ปัจจัยเสี่ยง สายตาสั้น


.............................................

BBC มีบทความสั้น เรื่องสายตาสั้น

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

คนยุโรป และคนอเมริกัน สายตาสั้นจนต้องใส่แว่นตา = 30-40%

บางประเทศในเอเชีย มีเด็กสายตาสั้น = 90%

ทว่า... อินเดียนแดง (inuit / อินูอิต) ในแคนาดา

ซึ่ง น่าจะอพยพมาจากเอเชีย มีสายตาสั้น = 10-25%

.

ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า

การอยู่ในที่ร่ม หรือในห้องนานๆ อาจเพิ่มเสี่ยงสายตาสั้น

.

การศึกษาจากยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย พบตรงกัน คือ

คนที่ใช้ชีวิตกลางแจ้งนานพอ

โดยเฉพาะ ในวัยเด็ก สายตาสั้นน้อยลง

.

การศึกษาขนาดใหญ่ (จำนวนกลุ่มตัวอย่างมาก) ในโอไฮโอ สหรัฐฯ

พบว่า การอ่านหนังสือ ไม่เพิ่มเสี่ยงสายตาสั้น

.

แสงแดด ประกอบด้วยแม่สี 3 สีหลัก

คือ แดง-น้ำเงิน-เขียว (red-blue-green / RBG)

แสงในอาคาร มีสีแดงมากขึ้น

สีเขียว สีฟ้า ลดลง

.

อาจารย์ชี่ ลู และคณะ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย

นำไปทดลองในไก่ พบว่า

ไก่ที่เลี้ยง ในบรรยากาศที่มีแต่สีแดง

สายตาสั้นมากขึ้น

.

การทดลองในไต้หวัน

ทำในนักเรียนจริงๆ

พบว่า

.

เด็กๆ ที่มีโอกาสได้ออกไปข้างนอก

รับแสงแดดอ่อน

หรือ มองไปไกลๆ ตอนเช้า-เย็น

สายตาสั้นน้อยลง

.

สายตาสั้น เป็นความพิการที่พอแก้ไขได้

ทว่า... ส่วนใหญ่ เข้าโรงเรียนนายร้อยไม่ได้

.

การลงทุน ให้คนรุ่นใหม่ มีโอกาสออกไปกลางแจ้ง

รับแสงแดดอ่อน ตอนเช้า-เย็นมากขึ้น

น่าจะเป็นการลงทุนที่ดีทีเดียว

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่าน มีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://www.bbc.com/future/story/20150116-why-are-we-short-sighted

หมายเลขบันทึก: 584127เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2015 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2015 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท