach for the Sky (at least once) หรือ Plan big and ambitious เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการคิดการให้ใหญ่ และเหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งหากทำไดสักครั้ง ก็จะง่ายสำหรับครั้งต่อๆไป และจะสามารถทำงานที่ใหญ่กว่าขึ้นไปได้เรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรของ กฟผ. ควรตระหนักในการทำให้เกิดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่ และยั่งยืนขององค์กร

3. Learn to Sell หรือ บริหาร Cash flow ให้ได้ ถ้าไม่มีต้องหามา เป็นภารกิจของผู้นำที่นำองค์กรนั้นมีปัจจัยด้านฐานะการเงินเป็นภารกิจหลัก ดังนั้นแม้ว่าจะทำงานด้านอื่นประสบความสำเร็จอย่างไร ก็หนีไม่พ้นเรื่องทุน เรื่องเงิน และ cash flow ขององค์กร เพื่อความเชื่อมั่น ศรัทธา และไม่มีการสะดุดในธุรกิจนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารของ กฟผ. ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวต้องตระหนักเพื่อความอยู่รอดขององค์กร

4. Become a Leader หรือ Try to be number 1 ในงานที่ทำ ในการที่จะเป็นผู้นำได้ ต้องมีแรงบันดาลใจที่จะนำให้ทีมสามารถทำตามเพื่บรรลุเป้าหมายได้ ผู้บริหารของ กฟผ. ที่จะต้องก้าวย่างต่อไป สมควรที่จะต้องมีความทะเยอทะยานในส่วนนี้

5. Recognize a Failure and Move on หรือ Failure is lesson ผู้บริหารที่ดี ต้องไม่จมอยู่กับความผิดพลาด แต่ใช้ความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

6. Embrace Change as a Way of Life หรือ คิด Project ใหม่ และยากเสมอ ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และต้องสร้างความเหนือกว่าอยู่เสมอเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอก ดังนั้นจึงต้องคิด Project ใหม่ๆเสมอ แต่เพื่อความเหนือกว่า project นั้นต้องไม่ธรรมดา ผู้นำลักษณะนี้สามารถพัฒนาองค์กร กฟผ. ให้มีการสนับสนุนการสร้ง Innovation เพื่อพัฒนางานด้านไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

7. Develop your Contact หรือ สร้าง Network ตลอดเวลา เพราะในการทำงาน โดยเฉพาะงานของ กฟผ. มีผู้มีส่วนได้เสีย เป็นจำนวนมาก มาจากหลากหลายหน่วยงาน/พื้นที่ มีผลประโยชน์ที่ลงตัว และส่วนที่ขัดแย้งกัน ดังนั้ในการหาสมดุลย์เพื่อให้การทำงานราบรื่น จึงต้องมีเครือข่ายเพื่อช่วยในการผลักดันและสนับสนุน ให้งานนั้นบรรลุเป้าหมาย

8. After a Fall , Get Back in the Saddle Quickly หรือ Down and up again คนเรามีโอกาสผิดพลาดได้ แต่ทุกครั้งที่ผิดพลาดไม่จำเป็นต้องยอมพ่ายแพ้เช่นนั้นเสมอไป เพราะในเวลาที่ผ่านไป จะมีสิ่งใหม่เพื่อมาให้เราใช้ความสามารถในการเอาชนะครั้งต่อๆไปเสมอ ท้อได้ แต่ต้องลุกขึ้นสู้ทุกครั้ง คือนิสัยของผู้นำที่แท้จริง

9. Reinvent Yourself : Onwards and Upwards หรือ Creativity and Innovation ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์จากกรอบเดิมๆ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมในวันนี้ จะเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาในอนาคต ดังนั้นเพื่อคงรักษาความเป็นผู้นำอยู่ได้ ผู้นำต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอ

จบการบ้านสำหรับการอบรมช่วงที่ 1 แล้วนะคะ ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่สร้างแรงบันดาลใจในการอ่านและคิดสำหรับคนวัยนี้ที่ห่างหายจากการอ่านตำราและทำการบ้านมานานค่ะ

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 30ม.ค.

อาจารย์ สุขุม สกุล

การบริหารความขัดแย้ง

ความขัดแย้ง ประกอบด้วย ความขัดแย้งส่วนตัว กับความขัดแย้งส่วนรวม

ความขัดแย้งส่วนรวมเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดความคิด หรือสิ่งใหม่ๆ แต่ถ้าความขัดแย้งส่วนตัว จะเป็นอุปสรรค แม้ว่าจะเป็นความคิดหรือสิ่งที่ดี ก็จะขัดขวางหรือต่อต้าน

การเป็นหัวหน้าหรือผู้นำที่ดี ต้องมีความยุติธรรม

การจัดการต่อมวลชน

Mass Crowd Mob

การอธิบายให้คนที่ตัดสินใจไปแล้ว (Mob) ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถให้เขาเปลี่ยนใจได้

การที่จะไปอธิบายหรือชี้แจง ต้องอยู่ในเวทีของเราหรือเวทีที่ควบคุมได้

ประโชน์ที่สามารรถนำไปใช้ได้ในการทำงาน

ใช้ในการประชุม ที่ต้องมีการระดมความเห็น ต้องให้มีการแสดงความเห็นมากๆ เพื่อจะได้ความเห็นที่ดีที่สุด

ไม่ควรขึ้นเวทีที่เราควบคุมไม่ได้


สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปสิ่งได้รับจากการเรียนววันที่ 29 ม.ค.

อาจารย์ศรันย์

การคิดนอกกรอบ

กรอบมีหลายระดับ

การคิดนอกกรอบสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของสังคม กรอบของกฎหมาย

การคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้น ควรคิด หรือให้แสดงความเห็นให้มาก

ในการจะทำให้คิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้น เริ่มต้นจากการที่ให้เสนอความคิดที่อยู่นอกรอบของทั้งหมด

หลังจากนั้น ใช้หลัก CCPO เพื่อบ่มความคิดดังกล่าวเพื่อให้ความคิดอยู่นอกกรอบเดิมๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของสังคม กรอบของกฎหมาย

สิ่งที่จะทำให้ไม่เกิดการคิดนอกกรอบ หรือความคิดสร้างสรรค์ หลักๆคือความกลัวหรือความอาย

ดังนั้นต้องแก้เรื่องความกลัวให้ได้

ประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้ในการทำงาน

สามารถนำไปใช้ในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ในการทำงาน ทั้งตัวเองและกระตุ้นทีมงานให้เสนอความคิดนอกกรอบให่มากขึ้น

การเปรียบเทียบ กฏทองของ Heinecke กับ Chira Hongladarom's Model

1. Work Hard , Play Hard.

ถึงไม่ได้เป็นเจ้าของก็มีพฤติกรรมคล้ายเจ้าของ

กฟผ.ปลูกฝังให้รักองค์การ ด้วยวัฒนธรรมองค์การ คือ รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทอดคุณธรรม

2. Work with Other People's Brains.

สร้าง Network ตลอดเวลา

สายงาน รวธ.ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยบรรจุเป็นแผนงานประจำปี

3. Set Goals

Think big picture

กฟผ. กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ คือ Global Top Quatile

4. Reach for the Sky

Try to be number 1 ในงานที่ทำ

กฟผ.สนับสนุนส่งเสริมการนำ Best Practices ไปเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้และต่อยอดความสำเร็จ

5. Learn to Sell

Customer's focus

สายงาน รวธ.มีค่านิยมที่มุ่งเน้นลูกค้า คือ Customer Value ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของค่านิยมสายงาน

6. Become a Leader

พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว

สายงาน รวธ.มีค่านิยมที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้เป็นมืออาชีพ คือ Personal Mastery

7. Recognize a Failure and Move on.

Failure is lesson

สายงาน รวธ.มี PA (Performance Agreeement) ให้มีการออกใบ CAR เมื่อพบว่าเกิดข้อบกพร่องในการทำงาน และให้แก้ไขป้องกันเพื่อให้เป็นบทเรียนไม่ให้เกิดซำ้

8. Embrace Change as a Way of Life

Creativity and Innovation

สายงาน รวธ.มียุทธศาสตร์ มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

9. Use Tour Time Wisely

Enjoy your work

นายสุวรรณ กลิ่นมะลิ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธ

หมายเหตุ : ในแต่ละข้อนั้น บรรทัดที่ 1 เป็นของ Heinecke และ บรรทัดที่ 2 เป็นของ Chira Hongladarom's Model

วันที่ 30 ม.ค.58

ประทับใจ หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อร่องและจิตวิทยามวลชน โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

ในการแก้ปัญหา ควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. มีทัศนคติที่ดี : มีความจริงใจในการแก้ปัญหา ทุกปัญหามีทางออก

2. มองหลายมุม มองหามุมแก้ปัญหา : หาแนวทางการแก้ปัญหาหลายๆทาง ไม่ใช่ยึดแต่กฏระเบียบมากเกินไปจนไม่สามารถทำอะไรได้เลย

3. ใจเขา ใจเรา : ต้องคิดว่าตัวเราประสบกับปัญหานั้นเองจะทำอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจปัญหาในมุมของผู้นั้น ถ้ามองจากมุมของเราอย่างเดียวก็อาจจะไม่เข้าใจ

4. ปัญหาใหม่ : การแก้ปัญหาหนึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาก็ได้ จะต้องชั่งนำ้หนักให้ดี

นอกจากนี้ ยังได้รับทราบประสบการณ์ของ อ.สุขุม ในการแก้ปัญหาม๊อบที่ต่อต้านการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 ซึ่งมีประเด็นที่ได้เรียนรู้ ดังนี้

- การที่จะไปเจรจากับม๊อบ จะต้องหาข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้ดี เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นม๊อบจัดตั้ง หรือ ม๊อบจริง เพราะถ้าเป็นม๊อบจัดตั้ง (ม๊อบการเมือง) ก็จะเรียกร้องในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพื่อจะเป็นข้ออ้างในการชุมนุมต่อไป

- ถ้าจะต้องขึ้นเวทีเพื่ออธิบายให้ม๊อบเข้าใจจะต้องมั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นม๊อบจริง ไม่ใช่ม๊อบจัดตั้ง เพราะถ้ามีเฉพาะม๊อบจัดตั้งที่ชุมนุมอยู่ ก็จะไม่สามารถชี้แจงให้ม๊อบเข้าใจได้ (แกล้งไม่เข้าใจ) แต่ถ้ายังมีคนที่ยังเป็นผู้ที่ประสบปัญหาจริงๆไม่ได้จัดตั้งมา ก็จะมีโอกาสที่จะอธิบายทำความเข้าใจได้ ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องขึ้นชี้แจงกับม๊อบจัดตั้ง ก็ไม่ต้องใช้เวลามากเกินไป หรือ ชี้แจงถึงเนื้อหามากเกินไป เพราะม๊อบจัดตั้งจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว และก็จะไม่พิจารณาถึงเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์เลย

จากที่ได้เรียนรู้นี้ก็นับว่าเป็นประโยชน์ในการทำงาน สามารถนำไปถ่ายทอดให้ลูกน้องและเพื่อนร่วมงานได้ และ ในกรณีที่มีการรวมกลุ่มกันมาเรียกร้องในหน่วยงานของเรา ก็จะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับการชุมนุมนั้ยได้ดีขึ้น และจะช่วยให้เราตัดสินใจในเหตุการณ์วิกฤตได้อย่างรอบคอบ

นายสุวรรณ กลิ่นมะลิ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธ

สำหรับผม 9 เรื่องที่ผมสนใจมี ดังนี้ เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง และการนำไปใช้ประโยชน์ในงาน กฟผ.

ลำดับ

Mr. Heinecke

Dr. Chira

ความเห็น

1.

Develop Your Contacts (14)

สร้าง Network ตลอดเวลา (9)

การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัว เราจำเป็นต้องมีเครือข่ายพันธมิตรของเรา เพื่อให้การทำงานสามารถลื่นไหลอย่างดีและประสบความสำเร็จ กฟผ. ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้และได้มีการพัฒนาเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก รุ่นเราก็เป็นตัวอย่างอันนี้ที่เราพยามสร้างเครือข่ายพันธมิตรไม่เฉพาะเจาะจงแต่เรื่องงาน แต่เรายินดีที่จะมาร่วมเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ต่อกัน

2.

Work with Other People's Brains (5)

การพัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว (8)

การทำงานไม่ใช่ One Man Show แต่เราจะต้องทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่ตามระดับต่างๆ ร่วมกันแสดงความเห็น อย่างที่เราทราบกันดีว่า เราเองไม่สามารถมองลูกโลกอีกด้านตรงข้ามเราได้ แต่ถ้ามีคนอยู่ตรงข้ามก็สามารถมองเห็น และช่วยกันเติมเต็มในสิ่งที่อีกฝ่ายขาดอยู่ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทีมงานลูกน้องเราให้พัฒนามีความรู้ทักษะความสามารถยิ่งๆขึ้น เพื่อมาช่วยกันเติมเต็มให้กันและกัน

3.

After a Fall, Get Back in Saddle Quickly (20)

Down and Up again (13)

คนเราไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ตลอดเวลา หรือทุกๆด้าน (ครอบครัว หน้าที่การงาน ส่วนตัว ฯลฯ) แต่เมื่อล้มแล้วต้องรีบลุก เพื่อไม่ให้มัวแต่กังวลแต่เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ในการทำงานหากเกิดข้อผิดพลาดแล้ว ไม่ต้องมาเสียเวลาคร่ำครวญ แต่จะรีบตั้งสติที่จะเดินหน้าต่อ

4.

Recognize a Failure and Move on (11)

Failure is lesson (11)

เอาความล้มเหลวมาเป็นบทเรียน และเดินหน้าต่อ กฟผ. ได้มีการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเรียนรู้ข้อผิดพลาด และนำมาปรับแก้ไข ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งบางท่านอาจคิดว่ามากจนเกินความจำเป็น แต่หากมองอีกด้าน คือ เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้รู้หลากหลายวิธี แต่เราเลือกใช้ หรือเน้น วิธีที่เหมาะและเกิดผลลัพธ์ที่ดี

5.

Use Your Time Wisely (15)

ถึงไม่ได้เป็นเจ้าของก็มีพฤติกรรมคล้ายเจ้าของ (3)

การทำงานขอให้เรานึกถึงว่าเราเป็นเจ้าของงานนั้น (แต่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน … นะครับ แค่นึกก่อน) หากเราเป็นเจ้าของแล้ว เราจะทำแบบนี้ไหม และเราควรจะทำแบบไหนดี เป็นการใช้เวลาที่ฉลาดคิดทำงานให้เกิดด้านประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อองค์กร

6.

Reach for the Sky (at least once) (8)

Try to be number 1 ในที่ทำงาน (6)

มุมมองเกี่ยวกับการเป็นที่หนึ่งหรือการไปให้ถึงดวงดาวบนท้องฟ้า สักครั้งในชีวิต จะเป็นแรงผลักดันด้านบวกต่อเราให้เกิดความมุมานะมุ่งมั่นไปถึงจุดสูงสุด การเป็นที่หนึ่งในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารสูงสุดเท่านั้น แต่อาจเป็นความภาคภูมิใจที่เรามีผลงานที่ดีที่เป็นประโยนชน์ต่อองค์การ กฟผ. ได้มีการส่งเสริมเรื่องนี้ เช่น รางวัลจากมูลนิธิกำธน รางวัลสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ฯลฯ รางวัลเหล่านี้ถือเป็นความภาคภูมิใจครั้งหนึ่งในชีวิตการทำงานของผู้ที่ได้รับรางวัล

7.

Set Goals (but go easy on the "Vision" thing) (6)

Thing big picture (16)

ผู้บริหารจะต้องมองออกถึงภาพรวมขององค์กร จากนั้นค่อยกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ที่ท้าทายและสามารถบรรลุได้ ขอย้ำ ท้าทาย ไม่ใช่เหนือศักยภาพ มิฉะนั้น จะไม่ได้รับความร่วมมือในการมุ่งสู่เป้าหมาย วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ หรือเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น

8.

Chase Quality, Not Dollars (18)

Customer's focus (15)

เราต้องเน้นที่คุณภาพ และต้องมาก่อน คุณภาพที่ดีคือการตอบสนองลูกค้าเรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานภายในภายนอกหน่วยงาน หรือหน่วงานต่างๆ ภายนอก กฟผ. สุดท้ายคือประชาชน ไม่ใช่แค่เฉพาะพื้นที่ หรือแนวสายส่ง เท่านั้น เมื่อเรารับฟังรับรู้เราจะได้นำมาปรับการทำงานส่วนที่เรารับผิดชอบ ในเชิงธุรกิจแล้วยิ่งมีความสำคัญมาก หากเราตอบสนองคุณภาพลูกค้าได้ อย่างอื่นก็ตามมา ไม่ว่าการได้ใจลูกค้า การใด้ลูกค้ามาซื้อหรือใช้บริการของเรา สำหรับ กฟผ. กำลังจะก้าวไปทำธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีมาก

9.

You won't be committed if you're not Having Fun (3)

Enjoy you work (18)

เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบายกันมาก ขอสรุปสั้นว่า ทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเราทำงานไม่มีความสุขหรือรักที่จะทำงานแล้ว ทุกอย่างล้มเหลวหรือไม่ประสบความเสร็จดังต้องการครับ

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปเนื้อหาในการอบรม วันที่ 30 ม.ค. 2558

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่(อ.ณภัสวรรณ)

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำให้ดูเป็นนักบริหารยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย มารยาทในการเข้าสังคมการรับประทานอาหาร

การทักทาย การไหว้ ที่เหมาะสม

การให้เกียรติสุภาพสตรี

การจัดที่นั่งในรถยนต์ การจัดที่นั่งในที่ประชุม

การนำมาใช้ในการทำงาน

สามารถนำไปใช้ได้เกือบทุกอย่างทั้งมารยาทการเข้าสังคม การนั่งในที่ปประชุมการทักทาย

แต่บางอย่างอาจไม่สามรถนำไปทำได้ทั้งหมด เช่นการแต่งกาย เพราะอาจขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล หรือความไม่กล้าที่จะแต่งแบบนั้น

อุดมพรรณ อุทัยศิลป์ EADP11

สรุปการเรียนรู้ EADP 11 ช่วงที่ 1 (28-30 มกราคม 2558)

วันที่ 28 มกราคม 2258

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

  1. หลักการเรียนรู้ที่สำคัญคือ ต้อง reality และ Relevance
  2. การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เร็ว ไม่แน่นอนและทำนายไม่ได้
  3. หลักสูตรนี้ต้อง Learn Share & Care
  4. เรื่อง Human Capital เป็นเรื่องสำคัญต้องเรียนรู้ และเตรียมความพร้อม

Managing Self Performance

  1. Competency มีทั้งสิ่งที่มองเห็น คือ ความรู้และทักษะ สิ่งที่มองไม่เห็น คือ คุณลักษณะ ซึ่งเป็นตัวตนข้างใน
  2. กฏ " การรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100%" เหตุการณ์ + การตอบสนอง = ผลลัพธ์
  3. กฏ " การเข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้"
  4. Stop to Think

กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่

  1. แผนกลยุทธ์ ต้องวิเคราะห์ SWOT ให้แม่นยำ ต้องวิเคราะห์โดยดูอนาคต ไม่ใช่อดีตหรือปัจจุบัน วาง Strategic Position ให้ดี
  2. ต้องคำนึงถึง Customer Value อย่ามองจากมุมตัวเองเท่านั้น
  3. Strategic Resource ประกอบด้วย Core Competency, Strategic Asset และ Core Process
  4. ต้องรู้เขารู้เรา มองเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

วันที่ 29 มกราคม 2558

3V & Innovative Project

  1. 3V Value Added,Value Creation,Value Diversify
  2. Project ต้องมาจากความรู้ ปัญญา มาจากความเป็นจริง และเป็นสิ่งที่มองไปข้างหน้า
  3. Project ต้องเริ่มจากการตั้ง Hypothesis ที่น่าสนใจปัญหาปัจจุบันคือ อะไร ถ้าไม่ทำอะไรจะเกิดอะไรในอนาคต และจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร

ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนางานของกฟผ.

  1. การทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยหวังว่าจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง เป็น ความฝั่นเฝือน
  2. คนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีความคิดสร้างสรรค์
  3. คนทุกคนเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจจะเป็นคนละแบบแล้วแต่คุณลักษณะของแต่ละคน
  4. ปัญหาใหญ่ที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ คือ ความกลัว ให้ถาม กลัวอะไร ที่กลัวมีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงแล้วจะเป็นอย่างไร ถึงตายไหม
  5. ความคิดสร้างสรรค์จะติด กรอบความคิด(ให้พยายามทำให้จาง) ติดกรอบองค์กร กฏ ระเบียบ และติดกรอบสังคม
  6. คิดคร่อมกรอบ ทำอะไรอยู่บ้าง ทำไปทำไม และมีวิธีอื่นอีกไหมเพื่อให้ได้ผลเหมือนกัน
  7. เมื่อมีความคิดคร่อมกรอบ ใช้ PPCO (Pluses, Potential, Concern, Opportunities) คือ คิดถึงข้อดี ข้อดีในอนาคต ข้อติดขัดกังวล และแนวทางที่จะหลบเลี่ยง ถ้าไม่ครบ PPCO อย่าทำ

บุคคลิกภาพของนักบริหารรุ่นใหม่

  1. ภาพลักษณ์ภายนอก ต้องดูดี ทั้งเครื่องแต่งกาย หน้าตา ทรงผม และเครื่องใช้ใช้เข้ากับเวลาและสถานที่
  2. การพูดจา และกริยาต้องดูดี ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือการนั่ง
  3. การเลือกตำแหน่งของการนั่ง หรือการเดินให้ยึดหลัก ปลอดภัย ให้เกียรติ และสะดวกสบาย

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

  1. ต้องสนับสนุนให้มีความขัดแย้ง"ส่วนรวม"เพื่อให้ได้แนวคิดหลากหลายมาช่วยกันพิจารณา
  2. ระวังความขัดแย้ง"ส่วนตัว"
  3. ผู้บริหารต้องมองปัญหาเพื่อหามุมแก้ปัญหาหลายๆมุม ไม่ใช่เพื่อตัดสินปัญหา และตัองรู้ใจเขาใจเรา
  4. กลุ่มคน มีทั้ง Mass Crowd และ Mob
  5. จิตวิทยามวลชน ต้องมีความเชื่อมั่น รู้ทันท่าที ตีเรื่องแตก และแลกหมัด(เพื่อพร้อม)
  6. การเจรจาต่อรองต้องไม่จบลงโดยมีคนแพ้คนชนะ
  7. อย่าต่อรองกับคนที่ต่อต้านถาวร ไม่มีประโยชน์
  8. อย่าขึ้นเวทีที่คู่กรณีจัด เพราะเราจะควบคุมอะไรไม่ได้

สรุปบทเรียน และ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ.

โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11

28-30 ม.ค. 58

เป้าหมายของการพัฒนา

เพื่อให้ กฟผ. มีผู้บริหารที่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันเพิ่มพูนความรู้ แปลงความคิดความฝันให้เป็นแผนงาน และ ทำงานให้สำเร็จ

ทุนบุคลากร (Human Capital) เป็นสิ่งมีค่าที่สุดขององค์กร การลงทุนกับบุคคลากร ทั้งด้านงบประมาณ เวลา จะสามารถให้ผลตอบแทนองค์กรได้อย่างมาก

กฟผ. มีจุดแข็งด้านธรรมมาภิบาล และ มีความเป็นมืออาชีพด้านเทคนิค แนะนำให้พัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านชุมชน และ สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินที่มีอยู่

แนวคิดการทำงานแนะนำให้ส่งเสริมน้องให้ได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถ และ ได้รับประสบการณ์ ใช้แนวคิดมีความสุขในการทำงาน – Happy At Work (ไม่ใช่เพียงสร้างที่ทำงานที่มีความสุข Happy Workplace)

เรามักจะทำแบบเดิมๆ ซึ่งจะได้ผลลัพท์แบบเดิม เราต้องการผลลัพท์ที่แตกต่างเราต้องไม่ทำแบบเดิมๆอีก สิ่งที่ทำให้เราไม่ทำแบบเดิม คือ ความคิดสร้างสรรค์

จากการสำรวจ ผู้ทีประสบความสำเร็จ 80% จะเป็นผู้ที่

1. มีมนุษย์สัมพันธ์

2. มีความคิดสร้างสรรค์

* เรามักพบว่าผู้มีความคิดสร้างสรรค์จะมีมนุษย์สัมพันธ์ต่ำ มีปัญหากับการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งหากเราพัฒนาส่วนนี้ได้จะเป็นผลดีมาก

ความคิดของเราจะถูกครอบอยู่ในกรอบความคิดตัวเอง กรอบกฎระเบียบวินัย กรอบสังคม ทำให้เราไม่กล้าคิดนอกกรอบซึ่งทำให้ถูกจำกัดเรื่องความคิดสร้างสรรค์

ความแตกต่างมีความสวยงาม ถ้านกทุกตัวเสียงเหมือนกันโลกนี้จะเป็นอย่างไร ให้มองความแตกต่างเป็นความสร้างสรรค์

แผนกลยุทธ์ จะต้องมาจากการทำ SWOT ที่แม่นทั้งข้อมูลปัจจุบัน และ อนาคต แล้ววางตำแหน่งขององค์กรให้ถูกต้อง

ความขัดแย้งที่ดี จะสร้างความยอมรับ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหน้า ตัวอย่างเช่นถ้ามีการเสนอความเห็นในที่ประชุมแล้ว มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยในขณะนั้นแต่ไม่นำเสนอ ซึ่งจะได้มีการชี้แจงเหตุผลสนับสนุนเพื่อหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แต่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตได้ ด้วยสถานะการณ์แบบนี้ควรให้มีความขัดแย้งที่ดีก่อน

สิ่งที่สำคัญในการบริหารความขัดแย้ง เช่น

- ระวังอย่าให้มีการดูถูก เสียดสี ความเห็นคนอื่น

- หัวหน้าต้องเด็จขาด

- อย่าปล่อยให้มีการต่อปากต่อคำ

- หัวหน้าอย่าเข้าประชุมด้วยความว่างเปล่า

- อย่าให้เรื่องส่วนตัวมาสร้างความขัดแย้ง

- อย่าปล่อยให้เกิดคู่ถกเถียง

หลักการมองปัญหา

1. มีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา

2. มองหลายมุม

3. ใจเขา ใจเรา

4. ปัญหาใหม่ ที่อาจเกิดจากการแก้ปัญหาเดิม

การเจรจาต่อรอง

อย่าให้จบด้วยการแพ้-ชนะ

อย่าแสดงกริยาชัยชนะ

ควบคุมอารมณ์

อย่าใช้ถ้อยคำเสียดสี

อย่าโจมตีกลับ

อธิบายด้วยเหตุผล สุภาพ

ประชาชน

ให้ประชนส่วนใหญ่รู้ว่ามีประโยชน์กับสังคม ประเทศ

ถ้ามีความขัดแย้ง อาจต้องหาคนกลาง

การเจรจาต้องพร้อมเล่นเกมยาว อย่าแสดงว่าเรามีเวลาจำกัด


ขอขอบพระคุณ

อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

อาจารย์ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์ กิติ ชยางคกุล

อาจารย์ ศรัณย์ จันทพลาบูลณ์

อาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์

อาจารย์ สุขุม นวลสกุล

อิศรพงษ์ ปาลวัฒน์วิไชย

สรุปการเรียนรู้ EADP 11 วันที่ 28 มค. 2558

1 ) การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ. (ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์)

ผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง มีความซื่อสัตย์

และมีหลักการ ต้องเก่งเรื่อง Global Network

มองการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโลกแบบ Reality และ Relevance

2 ) Managing Self Performance (อ. อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท

- ได้เรียนรู้การ Coaching โดยต้องถามคำถามผู้รับการโค้ช ทำให้เกิดการคิด เป็นการดึงความ

เป็นเลิศออกมา

- เจ้านายต้องสร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้พนักงานทุ่มเททำงานได้ดี

- ควรมีเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน แล้วจะหาวิธีการทำงารได้ง่าย

- เจ้านายควรเป็นผู้สังเกตุการณ์ คอยให้คำแนะนำ จะได้ไม่ต้องคอยเป็นผู้ช่วยเหลือตลอด

- ในการสื่อสารต้องระวัง เนื่องจาก มีอิทธิพลจากคำพูด 7% โทนเสียง 38% และท่าทาง 55%

3) กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ ที่ทรงประสิทธิภาพ สำหรับการทำงาน

ของ กฟผ. (รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์)

- การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงกับทิศทาง แห่งการเปลี่ยนแปลง จุดอ่อน จุดแข็ง ตรงกับตัว

ชี้วัด ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

- การวิเคราะห์ SWOT ต้องแม่นยำ มองถึงอนาคต

จารุพัจน์ ปุณณะหิตานนท์

สรุปสิ่งที่ได้รับจากบทเรียน โครงการ EADP รุ่น 11

วันที่ 28 – 30 มกราคม 2558

วันที่ 28 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ และ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

"คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" เป็นคำพูดที่น่าประทับใจมาก เพราะไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีระบบ โครงสร้าง หรืออุปกรณ์ ที่ดี ทันสมัยอย่างไร แต่หากปราศจาก "คน" องค์กรนั้นก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนได้ อย่างไรก็ตาม "คน"ที่มีอยู่ในองค์กรจำต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น อันเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น การพัฒนา"คน"ในองค์กรซึ่งนับเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่า"คน"ในองค์กรนั้นจะอยู่ในระดับใด องค์กรควรจัดให้มี Learning Communities หมายถึงสร้างให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางาน โดยเฉพาะระดับผู้นำองค์กร เนื่องจากจะต้องเป็นผู้นำพาให้การดำเนินงานขององค์กรไปสู่เป้าหมาย เพราะผู้นำมิใช่เพียงแต่เป็นผู้บริหารงานเท่านั้น แต่ผู้นำต้องสามารถบริหารความหลากหลายของแนวคิดที่ไม่เหมือนกันระหว่างคน (รุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า) ระหว่างสิ่งที่เกิดหรือมีระหว่างในประเทศกับต่างประเทศ ต้องทำให้คนในองค์กรเกิดความเชื่อมั่น ศรัทธา สามารถมองเห็นภาพในอนาคต และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าคุณสมบัติที่ผู้นำควรมี คือ 1.มี Character ที่พึงปรารถนา 2. เป็นLeadership process คือมี vision และมองอนาคตให้ออก 3. มี Leadership skill ทั้งในการตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม และ Get things done และ 4. มี Leadership value อีกด้วย

Competency มีทั้งส่วนที่มองเห็น (Visible) เช่น Skills Knowledge และส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในของบุคคล (Hiddle) เช่น Trait Motive Attitude Value ผู้ที่จะประสบความสำเร็จนั้นจะมีคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ (Achievement Orientation) กฎแห่งความสำเร็จ ของ Jack Canfield กล่าวถึงวิธีก้าวจากจุดที่ตนอยู่ไปสู่จุดที่ต้องการ และการรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง 100 % แนวคิดในการขับเคลื่อนชีวิตมี 3 คำ คือ Be Do Have สูตรของการรับผิดชอบต่อชีวิต คือ เหตุการณ์ (Event) + การตอบสนอง (response) = ผลลัพธ์ (Outcome) ดังนั้น เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์

สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ : การบริหารเชิงกลยุทธ์ การปรับกระบวนทัศน์ สมัยนี้ไม่เพียงแค่มอง Core Competency แต่ควรมองถึง Strategic Resources นั่นคือ มีทั้ง Core Competency Strategic Asset และ Core Process การจะฝึกให้เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ได้เราต้องปรับวิธีคิด มองให้เห็นถึงสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เราต้องวิเคราะห์และทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงจะประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ ต้องปรับวิสัยทัศน์ ปรับตัวให้ทันต่อความต้องการการเปลี่ยนแปลงของประชาชน และต้องทำให้เป็นรูปธรรม

วันที่ 29 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.กิตติ ชยางคกุล และ อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

การทำโจทย์วิจัย ( Research for Innovation) :Hypothesis ควรเน้น Relevant มองอนาคต Expand to high value ด้วยทฤษฎี 3 V คือ Value added Value creation Value innovation ซึ่งควรเน้นที่ V ที่2 และ 3

ให้พิจารณาปัญหาที่เผชิญในปัจจุบัน และวิเคราะห์ว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบต่อ Egatอย่างไร และควรแก้ปัญหานั้นอย่างไร ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ คือ องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคนเก่ง และมีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

86 % ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุก ๆ ระดับขึ้นอยู่กับ มนุษยสัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ทำให้มีความสุข เพราะเราต้องการเห็นความคืบหน้ากว่าเดิม ความคิดสร้างสรรค์อาจติดกรอบความคิดของตนเอง กรอบองค์กร หรือกรอบของสังคม ดังนั้น จึงต้องสลายกรอบความคิดนั้น โดยเริ่มจากการค่อย ๆ บ่มความคิด อันเป็นการคิดคร่อมกรอบ ( PPCO) และหาคำแนะนำให้กับตัวเอง ว่าควรทำอย่างไร สิ่งสำคัญคือ เราต้องมีความตระหนักรู้ว่าเรามีความคิดนอกกรอบ และมีมุมมอง/ทัศนคติ จึงจะเกิดความคิดสร้างสรรค์

วันที่ 30 ม.ค. 58

อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์ รศ.สุขุม นวลสกุล

มีการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการแต่งกาย ให้เหมาะสมกับตนเอง และกาลเทศะ ตลอดถึงการดูแลใบหน้า ทรงผมให้ดูดี การปรับปรุงบุคลิกภาพ เช่น การนั่ง การยืน การเดิน และมารยาทในทางธุรกิจ เช่น การนั่งประชุม การเดินนำ เดินตาม ผู้ใหญ่ ตลอดจนมารยาทในการรับประทานอาหาร

ในหัวข้อเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน : ผู้บริหารพึงระวังว่าทำอย่างไรคนในองค์กรจึงจะไม่เอาความขัดแย้งส่วนรวมมาเป็นส่วนตัว ไม่ให้เกิดการเสียดสีระหว่างความเห็นของบุคคลหนึ่งกับความเห็นของบุคคลอื่น อันจะก่อให้เกิดการถกเถียงแบบจับคู่ ต้องระวังไม่ให้เกิดการทะเลาะกันในที่ประชุม และที่สำคัญควรเตรียมแนวทาง หรือหาทางออกเผื่อไว้ หากเกิดกรณีในที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ การมองปัญหาเรื่องความขัดแย้งนั้น ต้องมีทัศนคติที่ดี หมายถึงมองว่าเราสามารถแก้ปัญหาได้ และต้องมองหลายมุม (เป็นการมองหามุมเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่มองเพื่อตัดสินว่าถูกหรือผิด) เอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเตรียมว่าหากแก้ปัญหานั้น ๆ แล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ ๆ ตามมาอีกหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นควรจัดการกับปัญหาใดก่อน กรณีที่ต้องไปพูดในที่สาธารณะต่อคนหมู่มาก (มวลชน) เราต้องมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต้องศึกษาเพื่อให้รู้ทันท่าทีของมวลชนนั้น ๆ และมีข้อมูลพร้อมที่จะตอบ ในการเจรจาต่อรองก็เช่นเดียวกัน เราต้องมีความเชื่อมั่น ใช้ปิยวาจา สร้างความเข้าใจ และพยายามหาสิ่งจูงใจเขา และให้ข้อสรุป เราต้องพยายามจับสัญญาณจากคำพูด ท่าทางของเขา และระมัดระวังอารมณ์ของตน ไม่ใช้ถ้อยคำเสียดสี โจมตีเพื่อเอาชนะ ข้อสำคัญก่อนจะมีการเจรจาต่อรอง เราต้องมีการเตรียมการเพื่อทราบว่ากลุ่มที่มานั้นเป็นใคร มีเป้าหมายอะไรก่อน ด้วย และอย่าลืมว่าเราต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะเจรจา

สวัสดีค่ะ

การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กฟผ. EADP 11/2015

อ.ดร.จีระฯ ชี้ให้แห็นความแตกต่างของผู้นำและผู้บริหาร ผู้นำต้องใฝ่รู้ อ่านหนังสือเยอะและเรียนรู้ตลอดเวลา รวมทั้งเรียนรู้จากผู้นำของโลกเพื่อพัฒนาตนเอง จุดสำคัญคือความต่อเนื่อง และเนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเร็วมากทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาคและประเทศ ผู้นำ ต้องประเมิน มองอนาคตให้ออก จับประเด็นสำคัญเป็น ต้องบริหารความหลากหลายกระตุ้นให้เกิดการรวมพลังหาความรู้ใหม่เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการเอาชนะและนำองค์การไปสู่ความยั่งยืนให้ได้

วิธีการเรียนรู้ CHIRA Way จะกระตุ้นสู่ความเป็นเลิศ โดยเน้น 2 R คือ Reality & Relevance และให้ความสำคัญกับการไปดูงานต่างประเทศ เพราะเมื่อได้เปิดตาให้กว้างขึ้นเห็นโลกใหม่ๆ ความคิดก็เปลี่ยน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรใหม่ๆ ขึ้นเพื่อพัฒนาองค์การและตนเอง

กระตุ้นให้อ่านหนังสือมากๆๆ

Managing Self Performance (อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์)

  • ผู้นำต้องเป็นทั้ง Leader &Teacher -> มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน เราต้องทำอะไรเพื่อให้ทีมงานอยากทำ ต้อง Coach ทีมงานไปสู่ความสำเร็จ ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานให้ดี
  • ได้เห็นการปรับเปลี่ยนความคิด มุมมอง ปลุกตัวเองก้าวข้ามความกลัว ความอาย ของคุณโจน จันได ซึ่งสามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจ
  • กิจกรรม Stop to think ช่วยให้รู้จักหยุดคิด ฝึกตั้งสติ ดูว่าเป้าหมายของเราคืออะไร หารือ/ทำความเข้าใจ ทำให้บรรลุผลสำเร็จง่ายขึ้น

3V & Innovative Project: โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. (Problem Based Learning..ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคต กฟผ. ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

หลังการเรียนรู้การตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis ทุกกลุ่มได้ร่วมกันพิจารณาการตั้งสมมติฐานของโครงงานฯ ที่จะต้องตอบโจทย์อนาคต มุ่งสากล โดยต้องเน้น 3V คือ Value added ,Value creation, Value diversity (โดยเฉพาะ Value creation, Value diversity) และ 2 R ด้วย จากเวลาที่จำกัด อ.ดร. จีระฯ จึงมีความเห็นว่า โครงงานที่ได้ยังคงมุ่งอนาคตและสากลน้อยเกินไป EADP#11 ขอรับความเห็นไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมต่อไป ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่จะให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงต่อไปค่ะ

กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อ. ดร.สมชายฯ นำเสนอแนวคิดและตัวอย่างของการบริหารงานแบบมียุทธศาสตร์ อย่างชวนติดตามและทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ชัดเจน เปิดสมองมองโลกข้างนอกว่าเขาบริหารยุทธศาสตร์กันอย่างเข้มข้นจริงจัง

ผู้บริหาร กฟผ. ต้องปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Skill) การวิเคราะห์ SWOT ต้องมุ่งอนาคตและจับประเด็นเก่ง ค้นหาจุดแข่ง ปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและตลาดที่ใหญ่ขึ้น หลากหลายมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มองอาเซียนและโลกด้วย ถ้าวางตำแหน่ง (Positioning) ต้นทุน ราคา ให้ถูกก็จะอยู่รอดและยั่งยืนได้

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน" โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ 29 มกราคม 2558

  • แน่นอนว่า กฟผ. ต้องการผลลัพธ์ในการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม เราต้องการความคิดใหม่ๆ ต้องพยายามออกจากกรอบให้ได้
  • ชอบคำถามทำลายกรอบความกลัว กลัวอะไรอยู่ แล้วไง จริงหรือเปล่า ถึงตายมั้ย ตอนมีปัญหาเคยถามตัวเองเหมือนกันว่าจะถึงตายมั้ยซึ่งก็ไม่เคยถึงตายสักเรื่อง
  • เทคนิคคิดคร่อมกรอบ PPCO จะนำไปใช้ในทีมงาน

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

เก่งก็ดี แต่ถ้าบุคลิกภาพดีด้วย จะทำให้เกิดความชื่นชอบ เชื่อถือและช่วยให้งานสำเร็จราบรื่นได้ จะนำข้อแนะนำต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งเกณฑ์พิจารณา Tips 5 ข้อ 1. ปลอดภัย 2. สะดวกสบาย 3. ให้เกียรติ 4. อัธยาศัยไมตรี 5. ความมีระเบียบเรียบร้อย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชนโดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

ผู้บริหารต้องไม่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งดีๆ ต้องจัดการให้เกิดขึ้นและบรรลุผล เข้าประชุมโดยมีข้อสรุปเสมอ หาตัวช่วย

การจัดการ Crowd-Mob -Mass

การเจรจาต่อรอง อย่าจบลงด้วยกิริยาเอาชนะ หลักการคือ เชื่อมั่นว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อทุกคน อย่ากลัวเสียเปรียบ พูดให้เขารู้ว่าเขาได้ ชี้จุดในสิ่งที่เขาจะได้ การเตรียมการ -ใคร อะไร ,เป้าหมาย อ่านใจ, จับสัญญาณ –คำพูด ท่าทาง สิ่งที่ต้องระวัง 3 อย่าง คือ ควบคุมอารมณ์ ระมัดระวังเรื่องถ้อยคำและ คำนึงสถานการณ์

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปเนื้อหาในการอบรม วันที่ 28 ม.ค. 2558

การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษ (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)

ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการของ Chira Way

ผู้นำ ไม่ต้องทำทุกเรื่อง ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง

แต่ต้องใฝ่รู้ แลกเปลี่ยนความรู้/ความเห็น

อ่านหนังสือมากๆ

ได้หลักการในการตั้งสมมติฐาน ที่เข้าใจง่าย

การทำงานของ กฟผ. เป็นแบบ Silo

การนำมาใช้ในการทำงาน

</u></b>

ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับทั้งลูกน้อง เจ้านาย และเพื่อนร่วมงาน

พยายามอ่านหนังสือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้

การบริหารภายใน กฟผ. มีลักษณะเป็นแบบ Silo จึงควรหาทางสลาย Silo ให้ได้

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปเนื้อหาในการอบรม วันที่ 28 ม.ค. 2558

การบริหารการจัดการสมัยใหม่ (รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์)

ได้รับความรู้เกี่ยวกับ การตลาดที่ต้องไม่อยู่นิ่ง เช่นเราทำสินค้าดี ราคาที่เหมาะสมแล้ว ปัจจุบันได้กำไร แต่เมื่อมีคู่แข่งที่สามารถทำสินค้าได้ดีเช่นเดียวกัน แต่ราคาที่ถูกกว่า หรือทำสินค้าที่คุณภาพที่ดีกว่า แต่ราคาเท่ากับเรา เราอาจจะอยุ่ไม่ได้

ดังนั้น ต้องมีการปรับตัว รักษาคุณภาพให้คงที่หรือดีขึ้น โดยอาจใช้ BalanceScore Card และวิเคราะห์ SWOT อยู่เสมอ

สินค้าต้องมีความแตกต่างถึงจะแข่งขันได้

การนำมาใช้ในการทำงาน

</u></b>

สินค้า กฟผ. คือไฟฟ้าอาจเป็นการผูกขาด แต่ก็ต้องดูแลคุณภาพให้ดี มีมาตรฐานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้ายินดีที่จะให้เราสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น

สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปเนื้อหาในการอบรม วันที่ 28 ม.ค. 2558

Managing Self Performance

(อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ )

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการการสอนงานที่ควรเป็นลักษณะ Coaching

ไม่ว่าจะเป็นการ Coach ลูกน้อง พ่อแม่ Coach ลูก

การให้ลูกน้องทำงาน ควรให้ลูกน้องเสนอความเห็น และแนวทางที่จะทำ เพื่อจะได้ทำงานอย่างเต็มที่และเต็มใจ

การ Stop to Think คือต้องมีการหยุดที่จะคิดก่อนที่จะทำสิ่งต่างๆ ว่าการพูดหรือการกระทำของเราจะกระทบคนอื่น อย่างไร

ได้คำคมที่คอยสอนใน "ชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่เรียกว่า ยาก มีแต่ยังไม่คุ้นเคย" จะได้คอยเตือนใจเวลาเจองานที่ยาก

การทำงานอาจไม่ประสบความสำเร็จ ถ้ามัวแต่กลัวในสิงที่ไม่ควรกลัวหรือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

การนำมาใช้ในการทำงาน

</u></b>

ต้องพยายาม Coach ให้ความรู้ต่างๆ ลูกน้องให้มากขึ้น ให้ลูกน้องเสนอความเห็น และแนวทางที่จะทำ เพื่อจะได้ทำงานอย่างเต็มที่และเต็มใจ

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

หัวข้อการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

30 มกราคม 2558

ความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติเมื่อมีความแตกต่างหรือมีความไม่เหมือน ความขัดแย้งมีทั้งขัดแย้งส่วนตัวและขัดแย้งเรื่องส่วนรวม

ดังนั้นผู้บริหารจะต้องไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลาม เกิดการเสียดสี มีการถกถึยงแบบจับเป็นคู่นำไปสู่ความขัดแย้งส่วนตัว ผู้บริหารจะต้องชักนำความคิดเห็นที่ขัดแย้งไปสู่การรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เป็นกลางเพื่อให้มีการเสนอความเห็นมากขึ้น เปิดโอกาสให้คนที่เป็นกลางได้มีโอกาสเสนอความเห็นมากขึ้น

การมองปัญหา

การแก้ปัญหา ที่สำคัญคือการมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี(เชิงบวก) มองปัญหาด้วยหลายมุมมอง ต้องรับฟังปัญหา ต้องเข้าใจใจเขาใจเรา ขณะเดียวกันในการพยายามแก้ปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นหรือแก้ยากขึ้น

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 28 มกราคม 2558

หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ :ในหัวข้อนี้คือได้รับการแนะนำรู้จักและเห็นความสำคัญของทฤษฎีแห่งการเรียนรู้Learning How to Learnการเรียนรู้ที่สำคัญต้องคำนึงหลัก 2R's มองความจริง (Reality) และต้องจับให้ตรงประเด็น (Relevance) นอกจากนั้นยังได้รับทราบว่า หลักการที่สำคัญอีกเรื่องคือ ต้องสร้างโอกาสที่จะเรียนรู้ร่วมกันด้วยความสนใจ(Learn Share Care) เพราะในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งเราเรียนรู้จากความเจ็บปวด จากประสบการณ์ และเรียนรู้จากการเป็นผู้รับฟัง ผู้นำที่ดีต้องมองให้กว้างรอบตัวมองการไกล มองอนาคต เน้นความสำคัญที่คน สร้างศรัทธาในการเป็นผู้นำกับตนเองและระหว่างคนในองค์กร และต้องมีความสามารถในการบริหารสร้างมูลค่าเพิ่มที่มาจากความคิดใหม่ๆ บริหารให้มีการสร้างสรรค์ความคิดริเริ่มใหม่ และต้องบริหารความหลากหลายได้ (Value Added/ Value Creation/Value Diversity) ซึ่งทักษะที่ผู้นำที่สามารถนำองค์กรเปลี่ยนแปลงจนบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ ต้องมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร(Networking) พัฒนาหรือสอนงานผู้อื่นได้ รู้จักการกระจายอำนาจสร้างแรงจูงใจ แก้ปัญหา ตัดสินใจบริหารความขัดแย้ง อีกทั้งยังได้รู้จักพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือทฤษฎีทุน 8 ประเภท (8K's)

การนำไปใช้ประโยชน์: การเป็นผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ของบุคลากร กฟผ. ต้องรู้จักที่จะเรียนรู้อย่างถูกวิธีและสร้างสรรค์ความคิดริเริ่มความรู้จากหลักสูตรการอบรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานได้

วันที่ 28 มกราคม 2558

หัวข้อManaging SelfPerformance โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้: เริ่มจากการได้ดูวิดีโอและเล่นเกมเรียกชื่อพบว่าการแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆของคนเราจะมาจากความรู้สึกที่เข้ามากระทบ ดังนั้นจึงควรที่จะมีสติคิดให้รอบคอบ มองให้ลึกซึ้ง จึงจะตอบสนอง หรือตัดสินใจกระทำตอบการตอบสนองมีหลายแบบ เช่น การต่อสู้เผชิญ การสงบนิ่ง หรือ การหลีกเลี่ยงในการบริหารแบบผู้นำนั้นต้องค้นหาตัวตนที่แท้จริงของบุคลากร คือการค้นหาศักยภาพและสมรรถนะการทำงานของบุคคลนั้น เพื่อให้งานบรรลุผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากศักยภาพและสมรรถนะการทำงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ความรู้และทักษะ(Knowledge & Skill) ได้จากการศึกษาเล่าเรียนเป็นส่วนที่มองเห็น และคุณลักษณะ (Attributes)เป็นส่วนที่ซ่อนอยู่ในตัวตนซึ่งได้แก่ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม การมองตนเองและบุคลิกภาพและแรงจูงใจ ทั้ง 2 ส่วนมีผลต่อความสำเร็จ

สูตรความรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100%คือเหตุการณ์ +การตอบสนอง = ผลลัพธ์หากผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่พอใจมี 2 วิธี 1.โทษเหตุการณ์ที่ทำไม่ให้เกิดผลลัพธ์(อย่ากล่าวโทษอย่างเดียว) 2.ต้องเปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ให้ได้ดีที่สุด (ต้องเลือกการตอบสนอง)จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการการนำไปใช้ประโยชน์ :ในการบริหารบุคลากร รวมทั้งตนเองนั้น นอกจากจะใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะต่างๆแล้ว ในการทำงานนั้นให้บรรลุความสำเร็จแล้ว ยังต้องพยายามนำคุณลักษณะภายในมาใช้ให้เป็นประโยชน์การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบอย่างเหมาะสมและถูกวิธีจะทำให้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเป็นที่พึงพอใจ

วันที่ 28 มกราคม 2558

หัวข้อกลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ

กฟผ. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : การวางแผนกลยุทธ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ต้องเริ่มจาก การวิเคราะห์ปัจจัย SWOT (จุดแข็ง Strengthจุดอ่อนWeakโอกาส OppotunityอุปสรรคThreat )ในการวิเคราะห์SWOT ต้องจับประเด็นให้ได้ และสรุปประเด็นให้ถูกต้อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การวิเคราะห์จุดอ่อนแล้วหาวิธีแก้ไข นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินการใดๆ ต้องรู้จักวางสินค้าหรือการให้บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าการบริหารเชิงกลยุทธ์คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จผู้บริหารต้องสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง กฎระเบียบ เศรษฐศาสตร์ สังคม เทคโนโลยีคู่แข่งขัน และพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สิ่งสำคัญที่สุดคือ สร้างวิธีคิดใหม่ ต้องเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์เห็นสิ่งที่เหมือนบนความแตกต่าง พัฒนาองค์กรให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนสร้างแนวร่วม พัฒนาวิสัยทัศน์ สื่อสารและ สร้างแนวทางใหม่ๆ องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์อีกขั้นตอนต่อจากการวิเคราะห์ SWOT คือ พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) กลยุทธ์ (Strategies)และแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

การนำไปใช้ประโยชน์ : การวางแผนกลยุทธ์ ของ กฟผ. และหน่วยงานต่างๆ จะต้องวิเคราะห์ปัจจัย SWOT ให้ถูกประเด็น และจับประเด็นที่แท้จริงและนำมาหารือร่วมกันเพื่อวางแผนแก้ไข และปรับปรุงให้ดีขึ้นมิฉะนั้นก็จะได้กลยุทธ์ที่ไม่มีการพัฒนา เพราะแผนฯจะไม่แตกต่างไปจากเดิม

วันที่ 29 มกราคม 2558

หัวข้อ3 V & Inovation โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. โดย ศาสตราจารย์ ดร.จิระ

หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้: การกำหนดสมมุติฐาน Hypothesis ใช้ทฤษฎี 3 V ช่วยในการกำหนดสมมุติฐาน ประกอบด้วย Value Added , Value Creation และValue Diversity ศึกษาปัญหาจากนั้นต้องมีการเก็บข้อมูลวิเคราะห์เพื่อยืนยันว่าสมมุติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการสร้างนวัตกรรมใหม่ มีความหลากหลาย และหาวิธีแก้ไข

การนำมาใช้ประโยชน์ :ในการอบรมมีการกำหนดโจทย์งาน โครงการวิเคราะห์อนาคตของ กฟผ. ปี 2020 โดยผู้เข้าอบรมแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้วิจัย เป็นโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน ของ กฟผ. ซึ่งวิธีคิดหัวข้อวิจัยต้องเริ่มจากการกำหนดสมมุติฐานที่น่าสนใจเป็นปัญหาในปัจจุบันปี 2015 และสามารถตอบโจทย์ในอนาคต ปี 2020 ได้

วันที่ 29 มกราคม 2558

หัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)กับ การพัฒนางานของ กฟผ. โดย อาจารย์ ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การที่จะสามารถมีสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆและกล้านำเสนอนั้น จะต้องผลักดันความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นให้พ้นจากกรอบที่ปิดกั้นหรือสลายกรอบให้ได้ ลักษณะกรอบที่ปิดกั้นมี 3 ส่วน ได้แก่ 1.กรอบความคิด 2.กรอบองค์กร/นโยบาย และ3.กรอบสังคม โดยกรอบส่วนใหญ่ที่ปิดกั้นความคิดเกิดมาจากความกลัว การยึดติดกับบางสิ่งบางอย่าง การเดินตามรอยความคิดของผู้อื่น ดังนั้น จึงต้องหาวิธีสลายกรอบความคิด บางครั้งการคิดนอบกรอบมากเกินไป ความคิดนั้นเป็นความคิดดิบไม่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ เราต้องรู้จักวิธีบ่มความคิดให้เข้ามาอยู่ในกรอบ วิธีที่จะทำให้เราสามารถคิดนอกกรอบสำเร็จ คือ ต้องคิดเยอะ ให้ได้ปริมาณความคิดที่มีความหลากหลายและ กล้าคิด กล้าพูด

เทคนิคที่จะใช้สลายความกลัวคือใช้คำถาม 4คำถาม คือ 1.กลัวอะไร 2.แล้วไง 3.จริงรึเปล่า 4. ถึงตายไหม

การนำไปใช้ประโยชน์ :ต้องฝึกฝนการใช้เทคนิคในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้คำถามว่าปัจจุบันทำอะไรอยู่บ้าง และจะทำอะไรเพิ่มเติมได้อีกบ้าง ทำไปทำไม ทั้งนี้ ต้องคิดร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นกันและกันเพื่อให้ได้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ในการพัฒนางานของ กฟผ.

วันที่ 30 มกราคม 2558

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ มารยาททางธุรกิจที่สำคัญ การแสดงมารยาทในสังคมมีหลักที่สำคัญ คือ 1.การให้เกียรติ 2. การคำนึงถึงความปลอดภัย 3. ความสะดวก 4. มีระเบียบ 5. อัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตร

นักบริหารกับการรักษาบุคลิกภาพ คือ พูดจาดีแต่งตัวดีวางมาดรู้จักกาลเทศะ และ ควบคุมอารมณ์ รวมทั้งต้องดูแลหน้าตา ทรงผม เครื่องแต่งกาย รองเท้า เพราะความประทับใจเมื่อแรกพบมาจากการพูด น้ำเสียงที่ใช้ และ ท่วงท่ากริยาภายนอกที่แสดง

การนำไปใช้ประโยชน์: จะต้องปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตนเอง สมกับวัย หน้าที่และสถานการณ์ เรื่องมารยาทในกรณีต่างๆ เช่น การประชุม การนั่งรถ การรับประทานอาหาร ต้องฝึกฝนให้เคยชินและจะสามารถปฏิบัติได้อย่างไม่ติดขัด

วันที่ 30 มกราคม 2558

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ความขัดแย้ง คือ ความไม่เหมือนกัน / ความไม่ตรงกัน , ส่วนตัว / ส่วนรวมและ ต้องระวังอย่าให้ความขัดแย้งส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัว

การมองปัญหาจะต้องคำนึงถึง 1.มีทัศนคติที่ดี2.ต้องมองหลายมุม 3. คำนึงถึงใจเขาใจเรา 4.ปัญหาใหม่เพราะว่าเวลาแก้ปัญหาเก่ามักจะเกิดปัญหาใหม่

กลุ่มคนที่มาอยู่รวมตัวกันมี 3 แบบ 1. Mass หมายถึง ผู้คนมารวมตัวหนาแน่น ไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายร่วมกัน2. Crowd หมายถึง คนมารวมตัวกัน มีจุดประสงค์เดียวกัน3. Mob หมายถึง คนมารวมตัวกันมีจุดประสงค์ มีอารมณ์ร่วมและ แสดงพลัง

การจัดการกับมวลชนต้องอาศัยจิตวิทยามวลชน คือ 1.ต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องที่จะทำว่าถูกต้อง2.รู้ทันท่าที 3.ตีเรื่องให้แตก4. แลกหมัด

คุณสมบัติที่ผู้ทำการการเจรจาต่อรองควรมีคือ การอดทนควบคุมอารมณ์อย่าดุดันระมัดระวังคำพูดมีความสามารถในการพูดสร้างความเข้าใจและหาข้อสรุป และ ต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องที่จะพูด แต่ถ้าขณะเจรจาแล้วไม่มั่นใจให้นิ่ง

สิ่งที่จะนำมาใช้ประโยชน์ : ใช้ความรู้และข้อควรปฏิบัติต่างๆในการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน และ การชี้แจงข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการของ กฟผ.รับทราบ

สรุปสิ่งทีได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ. EADP รุ่น11: 28-30 ม.ค. 58

วันที่ 28 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ -การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ. อาจารย์ให้ความสำคัญกับทรัพยากรคนมาก โดยผู้บริหารต้องเป็นผู้นำ ต้องเรียนรู้ให้มาก คือรู้How to Learn แล้วกระจายความรู้ให้คนอื่นๆ อย่างต่อเนื่องเพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอนและยังทายไม่ได้ การใช้กรณีศึกษาผู้นำจีนทำให้เห็นการปรับเปลี่ยนแนวคิด หลักนิยมของผู้นำที่ถูกต้องสามารถนำประเทศเจริญได้อย่างก้าวกระโดด โดยยังรักษาอุดมการณ์ ระบอบการปกครองไว้ได้ ดังนั้น กฟผ.ต้องให้ความสำคัญที่คน โดยสร้างคนเพื่อเตรียมเป็นผู้นำที่ดีในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณสมบัติที่ผู้นำควรมี คือ 1.มี Characterหรือคุณสมบัติที่พึงปรารถนา 2. มี Leadership skill ทั้งในการตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม และ Get things done 3. มีLeadership process คือมี vision และมองอนาคตให้ออก และ 4. มี Leadership valueคือต้องมีศรัทธา(Trust)ในผู้นำอีกด้วยเพื่อเชื่อมคนใหม่และเก่า ให้ร่วมแก้ปัญหาที่ท้าทาย กฟผ.ในอนาคต โดยต้องมีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะโครงข่ายให้กระจาย-เชื่อมโยงทุกระดับ ให้มีการส่งผ่านความรู้ที่มีให้สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง

อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์- Competency มีทั้งส่วนที่มองเห็นคือ Skills ,Knowledge ซึ่งเป็นความรู้และทักษะกับส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคล คือ Self-concept , Attitude, Value, Trait ,Motive อันเป็นคุณลักษณะของบุคคล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน ดังนั้นจึงต้องสำรวจให้รู้จักตัวเอง และค้นหาความต้องการให้เจอ และการจะประสบความสำเร็จให้ได้ตามความต้องการนั้นจะต้องมี " ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ" โดยอาจารย์แนะนำให้รู้จักกฎแห่งความสำเร็จ ของ Jack Canfield เพื่อนำไปใช้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประเมิน ค้นหาตนเองให้ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับหน่วยงาน กฟผ.และมุ่งมั่นในงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์-สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แล้วใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์,การปรับกระบวนทัศน์ สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆขึ้นมาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องวางตำแหน่งและทิศทางให้ถูก โดยการสร้างกลยุทธ์นั้น ต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วยด้วย Core Competency ,Strategic Resourcesและ โดยเฉพาะCore Process โดยสิ่งสำคัญคือต้องปรับวิธีคิด(Mind Set)ให้เห็นถึงสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เพื่อให้สามารถทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งบุคคลากรใน กฟผ.เองต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่างๆคือ SWOT,Balance Score Card อย่างเหมาะสมและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสร้างกุลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร

วันที่ 29 ม.ค. 58

อ.กิตติ ชยางคกุล-โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. เริ่มจากตั้ง Hypothesis จากการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันที่จะส่งผลต่ออนาคตของ กฟผ.และกำหนดแผนงานเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยทฤษฎี 3 V คือ 1.Value added 2.Value creation 3.Value diversity โดยเน้นV2และV3 โดยมองว่าอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ที่มี และหาได้ เสริมด้วยทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1.องค์กรน่าอยู่ /คล่องตัว/ ทันสมัย 2.มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ /มีคนเก่ง และ3.มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ คือต้องสร้างPassionในการทำงาน ทำให้ได้คิดถึงปัญหาที่จะเกิดกับ กฟผ.ในมุมมองใหม่ ได้คิดวิธีการแก้ปัญหาโดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิมๆ

อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์-ความคิดสร้างสรรค์ จากการสำรวจพบว่า 86 % ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุก ๆ ระดับขึ้นอยู่กับ2สิ่งคือ1. มนุษย์สัมพันธ์ และ2.ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์มักไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ คนส่วนใหญ่มีความคิดใหม่ๆเสมอแต่มักนำมาสร้างสรรค์ไม่ได้ เพราะมักติดกรอบ ที่เราเรียกว่าคิดอยู่ในกรอบ กรอบใหญ่ๆมี3ชั้น คือกรอบความคิดของตนเองซึ่งอยู่ในสุดถัดออกมาเป็น กรอบองค์กร และกรอบสังคม เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต้องพยายามสลายกรอบโดยพยายามทำให้กรอบความคิดของตนเองบางหรือจางลง แล้วบ่มความคิดให้มาอยู่คร่อมกรอบอื่นๆซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญจนสามารถหลุดกรอบออกมา ซึ่งช่วยในการขจัดปัญหาในการคิดหาแนวทางใหม่ๆในการพัฒนางาน สามารถนำไปปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดต่างกันได้

วันที่ 30 ม.ค. 58

อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์-การแต่งกายให้เหมาะสมกับงาน การไหว้ที่ถูกวิธี การเลือกตำแหน่งที่นั่ง ยืน เดิน การรับประทานอาหาร อื่นๆโดยใช้หลักการให้เกียรติทั้งเพศหญิงและวัยวุฒิตามสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมี มีประโยชน์มากเพื่อเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผู้บริหารและกฟผ.

รศ.สุขุม นวลสกุล- จิตวิทยามวลชน มวลชนมีหลายประเภท ทั้งMass, Crowd และMob มองปัญหาให้ออก โดยนักบริหารควรมองปัญหาหลายๆมุมเพื่อหามุมที่แก้ปัญหาให้ได้ การเจรจาต่อรอง ต้องรู้หลักคือต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราพูด ต้องมีการเตรียมการ ขณะดำเนินการเจรจาต้องจับสัญญาณจากคำพูด ท่าทาง ขณะพูดต้องควบคุมอารมณ์ ระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ และประเมินสถานการณ์ตามด้วย เมื่อเจรจาจบต้องได้บทสรุป และไม่แสดงออกว่าฝ่ายใดชนะ อาจารย์ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง มีประโยชน์มากสามารถนำไปใช้ในการเจรจาได้จริง เพราะ กฟผ.ยังต้องใช้การเจรจาต่อรองในหลายๆด้าน เพื่อให้งานแต่ละส่วนสำเร็จ

สวัสดีทุกท่านครับ (28 ก.พ. 2558)
ผมดีใจครับที่ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตร EADP ซึ่งดำเนินการเนื่องกันมา 11 รุ่นแล้ว
ฟังที่ อ.จิระ บอกว่าหลายรุ่นได้ไปดูงานเมืองนอก เพื่อเปิดโลกทัศน์ ดังที่ อาจารย์จิระ บอกการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ เกิดขึ้นได้ทั้งในห้อง นอกห้อง
ผู้นำต้องเรียนรู้ใฝ่รู้ ตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก โลกเปิด คุณก็เปลี่ยน
ทฤษฎีการเรียนรู้ ที่ อ.จิระ นำมาสอนมีมากมาย เช่น 4L 2R 2I 3V 3L C-U-V Learn-Share-Care
แนวทางของท่าน อ.จิระ ( JIRA WAY) คือท่านมีแนวทางในการกระตุ้น หาพลัง แนวทางใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา โดยเป้าหมายสุดท้ายคือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับ EGAT ได้ อ.ใช้คำว่า พวกเราต้องไปตกปลาให้ได้ (Turn Idea in to Action// Turn Action in to Success)

*** วันที่ ความเห็นผม ด้านบนผิดครับ ขอแก้ไขเป็น 28 ม.ค. 2558 ****

การเปรียบเทียบ กฏทองของ Heinecke กับ Chira Hongladarom's Model

1. Recognize a Failure and Move on.
จับคู่กับคำว่า Failure is Lesson :
ความผิดพลาด/ความล้มเหลว ตัวอย่าง เช่น การแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ
หรือสูญเสียชีวิต ของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าแรงสูงในแต่ละ
ครั้งได้นำมาวิเคราะห์ จัดทำแนวทางป้องกัน/แก้ไข เผยแพร่ ผู้เกี่ยวข้อง

2. Do Your Home Work จับคู่กับคำว่า Get Things Done :
ทุกคนต้องมีภารกิจ ในการทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้

3. Develop your Contact จับคู่กับคำว่าสร้าง Network ตลอดเวลา
เหมือนกับที่ พวกเราอบรม EADP ก็เป็นการสร้างเครือข่ายภายในที่ดีเลิศ
รวมทั้งจาก สคร. ,กระทรวงพลังงาน เพื่อการประสานงานที่ดีระหว่างกัน

4. Reach for the Sky จับคู่กับคำว่า Play Big and Ambitious
การตั้งเป้าที่ท้าทาย เช่น จำนวนไฟฟ้าดับ จะต้องเทียบเท่าระดับสากล( Benchmark)

5.Work with Other People's Brains. จับคู่กับคำว่า ยกย่องลูกน้อง
ใช้ลูกน้องทำงานให้สำเร็จ เพราะผู้บริหารไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง การยกย่องชมเชย
จะยิ่งทำให้ลูกน้องมีกำลังใจ

6. you won't be committed if you are not having Fun.
จับคู่กับคำว่า Enjoy you work. บรรยากาศในที่ทำงานที่ดี
พนักงาน ก็จะมีความสุขในการทำงาน มีสมองที่จะคิดสิ่งใหม่ๆ
ควรนำ Happy Workplace มาใช้อย่างจริงจัง

7. Become A Leader จับคู่กับคำว่า Try to be No.1 ในงานที่ทำ
ใช้ในสายงาน คือ ทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีที่สุด เมื่อเทียบ
กับสมาชิก ITOMS ( Benchmark กัน)

8. Learn to Sell จับคู่กับคำว่า Customer Focus
ผู้ผลิต ย่อมเข้าใจความต้องการของลูกค้า ถึงจะขายสินค้าได้
กฟผ. มีสินค้าหลักคือไฟฟ้า เราต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้
ดียิ่งๆขึ้นไป การได้มาซึ่งความต้องการของลูกค้า คือ สำรวจ
ประชุม สัมมนา กับ การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย และลูกค้าตรง 8 ราย

9. Use your Time Wisely จับคู่กับคำว่า ถึงไม่ได้เป็นเจ้าของ
ก็มีพฤติกรรมคล้ายเจ้าของ เจ้าของใช้พนักให้คุ้มค่า (เงินที่จ่าย)
ดังนั้นเวลาทุกนาที มีค่า พนักงานที่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์สูงสุด
ก็จะทำให้ Productivity ขององค์การสูงขึ้น // การประชุมที่
เสียเวลา เยิ่นเย้อ หาบท สรุปไม่ได้ในบางครั้ง ควรนำมาพิจารณา
ปรับปรุง

อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์-
ผมชอบคำพูดที่ว่า
" Coach สั่งให้เขาทำไม่ได้ ...แต่ทำอย่างไรให้เขาอยากทำ และเป็นผลงานของเขา "
นี่คือบทบาทผู้นำที่สำคัญ ที่ต้องอ่านคนออก (Discover Self/Have & Achive Goal)
Coach ต้องให้ความสำคัญ Content และ Context คือทั้งเนื้อหาและบริบท
น่าเสียดายที่บางคนเก่งแต่ศักยภาพถูกกดทับไว้
การ Coach เหมือนกับการสร้างความผูกพัน (Engage) ของพนักงาน ที่ให้เขารัก ขยัน ทุ่มเท
และมีผลงาน

บทเรียน Managing Self Performance เนื้อหาที่ได้และนำไปใช้งานคือ
การค้นหาและสร้าง Competency ซึ่ง Competency จะวัดความสำเร็จ ศักยภาพและสมรรถนะการทำงาน ประกอบไปด้วย Skill,Knowledge (มองเห็นชัด 7 %) ส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคล เช่น Attribute ทัศนคติ แรงบันดาลใจ
Trait Motive (คิดเป็น 93 %) เหมือนภูเขาน้ำแข็ง
การค้นหา/ประเมิน อาจใช้ กฎของ Jack Canfield :The Success Principle (วิธีก้าวจากจุดที่คุณอยู่
ข้ามไปสู่จุดที่คุณต้องการ) ต้องสำรวจให้รู้จักตัวเอง และค้นหาความต้องการให้เจอ

ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับงาน ใน กฟผ.และมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

วันที่ 28 ม.ค. 2558
อาจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัด
การสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ.

สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้อง สามารถจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง Macro Change
สภาพแวดล้อมการแข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค การบริหารงานสมัยใหม่เน้นที่
ผู้บริโภหรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น การวางตำแหน่งสินค้า ที่ลูกค้าพอใจสูงสุด ถึงจะแพง
แต่ คุณภาพดี อร่อย ผู้บริโภคยังเข้าคิวซื้อ เป็นต้น/ การบริหาร Value Chain
การปรับปรุงงานให้บริการ แบบ One Stop Service เข้ามาใช้ ทั้งนี้ต้องปรับวิธีคิด
เชิงกลยุทธ์ให้มากขึ้น
- โลกเปลี่ยน กฟผ.ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันโลกที่เปลี่ยน เช่น Renewable เข้ามา
Solar Roof มีมากขึ้นการขายไฟ ลดลง ในอนาคต ก็อาจเป็นได้

ผมขอส่งบทความแนวหน้าที่เขียนถึงพวกเราและมีรูปด้วยมาให้ครับ

Blog ที่ส่งมานั้นดีครับ เกือบ 350 แล้ว ผมภูมิใจกับรุ่น 11

หวังว่าคงจะคิดถึง EGAT 11 และทำการบ้่านเรื่องผู้นำอย่างสนุก ใครที่ยังไม่สงการบ้านให้ส่งมาง่ายๆว่า 3 วันที่ผ่านมาได้อะไร และการมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการจะช่วย EGAT เรื่อง Business sense อย่างไร

http://www.naewna.com/politic/columnist/16790


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับความสำเร็จของนวัตกรรมเรื่องยาง

เมื่อยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์มอบให้คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ดูแลเรื่องการยกระดับราคายางที่กลายเป็นโจ๊กไปทั้งประเทศ

ยุครัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ให้ความสนใจและเอาใจใส่การยกระดับราคายางพาราอย่างเป็นรูปธรรม

ผมในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รู้สึกภูมิใจมากที่ได้รับทราบข้อมูลจากท่านอธิการบดี รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล และท่านกรรมการสภามหาวิทยาลัย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ว่ารัฐบาลให้การสนับสนุนบทบาทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการกำหนดราคายางให้สูงขึ้น โดยเฉพาะที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี ได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยแปรรูปยางโดยร่วมทุนกับภาคเอกชนซึ่งทำสำเร็จมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว

ข้อดีของมหาวิทยาลัยทางภาคใต้ ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างบุคลากรทางวิชาการให้มีความเป็นเลิศและเน้นไปที่การแปรรูปยางพารา สรุปได้ว่า มีนักวิจัยระดับปริญญาเอก เรื่องยางมากที่สุดกว่า 20 ท่าน

ซึ่งผลงานจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี ได้ทำการวิจัยโดยเอายางพารามาแปรรูปสามารถนำไปใช้ในสนามฟุตซอล หรือนำไปใช้สร้างถนนแล้ว

และผมภูมิใจที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ได้มอบให้ทางมหาวิทยาลัย มีโครงการร่วมกับสหกรณ์ยางพาราในภาคใต้หลายๆ แห่ง โดยนำยางแปรรูปไปสร้างสนามฟุตซอลเพื่อยกระดับราคายางให้สูงขึ้น

เพื่อทำให้ความต้องการของยางพารามากขึ้น ในที่สุดจะทำให้ราคายางดิบมีราคาและความต้องการสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะมีประโยชน์ระยะยาวต่อเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในภาคใต้และภาคอื่นๆ

ขอขอบคุณผู้นำรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์เป็นเลิศที่มองเห็นคุณค่าในบทบาทของมหาวิทยาลัย โดยเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา แต่ขาดการสนับสนุนทางด้านงบประมาณจากรัฐบาล และขอขอบคุณรัฐบาล อย่างมากที่จะให้การสนับสนุนการแปรรูปยางพาราในครั้งนี้ด้วย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปัจจุบันขาดงบประมาณ เพราะส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณประจำ และงบประมาณส่วนหนึ่งต้องมาจากค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน

ซึ่งผมคิดว่านอกจากเรื่องยางแล้ว ยังมีอีกหลายคณะในมหาวิทยาลัยนี้ ที่มีศักยภาพในงานวิจัยต่อไป ดังเช่น คณะแพทยศาสตร์ ก็มีศักยภาพมากมายในการทำวิจัยเพื่อหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็มีนักวิชาการมีศักยภาพหลายคนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับชาติหลายรางวัล

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว
กรรมการสภา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดูแลเรื่องทรัพยากรชายฝั่งทั้งอ่าวไทยและอันดามัน

คณะศิลปศาสตร์ เน้นเรื่องภาษาอังกฤษและภาษายาวี เพื่อรองรับอาเซียน

คณะวิทยาการจัดการ ก็ได้สร้างให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคใต้เพื่อรองรับอาเซียน เหล่านี้เป็นความภูมิใจของผมและชาวมอ.ทุกคน

ผมได้เริ่มงานฝึกอบรมของกฟผ.เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 11 ผมหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เช่น

มีการร่วมมือกับบริษัทลูก การไฟฟ้าราชบุรี โดยส่งบุคลากรมาด้วย 3 ท่าน

ยังมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงาน มาร่วมกระทรวงละ 2 ท่าน

ซึ่งผมต้องการให้กฟผ.แก้วิกฤติหลายเรื่อง

เช่น การเตรียมผู้นำหรือผู้ว่าการในอนาคตให้อยู่ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สมัย โดยที่ผ่านมาจะเป็นได้สมัยเดียว ไม่มีการต่อเนื่องเพราะขาดการวางแผนในระยะยาว

ด้านหน้าโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร
จังหวัดปัตตานี โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ตัวเครื่องจักรทำผลิตภัณฑ์ยางที่อยู่ในโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร จังหวัดปัตตานี
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นประธานพิธีเปิด
หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 11 (ปี 2558)
หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR
DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2015
ในวันที่ 28 มกราคม 2558

ในอดีต เป็นการทำงานแบบ Silo จึงขาดความร่วมมือในการทำงานข้ามไป Silo ต่างๆ ซึ่งในรุ่น 11 นี้ผมจะทลาย Silo ให้เกิดความสำเร็จมากขึ้น

หรือการจัดการกับชุมชนที่คัดค้านประท้วงโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ซึ่งทำให้สัดส่วนของกฟผ.ในการผลิตไฟฟ้าลดลงตลอด ซึ่งในอดีตกำหนดไว้ 50% อีก 50% เป็นภาคเอกชน ปัจจุบันสัดส่วนเหลือแค่ 40%

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อนุญาตให้เอกชนผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่ให้กฟผ.ทำโรงไฟฟ้าที่ยากขึ้นคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้ประชาชนต่อต้าน

ดังนั้นรุ่น 11 จึงจะต้องพัฒนาผู้นำในทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ระหว่างประเทศถ่ายรูปร่วมกับ นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์
รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. นางภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ทรัพยากรบุคคล กฟผ. คณะทำงานกฟผ.และคณะกรรมการ
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ระหว่างประเทศถ่ายรูปร่วมกับ นางภาวนา อังคณานุวัฒน์
ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล กฟผ.

ภาพหมู่ผู้เข้าร่วมโครงการหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
รุ่นที่ 11 (ปี 2558) หรือ EGAT ASSISTANT
DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2015

สวัสดีค่ะ เปรียบเทียบมุมมอง William E. Heinecke & Chira’ Model You won’t be committed if you’re not having fun. -> Enjoy you work สนุกกับงานและสร้างบรรยากาศให้ทุกคนสนุกมีความสุขกับการทำงานให้สำเร็จร่วมกัน Work with other people’s brains. -> ยกย่องลูกน้อง พัฒนาลูกน้องให้เก่ง Set Goals Try to be no.1 ในงานที่ทำ มีเป้าหมายที่ชัดเจน Learn to sell ->Customer’s focus มุ่งเน้นลูกค้า Become a Leader. -> Think big picture คิดเรื่องใหญ่ๆ Recognize a failure and move on -> Down and up again. ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ Embrace Change as a Way of Life. Creativity and Innovation ->รับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้วยความคิดสร้างสรรและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ Develop Your Contacts. ->สร้าง network ตลอดเวลา Use Your Time Wisely. -> Work skill & Social skill พัฒนาตนเองตลอดเวลา Don’t Put up with Mediocrity. -> คิด Project ใหม่ๆ และท้าทายเสมอ

ปรียบเทียบมุมมอง William E. Heinecke & Chira' Model

1.Act quickly in crisis & บริหาร cash flow ให้ได้ ถ้าไม่มีต้องหามา

  • การดำเนินกิจการนั้นต้องมีเงินหมุนเวียน หรือ cash flow หากมีไม่พอจะทำให้กิจการนั้นสะดุดลง เกิดวิกฤต ซึ่งจะมีความเสียหายตามมาแน่นอน เพราะฉะนั้นผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจะต้องหาวิธีเพิ่ม cash flow ให้ได้โดยเร็ว (Act quickly in crisis) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมา

2.Become a leader & Think big picture

  • หนึ่งในมิติในการที่จะเปลี่ยนจากผู้บริหารมาเป็นผู้นำที่ดีนั้น คือต้องมีความรอบรู้ด้วย จากเดิมที่อาจจะมาจากการเป็น specialist ก็ต้องพยายามมาเป็น generalist และควรจะต้องมองที่ภาพใหญ่หรือมองภาพรวมให้ออก

3.Don’t put up with mediocrity & Try to be number 1 ในงานที่ทำ

  • เมื่อได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานใดแล้วหรือได้เลื่อนตำแหน่งไปแทนคนเก่า ถ้ามองเห็นว่าระบบงานเดิมที่เป็นอยู่นั้นยังไม่ดีพอ (mediocre)และน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ ก็ควรที่จะแก้ไขเพื่อให้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเกรงใจในสิ่งที่คนเก่าปฏิบัติมา เพื่อให้งานที่ออกมาดีเลิศและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

4.Be prepared for anything: The September 11 rule & Pain is gain

  • September 11 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้นได้และเป็นไปได้ อเมริกาสูญเสียในเหตุการณ์นี้เพราะไม่มีมาตรการป้องกันและรับมือหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงระดับนี้ขึ้น แต่หลังจากเหตุการณ์นี้แล้วไม่เพียงแต่อเมริกา ทุกชาติได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพง (pain) และก่อให้เกิดการตื่นตัวพร้อมกับสร้างมาตรการเพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ (gain) (learning from pain 1 ใน 3L)

5.Trust your intuition & Get things done

  • ในบางครั้งของการทำงาน ปัญหาที่ประสบนั้นมีเหตุมาจากหลายปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหานั้นไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวหรือข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจอาจมีมากนัก หากผู้นำมีความไม่เชื่อมั่นจนไม่กล้าตัดสินใจและชะลอการตัดสินใจออกไปจนงานนั้นค้างคาเป็นเวลานานเกินไป อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรมากกว่าเดิม เพราะฉะนั้นบางครั้งผู้นำจึงต้องเชื่อในความคิดของตัวเอง มีความกล้าหาญในการทำงานที่จะตัดสินใจเพื่อให้งานนั้นสำเร็จไปได้

6.You won’t be committed if you’re not having fun & Enjoy your work

  • Happiness capital เป็นหนึ่งในพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การที่เรามีความสุขหรือสนุกกับการทำงานนั้น เราจะไม่คิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นคืองานแต่เป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ เพราะทำแล้วเกิดความสุข

7.Chase quality, not dollars & Customer’s focus

  • "การพัฒนาต้นทุนมนุษย์ด้วย 8K's+5K'sและการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตคือ standard, quality, excellence, benchmarking, best practice" จะเห็นได้ว่า เรื่องคุณภาพหรือ Quality นั้นเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ การมุ่งเน้นไปที่คุณภาพของบริการหรือสินค้านั้น จะสร้างความยั่งยืนในอนาคตมากกว่าการมุงเน้นไปที่รายได้หรือตัวเงิน การที่จะทำให้บริการหรือสินค้านั้นมีคุณภาพได้ก็จะต้องทราบว่าลูกค้าต้องการอะไรก่อน (Customer's focus)

8.Reinvent yourself: Onwards and upwards & Creativity and Innovation

  • การทำให้ตัวเองเหมือนเป็นคนใหม่นั้น ก็คือจะต้องมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องและดีขึ้น จะทำได้ก็โดยอาศัยกระบวนการ Learning how to learn ส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนานั้นมาจากการมีความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity) และ การใช้นวัตกรรมใหม่ๆหรือ Innovation มาช่วยต่อยอดไปสู่ความยั่งยืน

9.Measure for measure & พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว

  • ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ก็ควรจะต้องรู้จักสร้างคนมาทดแทนตัวเองด้วย ต้องพัฒนาลูกน้องให้เก่งกว่าตัวเอง เร่งสร้างประสบการณ์ และ empower เพื่อให้เขารู้จักตัดสินใจและเติบโตขึ้นมาทำงานแทนเราได้ ไม่ใช่เก่งคนเดียว

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ. EADP รุ่น11: 28-30 ม.ค. 58

วันที่ 28 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ -การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ.

สิ่งทีค้นพบคือ Chira way เป็นแนวทางที่เราจะกระตุ้นให้คนในห้องนี้รวมพลังหาความรู้ใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหา คือ Do what you know ต้อง Turn Idea to action และ Turn action into success

ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง และต้องรู้ว่าข้อดีของกฟผ. คือ ธรรมาภิบาลของกฟผ.

จุดอ่อน คือ ความสำเร็จไปกระจุกตัวอยู่ในผู้นำมากเกินไป แต่ความจริงคือต้องกระเด้งไปสู่ลูกน้องด้วย

ควรจะทำเป็น Training for Trainer มากขึ้น

การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จคือ ต้องไม่ทำตัวเป็น Silo

โลกเราขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง คือ

1. การเปลี่ยนแปลงเร็ว

2. การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

3. การเปลี่ยนแปลงทำนายไม่ได้

สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับเรา ต้องมีการกระจายความรู้ และต้องไม่มองข้างบนอย่างเดียว ต้องมองข้างล่าง และมองข้างๆบ้าง เช่น มองชุมชน EGAT ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

อาจารย์ได้กระตุ้นความเป็นเลิศ โดยใช้ทฤษฎีขั้นบันได บันไดขั้นที่ 1 คือการทำ Workshop ขั้นที่ 2 คือ การพิจารณาจากความจริง ขั้นที่ 3 คือ การ Learn share care v ขั้นที่ 4 คือ การมีความหลากหลาย โดยการมี networking และขั้นที่ 5 ผู้นำต้องมองความเปลี่ยนแปลงไปยังปี 2020 ขั้น 6 คือ ต้องมีการนำเสนอทำให้เกิด Execution อาจารย์ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก โดย ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่ ดังต่อไปนี้ Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnologyเรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ ต้องเรียนรู้ให้มาก คือ How to Learn แล้วกระจายความรู้ ให้คนอื่นอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการ Learn share และ Care มีความเอื้อเฟื้อ และยอมรับความหลากหลาย มากขึ้น การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จต้องไม่ทำตัวเป็น Silo โลกเราขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง คือ 1. การเปลี่ยนแปลงเร็ว 2. การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน 3. การเปลี่ยนแปลงทำนายไม่ได้ คุณสมบัติที่ผู้นำควรต้องมีได้แก่ 1. Character หรือ คุณลักษณะ ที่พึงปรารถนา 2.มี Leadership skill ได้แก่ การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีมและ Get things done 3. Leadership process คือ การมี Vision และมอง อนาคตให้ออก 4. มี Leadership value สำคัญที่สุดคือ ต้องมีศรัทธา(Trust) ในผู้นำนั้น ๆ อาจารย์ได้กล่าวถึง Leadership & 8K's+5K's (ใหม่) 8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ Human Capital ทุนมนุษย์ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน Digital Capital ทุนทาง IT Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

และทฤษฎี 5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ได้แก่ Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Knowledge Capital ทุนทางความรู้ Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ และ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ดังนั้น กฟผ.ควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ให้มาก ควรมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมเป็นผู้นำที่ดีมีความสามารถในอนาคต และควรมีการเชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ให้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆของ กฟผ.ในอนาคต โดยควรมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ในลักษณะโครงข่ายให้กระจายและเชื่อมโยงในทุกระดับ

อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์- Competency มีทั้งส่วนที่มองเห็นคือ Skills ,Knowledge ซึ่งเป็นความรู้และทักษะกับส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคล คือ Self-concept , Attitude, Value, Trait ,Motive อันเป็นคุณลักษณะของบุคคล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน ดังนั้นจึงต้องสำรวจให้รู้จักตัวเอง และค้นหาความต้องการให้เจอ และการจะประสบความสำเร็จให้ได้ตามความต้องการนั้นจะต้องมี " ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ" โดยอาจารย์แนะนำให้รู้จักกฎแห่งความสำเร็จ ของ Jack Canfield เพื่อนำไปใช้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประเมิน ค้นหาตนเองให้ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับหน่วยงาน กฟผ.และมุ่งมั่นในงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์-สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แล้วใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์,การปรับกระบวนทัศน์ สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆขึ้นมาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องวางตำแหน่งและทิศทางให้ถูก โดยการสร้างกลยุทธ์นั้น ต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วยด้วย Core Competency ,Strategic Resourcesและ โดยเฉพาะCore Process โดยสิ่งสำคัญคือต้องปรับวิธีคิด(Mind Set)ให้เห็นถึงสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เพื่อให้สามารถทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งบุคคลากรใน กฟผ.เองต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่างๆคือ SWOT,Balance Score Card อย่างเหมาะสมและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสร้างกุลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร

วันที่ 29 ม.ค. 58

อ.กิตติ ชยางคกุล-โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. เริ่มจากตั้ง Hypothesis จากการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันที่จะส่งผลต่ออนาคตของ กฟผ.และกำหนดแผนงานเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยทฤษฎี 3 V คือ 1.Value added 2.Value creation 3.Value diversity โดยเน้นV2และV3 โดยมองว่าอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ที่มี และหาได้ เสริมด้วยทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1.องค์กรน่าอยู่ /คล่องตัว/ ทันสมัย 2.มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ /มีคนเก่ง และ3.มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ คือต้องสร้างPassionในการทำงาน

อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์-ความคิดสร้างสรรค์ จากการสำรวจพบว่า 86 % ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุก ๆ ระดับขึ้นอยู่กับ2สิ่งคือ1. มนุษย์สัมพันธ์ และ2.ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์มักไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ คนส่วนใหญ่มีความคิดใหม่ๆเสมอแต่มักนำมาสร้างสรรค์ไม่ได้ เพราะมักติดกรอบ ที่เรียกว่าคิดอยู่ในกรอบ กรอบใหญ่ๆมี3ชั้น คือกรอบความคิดซึ่งอยู่ในสุด ถัดออกมาเป็น กรอบองค์กร และกรอบสังคม เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต้องพยายามสลายกรอบโดยพยายามทำให้กรอบความคิดของตนเองบางหรือจางลง แล้วบ่มความคิดให้มาอยู่คร่อมกรอบอื่นๆซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญจนสามารถหลุดกรอบออกมา ซึ่งช่วยในการขจัดปัญหาในการคิดหาแนวทางใหม่ๆในการพัฒนางาน สามารถนำไปปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดต่างกันได้

วันที่ 30 ม.ค. 58

อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์-การแต่งกายให้เหมาะสมกับงาน ภาพลักษณ์ภายนอก ต้องดูดี ทั้งเครื่องแต่งกาย หน้าตา ทรงผม และเครื่องใช้ใช้เข้ากับเวลาและสถานที่ การไหว้ที่ถูกวิธี การเลือกตำแหน่งที่นั่ง ยืน เดิน การรับประทานอาหาร อื่นๆโดยการให้เกียรติทั้งเพศหญิงและวัยวุฒิตามสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมี เป็นการเรียนรู้ที่สนุกและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อีกทั้งช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผู้บริหารในอนาคตของ กฟผ.

รศ.สุขุม นวลสกุล- จิตวิทยามวลชน มวลชนมีหลายประเภท ทั้งMass, Crowd และMob มองปัญหาให้ออก โดยนักบริหารควรมองปัญหาหลายๆมุมเพื่อหามุมที่แก้ปัญหาให้ได้ การเจรจาต่อรองขณะดำเนินการเจรจาต้องจับสัญญาณจากคำพูด ท่าทาง ขณะพูดและต้องควบคุมอารมณ์ ระวังการใช้ถ้อยคำ และประเมินสถานการณ์ด้วย เมื่อเจรจาจบต้องได้บทสรุป และไม่ควรแสดงออกว่าฝ่ายใดชนะ อาจารย์ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง อาทิเช่น หากจะต้องขึ้นเวทีเพื่ออธิบายให้ม็อบเข้าใจจะต้องมั่นใจว่าเป็นม็อบจริง ไม่ใช่ม็อบจัดตั้ง เพราะถ้าหากมีเฉพาะม็อบจัดตั้งที่ชุมนุมอยู่ ก็ไม่อาจชี้แจงให้เข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ประสบปัญหาจริงไม่ใช่ม็อบจัดตั้ง เราจึงจะสามารถอธิบายทำความเข้าใจได้ ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องขึ้นเวทีชี้แจงกับม๊อบจัดตั้ง ชี้แจงเนื้อหามากเกินไปหรือไม่ควรใช้เวลามากเกินไป เพราะม็อบจัดตั้งจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว และก็จะไม่พิจารณาถึงเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์เลย

อุดมพรรณ อุทัยศิลป์ EADP 11

กฎทองของ Mr. William E. Heinecke

Mr. Chira Hongladarom's Model
2. Do Your Homework 14. Get things done
3. You won't be Comitted if you're not Having Fun 18. Enjoy your work
5. Wotk with Other People's Brain 8. พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว
8. Reach for the Sky (at least once) 5. Plan big and ambitious
10. Become a Leader 6. Try to be number 1 ในงานที่ทำ
11. Recognize a Failure and Move on 11. Failure is Lesson
13. Embrance Change as a Way of Life 4. คิด Projects ใหม่ และยากเสมอ
14. Develop Your Contacts 9. สร้าง network ตลอดเวลา
20. After a Fall, Get Back in the Saddle Quickly 13. Down and Up again
นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 28 มกราคม 2558 หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ ทฤษฎีแห่งการเรียน รู้Learning How to Learnการเรียนรู้ที่สำคัญต้องคำนึงหลัก 2R's มองความจริง (Reality) และต้องจับให้ตรงประเด็น (Relevance)ในการเป็นผู้บริหารในอนาคตต้องมองจากมุมกว้าง ๆ ในทุกเรื่องที่ต้องตัดสินใจ โดยคำนึงถึงคนที่ร่วมงานการรับความรู้สึกจากคนรอบข้างเก่ง ทั้งบวก และ ลบ ทนต่อการวิพากษ์รับได้กับการสูญเสีย เพื่อเป็นบทเรียนมีการสร้างโอกาสที่จะเรียนรู้ร่วมกันLearn - Share -Care เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหลากหลายขึ้น เช่น Value Added Value Creation Value Diversityต้องมุ่งอนาคตและจับประเด็นให้เก่ง ซึ่งสามารถมาใช้ประโยชน์ในการบริหารใน กฟผ.ได้ผู้บริหารในปัจจุบัน ต้องมีคุณธรรมความรู้อดทน เก่งคน เก่งงาน เก่งสร้างสรรค์ เก่งสื่อสาร ไว้ใจ มองไกล ใส่ใจผู้มีส่วนได้เสีย( Networking) ใจธุรกิจ นำมาใช้ในองค์กรอย่าง กฟผ. แต่ต้องค่อยสลาย ไซโล ที่มีในองค์กรค่อยให้ลดลงได้ เพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรชั้นนำในอนาคต

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 28 มกราคม 2558 หัวข้อ Managing SelfPerformance โดย อ . อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ การเรียนรู้ในวันนี้ การดำเนินกิจกรรมอะไรก็ตามไม่ว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนรวม การควบคุมการสั่งการต้องคิดก่อนทำ ก่อนพูด มีความรอบครอบ มีความรอบรู้ การวางตัวตามบทบาทนั้นๆ คำพูดเป็นนายเราเมื่อเราพูดออก การกระทำก็เป็นนายเราเมื่อกระทำไปแล้ว ทุกอย่างสั่งการ จากความรู้ (Knowledge ) ที่มีอยู่รวมทั้งทักษะ (Skill) ที่ได้ฝึกฝนมา รู้ดี ทำดี ทำถูก ปฏิบัติดี ทำแล้วทำถูกต้องจำให้ขึ้นใจ มันจะกำหนดตัวตนของเราการบริหารบุคลากร นอกจากจะใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะแล้ว การจะทำงานนั้นให้บรรลุความสำเร็จ ต้องพยายามนำคุณลักษณะภายในมาใช้ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งต้องมีการการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบอย่างเหมาะสมและถูกวิธี จะทำให้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเป็นที่ พึงพอใจ ทุกอย่างขึ้นกับตัว โดยเฉพาะองค์กรสมัยใหม่การสั่งการโดยตรงแบบบริษัทจำกัด จะมีมากให้ใช้น้อยในองคต์กรเรา ให้เน้นการ ให้คำแนะนำ(Coaching) เป็นหลัก ซึ่งมาจากองค์ความรู้ และทักษะที่สะสมมาในการบริหารจัดการ และใช้ประยุกต์ในองค์กรกฟผ.ได้

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 28 มกราคม 2558 หัวข้อกลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของกฟผ. โดย รศ. ดร.สมชายภคภาสน์วิวัฒน์

ความรู้ที่ได้ เป็นการเปิดมุมมองของโลกใหม่ ให้เห็นว่าเขาทำอะไร เพื่ออะไร การสนองตอบต่อความต้องการอย่างไร การวางแผนกลยุทธ์ในการช่วงชิงความได้เปรียบคู่แข่ง การก้าวหน้ากว่าคู่แข่งเสมออย่างน้อยก้าวหนึ่งการจะก้าวหน้ากว่าคู่แข่งได้ต้องทำตัวเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Skill) โดยใช้การวิเคราะห์SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยให้ผู้ยริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อน จากสภาพแวดล้อมภายในโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งนี้ต้องทำทั้งของเรา และคู่แข่ง เราจะรู้ว่าจะวางองค์กรของเราในระนาบไหน ตลอดจนผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรอย่างไรการนำมาใช้ใน กฟผ.ได้อย่างดี

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

เปรียบเทียบมุมมองของ William E. Heinecke กับ Chira Hongladarom's Model

1. Recognize a Failure and Move on / Failure is lesson

เมื่องานโครงการหรือกิจกรรมไม่สำเร็จตรงตามเป้าหมาย มีความผิดพลาด ต้องหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนขั้นตอนและวิธีดำเนินงานจนสามารถก้าวข้ามไปได้ ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความผิดพลาดถือเป็นบทเรียนที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการป้องกันและระวังไม่ให้ผิดพลาดซ้ำสอง

2.After a Fall, GetBack in the Saddle Quickly / Down and up again

หากการดำเนินงานผิดพลาดล้มเหลว หรือทำงานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ก็ไม่ต้องท้อแท้ หรือคิดกังวลเร่งรีบปรับปรุงและเร่งหาวิธีแก้ไขและดำเนินงานต่อไปให้สำเร็จโดยเร็ว เหมือนกับการที่ล้มแล้วลุกขึ้นมาสู้อีกครั้ง

3. Develop Your Contacts / สร้าง network ตลอดเวลา

การพัฒนาความสัมพันธ์หรือเพิ่มความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนที่ไม่ได้ร่วมงาน(แต่รู้จักกัน)ให้มากขึ้น มีประโยชน์ต่อผู้นำและผู้บริหารเนื่องจากจะได้มีเครือข่ายและพันธมิตรที่สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวต่อไปได้ เหมือนกับ การสร้างเครือข่ายกับผู้คน และกลุ่มคนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาย่อมจะส่งผลให้สามารถในการบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี กฟผ. ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน สถาบัน กลุ่มบุคคล และบุคคลหลายสาขางานทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนบุคคลภายในองค์กร กฟผ. และภายนอกองค์กร ให้ทำความรู้จักทั้งเรื่องงาน และมีมิตรภาพที่ดีต่อกันเพื่อที่ต่อไปจะสามารถช่วยเหลืองานซึ่งกันและให้สำเร็จลุล่วงได้โดยง่าย

4.You won't be CommittedifYou're not having fun/ Enjoy your work

เราจะไม่ผูกพันกับงานที่เราทำเลยถ้าไม่สนุกกับงานนั้น เหมือนกับ มีความสุข สนุกกับงาน งานที่ทำนั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กฟผ. จึงให้ความสนใจในเรื่องความผูกพันขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง และเร่งที่จะปรับปรุงแก้ไขการที่พนักงานไม่ผูกพันกับองค์กรในเรื่องที่สำคัญก่อน (คะแนนความผูกพันน้อย) เพื่อที่จะให้พนักงานผูกพันกับองค์กร และจะได้ทำงานอย่างมีความสุข หรือ มีความสุขที่ได้ทำงานนั้น

5.Reach for the Sky (at least one) / Plan big and ambitious

ผู้บริหาร และ ผู้นำ ต้องมีความตั้งใจที่จะไปให้ถึงจุดสูงสุดในตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ หรือมีเป้าหมายในการทำงานที่ท้าทาย / มีการวางแผนคิดงานใหญ่ และมีความทะเยอทะยานที่จะทำงานให้ก้าวหน้า บรรลุความสำเร็จ

6.Find Vacuum and Fill it / If there is limit , you overcome

ในการบริหารงานของผู้บริหารและผู้นำ ต้องพยายามหาข้อเสียหรือจุดบกพร่องในกระบวนการ และกำจัดจุดบกพร่องนั้นให้หมดสิ้น เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะมีผลทำให้งานไม่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเมื่อกำจัดข้อบกพร่องได้แล้ว งานก็จะเดินหน้าต่อไปอย่างไม่มีอุสรรค / ถ้ามีข้อจำกัดหรืออุปสรรคก็ให้หาวิธีแก้ไขและจัดการ ก้าวข้ามอุปสรรคหรือแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้ได้

7.Set Goals (but go easy on the Vision thing) / Think big picture

ผู้นำต้องมองภาพรวม ภาพใหญ่ให้เป็น กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในภารระหน้าที่ที่รับผิดชอบ และดำเนินงานตามแผนงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง / คิดถึงภาพใหญ่เป็นเป้าหมาย

8.Trust Your Intuition / Get things done

ผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตนเองยึดมั่นในองค์ความรู้ที่มีประสบการณ์ที่ผ่านมา และกล้าตัดสินใจแก้ไขปัญหาและจัดการทำงานให้สำเร็จลุล่วง / มีความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

9.Reinvent yourself :Onwards and Upwards /Creativity and Innovation

ผู้นำต้องปรับปรุงพัฒนาตนเอง และ สร้างตนเองขึ้นใหม่ให้ดีขึ้นเหมือนกับการที่ผู้นำต้องกล้าคิดนอกกรอบให้ได้ และนำเสนอผลงานเพื่อที่จะพัฒนาและสร้างสรรค์งานใหม่หรือวิธีการใหม่ๆ ให้เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ และสามารถใช้พัฒนางาน ปรับปรุงตนเอง และหน่วยงานต่อไปได้


ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

30 มกราคม 2558

ผู้บริหารต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ภายนอก ดูทั้งเครื่องแต่งกาย กริยา มารยาท เนื่องจากความประทับใจเกิดจากการมองเห็นถึง 55% ซึ่งบางคนได้ตัดสินจากการมองแค่เพียงภายนอก

  • -ต้องดูแลหน้าตาให้สดใส ทาครีมบำรุงผิว
  • -ปรับทรงผมให้เข้ากับหน้า จะเสริมบุคลิกให้ดีขึ้น
  • -ผิวคล้ำต้องใส่เสื้อสีสดใส อย่าใส่สีทึมๆ
  • -ใส่รองเท้าหัวยาว เสริมบุคลิก ดูเพรียว
  • -สูทควรใส่พอดีตัว
  • -ผู้หญิงหากนิ้วเท้าไม่สวยควรใส่รองเท้าปิดหัว
  • -ปากกาควรใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ
  • -กางเกงควรมีความยาวที่พอดี หากใส่สแล๊ค ควรคลุมรองเท้าแต่ไม่ยาวจนกองที่รองเท้า

สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ

  • -พูดจาดี
  • -แต่งตัวดี
  • -มาดดี
  • -รู้จักกาลเทศะ
  • -อารมณ์ดี

Tips 5 ข้อ ในการปฏิบัติต่อผู้อื่น

1. ปลอดภัย

2. สะดวกสบาย

3. ให้เกียรติ

4. อัธยาศัยไมตรี

5. ความมีระเบียบเรียบร้อย

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 28 มกราคม 2558

ในการทำธุรกิจ จะต้องมีการแข่งขัน ในบางครั้ง ของราคาแพงกับขายดีกว่าของที่ถูกกว่า แต่บางครั้งของที่ขายถูกกว่ากลับขายดี

ทั้งนี้เพราะลูกค้าจะจ่ายเงินขึ้นกับความพึงพอใจ ดังนั้นการตั้งตั้งราคาจะต้องมองว่าสินค้าของตัวเองมีความแตกต่างที่เป็นที่พึงพอของลูกค้าหรือไม่ เพราะถึงแม้มีความแตกต่างแต่ไม่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่ซื้ออยู่ดี แต่ ถ้าวางตำแหน่งสินค้า ต้นทุน ราคา มีความแตกต่างที่สอดคล้องกับความพึงพอใจของลูกค้า ก็จะทำให้สินค้าขายดี โดยความพึงพอใจของลูกค้าอาจต่างกันเช่น ให้ความสำคัญกับ ราคา คุณภาพ ภาพลักษณ์ เป็นต้น

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์

นักคิดเชิงกลยุทธ์มีลักษณะดังนี้

รู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง เห็นความแตกต่างในสิ่งที่เหมือนกัน

ต้องรู้จักแสวงหาสิ่งใหม่ เช่นสายการบินราคาต่ำ ซึ่งตอบสนองผู้ใช้บริการที่ต้องการบินในราคารถทัวร์

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

เปรียบเทียบมุมมอง William E. Heinecke & Chira' Model

1. After a fall , Get Back in the Saddle Quickly. & Down and up again.

เมื่อเกิดความผิดพลาดหรือความสูญเสียจะต้องกลับมาเข้าสู่เวทีอีกครั้ง เพื่อใช้ผลที่ได้จากการเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นๆ

2. Recognize a Failure and Move on & Failure is lesson

เรียนรู้จากความผิดพลาด

3. Develop Your Contacts. & สร้าง network ตลอดเวลา

จะต้องพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อสร้างเคลือข่ายอย่างต่อเนื่อง

4. You won’t be committed if you are not having Fun & Enjoy your work

การทำงานจะต้องมีความสุขจึงจะสามารถดึงศักยภาพของคนออกมาได้เต็มที่ ดังนั้นการรับงานหรือมอบงานจะต้องมองในเรื่องที่ทำให้ทำงานอย่างมีความสุข

5. Reach for the sky & Plan big and ambitious

ฝันให้ไกลไปให้ถึง

6. Work with other people’s brains. & พัฒนาลูกน้องให้เก่งไม่ใช่เก่งคนเดียว

คือการทำงานจะต้องเป็นทีม ดังนั้นผู้นำจะต้องสามารถพัฒนาลูกน้องและสามารถใช้ความคิดหรือศักยภาพของลูกน้องให้เกิดประโยชน์กับงาน

7. Set goals ( but go easy on the “vision” thing). & Think big picture

ผู้นำจะต้องมองภาพใหญ่และเป้าหมายเป็นสำคัญ

8. Chase quality, Not Dollars. & Customer’s focus

การทำงานโดยมุ่งเน้นคุณภาพก็คือการมุ่งเน้นลูกค้า และการมุ่งเน้นคุณภาพก็คือการมุ่งเน้นความพอใจของลูกค้า

9. Find a vacuum and fill it. & Get things done.

ไม่ว่าในการทำงานจะเกิดปัญหาหรืออุปสรรคใด หาให้เจอแล้วจัดการมัน ซึ่งก็ คือการมุ่งสัมฤทธิ์ผล

อิศรพงษ์ ปาลวัฒน์วิไชย

สรุปการเรียนรู้ 29 มค. 2558
3V & Innovative Project

การตั้ง Hypothesis จะต้องพิจารณาจากปัญหาในปัจจุบัน ว่าคืออะไร ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตและ จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ 3V คือ Value Added , Value Creation และ Value Diversity โดย Hypothesis ที่ได้จะต้อง Reality และ Relevant ด้วย

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางาน กฟผ.

- ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความคิดที่ต่างไปจากเดิม เป็นการพัฒนา และ ปรับปรุง ทำให้มีความสุข และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

- ความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการสลายกรอบความคิด คิดนอกกรอบ และ คิดคร่อมกรอบ

สรุปการเรียนรู้ 30 มค. 2558

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

- ผู้บริหารต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ภายนอก ทั้งเครื่องแต่งกายและเครื่องใช้ต่าง ๆ

- First Impression ดูจาก รูปลักษณ์ภายนอก 55 % น้ำเสียง 38 % การพูดจา 7 %

- มารยาทในสังคม มีสิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือ ความปลอดภัย การให้เกียรติ ความสะดวกสบาย อัธยาศัยไมตรีและความมีระเบียบเรียบร้อย

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

- ความขัดแย้งจะมีอยู่ทั่วไป เมื่อมีความไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน มีทั้งส่วนงานและส่วนตัว ผู้บริหารจะต้องไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ต้องจัดการ ไม่ทำให้ความขัดแย้งส่วนตัวกลายเป็นของส่วนรวม

- การเจรจามีหลักอยู่ที่ พยายามอ่านว่าคนที่มาเจรจากับเรา ชอบอะไร เอาอกเอาใจเขา ให้เขารู้สึก ถ้าเขารู้สึกว่าเราให้ความสนใจเขา เขาก็จะรู้สึกดีกับเรา และลดการต่อรองลง

-ม๊อม มี Crowd , Mob และ Mass ซึ่งมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน แต่การจัดการต้องมีความเชื่อมั่น รู้ทันท่าที รู้ข้อมูลเพื่อตอบโต้

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 29 มกราคม 2558 หัวข้อ3 V & Innovation โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. (Problem Based Learning)…....ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคตกฟผ. ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

โดย ศ. ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.กิตติ ชยางคกุล

จัดทำโครงการวิจัยแบบมินิ โดยการตั้ง สมมุติฐาน (Hypothesis) เรื่องที่จะทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ กฟผ. ในอนาคตในอีก 5 ปี ข้างหน้า ให้ใช้ทฤษฎี 3 V (Value Added , Value Creation และValue Diversity ) และ 2R's มองความจริง (Reality) และต้องจับให้ตรงประเด็น (Relevance) มาใช้ดำเนินการ เพื่อตอบโจทย์ที่เรามี เพิ่มมูลค่าของที่มีทำอย่างไรในอนาคตของ กฟผ. ในอีก 5 ปีข้างหน้า อยากได้ อยากให้เป็น แนวทางที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แบบคิดนอกกรอบ หรือจากองค์ความรู้จากการวิจัย

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 29 มกราคม 2558 หัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) กับ การพัฒนางานของกฟผ. โดย อ. ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การจะทำให้เกิดความสำเร็จได้ในชีวิต เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ การผลักดันความคิดสร้างสรรค์ให้มีการยอมรับ ในสิ่งที่เราคิดคิดนอกกรอบ ไม่ปิดกั้นด้วยความกลัว กลัวไม่ประสพความสำเร็จ กลัวคนหาว่าบ้า กลัวไม่มีคนช่วย คิดเองเออเองสารพัดฯลฯ จงถามตัวเองว่า WHY โดยกรอบที่ปิดกั้นความคิดจริง ๆ มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.กรอบความคิดของเราเป็นไปได้ไม่เว่อ เป็นวิทยาศาสตร์ 2. กรอบองค์กร / นโยบายของเรามีการขัดกันในด้านใด ทั้งทางด้านที่แก้ไขได้ หรือทางด้านที่ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากต้องใช้บุคคลที่เหนือกว่าทำ เช่น จากรัฐบาลที่ กฟผ. สังกัดอยู่ ต้องรับมาจากกระทรวง และ 3.กรอบสังคมว่าเราทำดี หรืเอาเปรียบเขา ทำเพื่อประโยชน์ของเราอย่างเดียว ไม่แคร์สังคม หรือจากความคิดของบุคคลภายนอกที่มองเราด้านดี หรือ ไม่ดี วิธีที่จะทำให้เราสามารถคิดนอกกรอบสำเร็จ คือ ต้องคิดเยอะ ให้ได้ปริมาณความคิดที่มีความหลากหลาย และ กล้าคิด กล้าพูด จัดให้เยอะไว้แล้วเลือกที่ดีที่สุด ที่ทำได้ก่อน เทคนิคที่จะใช้สลายความกลัว คือใช้คำถาม 4 คำถาม กลัวอะไร แล้วไง จริงรึเปล่า ถึงตายไหม ทั้งนี้ ต้องคิดร่วมกันการ รับฟังความคิดเห็นกันและกัน เพื่อให้ได้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ในการพัฒนางานของ กฟผ. ถามตัวเองว่ากลัวไหม เตือนตนให้มีสติ คิดให้เยอะแต่ไม่ฟุ้งซ่าน

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

วันที่ 30 มกราคม 2558 หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อ. ณภัสวรรณ จิลลานนท์

การเข้าสังคมในปัจจุบัน เราต้องติดต่อกับชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ต้องมีการเรียนรู้วัฒนธรรมในการพบปะผู้คนที่ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษาพูด ภาษากาย เราจะปฏิบัติอย่างไร ความเหมาะสมของการปฏิบัติเพื่อ ให้เขาเห็นว่าเราเป็นคนมีอารยะ การให้เกียรติ คนที่ใหญ่กว่าทำอย่างไร การคำนึงถึงความปลอดภัยในการนั่งรถยนต์ ให้คนที่ใหญ่กว่านั่งที่ไหน ด้านไหนในรถ เป็นต้น ความสะดวกของการเข้าพิธีการของหัวหน้าคณะทำอย่างไรระเบียบการนั่งในที่ประชุม และที่สำคัญอัธยาศัยไมตรีที่มีต่อกัน การแสดงออกในแต่ละวัฒนธรรมที่ต่างๆกัน เช่น บางที่กอดกัน บางที่จับมือ บางที่หอมแกล้ม ฯลฯ ที่สำคัญ คือ บุคลิกภาพของนักบริหาร คือ การพูดจาดีแต่งตัวดี มีการวางมาด การรู้จักกาลเทศะ และ การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งต้องดูแล หน้าตา ทรงผม เครื่องแต่งกาย รองเท้า ฯลฯ เพราะความประทับใจเมื่อแรกพบ มาจากหน้าตา (Good Looking)การพูดน้ำเสียงที่ใช้ช่วงจังหวะ มีเบา มีหนัก และ ท่วงท่ากริยาภายนอก ที่แสดงออกให้เห็นว่าเรามีน้ำยา ซึ่ง กฟผ.จะเปิดประตูสู่อนาคตต้องใช้ในการวางมาดเช่นนี้ เหมือนกับนายกใส่สูท แต่มีขี้รังแคตกที่บ่าเสื้อสูทขาวไปหมดเสียบุคลิก มาก

นาย วีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์ EADP 11

30 มกราคม 2558 หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และ จิตวิทยามวลชน

โดย รศ. สุขุม นวลสกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง เกิดจากรวมกลุ่มกัน เพื่อหาข้อสรุปที่กลุ่มต้องการ มีทั้งทาง ลบ และ บวก มีหลายประเภท คือ 1. Mass คือ ผู้คนมารวมตัวหนาแน่นไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายร่วมกัน การรวมตัวแบบนี้อันตรายถ้ามีการจุดพลุให้เกิดอารมณ์ร่วมแบบรุนแรงควบคุมยาก 2. Crowd คือ ผู้คนมารวมตัวกัน มีจุดประสงค์เดียวกัน แบบนี้ควบคุมง่ายกว่าเพราะถ้าประสพความสำเร็จแล้ว สามารถแยกย้ายกลับไปได้ไม่เกิดเหตุการดาวกระจายไปทำสิ่งที่ไม่ดี 3. Mob คือ ผู้คนมารวมตัวกันมีจุดประสงค์ มีอารมณ์ร่วม และ แสดงพลัง อันนี้น่ากลัวจุดประสงค์อาจมีแนวโน้มไปทางลบ อาจโดนว่าจ้างมาก็ได้ การจัดการกับมวลชนต้องอาศัยจิตวิทยามวลชน คือ 1.ต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องที่จะทำว่าถูกต้องมีความจริงใจ ข้อมูลที่ให้มี ความเป็นจริงไม่ใช่แอบแฝงข้อเสียไว้ ไม่บิดเบือนภ้าเขารู้ขึ้นมาขาดความเชื่อถือในทันที่ 2. รู้ทันท่าทีของกลุ่มที่จะมาว่าต้องการอะไร มาทางลบ หรือ บวก เดือดร้อนจริงหรือไม่ หรือจัดตั้งมา แบบสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง 3. ตีเรื่องให้แตกไม่คิดเข้าข้างตัวเองว่าข้าคือความถูกต้องเท่านั้น หัวอกเขาหัวอกเรา ใจเขาใจเรา มันย่อมต่างกัน พื้นฐานต่างกัน ต้องยอมรับในความแตกต่าง เข้าใจเขาให้ลึกเพียงพอ เขาเป็นคน เราก็เป็นคนเช่นกัน 4. แลกหมัด จัดให้สำหรับกลุ่มที่พูดไม่รู้เรืองจัด Mob ชน Mob ได้เลยในบางกรณี การอดทน ควบคุมอารมณ์ การระมัดระวังคำพูด การพูดสร้างความเข้าใจ และหาข้อสรุปให้ได้ ถ้าขณะเจรจาแล้วไม่มั่นใจให้นิ่งไว้ สามารถใช้วิธีต่างในโครงการของ กฟผ. ที่มีเหตุการณ์โดน Mob ประท้วงอยู่ ในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญต้องเปิดใจคุยกันบนพื้นฐานที่ถูกต้อง เพราะว่าถ้าไม่ทำเกิดอะไร ทำแล้วได้อะไร ใครได้เสีย ประเทศชาติได้อะไร ต้องสังวรณ์

นายสมศักดิ์ อติวานิชยพงศ์ EADP 11

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน กฟผ EADP รุ่น 11 28-30 มค. 2558

28/01/2558 หัวข้อการสร้างผู้นำ แห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
ผู้นำในความหมายที่อาจารย์สอนจะต้องเป็นมากกว่าผู้บริหาร ต้องมองอนาคตและต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ตลอดจนคาดการณ์ไปในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เพื่อสร้างความยั่งยืนขององค์กร
ผู้นำต้องมี Trust คือสร้างความ ศรัทธาให้กับทุกคนไม่ใช่มีเพียงตำแหน่งบริหารเท่านั้น

TRUST มี 3 ขั้นตอน
- GROW
- EXTEND
- RESTORE

TRUST แบ่งออกเป็น
1.SELF TRUST
2.RELATIONSHIP TRUST
3.ORGANIZATION TRUST
4.SOCIAL TRUST

การนำไปใช้ประโยชน์ ผู้นำของ กฟผ จะต้องได้รับการเลือกและจะต้องได้รับกาสร้างให้เป็นผู้นำ


MANAGING SELF PERFORMANCE
อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

การสื่อสารเป็นช่องทางที่ผู้บริหารจะต้องปฎิบัติให้ดี ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การสื่อสารจะมีเนื้อหาเพียง 7% น้ำเสียง 38 % และ ท่าทาง 55 %หมายความว่าการสื่อสารที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่มีแค่เพียง เนื้อหาเท่านั้น การจะทำให้ได้ผลที่ดีจะต้องใช้น้ำเสียงและท่าทางเพื่อที่ผู้รับข่าวสารเข้าใจและปฎิบัติตามที่เราต้องการ การนำไปใช้ประโยชน์ต้องเปลี่ยนความคิดและวิธีการด้านการสื่อสารใหม่ เพื่อวางแผนการสื่อสารในรูปแบบที่เกิดประโยชน์สูงสุด

28/01/58 หัวข้อกลยุทธ์เครื่องมือและเทคนิค การบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ .

รศ.ดร สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ผู้บริหารต้องวางตำแหน่งและทิศทางให้ถูกต้อง การทำธุรกิจจะต้องวางตำแหน่งของตัวเราให้ตรงกับตำแหน่งของลูกค้าถ้าทำได้ถูกต้องจะทำให้การกำหนดกลยุทธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แผนกลยุทธ์ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ Swot ต้องแม่นยำทั้งในปัจจุบันและอนาคต

29/01/58
3 V & INNOVATIVE PROJECT
โครงการ เชิงนวัฒกรรม เพื่อพัฒนาอบรม กฟผ
อ.ดร จีระ หงส์ลดารมณ์
อ.กิตติ ชยางคกุล


สิ่งที่ได้รับคือการวิเคราะห์ปัญหาในอนาคตของ กฟผ อีก 5 ปีข้างหน้า กฟผ จะอยู่ในสภาพเช่นไร และ ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมอะไร ในการที่จะนำพา กฟผ. ให้รอดพ้นจาก ปัญหาดังกล่าวโดยใช้ ทฤษฎี 3 v
1.VALUE ADDED
2.VALUE CREATION
3.VALUE DIVERSITY

ถ้าองค์กรสามารถพัฒนา V ที่ 2 และ V ที่ 3 ได้จะทำให้บรรลุสิ่งที่ต้องการ

29/01/58 หัวข้อความคิดสร้างสรรค์ ( CREATIVITY ) กับการพัฒนาของ กฟผ

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

คนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี สิ่ง 2 สิ่งคือ
1.มนุษย์สัมพันธ์
2.ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อมีแล้วจะต้องนำไปปฎิบัติให้สำเร็จส่วนใหญ่มักจะไม่สำเร็จเนื่องจากขาดความคิดนอกกรอบ ( ทำไม่ได้ ติดปัญหานั้น ปัญหานี้ ) จะต้องดำเนินการดังนี้

1. สลายกรอบความคิด
2.คิดนอกกรอบ
3.คิดคร่อมกรอบ
และให้ตั้งคำถามเรียงตามลำดับ
1.กลัวอะไรอยู่
2.ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น
3.เกิดจริงหรือเปล่า
4.มีผลเสียเพียงใด ( อาจารย์ใช้คำว่า ถึงตายไหม)
ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วเราจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นมาปฎิบัติให้สำเร็จจะต้องดำเนินการดังนี้





จารุพัจน์ ปุณณะหิตานนท์

เปรียบเทียบมุมมองของ Mr.William E.Heinecke กับ Chira Hongladarom's Model

William E.Heinecke Chira Hongladarom
Set Goals
Reach for the Sky
Don't Put up with Mediocrity




Become a Leader


Work with Other People's
Brains







Develop Your Contacts







Recognize a Failure and
Move on
After a Fall, Get Back in the
Saddle Quickly

Learn to Sell

Plan big and ambitious
Creativity and Innovation





Try to be number 1 ในงาน
ที่ทำ

พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่ง
คนเดียว
ยกย่องลูกน้อง






สร้าง network ตลอดเวลา







Failure is lesson
Down and up again
Pain is Gain


Customer's focus
คนที่เป็นผู้นำต้องมีความ
ทะเยอทะยานและตั้งเป้าหมาย
การทำงานอย่างไม่ธรรมดา (มี
ความคิดสร้างสรรค์ และสร้าง
นวัตกรรมใหม่ ๆ ) และต้องไปให้
ให้ถึงจุดนั้น

เป็นผู้นำในการทำงาน


ผู้นำจะไม่ใช่ผู้ที่ต้องลงมือ
ปฏิบัติงานเอง แต่ต้องอาศัยการ
ทำงานของลูกน้อง ดังนั้นจึงต้อง
พัฒนาลูกน้องให้เก่งตามเพื่อให้
การทำงานบรรลุเป้าหมาย และ
ยกย่องเมื่อเขาทำดีอันเป็นการ
เสริมสร้างกำลังใจในการทำงาน
และจะส่งผลดีต่อความสำเร็จของ
งาน
นอกจากนี้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ
บุคคลอื่น ยิ่งมีเครือข่ายมากก็จะ
มีส่วนช่วยในการทำงานได้มาก
ดังนั้นจึงต้องสร้างเครือข่าย และ
และพัฒนา (เสริมสร้าง)ความ
สัมพันธ์อันดีกับเครือข่าย /
บุคคลอื่น

เมื่อล้ม (เกิดความผิดพลาด/
ล้มเหลว) แล้วให้รีบลุกขึ้นเพื่อ
เดินหน้าต่อ และให้ถือเป็น
บทเรียน เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะนำเสนอ
ความคิด /เป้าหมายการทำงาน
ต่อบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการ
ผลักดันให้การทำงานของเรา
บรรลุความสำเร็จ = เจาะ
กลุ่มเป้าหมาย
จารุพัจน์ ปุณณะหิตานนท์

เรียน อ.จีระ

ข้อความข้างบนมีความคลาดเคลื่อนค่ะ คือตอนพิมพ์ทำเป็นตารางเปรียบเทียบ แต่พอ save กลับกลายเป็นดังข้างต้น ช่วงบรรทัดไม่ตรงตามที่พิมพ์ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ



อิศรพงษ์ ปาลวัฒน์วิไชย

การเปรียบเทียบ กฎทองของ Heinecke กับ Chira Hongladarom’s Model <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

1. Recognize a Failure and Move on. และ Failure is Lesson

เมื่อมีความผิดพลาดหรือข้อล้มเหลวเกิดขึ้น ต้องไม่จมอยู่กับความผิดพลาดนั้น ต้องก้าวต่อไปและนำความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน โดยนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ หาแนวทางแก้ไขและป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเช่นนั้นอีกในอนาคต

2. Learn to sell และ Customer’s Focus

ผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สินค้านั้นถึงจะขายได้ สำหรับ กฟผ. นั้น สินค้าที่ผลิตก็คือ ไฟฟ้า ถึงแม้จะมีผู้ผลิตน้อยราย แต่ กฟผ. ก็ต้องปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3. WorkWith Other People’s Brains และ พัฒนาลูกน้องให้เก่งไม่ใช่เก่งคนเดียว

ผู้บริหารไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง ส่วนใหญ่ก็ให้ลูกน้องเป็นผู้ปฏิบัติ จึงต้องลงทุนพัฒนาลูกน้องให้เก่ง เพื่อที่จะได้ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งซึ่งจะคุ้มค่ามากต่อองค์กร

4. Become a Leader และ Try To Be Number1ในงานที่ทำ

ผู้บริหารจะต้องมีความต้องการเป็นที่หนึ่งในงานที่ทำ ในการที่จะเป็นที่หนึ่งในงานที่ทำนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความเป็นผู้นำ ที่จะนำพาทีมงานหรือองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งก็เป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของผู้บริหาร กฟผ.

5. Develop Your Contacts และ สร้าง Network ตลอดเวลา

การทำงานจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นเสมอ จึงจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายไว้ เพื่อช่วยในการทำงานสามารถบรรลุเป็นเป้าหมายได้ ซึ่ง กฟผ. เองก็ได้สร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกไว้เป็นจำนวนมากมาย เพื่อประโยชน์ขององค์กร

6. You Won’t be Committed if You’re not Having Fun. และ Enjoy you work

การทำงานที่จะให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำงานแบบมีความสุขหรือรักที่จะทำงาน มีความมั่นคงปลอดภัย มีความพึงพอใจในการทำงาน และมีความผูกพันองค์กร

7. After a Fall, Get Back in the Saddle Quickly และ Down and up again

เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นต้องไม่ยอมแพ้ รีบหาทางแก้ไขเพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็ว รวมทั้งหาแนวทางป้องกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเดิมขึ้นอีก

8. Reinvent Yourself: Onwards and Upwards. และ Creativity and Innovation

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้นำ ซึ่งต้องพยายามกระตุ้นให้เกิดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยความคิดสร้างสรรค์นั้นจะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดขององค์กร ดังนั้นผู้นำต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ

9. Reach for the sky (at least once). และ Plan big and ambitious

การไปถึงดวงดาวหรือเป็นที่หนึ่งนั้น ถ้าสามารถไปถึงจุดนั้นได้ก็จะเป็นแรงผลักดันด้านบวกให้เกิดความมุมานะมุ่งมั่น มั่นใจที่จะวางแผนในเรื่องที่ใหญ่ขึ้น และมีความทะเยอทะยานที่จะทำให้สำเร็จ

สรุปบทเรียน
โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11
ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2558
ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รศ. สุขุม นวลสกุล อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์
อ.กิตติ ชยางคกูล อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สวัสดีครับท่านอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ EADP 11 (ว่าที่ท่านผู้นำ) ผมรู้สึกโชดดีที่ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในหลักสูตรนี้ ได้รู้จักเพื่อนที่มาจากหน่วยงานที่หลากหลาย มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนแนวคิดมุมมอง ผมชอบคำพูดของพี่ท่านหนึ่งในห้องเรียนมากๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นพี่ณรงค์หรือไม่ ที่ท่านพูดว่า " รู้อะไรไม่สู้รู้จักกัน " ชอบมากขอซื้อนะครับ สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด 3 วันที่ผ่านมา ขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้ครับ

1. CHIRA Way = แนวทางกระตุ้นความเป็นเลิศที่มีอยู่ในตัวตนของเหล่าผู้นำ ในการที่จะรวมพลังหาความรู้ใหม่ๆ ร่วมกันแก้ปัญหา มองอนาคต

Do what you know ...
If You have Idea… Turn Idea to action … Turn action into success
เน้น 2R's Reality และ Relevance (ตรงประเด็น)

2. ความสำเร็จจะต้องไม่กระจุกอยู่แต่ในตัวเหล่าผู้นำ ผู้นำต้องส่งผ่านความสำเร็จไปสู่ลูกน้องและ ทีมงาน ซึ่งท่านอาจารย์จีระ ใช้คำว่า .. กระเด้ง

3. ผู้นำต้องรู้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากความรู้ในวิชาชีพแล้วจำเป็นต้องเรียนรู้ข้ามศาสคร์ เรียนรู้เศรษฐกิจสังคม มีความเอื้อเฟื้อ และยอมรับความหลากหลาย สร้างเครือข่าย Networking โดยเฉพาะ Global Networking พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ใช้ทฤษฎี 4L's /2I's/ 3L's / C – U – V / Learn Share & Care / 8K's / 5K's /

4. การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงทิศทางโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนจุดแข็ง การทำ SWOT ต้องมองอนาคต รู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง

5. Stop to think มีสติ คิดเป็น Step

6. หากต้องการได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น แต่ใช้วิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ควรคิดหาวิธีการใหม่ๆ
คิดสร้าสรรค์ (Creativity)
สลายกรอบ (กรอบความคิด กรอบองค์กร กรอบสังคม) คิดนอกกรอบ และคิดคร่อมกรอบ
ตั้งคำถาม : 1. กลัวอะไรอยู่ ? 2. แล้วไง ? 3. จริงอ๊ะป่าว ? 4. ถึงตายมั๊ย ?.....
ใช้เทคนิค PPCO ( Pluses , Potentials , Concerns , Opportunities ) ให้ความสำคัญที่ Concern มี Solution ดีๆ แน่นอน

7. ได้เรียนรู้ ในเรื่องชอง บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ ศิลปะการแต่งกาย ท่วงท่าอิริยาบถ มารยาททางธุรกิจ
ยึดหลัก 5 ข้อ 1. ปลอดภัย 2. สะดวกสบาย 3. ให้เกียรติ 4. อัธยาศัยไมตรี 5. ความมีระเบียบเรียบร้อย

8. First Impression …. 55% มาจากรูปลักษณ์ภายนอก… 38% มาจาก น้ำเสียง … 7% มาจากการพูดจา

9. เทคนิค การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน.....ความแตกต่างของ Crowd / Mob / Mass

ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ ท่านอาจารญ์ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กฟผ. และ ทีมงานของท่านอาจารย์ ทุกท่านด้วยนะครับ

นายพิพัฒน์ บุนนาค
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง-ปฏิบัติการ

นายสมศักดิ์ อติวานิชยพงศ์ EADP 11

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน กฟผ EADP รุ่น 11 28-30 มค. 2558 (ต่อ)

30/01/2558

หัวข้อบุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่
อาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ในหัวข้อนี้ จริงๆ แล้ว เคยได้รับการอบรมมาจากการเริ่มต้นเป็นผู้บริหารระดับแผนก แต่ในการอบรมที่ผ่านมา มักจะมีผู้เข้าอบรมมาก ทำให้อาจารย์ที่สอนไม่สามารถวิจารณ์ การแต่งกายของผู้เข้าอบรม เพื่อที่จะให้ผู้บริหารนำไปปรับปรุงได้ ในครั้งนี้เนื่องจาก เป็น CLASS เล็ก ทำให้อาจารย์สามารถดูแลได้อย่างทั่งถึง

สิ่งที่อาจารย์แนะนำมีดังนี้
- การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับสีผิว
-การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับผู้บริหาร
-ผู้ชายจะมีบุคลิกที่ดีที่สุดเมื่อใส่สูท
ผู้หญิงจะมีบุคลิกที่ดีเมื่อใส่ส้นสูง
ความยาวของกางเกงและแขนเสื้อจะต้องมีความพอดี ไม่สั้นหรือยาว
-การพบปะผู้คน
-การรอผู้ที่เราต้องการเข้าพบเราจะเลือกนั่งที่ตำแหน่งใดของที่นั่งรับแขก
-การเลือกนั่งในตำแหน่งของรถตู้ รถยนต์ส่วนบุคคล
สิ่งที่อาจารย์แนะนำสามารถนำไปใช้ได้ทันทีในการทำงานและในชีวิตประจำวัน
-มารยาทในการรับประทานอาหารตามสถานที่สำคัญต่างๆ
-การเลือกใช้อุปกรณ์ ช้อน ส้อม มีด ฯลฯ
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า แม้จะรู้เรื่องเหล่านี้มาพอสมควรแต่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดอีกมาก


30/01/2558

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้งการเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน

อาจารย์ สุขุม นวลสกุล

-การที่ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เลือกวิธี ขั้นตอนหรือทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ต้องบริหารความขัดแย้งให้ สำเร็จก่อนที่จะสรุป ทางเลือกนั้น เพื่อที่จะไม่เกิดปัญหา เมื่อเริ่มปฏิบัติ ตามทางเลือกที่สรุปในขั้นแรก
-การเจรจาต่อรอง
จะต้องไม่มีผู้แพ้ชนะจะต้องชนะทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากผู้เจรจาไม่ต้องการเสียเปรียบ
-การเจรจากับมวลชน จะต้อง
ควบคุมอารมณ์ ใช้น้ำเสียงที่ขอความเห็นใจ อย่าโจมตีมวลชน ไม่ใช่คำพูดเสียดสี
เรื่องนี้มองเห็นว่าการเจรจาเป็นคุณสมบัติของบุคคล ส่วนผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงๆ จะต้องได้รับการฝึกฝนในการเจรจาหรือการสื่อสารเพื่อที่จะโน้มน้าวให้ทุกคนปฏิบัติหรือยอมตามที่ผู้บริหารต้องการ

เปรียบเทียบความเหมือน 9 ข้อระหว่าง

กฎทอง ของ Mr.Willium E.Heinecke (25 ข้อ) กับ Chira Hongladarom's Model (18 ข้อ)


(2) Do Your Homework. Vs (14) Get things done.

กฟผ. : สำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบเวลา ให้ดีที่สุด

(8) Reach for the Sky (at least once)Vs (5) Plan big and ambitious

กฟผ : วิสัยทัศน์ก้าวไกล มีเป้าหมายสู่ Top Quartile ในกิจการไฟฟ้า ฝันให้ไกล และ ไปให้ถึง

(9) Learn to Sell Vs (15) Customer's focus มุ่งเน้นลูกค้า

กฟผ : เรียนรู้ธุรกิจ เข้าใจความต้องการของลูกค้า Utilize Resource สร้างรายได้เพื่อความอยู่รอดขององค์การ

(10) Become a Leader Vs (6) Try to be number 1 ในงานที่ทำ

กฟผ : เป็นองค์การชั้นนำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ (Operational excellence)

(11) Recognize a Failure and Move on Vs Pain is Gain

กฟผ : ใช้ความผิดพลาด ความล้มเหลว ความเจ็บปวดในอดีต เป็นบทเรียนที่สำคัญนำมาเรียนรู้ คิดวิเคราะห์หาทางแก้ไข ปรับปรุงให้ดี ไม่ผิดพลาดซ้ำซาก ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของ รฟ.แม่เมาะ ในอดีต

(13) Embrace Change as a Way of LifeVs (4) คิด Project ใหม่ และยากเสมอ

กฟผ : เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน คิดค้นหาวิธีการใหม่ สร้างนวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยังยืน

(14) Develop your ContactVs (9) สร้าง Network ตลอดเวลา

กฟผ : สร้างเครือข่าย แสวงหาความร่วมมือ สร้างพันธมิตร สร้างความยอมรับจากประชาชน จากชุมชน เป็นองค์การที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภูมิใจของชาติ (National pride)

(15) Use Your Time wisely Vs (18) Enjoy Your work

กฟผ. : งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข ทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน Happy Work Place

(20) After a Fall , Get Back in the Saddle QuicklyVs (13) Down and up again

กฟผ. : เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือ ล้มเหลว อย่ามัวแต่โทษกันไปโทษกันมา เปลี่ยนความผิดพลาดล้มเหลว รวมพลัง ร่วมมือร่วมใจฝ่าฟันวิกฤติ ให้เร็วที่สุด


นายพิพัฒน์ บุนนาค

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง

นายพงษ์เทพ เจริญวรรณ

สรุปการเรียนรู้ วันที่ 30 มกราคม 2558

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

มารยาทในการรับประทานอาหาร

การจับแก้วไวน์ที่ถูกวิธีเนื่องจากลักษณะของแก้วไวน์จะมีรูปร่างสูงและมีก้านยาว วิธีจับที่ถูกต้องควรใช้นิ้วจับที่ก้านของแก้วเพื่อให้เห็นสีของไวน์ ไม่ควรโอบจับที่บริเวณแก้วและอย่ากางนิ้วใดนิ้วหนึ่งออกมาจะทำให้ดูไม่สุภาพ การดื่มไวน์ควรจิบที่ละนิดไม่ควรยกกระดก ส่วนการดื่มบรั่นดีเนื่องจากแก้วบรั่นดีจะมีลักษณะอวบใหญ่กว่าแก้วไวน์ให้ใช้นิ้วโอบจับบริเวณแก้วเพื่อให้ไออุ่นจากฝ่ามือทำให้บรั่นดีระเหยเพื่อเพิ่มความหอมของบรั่นดี

ผ้าเช็ดปากให้คลี่ออกแล้วพับครึ่งวางไว้บนตัก ไม่ให้เหน็บไว้ที่คอเสื้อ วิธีเช็ดปากให้ใช้มุมผ้าซับที่ริมฝีปากเบาๆควรมีกระดาษทิชชูอีกหนึ่งผืนไว้ใช้เช็ดปากโดยสอดไว้ในผ้าเช็ดปาก หลังจากรับประทานเสร็จแล้วให้พับผ้าเช็ดปากวางไว้บนโต๊ะ

การใช้มีดและช้อนส้อม ช้อนส้อมและมีดจะวางไว้ตามลำดับการใช้งาน ช้อนและมีดจะวางไว้ทางด้านขวามือส่วนส้อมจะวางไว้ทางซ้ายมือ ทางด้านบนของจานจะเป็นช้อนและส้อมสำหรับของหวาน ส้อมจะถือในมือซ้ายโดยคว่ำส้อมจิ้มจับอาหารให้นิ่งแล้วใช้มีดในมือขวาหั่นอาหาร เมื่อหั่นอาหารเป็นคำๆแล้วใช้ส้อมในมือซ้ายคว่ำจิ้มอาหารเข้าปาก การนำอาหารเข้าปากจะใช้ส้อมในมือซ้ายเท่านั้นไม่ให้ใช้มีดในมือขวา การรับประทานข้าวหรือถั่วอาจใช้มีดปาดอาหารขึ้นไปอยู่บนซ่อม

ในการรับประทานซุบจะทานจากด้านข้างช้อนไม่ควรนำทั้งช้อนเข้าปาก ถ้าซุบร้อนมากอาจจะใช่การคนเบาๆจนซุบเย็นลง การตักซุบควรใช้ช้อนตักไล่ออกจากตัวไม่ควรตักเข้าหาตัว

นายพงษ์เทพ เจริญวรรณ

สรุปการเรียนรู้วันที่ 29 มกราคม 2558

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ.

Insanity ทำสิ่งเดิมซ้ำๆ โดยต้องการให้ได้ผลลัพธ์แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นไปไม่ได้

The science of happiness ความลับของความสุขคือ

  • -Continuous อย่างต่อเนื่อง
  • -Progression ความคืบหน้า
  • -Towardsที่มุ่งสู่
  • -Meaningfulที่มีความหมาย
  • -Objectivesเป้าหมาย

คนที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับต้องประกอบด้วย

  • -มีมนุษย์สัมพันธ์
  • -มีความคิดสร้างสรรค์

กรอบมี 3 กรอบคือ

  • -กรอบความคิด
  • -กรอบองค์กร
  • -กรอบสังคม

อุปสรรค์ ความคิดไม่ออกมาเพราะความคิดเราติดกรอบ

  • -ความกลัว
  • -การยึดติดกับภาพลักษณ์ของตัวเอง
  • -การเซ็นเซอร์ตัวเอง
  • -การต้องการสร้างความประทับใจ

แนวทางการคิด

  • -สลายกรอบความคิดตัวเอง
  • -คิดนอกกรอบ
  • -คิดคร่อมกรอบ

สี่คำถามในการทำลายกรอบความกลัว ให้ถามตัวเอง

  • -กลัวอะไรอยู่
  • -แล้วไง
  • -จริงหรือเปล่า
  • -ถึงตายไหม

การบ่มความคิดเพื่อให้หลุดจากกรอบ

  • -Plus คิดถึงข้อดี
  • -Potentials คิดถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • -Concern คิดถึงข้อกังวลที่ยังติดขัดอยู่
  • -Opportunity โอกาสในการแก้ไขอุปสรรค์ในข้อต่างๆ
นายพงษ์เทพ เจริญวรรณ

เปรียบเทียบความเหมือน 9 ข้อระหว่างกฎทองของ Mr. William E. Heinecke 25 ข้อ กับ Chira Hongladarom's Model เทียบกับค่านิยมองค์การ กฟผ. FIRM-C ที่ กฟผ.ได้สร้างขึ้นมา

FIRM-C

- Fairness (F)

ตั้งมั่นในความเป็นธรรม

- Integrity (I)

ยึดมั่นในคุณธรรม

- Responsibility & Accountability (R)

สำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่

- Mutual Respect (M)

เคารพในคุณค่าของคน

- Commitment to Continuous Improvement and Teamwork (C)

มุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานเป็นทีม


(1.) Find a Vacuum and Fill it. / (2.) If there is limit, you overcome

FIRM-C (R) มีความกระตือรือร้นในการเผชิญกับปัญหาและพยายามหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

(2.) Do Your Homework. / (14.) Get things done

FIRM-C (R) ปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถ ตั้งใจ มุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ ทุ่มเท เสียสละ และอุทิศ

ตนในการทำงานอย่างเต็มที่ทั้งในและนอกเวลา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ กฟผ.

(5.) Work with Other People's Brains. / (8.) พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว

FIRM-C (C) มีการทำงานเป็นทีม มอบหมายงานและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ตลอดจนแบ่งปันทักษะ ความรู้แก่

ผู้อื่น

(8.) Reach for the Sky (at least once). / (5.) Plan big and ambitious

FIRM-C (C) มีวิสัยทัศน์กว้างไกล คิดนอกกรอบ หาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงานอยู่เสมอ

(9.) Learn to Sell. / (15.) Customer's focus

FIRM-C (R) ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกกระบวนการทำงาน

(10.) Become a Leader. / (6.) Try to be number 1 ในที่ทำงาน

FIRM-C (C) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้หรือร่วมสร้างการเรียนรู้ที่มีมูลค่าเพิ่มแก่กลุ่มหรือองค์การตามโอกาส

(11.) Recognize a Failure and Move on. / (11.) Failure is lesson

FIRM-C (C) ปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง จัดการต้นทุนหรือลดการสูญเสียจากการดำเนินงานในทุกๆด้าน

เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

(14.) Develop Your Contacts. / (9.) สร้าง network ตลอดเวลา

FIRM-C (R) สร้างความสัมพันธ์ เครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆตลอดจนสังคมและชุมชนโดยรอบ

(25.) Be Content. / (18.) Enjoy your work

FIRM-C (M) มีอัธยาศัยที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง เข้าถึงง่าย ไม่ถือตัว

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

  • 1.สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ คือ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น การสร้างความไว้ใจและเชื่อใจ สามารถนำไปปรับใช้ทั้งในการสอนงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • 2.การเรียนรู้ เริ่มจากการคิดและตั้งคำถาม รวมทั้งการค้นคว้าให้มากขึ้น บางครั้งบางเรื่อง เราไม่รู้ แต่เราสามารถถามได้จากผู้รู้ ไม่ว่าผู้รู้จะเป็นใคร แต่เราต้องเตรียมคำถามให้เหมาะสม
  • 3.ถึงจะเรียนจบด้านไหนมา แต่ในการทำงานจริง อาจจะต้องทำงานหรือใช้ความรู้ในด้านอื่นๆ เราควรศึกษาความรู้อื่นๆ ด้วย อย่างน้อยเพื่อให้สามารถคุยได้กับทุกคนในทีมงานได้

การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

  • 1.ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปจากเดิมมาก เข้าสู่คลื่นลูกที่ 4 ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นมาก
  • 2.การทำงานต้องให้เกียรติหัวหน้า เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง ทุกคนต้องมีความสุขในการทำงาน ถ้าไม่มีความสบายใจ ผลงานจะออกมาไม่ดี
  • 3.ผู้นำที่ดีต้องรู้จักสร้างทีมงาน มอบหมายงานให้ทีมทดลองทำ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นต้องร่วมกันแก้ไขเพื่อให้งานสำเร็จก่อนและรับผิดชอบร่วมกันเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ

Managing Self Performance โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

  • 1.Competency ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะ (Attribute)
  • 2.ความมุ่งมั่นทำงานให้ประสบความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย และมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงผลงานและคุณภาพเป็นสำคัญ ตลอดจนการรักษาไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
  • 3.การรับผิดชอบต่อชีวิต 100% หมายความว่า การยอมรับว่าเราเป็นคนสร้างทุกสิ่งทุกอย่างเอง

เหตุการณ์ + การตอบสนอง = ผลลัพธ์

  • ถ้าเราไม่พอใจผลลัพธ์ปัจจุบัน เรามี 2 ทางเลือก คือ
  • 1.โทษเหตุการณ์
  • 2.เปลี่ยนการตอบสนอง

กลยุทธ์เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • 1.การทำงาน หมายถึง การนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างมูลค่า
  • 2.การทำธุรกิจต่างๆ แม้จะมีข้อจำกัดมาก แต่ถ้าสามารถหาจุดแข็งและโอกาส (SWOT) ได้ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ เหมือนการเปิดร้านอาหาร
  • a.หากขายอาหารแพง ต้องอร่อยมากๆ ถึงจะขายได้
  • b.ถ้าขายอาหารราคาถูก ไม่ต้องอร่อยมากแต่ก็ต้องมีคุณภาพ
  • c.ถ้ากำหนดราคา ให้สอดคล้องกับลูกค้าก็สามารถอยู่รอดได้
  • d.บริการที่ดีทำให้สามารถกำหนดราคาที่สูงขึ้นได้
  • 3.การเข้าใจลูกค้า เข้าใจความต้องการของลูกค้า ทำให้มีโอกาสในการเติบโตได้ สามารถเพิ่มระดับความพึงพอใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเกิดเป็น Value Added

3V & Innovative Project: โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

1.การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานต่างๆ ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์มาก โดยเริ่มต้นสามารถเริ่มจากการลอกแบบ (Copy) และเมื่อสามารถทำตามได้ จึงเริ่มทำความเข้าใจ (Understand) และสุดท้ายจึงสร้างมูลค่า (Value) ด้วยตัวเอง ถ้าไม่เคยทำ ไม่เข้าใจ ก็ไม่สามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานได้

(ไม่มี Reality and Practical)

2.การทำงานต้องมองที่เป้าหมายสุดท้ายว่า อนาคตต้องการให้เกิดอะไรขึ้น และมองย้อนกลับว่าจะทำด้วยกลยุทธ์อะไรและทำอย่างไร เหมือนในห้องที่มีการทำ Workshop EGAT 2020

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

1.86% ของคนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์

2.ความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างได้ โดยการสลายกรอบความคิด "คิดคร่อมกรอบ" ไม่ยึดติดกับภาพลักษณ์เดิมๆ ของตนเอง เป็นคนเปิดเผย ลดความกลัว

3.สิ่งสำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ คือ การตระหนักรู้ว่าเราสามารถทำได้ และการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ด้วยหลัก PPCO

a.Pluses หาข้อดีในปัจจุบัน

b.Potentials หาข้อดีในอนาคต

c.Concerns พิจารณาข้อกังวล

d.Opportunity จัดการข้อกังวล

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

1.การแต่งกาย การดูแลเสื้อผ้าหน้าผม ปากกา รองเท้าขัดเงา สามารถปรับบุคลิกและภาพลักษณ์ให้ดีขึ้นได้ เพราะความประทับใจแรกมาจากรูปลักษณ์ภายนอกมากกว่า 50% รองลงมาคือ น้ำเสียงและการพูดคุย

2.การพูดคุยทักทาย อารมณ์ดี มีมารยาทและรู้จักกาลเทศะ ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

1.ความขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะความคิดไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน มีทั้งที่เป็นความขัดแย้งในเรื่องงานและและเรื่องส่วนตัว ดังนั้นจึงต้องบริหารจัดการ ไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติ และต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น

2.การบริหารความขัดแย้ง ต้องมีทัศนคติที่ดี มองหลายๆ มุม คิดถึงใจเข้าใจเรา

3.การเจรจาต่อรอง เป็นการพูดคุย เพื่อหาข้อตกลงหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีการแพ้ชนะ ดังนั้นควรใช้การสร้างความเข้าใจ ชักจูง จูงใจ ให้มีข้อสรุปร่วมกัน พยายามให้คู่เจรจารู้สึกว่าเราให้ความสนใจเพื่อลดการต่อต้านลง

4.การเจรจาต่อรอง ต้องระมัดระวัง ทั้งเรื่องการควบคุมอารมณ์ น้ำเสียง คำพูด หากมีคำถามหรือสถานการณ์ที่ไม่มั่นใจ ควรนิ่งและขอเวลาหรือขอกลับไปหาข้อสรุปก่อน

นายพีระชัย ล๊อเจริญเกียรติ

สรุปบทเรียน
โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11

ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2558.....

วันที่ 28 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ -การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ.

อาจารย์ได้กล่าวถึง ข้อดีของกฟผ. คือ ธรรมาภิบาลของกฟผ.

จุดอ่อน คือ ความสำเร็จที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ผู้นำมากเกินไป ซึ่งความจริงต้องกระเด้งไปสู่ลูกน้องด้วย

ควรจะทำเป็น Training for Trainer มากขึ้น

การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จต้องไม่ทำตัวเป็น Silo

Chira way เป็นแนวทางที่จะกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา คือ Do what you know ต้อง Turn Idea to action และ Turn action into success

โลกเราขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง คือ การเปลี่ยนแปลงเร็ว การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนและทำนายไม่ได้

สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับเรา ต้องมีการกระจายความรู้ และต้องไม่มองข้างบนอย่างเดียว ต้องมองข้างล่าง และมองข้างๆบ้าง เช่น มองชุมชน EGAT ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่ดังเรื่องต่อไปนี้

Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน เป็นต้น

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้นำ

ผู้บริหาร

•เน้นที่คน

•Trust

•ระยะยาว

•What , Why

•มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

•เน้นนวัตกรรม

•Change

•เน้นระบบ

•ควบคุม

•ระยะสั้น

•When , How

•กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

•จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

•Static

อาจารย์ยกตัวอย่างคุณสมบัติของผู้นำต่างประเทศ อาทิเช่น ฮิลลารี คลินตัน Jack Welch และXi jinping

คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนบริบทของไทย มีประโยชน์ต่อ EADP รุ่น 11 ที่จะนำไปปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. Integrity Leadership Style 2. Transparency Leadership Style 3. Grooming Future Leaders 4. Global Network Leadership 5. Balancing Style Leadership 6. ผู้นำที่ดีต้องเป็น Leadership of Diversity and Innovations จะต้องบริหารความหลากหลายให้ได้ทั้งในประเทศ / ต่างประเทศ บริหารคนรุ่นใหม่ / คนรุ่นเก่า มีความรู้ด้านวิศวะ / สาขาอื่น ๆ ทฤษฎี 8K's+5K's (ใหม่)

อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ - Concept Coaching เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจริงๆ ครับ ต้องให้รู้อารมณ์ของตัวเอง, หากพูดเรื่องปัญหาอย่างเดียวจะมีความเครียดมาก ต้องเปลี่ยนปัญหาเป็นคำถาม
การพยายามเข้าใจผู้อื่นก่อนนั้นเป็นเรื่องดีมากและทำยากจริงครับ แต่ถ้าทำได้ผม
คิดว่าเราจะเข้าใจลูกน้องและปรับจูนได้ดีกว่า
การจะประสบความสำเร็จให้ได้ตามความต้องการนั้นจะต้องมี " ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ" ควรมีเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน แล้วจะหาวิธีการทำงานได้ง่าย ต้องทราบว่าปัญหาของเราคืออะไร พอคุยกับโค้ชแล้ว ต้องการให้สถานการณ์เป็นอย่างไร เป็นการสอนให้หาคำตอบด้วยตนเอง คนเราใช้ศักยภาพแค่ 7% ส่วนที่เหลือซ่อนอยู่ การเรียนเป็นการค้นพบศักยภาพเพิ่มเติม โดยอาจารย์แนะนำให้รู้จักกฎ แห่งความสำเร็จ ของ Jack Canfield เพื่อนำไปใช้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประเมิน ค้นหาตนเองให้ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับหน่วยงาน กฟผ.และมุ่งมั่นในงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์- ลูกค้าอาจจะพอใจในสิ่งที่ต่างกันคือ ราคา คุณภาพ ภาพลักษณ์

ต้องมีการพัฒนาภาพลักษณ์ โดยพัฒนาระบบ ประชาสัมพันธ์ให้ตรง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

ต้องมีการเพิ่มพูนสินค้าใหม่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เมื่อวางระบบ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับลูกค้า สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แล้วใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์,การปรับกระบวนทัศน์ สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆขึ้นมาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องวางตำแหน่งและทิศทางให้ถูก โดยการสร้างกลยุทธ์นั้น ต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วย Core Competency ,Strategic Resources โดยเฉพาะCore Process โดยสิ่งสำคัญคือต้องปรับวิธีคิด(Mind Set)ให้เห็นถึงสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เพื่อให้สามารถทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งบุคคลากรใน กฟผ.เองต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่างๆคือ SWOT,Balance Score Card อย่างเหมาะสมและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสร้างกุลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร

วันที่ 29 ม.ค. 58

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่าต้องนำความรู้ หรือ Input ที่ได้ไปใส่ในสายงานวิจัยด้วย โดยใช้ Chira way ในการเก็บข้อมูล การตั้งสมมติฐาน ต้องตอบโจทย์อนาคต และต้องมองเรื่อง 3V ด้วย

ถ้าได้ Vตัวที่ 1 แล้ว ต้องเน้นเรื่อง V2 และ V3 การต่อสู้โดยให้มูลค่าต้องทำCreativity และต้องมีนวัตกรรม

หากมีช่องว่างที่เลี่ยงวัฒนธรรมองค์กร ก็ควรทำเพื่อให้ได้โครงการ 3V ค้นหาตัวเองว่ามีอะไรข้างใน และต้องรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน Value creation และไปสู่ Value diversity ถ้ามี Value diversity มากๆ ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ ขอให้ EADP รุ่น 11 เอาจริงเรื่อง 3v ฝึกวินัยในการตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis ที่น่าสนใจ และนำไปใช้ได้ แล้วเก็บข้อมูลนำเสนอว่าตอบโจทย์ Hypothesis ที่ตั้งไว้ว่าทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้ก็เดินหน้าต่อ ถ้าทำไม่ได้ก็เก็บข้อมูลพื้นฐานไว้ก่อน

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล: อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำ Workshop โดยต้องดูว่า EGAT 2015 มีปัญหาอะไรเกิดจากอะไร ส่งผลต่อEGAT เพียงใดให้เสนอแนะแนวทางว่าควรจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร เป้าหมายคือ ต้องสร้างโครงการ และทำอย่างไรให้ EGAT พัฒนา งานวิจัยต้องทำเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่คิดมันใช่

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ.

: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน"

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเคลื่อนที่ไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ คนจะประสบความสำเร็จในการทำงานขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำ Workshop โดยให้ตั้งคำถาม และหาคำตอบว่าจะลงกี่ชิป ถ้ามั่นใจมากลงมาก มั่นใจน้อยลงน้อย ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่ต่างไปจากเดิม เป็นการพัฒนาและปรับปรุง และทำให้มีความสุข และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

อาจารย์มีวิธีการบรรยายที่เป็นความคิดสร้างสรรค์สามารถกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ได้เทคนิค 4 คำถามสลายความกลัว และ PPCO ได้รู้เทคนิคว่าต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นการคิดนอกกรอบ สามารถนำวิธีคิดนอกกรอบมาปรับใช้กับการทำงานและสามารถนำไปสอนลูกน้องได้

วันที่ 30 มกราคม 58

อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์
อาจารย์สอนให้รู้จัก First Impression ซึ่งมีตัวประกอบอื่นหลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย, มารยาททางสังคมที่ควรรู้, การเดิน, การนั่ง ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการเข้าสังคม การต้อนรับผู้ใหญ่ ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน สำหรับหน่วยงานผมมีการต้อนรับผู้มาดูงานบ่อย ผมจะนำไปประยุกต์ใช้ครับ
รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง เกิดจากรวมกลุ่มกัน เพื่อหาข้อสรุปที่กลุ่มต้องการ มีทั้งทาง ลบ และ บวก มีหลายประเภท คือ 1. Mass คือ ผู้คนมารวมตัวหนาแน่นไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายร่วมกัน การรวมตัวแบบนี้อันตรายถ้ามีการจุดพลุให้เกิดอารมณ์ร่วมแบบรุนแรงควบคุมยาก 2. Crowd คือ ผู้คนมารวมตัวกัน มีจุดประสงค์เดียวกัน แบบนี้ควบคุมง่ายกว่าเพราะถ้าประสพความสำเร็จแล้ว สามารถแยกย้ายกลับไปได้ไม่เกิดเหตุการดาวกระจายไปทำสิ่งที่ไม่ดี 3. Mob คือ ผู้คนมารวมตัวกันมีจุดประสงค์ มีอารมณ์ร่วม และ แสดงพลัง อันนี้น่ากลัวจุดประสงค์อาจมีแนวโน้มไปทางลบ อาจโดนว่าจ้างมาก็ได้ การจัดการกับมวลชนต้องอาศัยจิตวิทยามวลชน คือ 1.ต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องที่จะทำว่าถูกต้องมีความจริงใจ ข้อมูลที่ให้มี ความเป็นจริงไม่ใช่แอบแฝงข้อเสียไว้ ไม่บิดเบือนภ้าเขารู้ขึ้นมาขาดความเชื่อถือในทันที่ 2. รู้ทันท่าทีของกลุ่มที่จะมาว่าต้องการอะไร มาทางลบ หรือ บวก เดือดร้อนจริงหรือไม่ หรือจัดตั้งมา แบบสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง 3. ตีเรื่องให้แตกไม่คิดเข้าข้างตัวเองว่าข้าคือความถูกต้องเท่านั้น หัวอกเขาหัวอกเรา ใจเขาใจเรา มันย่อมต่างกัน พื้นฐานต่างกัน ต้องยอมรับในความแตกต่าง เข้าใจเขาให้ลึกเพียงพอ เขาเป็นคน เราก็เป็นคนเช่นกัน 4. แลกหมัด จัดให้สำหรับกลุ่มที่พูดไม่รู้เรืองจัด Mob ชน Mob ได้เลยในบางกรณี การอดทน ควบคุมอารมณ์ การระมัดระวังคำพูด การพูดสร้างความเข้าใจ และหาข้อสรุปให้ได้ ถ้าขณะเจรจาแล้วไม่มั่นใจให้นิ่งไว้ สามารถใช้วิธีต่างในโครงการของ กฟผ. ที่มีเหตุการณ์โดน Mob ประท้วงอยู่ ในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญต้องเปิดใจคุยกันบนพื้นฐานที่ถูกต้อง เพราะว่าถ้าไม่ทำเกิดอะไร ทำแล้วได้อะไร ใครได้เสีย ประเทศชาติได้อะไร ต้องสังวรณ์

ถึงลูกศิษย์ EADP 11

อีก 2-3 วันก็จะพบกันอีก ผมหวังว่างานวิจารณ์หนังสือคงไปได้ดี การอ่านภาษาอังกฤษและประยุกต์กับตัวเองและองค์กรของเราเป็นจุดสำคัญมากๆ จะได้ Share กันดีใจมากๆที่จะได้พบกันอีกครับ


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศทาง FM 96.5 MHz. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558

วุฑฒิชัย รัชตมุทธา

2 มีค 58

1) Learning Forum : กรณีศึกษา บ้านปู

1.จะทำอะไรต้องคิดถึงผลลัพธ์ที่ต้องการอะไร แล้วย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เราจะต้องทำอะไรเพื่อให้เกิดผลลัพธ์นั้น ในทางที่ดี คือ จะต้องโปร่งใส ชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชนทราบถึงทุกขั้นตอนทุกระยะที่เราจะดำเนินการ

2.การนำตนเองไปสู่มาตรฐานระดับสากล เป็นที่ยอมรับ เช่น SET หรือ Dow Jones Subtainability Indices (DJSI) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย

3.การมองภาพในระดับ Global Trend แล้วนำพาเราไปสู่ระดับโลก

2) Panel Discussion :

Soft side :

ผู้นำที่ดี คือ เป็นคนดี มีคุณธรรม ต้องกล้าที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง ส่งเสริมคนดี ซื่อสัตย์ สุจริต ซึ่งผมจะนำไปเป็นแนวทางการพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เต็มกำลังครับ

Hard side :

ผู้นำที่ดี จำเป็นต้องมีทักษะการบริหารงานและคน เช่น ทักษะการประชุม การเขียน การบริหารคนและเวลา รวมถึงการพัฒนาตนเองและงานที่รับผิดชอบ

3) กรณี ปูติน :

บทเรียนที่ดี คือ มีความคิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนคิดสูง ทำเพื่อปรเทศชาติ

บทเรียนที่ไม่ดี คือ ยึดมั่นกับความคิดความเชื่อของตนเอง โดยไม่ได้เปิดรับฟังผู้อื่น รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในภาพรวม

บทเรียนที่นำมาปรับใช้ คือ การที่ กฟผ. จะดำเนินการกิจกรรม หรือแผนงาน หรือโครงการใดๆ จะต้องเปิดรับฟังความเห็นความต้องการ จาก ผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

วุฑฒิชัย รันตมุทธา

2 มีค 58 ส่ง 3 มีค 58

1) Learning Forum : กรณีศึกษา บ้านปู

1.จะทำอะไรต้องคิดถึงผลลัพธ์ที่ต้องการอะไร แล้วย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เราจะต้องทำอะไรเพื่อให้เกิดผลลัพธ์นั้น ในทางที่ดี คือ จะต้องโปร่งใส ชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชนทราบถึงทุกขั้นตอนทุกระยะที่เราจะดำเนินการ

2.การนำตนเองไปสู่มาตรฐานระดับสากล เป็นที่ยอมรับ เช่น SET หรือ Dow Jones Subtainability Indices (DJSI) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย

3.การมองภาพในระดับ Global Trend แล้วนำพาเราไปสู่ระดับโลก

2) Panel Discussion :

Soft side :

ผู้นำที่ดี คือ เป็นคนดี มีคุณธรรม ต้องกล้าที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง ส่งเสริมคนดี ซื่อสัตย์ สุจริต ซึ่งผมจะนำไปเป็นแนวทางการพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เต็มกำลังครับ

Hard side :

ผู้นำที่ดี จำเป็นต้องมีทักษะการบริหารงานและคน เช่น ทักษะการประชุม การเขียน การบริหารคนและเวลา รวมถึงการพัฒนาตนเองและงานที่รับผิดชอบ

3) กรณี ปูติน :

บทเรียนที่ดี คือ มีความคิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนคิดสูง ทำเพื่อปรเทศชาติ

บทเรียนที่ไม่ดี คือ ยึดมั่นกับความคิดความเชื่อของตนเอง โดยไม่ได้เปิดรับฟังผู้อื่น รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในภาพรวม

บทเรียนที่นำมาปรับใช้ คือ การที่ กฟผ. จะดำเนินการกิจกรรม หรือแผนงาน หรือโครงการใดๆ จะต้องเปิดรับฟังความเห็นความต้องการ จาก ผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

ตอน EADP 11 ตอนที่ 1

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

ผมขอส่งงานทั้งหมดที่ยังไม่ได้ส่ง มาในคราวเดียวกันครับ


Assignment ช่วง 3-4-5 งานเดี่ยว ส่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558

Assignment ช่วง 3 งานเดี่ยว

1. สรุปประเด็นโดนใจสิ่งที่ ได้เรียนรู้ประจำวัน รวม 3 วัน ในวันที่ 18-20 มี.ค. 58 และการนำมาปรับใช้ใน การทำงานของ กฟผ.

2.1 วันที่ 17 มี.ค. 58 ล่องเรือเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 3 ประเทศ คือ ลาว พม่า และไทย (สามเหลื่ยมทองคำ) และสรุปวิเคราะห์ประเด็นการเชื่อมโยงกับการทำงานของ กฟผ. ในอนาคต ร่วมมือกับประเทศลาวและพม่าของ กฟผ.ในภูมิภาคนี้ (โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงระหว่างประเทศและการวิเคราะห์แนวทางการสร้างกิจกรรมCSR ในระดับระหว่างประเทศ)

2.2 การดูงานศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาอาชีพ และนวัตกรรมของท้องถิ่น/ชุมชน นั้น ให้ท่านวิเคราะห์ว่าจะนำปรัชญาและแนวคิดของศูนย์นี้มาพัฒนาปรับใช้กับงานด้าน CSR ของ กฟผ. หรือ 3V อย่างไร

การคิดทำอะไร ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม หรือที่เคยทำกันมา เช่น การทำชาน้ำมัน กล้าที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

2.3 วันที่ 18-20 มี.ค.58 สรุปประเด็นโดนใจสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในวันนั้นๆและการนำไปปรับใช้กับงาน กฟผ.

- 18 มี.ค. การดูงานชุมชน อ.แม่เมาะ ช่วงเช้า และการอภิปราย ช่วงบ่าย

ชุมชนชาวบ้าน พร้อมเปิดรับเรา หากเราเข้าไปด้วยเจตนาและความหวังดี ไม่มีเจตนาแอบแฝง เมื่อชุมชนเข้าใจเราแล้ว ชุมชนจะเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น กฟผ. จะต้องจริงใจในการร่วมกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน

- 19 มี.ค. การเยี่ยมชม ไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรม กับ ท่าน ว.วชิรเมธี

จิตใจที่ดี มีคุณธรรมเมตตา การสอนคนต้องให้เขาอยากรู้ใฝ่รู้เอง ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งล่อจูงใจ อย่างที่ท่านพระอาจารย์ได้ทำ คือ ทางไร่ฯ แบ่งปันความรู้ ไม่มีบริการพาหนะรับส่ง อาหารการกิน ทำให้ได้คนที่ต้องการและรู้คุณค่าสิ่งจะได้รับ ซึ่ง กฟผ. สามารถนำประยุกต์ใช้ในกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนชุมชน

- 20 มี.ค. รักษ์กาย ที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

สุขภาพที่ดี เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานที่รับชอบได้เต็มกำลังความสามารถ หากร่างกายไม่พร้อม ย่อมส่งผลต่อการทำงานและชีวิตประจำวัน ดังนั้น เราควรดูแลรักษาตัวเรา ทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย

Assignment ช่วง 4 งานเดี่ยว

วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่จะต้องนำมาบริหารให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้ จะต้องสร้างให้คนในองค์กรมีความคิดริเริ่มสร้างสรร การรู้จักแบ่งปันความสำเร็จกันไม่เฉพาะคนในองค์กร แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย

เศษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC

การมองหรือวิสัยทัศน์ จะต้องไม่แคบ หรือเจาะจงเฉพาะ แต่จะต้องเป็นภาพใหญ่ (Big Picture) ผลประโยชน์ จะเป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ การครอบงำ หากเราตามไม่ทัน เราจะเป็นฝ่ายเสียโอกาส ซึ่งจะไม่หยุดหรือมองในกรอบของประชาคมอาเซียน AEC เท่านั้น

เยี่ยมชมมูลนิธิชัยพัฒนา

ได้เข้าใจถึงพระองค์ท่านในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ให้เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม การกระทำใดไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือส่วนตัว ต้องคิดให้ครบทุกกระบวนการและรอบด้านว่าสิ่งที่คิดทำ มีผลกระทบอะไรบ้าง ไม่ใช่ทำแล้วได้ประโยชน์ต่อองค์กรหรือตนเอง แต่ผลเสียหายกลับไปตกกลับกลุ่มอื่นหรือสิ่งแวดล้อม

เยี่ยมชม C ASEAN

แนวคิดที่คาดไม่ถึง ที่สามารถนำเรื่อง AEC มาก่อเกิดประโยชน์ในการพัฒนาหรือเสริมคนของเราให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ นอกจากเรื่องนี้ ยังไม่ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ซึ่ง กฟผ. สามารถนำแนวคิดแบบอย่างมีใช้ในการประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ทำ CSR ได้

Assignment ช่วง 5 ศูนย์ฝึกบางปะกง

ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โดยได้มีบันทึกลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เรียน อพบ. แล้ว

-ภาวะผู้นำ

วางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการวางแผนระยะยาว และในการพัฒนาควรใช้หลักการ 8 k's+5 k's หลักการเรียนรู้ที่สำคัญคือต้อง Reality และ Relevant

Managing Self Performance เรียนรู้หลักการ Coaching นำไปพัฒนาทีมงานในองค์กรและครอบครัว การทำกิจกรรม Stop to Think สามารถนำไปประยุกต์ในการบังคับบัญชา หลักการของ Competencies ต้องมีทั้ง Knowledge Skill & Attributes

-ความคิดสร้างสรรค์ สลายกรอบ คิดนอกกรอบ และคิดคร่อมกรอบ จางกรอบความคิดคนเอง แล้วคิดนอกกรอบทั้งหมด แต่ยังเอาไปใช้ไม่ได้

คิดนอกกรอบ Think out of the box ต้องนำมาวิเคราะห์ แล้วกลับเข้ามาในกรอบซึ่งคือ คิดคร่อมกรอบ

กรอบที่กีดกั้นความคิดสร้างสรรค์คือ การยึดติดกับภาพลักษณ์ของตนเอง ความต้องการสร้างความประทับใจ การ Sensor ตนเอง การเดินตามผู้อื่น ความกลัว

เทคนิคในการคิดสร้างสรรค์ต้องถามตัวเอง 3 ข้อคือ ทำอะไรอยู่ ทำอะไรเพิ่มได้ ทำไปทำไม มีวิธีอื่นไหม แล้วนำมาสกัดในเป็นความคิดคร่อมกรอบด้วยหลักการ PPCO




สุรชัย สุวัฒนเมธี EADP11

สรุปเนื้อหาในการอบรม วันที่ 20 พ.ค. 2558

Leading People

อ.พจนารถ ซีบังเกิด

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการที่จะเป็น Coach

  • การเป็น Coach ที่ดี ระหว่างที่ Coach ห้ามถามว่า ทำไม....? (why) ให้ถามว่า อะไร …? (What?)
  • การที่เราจะไปเป็น Coach ไม่จำเป็นที่ต้องเก่งเรื่องที่จะไป Coach
  • ได้รู้ สมการ Event (E) + Response(R) =Outcome (O)

เราไม่สามารถเปลี่ยน Event ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยน Outcome ได้ โดยการ Response ที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วน Response เป็นส่วนที่เราควบคุมได้

  • การที่ไม่กล้าหรือกลัวที่จะทำอะไร เกิดจาก
    • Fear of not good Enough
    • Fear of not being love
    • Fear of not belong to

ซึ่งเราต้องหาสาเหตุที่แท้จริงของความกลัว เพื่อจะได้แก้ความกลัวได้ตรงจุด

การนำมาใช้ในการทำงาน

สามารถนำไปใช้ได้ในการทำงาน ในการ Coach ลูกน้อง

ใช้ในการที่จะทำให้ Outcome ออกมาดี ต้องทำอย่างไร ต้องพยายาม Response ต่อ Event ที่เกิดขึ้น ให้ Outcome ออกมาดีที่สุด

วุฑฒิชัย รัชตมุทธา

ส่งการบ้านที่ติดตาม

1.ตามที่คุณวัฒนี ได้ส่ง eMail แจ้งติดตามส่งการบ้านนั้น ผมขอส่งการบ้านตามที่แจ้งมา ตามรายละเอียดท้าย eMail

2.สำหรับช่วง 20 – 22 พฤษภาคม 58 ผมติดภารกิจและได้มีบันทึกเรียน อพบ. ผ่าน ตส.12 แล้ว จะให้สรุปการบ้านอย่างไร ในเมื่อผมไม่ได้เข้าร่วมในช่วงเวลาดังกล่าว


สรุปส่งการบ้านที่ติตตาม ของ โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11

ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2558

ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ ศาสตราจารย์ (พิเศษ)วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อ.ฤทธิรงค์ ศิวะเดชาเทพ อ.กิตติ ชยางคกูล อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล

1. The Book of Leadership

ไม่มีคำว่าสายไปสำหรับการใฝ่รู้ เช่นเดียวกับ ผู้นำและการเรียนรู้จะต้องควบคู่กันเสมอ การเรียนรู้จะทำให้เราตื่นตัวรับรู้สิ่งต่างๆที่เปลี่ยนไป เพื่อจะได้นำมาปรับใช้กับธุรกิจ การหยุดเรียนรู้เท่ากับสมองเราตายไปแล้ว นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องหมั่นฝึกฝนให้เรามีทักษะความชำนาญในงานที่เรารับผิดชอบอยู่ให้ได้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

2.Learning Forum : กรณีศึกษา บ้านปู

1.จะทำอะไรต้องคิดถึงผลลัพธ์ที่ต้องการอะไร แล้วย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เราจะต้องทำอะไรเพื่อให้เกิดผลลัพธ์นั้น ในทางที่ดี คือ จะต้องโปร่งใส ชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชนทราบถึงทุกขั้นตอนทุกระยะที่เราจะดำเนินการ

2.การนำตนเองไปสู่มาตรฐานระดับสากล เป็นที่ยอมรับ เช่น SET หรือ Dow Jones Subtainability Indices (DJSI) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย

3.การมองภาพในระดับ Global Trend แล้วนำพาเราไปสู่ระดับโลก

3.Attitude and Mindset

Attitude and Mindset เป็นเรื่องสำคัญในการคิดจะเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้าสถาะการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือพูดง่ายๆว่า ปรับตัวให้มีชีวิตอยู่รอดตามสภาวะโลก ธรรมชาติ ที่เปลี่ยนไป เราต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆที่ได้รับมา แล้วมองไปข้างหน้า เพราะเรายังสามารถสร้างสรรได้ แต่สิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือเกิดขึ้นแล้ว เราไม่มีทางไปแก้ไขได้อีกแล้ว

4.ผู้นำกับทุนทางคุณธรรม จริยธรรม

ผมไม่รู้ว่าจะเรียกว่า ทุน ได้หรือไม่ แต่ในความคิดผมต้องปลูกฝั่งเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในตัวบุคคล ไม่ว่าจะเราจะอยู่ที่ไหน อยู่ในบทบาทอะไรก็ตาม เราต้องยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และต้องรักษาไว้ไม่ให้สั่นคลอนหวั่นไหวไปกับสิ่งต่างๆที่มากระทบเรา

ผู้นำต้องเป็นผู้นำที่เข้าไปหรือนั่งในใจของคนให้ได้ และการจัดการหรือแสดงออกในการคัดค้านสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

ระวห่างวันที่ 5-6 มีนาคม 2558

ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ อดีตท่านผู้ว่าการ กฟผ. คุณไกรสีห์ กรรณสูตร อดีตท่านผู้ว่าการ กฟผ.
คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ผศ.ดรงพงษ์ชัย อธิคมรัตรกุล อ.ธัญกร กิริยาพงษ์ อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล

1. ประเด็นท้าทายสำหรับ EGAT ในยุคที่โลกเปลี่ยน

สร้าง Networking ที่เข้มแข็งและอย่างต่อเนื่อง ด้วยความจริงใจ กับผู้มีส่วนได้เสียกับ กฟผ. ทุกกลุ่ม และอย่างเสมอภาค

2. ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. กับการบริหารวิกฤติและความเสี่ยง จากอดีตท่านผู้ว่าการของ กฟผ. คุณไกรสีห์ กรรณสูตร และ คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจในสถานะการณ์วิกฤติ ไม่หวั่นต่ออิทธิพลจากกลุ่มใดๆ แต่ตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนรวม

3. แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาดปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กฟผ.

ปรับปรุง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล นำเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการปรับปรุง ฟังดูง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก แต่ปฏิบัติได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่อง หากคิดเช่นนี้ กฟผ. เราจะมีแต่เสื่อมถอย เราจะต้องกล้าที่จะเริ่ม สิ่งที่เราทำอยู่ก็เน้นเรื่องดังกล่าว แต่อาจยังไม่เต็ม 100 ให้มองว่า เรายังมีโอกาสพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ได้

4. The Case Study of SCB เรื่องรู้เรื่องการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน)

ต้องให้ทุกคนมีความเข้าใจเห็นประโยชน์เห็นเป้าหมายร่วมกัน เพี่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ กฟผ. น่าจะนำ SCB Model มาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้ ต้องกระทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับ

สุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

สรุปความประทับใจ จากการปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

28 มกราคม 2558

สิ่งแรกที่คิดว่าจะเริ่มปฏิบัติคือ การสร้าง Trust ของของตัวเองก่อน พร้อมๆกับ Trust ระหว่างบุคคล ตามแนวทางที่ อ.จิระ สอน

Trust มีหลายประเภท

(1)Self -Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

(2)Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

(3)Organization Trust

(4)Social Trust

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล(Relationship Trust)

1)พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

2)ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3)ทำงานด้วยความโปร่งใส

4)มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5)เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6)ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7)รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8)มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9)รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

10)รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

วิธีการได้มาซึ่ง Organization Trust ในที่นี้หมายถึงชุมชนของเรา

1)มี VISION – MISSION – Strategies + Core Value

2)ไปสู่ความสำเร็จด้วยทุกกลุ่ม (Alignment)

3)มี Shared Vision

วิธีการได้มาซึ่ง Social Trust หมายถึงสังคมวงกว้างออกไป ต้องมีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง และ ความมั่นคงของคนในประเทศ

คน กฟผ. ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง และต้องรู้ว่าข้อดีของกฟผ. คือ ธรรมาภิบาลของกฟผ.

จุดอ่อน คือ ความสำเร็จไปกระจุกตัวอยู่ในผู้นำมากเกินไป แต่ความจริงคือต้องกระเด้งไปสู่ลูกน้องด้วย

การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จคือ ต้องไม่ทำตัวเป็น Silo

ในหัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

ความประทับใจ ลักษณะของผู้นำต่างประเทศ และผู้นำที่สำคัญของไทย คือ

Xi jinping

เป็นคนมีหลักการ มีวิธีการที่ปฏิบัติดีที่ทำให้หลักการไปสู่ความสำเร็จ คือ หลักการไม่เคยเปลี่ยน คือ จีนเป็นสังคมนิยม กระจายรายได้เสมอภาคไม่ใช่รวยอย่างเดียว ต่างกับอุดมการณ์ของระบอบทักษิณ มีวิธีการอย่างเดียวคือรวย แต่ได้มาอย่างไรก็ได้

ยกย่องเติ้งเสี่ยวผิงที่ให้ประเทศจีนมี 2 ระบบการเมืองและดึงทุนนิยมเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก

เน้นคุณธรรมจริยธรรมก่อน ความรวย หนังสือของเขาชื่อ The Governance of China แปลว่าเป็นประเทศจีนโปร่งใส ไม่ยอมให้เกิดการโกงขึ้นในประเทศ จึงเป็นผู้นำที่น่ายกย่อง ยุคเขาจัดการผู้นำจีนใหญ่ๆหลายคนเข้าคุก ดำเนินคดีเป็นตัวอย่างโดยไม่กลัวอิทธิพลใดๆ

เรื่องทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์พื้นฐานคือ จริยธรรมต้องมาก่อนคล้ายๆ 8K's และ ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานเป็นเลิศ

ฮิลลารี คลินตัน

­เรียนรู้ตลอดชีวิต ­ อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น ­ อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

­ สนุกกับการคิดนอกกรอบ ­ สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

the Dalai Lama's Leadership Principles

อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล

อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องคุมอารมณ์ให้ได้

มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง

มีความรับผิดชอบ

ผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ "Super K"

ผู้นำต้องมีความรู้

ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

ขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างสูง แนวทางสร้าง Trust ดังกล่าวจะช่วยเป็นหลักคิดของผมในการทำงานที่ กฟผ. ต่อไป และ หลักคิดของผู้นำที่ให้ตัวอย่างมา จะเป็นต้นแบบให้ปฏิบัติตามต่อไป…กราบขอบพระคุณครับ

สุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจและประเมินแหล่งทรัพยากร

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 28 ม.ค.58<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้วิเคราะห์มุมมองของท่านที่มีต่อ กฟผ.

1. เน้นเฉพาะเรื่องวิศวกรองค์กรก็จะไปไม่รอด

2. คน กฟผ.ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง

3. ต้องรู้ว่าข้อดีของกฟผ. คือ ความมีธรรมาภิบาลของกฟผ.

4. จุดอ่อน คือ ความสำเร็จไปกระจุกตัวอยู่ในผู้นำมากเกินไป แต่ความจริงคือต้องกระเด้งไปสู่ลูกน้องด้วย

ควรจะทำเป็น Training for Trainer มากขึ้น การจะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จคือ ต้องไม่ทำตัวเป็น Silo

5. สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับเรา ต้องมีการกระจายความรู้ และต้องไม่มองข้างบนอย่างเดียว ต้องมองข้างล่าง และมองข้างๆบ้าง เช่น มองชุมชน เช่น ท่านครูบาสุทธินันทน์ กล่าวว่า EGAT ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ เพื่อ HR เป็นเลิศ

4L's,2I's, 3L's, C – U – V, Learning How to Learn & Learning Leadership Principles

คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ในประเทศไทย

1. Integrity Leadership Style คือ เน้นเรื่องความซื่อสัตย์และมีหลักการ เห็นถูกเป็นถูก เห็นผิดเป็นผิด หรือ ทำตาม "หลักการ" ไม่ใช่ "หลักกู"

2.Transparency Leadership Style

- โปร่งใส ตรวจสอบได้เสมอ

3. Grooming Future Leaders

- มีผู้นำรุ่นใหม่แทนรุ่นเก่าหรือไม่

- ต้องคิดจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Coaching หรือ Mentoring

- คนรุ่นใหม่ ๆ มี Diversity/ เก่ง แต่แตกต่างกับคนรุ่นท่าน เช่น ขาดมารยาท ขาดความสุภาพนอบน้อม ฯลฯ

จะจัดการอย่างไร

- มอบหมายงานให้คนอื่น ๆ ได้ทดลองทำ อย่าสอนงาน

- ถ้าลูกน้องผิดพลาด จะดูแลอย่างไรไม่ให้เขาตกรางหรือขาดกำลังใจ

- จะปกป้องลูกน้องให้กล้าทำงานยากหรืองานที่เสี่ยงได้อย่างไร

- รับได้ไหมถ้าลูกน้องจะเก่งกว่าตัวเองหรือมีความไม่สุภาพต่อหน้า

4. Global Network Leadership

- ทฤษฎี 8K's 5K's เน้นคุณสมบัติเรื่อง Networking

- ผู้นำจะต้องเก่งเรื่อง Global Networking

5. Balancing Style Leadership

- เน้นความสมดุล ต้องมีความสุข (Happiness) ในการทำงาน (8K's+5K's)

- สมดุลอย่างไรระหว่างมืออาชีพกับการเมืองแบบรุกคืบ

- เดินสายกลางแบบเศรษฐกิจพอเพียง

- WORK/LIFE Balance

- เน้นปรัชญาของศาสนาพุทธ พรมวิหาร 4 คือ 1)เมตตา 2)กรุณา 3)มุทิตา 4)อุเบกขา

6. ผู้นำที่ดีต้องเป็น Leadership of Diversity and Innovations

-จะต้องบริหารความหลากหลายให้ได้ ในประเทศ / ต่างประเทศ, คนรุ่นใหม่ / คนรุ่นเก่า , วิศวะ / สาขาอื่น ๆ

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

การประสบความสำเร็จขององค์กร คนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบ การทำงานได้ดีต้องเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น

- เจ้านายต้องฝึกพนักงานให้ทำสำเร็จทีละขั้น

- คุยกับลูกน้องเรื่องเป้าหมาย ถ้าเขาเข้าใจ ก็จะสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

- เจ้านายควรเป็นผู้สังเกตการณ์ คอยให้คำแนะนำ (อย่าตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์)

- เวลาอบรมลูก/ลูกน้องให้อธิบายถึงพฤติกรรม แทนที่จะบอกว่าไม่ดีเท่านั้น โปรดจำไว้ว่าอิทธิพลจากคำพูด 7% โทนเสียง 38% และท่าทาง 55

หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงทิศทางโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนจุดแข็ง และตรง KPI

2. การทำ SWOT ต้องมองอนาคต

3. การทำให้ลูกค้าพอใจต้องทำให้เป็นรูปธรรม

4. สิ่งสำคัญที่สุดคือปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์

นักคิดเชิงกลยุทธ์มีลักษณะดังนี้

- รู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่แตกต่างในความเหมือน

- ต้องปรับวิสัยทัศน์ อย่ามองแค่ไทย มองอาเซียนและโลกด้วย

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 29 ม.ค.58

หัวข้อ 3V & Innovative Project: โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ.

(Problem Based Learning..ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคต กฟผ. ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

การทำงานวิจัยต้องใช้ Chira way ในการเก็บข้อมูล การตั้งสมมติฐาน ต้องตอบโจทย์อนาคต และต้องมองเรื่อง 3V ด้วย (Value added, Value creation, Value diversity)

ปกติทั่วไปเรามักจะทำเรื่อง Value added อยู่แล้ว แต่ต้องเน้นเรื่อง V2 และ V3 (ต้องทำCreativity และต้องมีนวัตกรรม) หากมีช่องว่างที่เลี่ยงวัฒนธรรมองค์กร ก็ควรทำเพื่อให้ได้โครงการ 3V

ค้นหาตัวเองว่ามีอะไรข้างใน และต้องรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน Value creation และไปสู่ Value diversity

ถ้ามี Value diversity มากๆ ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity)

อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ความคิดสร้างสรรค์ ทำได้ 3 แบบคือ สลายกรอบ (กรอบความคิด กรอบองค์กร กรอบสังคม) คิดนอกกรอบ และคิดคร่อมกรอบ ซึ่งมีวิธีแก้ไขคือ

1.จางกรอบความคิดคนเอง (ซึ่งอาเธอร์ กล่าวว่า "การคิดนอกกรอบคือ อย่าเอาตัวเข้าไปอยู่ในกรอบ") แล้วคิดนอกกรอบทั้งหมด (ถูกธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์) แต่ยังเอาไปใช้ไม่ได้

2.คิดนอกกรอบ Think out of the box ซึ่งเป็นความคิดแบบดิบๆ ต้องนำมาบ่มความคิด แล้วดึงกลับเข้ามาในกรอบซึ่งคือ คิดคร่อมกรอบ

3.กรอบที่กีดกั้นความคิดสร้างสรรค์คือ

a.การยึดติดกับภาพลักษณ์ของตนเอง

b.ความต้องการสร้างความประทับใจ

c.การ Sensor ตนเอง

d.การเดินตามผู้อื่น

e.ความกลัว ซึ่งมีคำถามแก้ความกลัว 4 ขั้นคือ กลัวอะไรอยู่ แล้วไง จริงอ๊ะเปล่า และถึงตามไหม

4.เทคนิคในการคิดสร้างสรรค์ต้องถามตัวเอง 3 ข้อคือ ทำอะไรอยู่บ้าง ทำอะไรเพิ่มได้อีกบ้าง ทำไปทำไม มีวิธีอื่นไหม แล้วนำมาสกัดในเป็นความคิดคร่อมกรอบด้วยหลักการ PPCO

a. Pluses ข้อดีคืออะไร

b. Potentials ข้อดีในอนาคต

c. Concerns ติดอะไร กังวลอะไร

d. Opportunities หลบหรือเลี่ยง หรือทะลุได้อย่างไร

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 30 ม.ค.58

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ผู้บริหารต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ภายนอก ดูทั้งเครื่องแต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดีทั้ง เสื้อผ้า หน้า ผม

­ สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ

· -พูดจาดี

  • -แต่งตัวดี
  • -มาดดี
  • -รู้จักกาลเทศะ
  • -อารมณ์ดี

First Impression

55% รูปลักษณ์ภายนอก

38% น้ำเสียง

7% การพูดจา

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

30 มกราคม 2558

การเจรจาต่อรอง เป็นการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลง จากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกัน ไม่ใช่การโต้วาที อย่าแสดงท่าทีชนะเมื่อได้ตามที่หวัง และต้องพูดให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกดีด้วย

หลักการเจรจา ให้สร้างความเข้าใจ ใช้ปิยวาจา มีการเตรียมการ ต้องอดทน เวลาไม่มั่นใจ อย่าเพิ่งให้คำตอบ คนที่นิ่ง คือคนที่ได้เปรียบ ทำตัวให้พร้อมที่จะเล่นเกมส์ยาว รู้ว่าคุยอยู่กับใคร มีเป้าหมายอย่างไร และต้องอ่านใจฝ่ายตรงข้ามให้ออก

ในการเจรจากับ Mob ต้องศึกษาข้อมูลและที่มาของม็อบ อย่าขึ้นเวทีโดยไม่รู้ข้อมูล และควรเป็นฝ่ายที่ควบคุมเวที หรือหากไม่ได้ ต้องมีการตกลงเงื่อนไขก่อน เช่น ขอจำนวนคนเพิ่ม วิธีการถาม

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 28-30 มกราคม 2558

<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" /> 1. ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ : การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี คือ 1. Character หรือ คุณลักษณะ ที่พึงปรารถนา เช่น ชอบเรียนรู้มีทัศนคติเป็นบวก การมีคุณธรรม จริยธรรม 2.มี Leadership skill ที่สำคัญ คือ การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม Get things done 3. เรียกว่า Leadership process คือ การมี Vision และมอง อนาคตให้ออก 4. คือ Leadership value สำคัญที่สุดคือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

Leadership & 8K's+5K's

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. Human Capital ทุนมนุษย์ 2. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา 3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม 4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข 5. Social Capital ทุนทางสังคม 6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน 7. Digital Capital ทุนทาง IT 8. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ 1. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ 2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ 3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม 4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ 5. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ เพื่อ HR เป็นเลิศ

4L's : Learning Methodologyมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี, Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้, Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้, Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้2I's : Inspiration – จุดประกาย, Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

3L's: ­Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด, ­Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์, ­Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C – U – V : Copy, Understanding, Value Creation/Value added

2. หัวข้อ Managing Self Performance โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ : การประสบความสำเร็จ คนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบการทำงานได้ดีต้องเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก องค์กรใช้ Coaching มาก โค้ชกีฬา ทำหน้าที่โค้ชด้านอื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากกีฬา โดยเฉพาะการใช้ชีวิต การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่คนต้องการ คนเราต้องปลุกตัวเองให้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ในตัวเอง ก่อนเกษียณ ควรคิดว่า จะฝากผลงานอะไรให้แก่องค์กร

พ่อแม่ต้องเป็นโค้ชคุยกับลูก ลูกสมัยนี้ทิ้งพ่อแม่ได้เลย เพราะไปพูดกับคนอื่นในสื่อสังคมออนไลน์

3. หัวข้อ กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : ทุกราคาที่ลูกค้าเสียไปต้องชดเชยด้วยความแตกต่าง แม้ราคาถูก แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคุณภาพ เช่นอาหารต้องอร่อยตรงตามความต้องการลูกค้าและสมราคา เราก็ยังมีคู่แข่ง เราต้องเข้าใจวิธีคิดว่าไม่มีอะไรขาวกับดำ ความสมดุลราคากับความแตกต่างดิ้นได้ คู่แข่งขายอาหารอร่อยเท่ากัน แต่ราคาถูกกว่า คนก็ไปซื้อที่ร้านคู่แข่ง ร้านอาหารอร่อยราคาแพงกว่า คนก็ไปซื้อที่ร้านนี้มากกว่าร้านที่อร่อยน้อยกว่า ราคาถูกกว่า บางทีร้านอาหารราคาและคุณภาพต่างกัน อยู่รอดทั้งหมดถ้าไม่อยู่ติดกัน ถ้าอาหารอร่อย แต่บริการไม่ดี ก็อยู่ไม่รอด มาเลเซียประสบความสำเร็จเพราะวิเคราะห์ SWOT ดี มองอนาคตเก่ง ความสามารถในการจับประเด็นเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ชนะได้ จาก Balance Scorecard วัตถุประสงค์ได้แก่ การเงิน ลูกค้า ระบบ การเรียนรู้ ( Learning Growth) Competing for Core Competency เป็นความแตกต่างที่คนเลียนแบบยาก นี่คือที่มาของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อย่ามองแค่สินค้า จุดอ่อนที่แก้ได้ ทำได้โดยไปหาพันธมิตร วันนี้อย่ามองแค่ Core Competency แต่ให้มองตนเป็น Strategic Resources, Strategic Resources ประกอบด้วย Core Competencies, Strategic Asset, Core Processes สิ่งสำคัญที่สุดคือปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์

นักคิดเชิงกลยุทธ์มีลักษณะดังนี้ รู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง

4. 3V & Innovative Project: โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์กิตติ ชยางคกุล :Hypothesis ของ รุ่น 11 จะต้องเน้น Relevant นำไปใช้ในองค์กรของเรา, มองอนาคต, -Expand to high value, 3V Value added, Value creation, Value Diversify โดยเฉพาะระหว่างประเทศ หรือระหว่างหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะ Diversity เน้นภาคประชาชน นักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่นและต่างประเทศ, ต้องคิดว่าร่วมกัน Learn อย่างวันนี้ จะให้สบายๆ แค่ explore หัวข้อ Hypothesis ก่อน แล้วค่อยๆ มาดูว่าอะไรเป็นไปได้ แล้วจึงวางแผนเก็บข้อมูล และ Review Literature ขั้นต้นอย่างไร?, ที่สำคัญ คือ มองอนาคตของเราว่าจะไปทางไหน ? และย้อนกลับมาดูว่าจะต้องทำอย่างไร? ทำได้ดีหรือไม่? ดูสภาพแวดล้อมในอนาคตคล้าย ๆ คลื่นลูกที่ 4 ของผม และการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและต่างประเทศที่มากระทบ เราจะฉกฉวยโอกาสอย่างไร ?, -ข้อดีของรุ่นที่ 11 คือ มีการวางแผนล่วงหน้า ผมเป็นหัวหน้า research ทุกกลุ่มปรึกษาผมได้ และผมจะมีอาจารย์ กิตติ และทีมวิทยากรพี่เลี้ยงมาช่วย ข้อที่พึงพิจารณา คือ Timing เวลามีไม่มาก, ทำงานเป็นทีมอย่างวันแรกดีมาก คล้ายๆ Workshop หาหัวข้อที่ Relevant และไปต่อยอด 3V ให้ได้, อยากเห็น V ที่ 2 กับ V ที่ 3 มากหน่อย คือ มองอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์ และนอกจากสร้างสรรค์แล้วต้องทำให้สำเร็จ คล้าย ๆ จาก Creativity ไปสู่ Innovation แต่จะต้องเน้น Reality and Practical โดยมองจากองค์ความรู้ Basic Knowledge ที่มีและหาได้

5. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ. วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ : กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนส่วนใหญ่ คือ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง, การเซนเซอร์ตัวเอง, การเดินตามผู้อื่น, ความกลัว จริงๆแล้วทุกคนมีไอเดียมีความคิดใหม่ๆแต่เราไม่สามารถผลักดันให้เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะกลัวผิด ไม่อยากต่างจากคนอื่นๆ เราต้องคิดไอเดียออกมาเรื่อยๆ ไอเดียหลังมักจะแปลกไปจากเดิม วิธีคิดนอกกรอบคือ คิดปริมาณเยอะๆ

6. หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่­ ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ : แนะนำผู้บริหาร ต้องดูแลหน้าตาให้สดใส ทาครีมบำรุง ทาครีมกันแดด, ปรับทรงผมให้เข้ากับหน้า จะเสริมบุคลิกให้ดีขึ้น, ผิวคล้ำต้องใส่เสื้อสีสดใส อย่าใส่สีมอๆ , ใส่รองเท้าหัวยาว เสริมบุคลิก และใส่สบาย ดูเพรียว, คนที่ตาบวมอยู่แล้วไม่ควรทาตาสีมุก จะดูบวมมากขึ้น , คนที่จำเป็นต้องใส่ถุงน่อง ควรใส่สีเนื้อ, สูทควรใส่พอดีตัว ไม่ควรปล่อยลุ่มล่าม พับแขนเสื้อให้พอดี, ผู้หญิงควรใส่รองเท้าปิดหัว , ปากกาควรใช้ให้ดูดี ,กางเกงควรมีความยาวที่พอดี สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ คือ พูดจาดี, แต่งตัวดี, มาดดี, รู้จักกาลเทศะ, อารมณ์ดี

7. การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล : ความขัดแย้ง คือ ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน , มีทั้งส่วนรวมและส่วนตัว , การบริหาร ต้องไม่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ , ที่ต้องระวัง คือ ต้องไปเอาความขัดแย้งส่วนรวมไปส่วนตัว , คนเราถ้ามีการดูถูกกัน ต้องระวังเรื่องนี้ ไม่ให้มีการดูถูกเสียดสีกัน , หากต้องการความสามัคคี หัวหน้าต้องประสานความขัดแย้งให้เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน , สิ่งที่ต้องระวัง คือ อย่าปล่อยให้มีการถกเถียงแบบจับคู่ ต้องมีทางออกให้ด้วย การมองปัญหา คือ ทัศนคติที่ดี , มองหลายมุม, ใจเขา-ใจเรา อย่าไปสรุปปัญหาไปก่อน ต้องรับฟังปัญหา และต้องใจเขาใจเรา ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะยึดใจเรา แต่การแก้ปัญหาต้องนึกถึงใจเขาด้วย , ปัญหาใหม่ ทุกครั้งที่มีการแก้ปัญหาจะต้องมีปัญหาใหม่ คนที่เป็นนักบริหารต้องคิดก่อนว่าแก้ปัญหานี้แล้วจะเกิดปัญหาอะไร และอะไรเป็นปัญหาที่สาหัส

ประวิทย์ เด่นวรกุล

William E. Heinecke

- Work with Other People’s Brains

- Recognize a Failure, After a Fall, Get Back in the Saddle Quickly

- Embrace Change as a Way of Life

- Develop your Contact

: คุณหญิงทิพาวดี เมฑสวรรค์, อ.วิชา มหาคุณ

ชุมชนบ้านใหม่นาแขม

Life Coach : Jimi The Coach

การกระทำของเราที่มักตอบสนองความต้องการ ทำให้เรารู้สึกสุขใจนั้น อาจไม่ได้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรา

ได้รับการตอบสนองความต้องการ และ มีความสุขด้วย

ตัวอย่างเช่น แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของแม่

แต่ตัวลูกอาจไม่มีความสุข

เราต้องสร้างสมดุลสิ่งต่างๆ เพื่อการก้าวไปข้างหน้า

สร้างองค์กรที่แข็มแข็งร่วมกัน

SCG :

Team work , Cross functional

การสร้างทีมข้ามสายงาน จำเป็นเมื่อต้องจัดการกับขนาดของปัญหา กระบวนการ และ งานในระดับที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันระดับสายงาน หรือ องค์กร

Team of Rival :

กลยุทธ์การนำคู่แข่ง คู่ขัดแย้ง ฝ่ายตรงข้าม มาร่วมทีม อาจสร้างความสำเร็จใหม่ได้


ส่งท้ายจริงๆ


Jimmy The Coach :

ไปเรียนเรื่อง "Life Coach" มา

เอาตัวอย่างเลยนะ

แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของตัวแม่เอง

แต่ลูกอาจไม่มีความสุขไปด้วย อยากไปโรงเรียนเองบ้าง แว็บเที่ยวบ้างตามประสา

กรณีนี้ถ้าแม่ได้รับการแนะนำ (coach) ที่ถูกต้อง แม่อาจสามารถปรับตัวสร้างสมดุลในเรื่องนี้

เพื่อให้ชีวิตมีความสุขด้วยกันทั้งแม่และลูก ไม่เช่นนั้น จะมีแต่แม่ฝ่ายเดียว

ที่ได้รับการตอบสนอง need ของตัวเองมีความสุขคนเดียว แต่ลูก ทนทุกข์

แม่ซึ่งรักลูกคงไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้นแน่

งานนี้ใครจะไป coach แม่ ?

หรือ แม่จะไปขอรับการ coach ?

รู้ว่า ที่ Jimi The Coach รับ coach ชั่วโมงนึงสองสามหมื่นบาท ?

ที่ทำงาน เรามีความสุข น้องเรามีความสุขหรือเปล่า เราต้องการ coach หรือเปล่า ?

เขียนส่งมาเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

ประวิทย์ เด่นวรกุล


ประวิทย์ เด่นวรกุล

William E. Heinecke

- Work with Other People’s Brains

- Recognize a Failure, After a Fall, Get Back in the Saddle Quickly

- Embrace Change as a Way of Life

- Develop your Contact

: คุณหญิงทิพาวดี เมฑสวรรค์, อ.วิชา มหาคุณ

ชุมชนบ้านใหม่นาแขม

Life Coach : Jimi The Coach

การกระทำของเราที่มักตอบสนองความต้องการ ทำให้เรารู้สึกสุขใจนั้น อาจไม่ได้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรา

ได้รับการตอบสนองความต้องการ และ มีความสุขด้วย

ตัวอย่างเช่น แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของแม่

แต่ตัวลูกอาจไม่มีความสุข

เราต้องสร้างสมดุลสิ่งต่างๆ เพื่อการก้าวไปข้างหน้า

สร้างองค์กรที่แข็มแข็งร่วมกัน

SCG :

Team work , Cross functional

การสร้างทีมข้ามสายงาน จำเป็นเมื่อต้องจัดการกับขนาดของปัญหา กระบวนการ และ งานในระดับที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันระดับสายงาน หรือ องค์กร

Team of Rival :

กลยุทธ์การนำคู่แข่ง คู่ขัดแย้ง ฝ่ายตรงข้าม มาร่วมทีม อาจสร้างความสำเร็จใหม่ได้

ส่งท้ายจริงๆ


Jimmy The Coach :

ไปเรียนเรื่อง "Life Coach" มา

เอาตัวอย่างเลยนะ

แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของตัวแม่เอง

แต่ลูกอาจไม่มีความสุขไปด้วย อยากไปโรงเรียนเองบ้าง แว็บเที่ยวบ้างตามประสา

กรณีนี้ถ้าแม่ได้รับการแนะนำ (coach) ที่ถูกต้อง แม่อาจสามารถปรับตัวสร้างสมดุลในเรื่องนี้

เพื่อให้ชีวิตมีความสุขด้วยกันทั้งแม่และลูก ไม่เช่นนั้น จะมีแต่แม่ฝ่ายเดียว

ที่ได้รับการตอบสนอง need ของตัวเองมีความสุขคนเดียว แต่ลูก ทนทุกข์

แม่ซึ่งรักลูกคงไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้นแน่

งานนี้ใครจะไป coach แม่ ?

หรือ แม่จะไปขอรับการ coach ?

รู้ว่า ที่ Jimi The Coach รับ coach ชั่วโมงนึงสองสามหมื่นบาท ?

ที่ทำงาน เรามีความสุข น้องเรามีความสุขหรือเปล่า เราต้องการ coach หรือเปล่า ?

ประวิทย์ เด่นวรกุล

ประวิทย์ เด่นวรกุล

William E. Heinecke

- Work with Other People’s Brains

- Recognize a Failure, After a Fall, Get Back in the Saddle Quickly

- Embrace Change as a Way of Life

- Develop your Contact

: คุณหญิงทิพาวดี เมฑสวรรค์, อ.วิชา มหาคุณ

ชุมชนบ้านใหม่นาแขม

Life Coach : Jimi The Coach

การกระทำของเราที่มักตอบสนองความต้องการ ทำให้เรารู้สึกสุขใจนั้น อาจไม่ได้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรา

ได้รับการตอบสนองความต้องการ และ มีความสุขด้วย

ตัวอย่างเช่น แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของแม่

แต่ตัวลูกอาจไม่มีความสุข

เราต้องสร้างสมดุลสิ่งต่างๆ เพื่อการก้าวไปข้างหน้า

สร้างองค์กรที่แข็มแข็งร่วมกัน

SCG :

Team work , Cross functional

การสร้างทีมข้ามสายงาน จำเป็นเมื่อต้องจัดการกับขนาดของปัญหา กระบวนการ และ งานในระดับที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันระดับสายงาน หรือ องค์กร

Team of Rival :

กลยุทธ์การนำคู่แข่ง คู่ขัดแย้ง ฝ่ายตรงข้าม มาร่วมทีม อาจสร้างความสำเร็จใหม่ได้

ส่งท้ายจริงๆ

Life Coach : Jimi The Coach

เอาตัวอย่างเลยนะ

แม่ที่ไม่ยอมให้ลูกไปโรงเรียนเองเลย ต้องขับรถไปส่ง ไปรับตลอด

การกระทำนี้ตอบสนองความต้องการของแม่ และ ความรู้สึกดีหลายประการของตัวแม่เอง

แต่ลูกอาจไม่มีความสุขไปด้วย อยากไปโรงเรียนเองบ้าง แว็บเที่ยวบ้างตามประสา

เพื่อให้ชีวิตมีความสุขด้วยกันทั้งแม่และลูก ไม่เช่นนั้น จะมีแต่แม่ฝ่ายเดียว

แม่ซึ่งรักลูกคงไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้นแน่

ประวิทย์ เด่นวรกุล

สรุปบทเรียน ช่วงที่ 1

วันที่ 28 มกราคม 2558

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

  • หลักการเรียนรู้ที่สำคัญคือ ต้อง reality และ Relevance
  • การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เร็ว ไม่แน่นอนและทำนายไม่ได้
  • หลักสูตรนี้ต้อง Learn Share & Care
  • เรื่อง Human Capital เป็นเรื่องสำคัญต้องเรียนรู้ และเตรียมความพร้อม

Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

  • การประสบความสำเร็จ คนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบ
  • การทำงานได้ดีต้องเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น
  • โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก องค์กรใช้ Coaching มาก
  • โค้ชกีฬา ทำหน้าที่โค้ชด้านอื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากกีฬา โดยเฉพาะการใช้ชีวิต
  • การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่คนต้องการ
  • คนเราต้องปลุกตัวเองให้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ในตัวเอง
  • ก่อนเกษียณ ควรคิดว่า จะฝากผลงานอะไรให้แก่องค์กร

กิจกรรม Stop to think พยายามจำชื่อเพื่อนให้ได้ เรียกชื่อคนที่ไม่ได้อยู่ติดกับคุณ

บทเรียนที่ได้รับ

  • Stop to think เป็นเรื่องของ Mindfulness
  • ชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่เรียกว่า ยาก มีแต่ยังไม่คุ้นเคย
  • กิจกรรมนี้เป็นการฝึกสติ
  • เหมือนชีวิตการทำงานคือ ยังไม่ได้ทำงาน แต่มีคนมาทวงงานแล้ว
  • บางครั้งคิดเร็ว ทำให้ความคิดไปอยู่ในอนาคต ต้องกลับมาคิดถึงปัจจุบัน
  • เราต้องคิดสิ่งที่ดีแล้วจะนำชีวิตไปสู่ทางที่ดี

กลยุทธ์ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของ กฟผ.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

แนวคิดที่สำคัญที่รวบรวมจากที่อาจารย์กล่าวไว้

  • อย่ามองอะไรจากมุมตนเองเท่านั้น
  • เมื่อมีเขตการค้าเสรี ก็มีการแปลงสัญชาติสินค้าเพื่อเข้ามาขายในประเทศเลี่ยงภาษี
  • ประเทศเล็กแข่งขันลำบากต้องวางตำแหน่งใหม่ เช่นรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเหมือนได้อีก 9 ประเทศฟรี
  • ความสามารถในการจับประเด็นเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ชนะได้
  • การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงทิศทางโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนจุดแข็ง ตรง KPI
  • การทำ SWOT ต้องมองอนาคต
  • วันนี้สินค้าชนะกันด้วยความแตกต่างและสิ่งที่จับต้องไม่ได้

29 มกราคม 2558

3V & Innovative Project

  1. 3V Value Added ,Value Creation ,Value Diversify
  2. Project ต้องมาจากความรู้ ปัญญา มาจากความเป็นจริง และเป็นสิ่งที่มองไปข้างหน้า
  3. Project ต้องเริ่มจากการตั้ง Hypothesis ที่น่าสนใจปัญหาปัจจุบันคือ อะไร ถ้าไม่ทำอะไรจะเกิดอะไรในอนาคต และจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับการพัฒนางานของ กฟผ.

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

- คนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับขึ้นอยู่กับ

* มนุษย์สัมพันธ์

* ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่ต่างไปจากเดิม เป็นการพัฒนาและปรับปรุง และทำให้มีความสุข และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

- ความคิดบางคนก็ติดอยู่ในกรอบความคิด บางครั้งติดนโยบายองค์กร ติดงบประมาณ ติดบทบาท กรอบสังคม คิดกลับไปที่เดิม เลยผิดธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์

- ต้องสลายกรอบความคิด กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนส่วนใหญ่ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง / การเซนเซอร์ตัวเอง/ การเดินตามผู้อื่น/ ความกลัว

- จริงๆแล้วทุกคนมีไอเดีย มีความคิดใหม่ๆแต่เราไม่สามารถผลักดันให้เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะกลัวผิด ไม่อยากต่างจากคนอื่นๆ

30 มกราคม 2558

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย อาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์

- มารยาททางธุรกิจที่สำคัญ การแสดงมารยาทในสังคมมีหลักที่สำคัญ คือ การให้เกียรติ/ การคำนึงถึงความปลอดภัย / ความสะดวก / มีระเบียบ/ อัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตร

- บุคคลิกภาพของนักบริหารรุ่นใหม่

1. ภาพลักษณ์ภายนอก ต้องดูดี ทั้งเครื่องแต่งกาย หน้าตา ทรงผม และเครื่องใช้ใช้เข้ากับเวลาและสถานที่

2.การพูดจา และกริยาต้องดูดี ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือการนั่ง

3. การเลือกตำแหน่งของการนั่ง หรือการเดินให้ยึดหลัก ปลอดภัย ให้เกียรติ และสะดวกสบาย

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

  • ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติเมื่อมีความแตกต่างหรือมีความไม่เหมือน ความขัดแย้งมีทั้งขัดแย้ง

ส่วนตัวและขัดแย้งเรื่องส่วนรวม

  • ผู้บริหารจะต้องไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลาม เกิดการเสียดสี มีการถกเถียงแบบจับเป็นคู่นำไปสู

ความขัดแย้งส่วนตัว

  • ผู้บริหารจะต้องชักนำความคิดเห็นที่ขัดแย้งไปสู่การรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เป็นกลางเพื่อให้มีการเสนอความเห็นมากขึ้น เปิดโอกาสให้คนที่เป็นกลางได้มีโอกาสเสนอความเห็นมากขึ้น
  • การแก้ปัญหา ที่สำคัญคือการมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี(เชิงบวก) มองปัญหาด้วยหลายมุมมอง ต้อง

รับฟังปัญหา ต้องเข้าใจใจเขาใจเรา ขณะเดียวกันในการพยายามแก้ปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นหรือแก้ยากขึ้น

ความเหมือนกันของกฎทอง 25 ข้อของ Mr.Willium E.Heinecke และ Chira Hongladarom's Model ซึ่งเป็นประโยชน์กับ กฟผ.

1. Work with Other People's Brains : พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว

เราจะต้องทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่ตามระดับต่างๆ บุคคลากรในทีมคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาก

จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทีมงานลูกน้องเราให้พัฒนามีความรู้ทักษะความสามารถยิ่งๆขึ้น เพื่อมาช่วยกันเติมเต็มให้กันและกัน

2. Develop Your Contacts : สร้าง Network ตลอดเวลา

การทำงานจำเป็นต้องมีเครือข่ายพันธมิตร เพื่อให้การทำงานสามารถลื่นไหลอย่างดีและประสบความสำเร็จ

3. Chase Quality, Not Dollars : Customer's focus

เราต้องเน้นที่คุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าของเรา

4. Recognize a Failure and Move on : Failure is lesson

เราต้องไม่จมอยู่กับความผิดพลาด แต่ใช้ความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

5. After a Fall , Get Back in the Saddle Quickly : Down and up again

ล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้นสู้ คือภาวะของผู้นำ

6. Reinvent Yourself : Onwards and Upwards : Creativity and Innovation

ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์คิดนอกกรอบ แบบที่เรียกว่าเก่งคิด พัฒนาตนเองและสร้างสรรค์นวัตกรรม

7. Set Goals (but go easy on the "Vision" thing) : Thing big picture

ผู้บริหารจะต้องมองออกถึงภาพรวมขององค์กร จากนั้นค่อยกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ที่ท้าทายและสามารถบรรลุได้

8. you won't be committed if you are not having Fun. : Enjoy you work.

บรรยากาศในที่ทำงานที่ดีพนักงาน ก็จะมีความสุขการทำงานก็จะมีประสิทธิภาพ

9. Become A Leader : Try to be No.1

ตั้งเป้าหมายให้สูงให้คนมีความรู้สึกท้าทาย เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้


วันที่ 28มกราคม 2558

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ และ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ของ กฟผ.

อาจารย์ให้ความเห็นว่า คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร และ ทุนมนุษย์ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพและการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

ความสำคัญของทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ Learning How to Learn การเรียนรู้ที่สำคัญต้องคำนึงหลัก 2R's มองความจริง (Reality) และต้องจับให้ตรงประเด็น (Relevance) สร้างโอกาสที่จะเรียนรู้ร่วมกัน(Learn Share Care)

วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ4L's, 2I's,3L's, C – U – V

หลักคิดที่ดีๆ คือ Do what you know ต้อง Turn Idea to action และ Turn action into success เน้น 2R's Reality และ Relevance

Trust มีหลายประเภท

(1)Self -Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

(2)Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

(3)Organization Trust

(4)Social Trust

สิ่งแรก EGAT มี คือ การสร้าง Trust ของ EGAT คือ การมีธรรมาภิบาล

ต้องมีการปลูกฝังให้คนใน EGAT มีRespect กับ Dignity

“วิศวะ" ต้องข้ามศาสตร์ ไปรู้ให้กว้าง รอบด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในภาวะผู้นำของคน กฟผ. ในยุคต่อไป

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

หัวข้อ Managing Self Performance -อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

-หลักการ Coaching นำไปพัฒนาทีมงานในองค์กร

-Stop to Think สามารถนำไปประยุกต์ในการบังคับบัญชา

-Competency มีทั้งในส่วนที่เป็น Skills ,Knowledge ซึ่งเป็นความรู้และทักษะกับส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคล คือ Self-concept , Attitude, Value, Trait ,Motive

การที่จะประสบความสำเร็จนั้นจะมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ (Achievement Orientation)

สูตรของการรับผิดชอบต่อชีวิต คือ เหตุการณ์ (Event) + การตอบสนอง (response) = ผลลัพธ์ (Outcome) ดังนั้น เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์

กลยุทธ์ เครื่องมือ และเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการทำงานของกฟผ.

  • รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

Strategic Resources ประกอบด้วย Core Competencies, Strategic Asset, Core Processes

การบริหารเชิงกลยุทธ์ต้องให้ตรงทิศทางโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนจุดแข็ง ตรง KPI

การวางแผนกลยุทธ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัจจัย SWOT (จุดแข็ง Strengthจุดอ่อนWeakโอกาส OppotunityอุปสรรคThreat )ในการวิเคราะห์SWOT ต้องจับประเด็นให้ได้ และสรุปประเด็นให้ถูกต้อง

การทำ SWOT ต้องมองอนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน

การทำให้ลูกค้าพอใจต้องทำให้เป็นรูปธรรม

สิ่งสำคัญที่สุดคือปรับวิธีคิด เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์คือรู้เขารู้เรา ทำนายอนาคตได้ดี เห็นสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง พัฒนาองค์กรให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนสร้างแนวร่วม พัฒนาวิสัยทัศน์ สื่อสารและ สร้างแนวทางใหม่ๆ

วันนี้เอาชนะกันด้วยความแตกต่างและสิ่งที่จับต้องไม่ได้

โลกยุคปัจจุบันเข้าสู่ยุคพลังงานทางเลือกบวกไอทีแล้ว ต้องปรับวิสัยทัศน์ อย่ามองแค่ไทย มองอาเซียนและโลกด้วย


สรุปบทเรียน วันที่ 29 มกราคม 2558

เรื่อง 3V & Innovation project โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.กิตติ ชยางกุล

เป็นการเรียน Chira Way ใช้ 2R คือ Reality และ Relavant สร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม ความคิดที่หลากหลาย

การตั้งสมมติฐาน ต้องตอบโจทย์อนาคต และต้องมองเรื่อง 3V ต้องทำCreativity และต้องมีนวัตกรรม

และต้องรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน Value creation และไปสู่ Value diversity

ถ้ามี Value diversity มากๆ ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์

ให้เริ่มต้นคิดจาก Where are we? ต่อด้วย What do you want to go? What is Strategy?

และ How to overcome to strategy?

มองอนาคตว่าเราจะไปทางไหน ดูสภาพแวดล้อมในอนาคต ย้อนมาดูว่าต้องทำอย่างไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลก จะฉวยโอกาสนั้นได้อย่างไร

มีการทำ Work shop ให้มองปัญหาของ กฟผ. ในปี 2015 และจะก้าวผ่านไปได้อย่างไรในปี 2020 โดยกลุ่ม 5 ทำเรื่อง ปัญหาการทำงานที่เกิดจากกฎระเบียบที่รกรุงรังมาก และสายรองมีถึง 10 สายรอง ควรแปรรูปทำเป็น BU ให้กระชับ และแต่ละ BU มีการดูแลและตั้ง KPI วัดงาน เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน

วันที่ 29 มกราคม 2558

เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ Creative กับการพัฒนางานของ กฟผ.

โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่ต่างไปจากเดิม เป็นการพัฒนาและปรับปรุง และทำให้มีความสุข และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

ความคิดบางคิดก็ติดอยู่ในกรอบความคิด บางครั้งติดนโยบายองค์กร ติดงบประมาณ ติดบทบาท กรอบสังคม คิดกลับไปที่เดิม เลยผิดธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ ทำได้ 3 แบบคือ สลายกรอบความคิด กรอบองค์กร กรอบสังคม การคิดนอกกรอบ และการคิดคร่อมกรอบ ซึ่งมีวิธีแก้ไขคือ

1.จางกรอบความคิดคนเอง (ซึ่งอาเธอร์ กล่าวว่า "การคิดนอกกรอบคือ อย่าเอาตัวเข้าไปอยู่ในกรอบ") แล้วคิดนอกกรอบทั้งหมด (ถูกธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์) แต่ยังเอาไปใช้ไม่ได้

2.คิดนอกกรอบ Think out of the box ซึ่งเป็นความคิดแบบดิบๆ ต้องนำมาบ่มความคิด แล้วดึงกลับเข้ามาในกรอบซึ่งคือ คิดคร่อมกรอบ

กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนส่วนใหญ่ ได้แก่ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเองการเซนเซอร์ตัวเองการเดินตามผู้อื่น และ ความกลัว (ซึ่งมีคำถามแก้ความกลัว 4 ขั้นคือ กลัวอะไรอยู่ แล้วไง จริงอ๊ะเปล่า และถึงตายไหม)

วันที่ 30 มกราคม 2558

หัวข้อเรื่อง บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ (อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์ )

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำให้ดูเป็นนักบริหารยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย มารยาทในการเข้าสังคม การรับประทานอาหาร การทักทาย การไหว้ ที่เหมาะสม การให้เกียรติสุภาพสตรี

การจัดที่นั่งในรถยนต์ การจัดที่นั่งในที่ประชุม

นักบริหารกับการรักษาบุคลิกภาพ คือ พูดจาดีแต่งตัวดีวางมาดรู้จักกาลเทศะ และ ควบคุมอารมณ์ รวมทั้งต้องดูแลหน้าตา ทรงผม เครื่องแต่งกาย รองเท้า เพราะความประทับใจเมื่อแรกพบมาจากการพูด น้ำเสียงที่ใช้ และ ท่วงท่ากริยาภายนอกที่แสดง

การนำไปใช้ประโยชน์: จะต้องปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตนเอง สมกับวัย หน้าที่และสถานการณ์ เลือกซื้อเสื้อผ้าให้เหมาะกับวัย

วันที่ 30 มกราคม 2558

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน โดย รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ความขัดแย้ง คือ ความไม่เหมือนกัน / ความไม่ตรงกัน , ส่วนตัว / ส่วนรวมและ ต้องระวังอย่าให้ความขัดแย้งส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัว

จิตวิทยามวลชน มวลชนมีหลายประเภท ทั้งMass, Crowd และMob มองปัญหาให้ออก โดยนักบริหารควรมองปัญหาหลายๆมุมเพื่อหามุมที่แก้ปัญหาให้ได้ การเจรจาต่อรอง ต้องรู้หลักคือต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราพูด ต้องมีการเตรียมการ ขณะดำเนินการเจรจาต้องจับสัญญาณจากคำพูด ท่าทาง ขณะพูดต้องควบคุมอารมณ์ ระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ และประเมินสถานการณ์ตามด้วย เมื่อเจรจาจบต้องได้บทสรุป และไม่แสดงออกว่าฝ่ายใดชนะ

อาจารย์ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริงซึ่งมีประโยชน์มากสามารถนำไปใช้ในการเจรจาได้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท