ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๓๕. ปฏิเสธคำเชิญ


ผมพิจารณาตนเองว่าอายุมากแล้ว (กว่า ๗๒) เรี่ยวแรงและสมองถอยลงไปทุกวัน และเวลาที่จะ มีชีวิตอยู่ก็คงจะไม่นานมากนัก ควรจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำเพื่อรับใช้สังคม โดยที่งานที่ผมถนัด และรักคือยุยงส่งเสริม ให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางดี เจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องมีการ "ลงมือทำ" ไม่ใช่พูดกันเฉยๆ


ในช่วงเวลา ๒ สัปดาห์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ผมปฏิเสธคำเชิญไปบรรยายเรื่องการศึกษาแนวใหม่ ไป ๓ ราย จึงขอนำความในใจเรื่องนี้มาเล่าสู่กัน

เนื่องจากผมได้เขียนและพูดเรื่องนี้ไปแล้วเยอะมาก แล้วนำมาลง บล็อก บ้าง มีคนนำไปลง YouTube บ้าง เมื่อมีคนอ่านหรือชมก็ติดใจ และอยากให้ไปพูดที่สถาบันของตนบ้าง

เดี๋ยวนี้คนเชิญมักจะรู้แล้วว่าติดต่อผมทางอีเมล์สะดวกที่สุด เมื่ออี-เมล์มาเชิญผมก็จะถามหาข้อมูลว่า ทางผู้เชิญต้องการทำอะไร ที่ปฏิเสธไปทั้งสามรายคือ ต้องการฟังการบรรยาย หรือ "เพื่อรู้" ไม่ใช่ "เพื่อทำ"

ผมพิจารณาตนเองว่าอายุมากแล้ว (กว่า ๗๒) เรี่ยวแรงและสมองถอยลงไปทุกวัน และเวลาที่จะ มีชีวิตอยู่ก็คงจะไม่นานมากนัก ควรจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำเพื่อรับใช้สังคม โดยที่งานที่ผมถนัด และรักคือยุยงส่งเสริม ให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางดี เจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องมีการ "ลงมือทำ" ไม่ใช่พูดกันเฉยๆ

สังคมไทยเรามีการพูดกันมาก ลงมือทำน้อยเกินไป และอดทนมานะพยายามทำสิ่งยากๆ ให้แก่สังคมน้อยไป ผมอยากเห็นมีมากขึ้น จึงตั้งใจจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ให้เข้าไปหนุนคนลงมือทำ ให้มากขึ้น

เป็นการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ เพื่อเข้าไปหนุนคนทำงานสร้างสรรค์ สร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นลำดับแรก



วิจารณ์ พานิช

๑๓ ธ.ค. ๕๗


หมายเลขบันทึก: 584563เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2015 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2015 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท