ยาง ยางนา ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางตัง ยางเนิน ฯ





ยางนาต้นนี้อยู่ในเมืองเชียงใหม่


ยางนา มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลายชื่อ เป็นต้นไม้อายุยืนเป็นร้อยปี ทางภาคเหนือจะมีถนนสายหนึ่งที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยมีต้นยาง 2 ฝั่งริมถนน ประมาณพันกว่าต้น คือ ถนนสายไป อ.สารภี เชียงใหม่ โดยไม่มีการขยายถนน เพื่ออนุรักษ์ต้นยางไว้ เวลาลมแรงพายุฝนตก ต้องระวังกันมากๆ กิ่งแก่แห้งหล่นตกใส่ การดูแลรักษา ฯ เป็นที่ยากลำบากเพราะต้นสูงใหญ่มาก


แต่ก็ดีมากๆที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการเปิดสอนเรียนวิชา ที่ดูและรักษาต้นไม้หรือที่เรียกว่า หมอต้นไม้ ได้ชมข่าวของภาควิชาการเรียนของม.แม่โจ้ และได้เห็นการปฏิบัติบนต้นยางใกล้บ้านก่อนได้ชมข่าว เห็นแรกๆก็แปลกใจกลุ่มไหนมาวุ่นวายกับต้นยาง หรือว่าถ่ายหนังกัน เมื่อทราบว่าเป็นอาจารย์และนักศีกษามาดูแลรักษาต้นยาง นำกิ่งแก่แห้งลงมา ก็รู้สึกดีมาก ถ้าได้มาขึ้นต้นดูและทุกๆปีก็จะยิ่งดีมาก แต่ต้นยางต้นนี้ดูแข็งแรงมากก็คงจะอยู่อายุยืนนานอีกต่อไปเรื่อยๆแน่นอน ยางนาต้นนี้ไม่สร้างปัญหาให้กับใครอีกด้วย




ก่อนสร้างประตูเมืองแสนปุงใหม่ ต้นยางตามที่ชมภาพมี 4 ต้น

ปัจจุบันนี้มีต้นเดียวคือ ต้นที่อยู่ขวามือในภาพ





ยาง

ยางนา ,ยางขาว , ยางแม่น้ำ ,ยางหยวก , กาตีล , จะเตียล (เขมร),

ชันนา ,ยางตัง (ชุมพร) ,ยางกุง(เลย) ,ยางเนิน (จันทบุรี) ,ราลอย (ส่วย), ลอย( โซ่)


ใบ รสฝาดร้อน ต้มใส่เกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน

ใบ และ ยาง รสฝาดขมร้อน รับประทานขับเลือด ตัดลูก (ทำให้เป็นหมัน)

เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อนขมต้มดื่ม แก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกโลหิต ใช้ทานวด แก้ปวดตามข้อ

น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่นทาแผลเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อนรับประทานกล่อมเสมหะ

ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วน กับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทาน ขับปัสสาวะ

รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรทางเดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ

ผสมเมล็ดกุยช่าย คั่วให้เกรียน บดอุดฟันแก้ฟันผุ

น้ำมันยางดิบ รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายกามโรค ถ่ายพยาธิในลำไส้


( ขอบคุณสรรพคุณยาง จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรฯ โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช)



ช่วงแรกๆที่ยังไม่ค่อยทราบลักษณะของต้นยาง มองเห็นโพรงที่อยู่ด้านที่ติดกับประตูเมือง ถ้าไม่เดินผ่านจะมองไม่เห็น ก็รู้สึกสงสารกลัวผุกร่อนไปเรื่อยๆ มีคนนำขยะไปทิ้งบ้าง เวลาฝนตกน้ำก็ขัง เคยได้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หลายครั้งก็ไม่มีใครมาทำอะไรเลย

ต่อมาพอทราบนิสัยและประวัติความเป็นมาของโพรงไหม้ดำนี้ก็พอเข้าใจและไม่เกิดความสงสารเท่าตอนแรกแล้ว เพราะดูต้นยางนี้ก็แข็งแรงไม่ล้มง่ายๆแน่นอน เพราะอยู่กับน้ำคูเมือง อุดมสมบูรณ์ตลอดปี ไม่มีใครรบกวน สวยงามทุกวัน ช่วงพลัดใบก็ร่วงใบบางลง แต่พอแตกใบอ่อนใหม่ก็เขียวสวยมาก เวลาออกดอกก็กลิ่นกระจาย พอลูกยางแก่แห้งแห้งลมพัดแรงๆก็ร่วงหล่นเต็มถึงถนน บางปีก็มีผึ้งมาทำรัง ๆใหญ่มากเคยเห็นรังร้างหล่นลงมา



ผึ้งหลวงบนต้นยาง







ยางต้นนี้มองแต่ละด้านของต้นสวยไม่เท่ากันนะคะ













ต้นยางต้นนี มองทางไหนก็สวยนะคะ



ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ ๒๕๕๘


หมายเลขบันทึก: 584000เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2015 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2015 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในชีวิตหนึ่งนี้..มีโอกาศ..ได้เห็นต้นยางที่ปลูกไว้มีโอกาศเติบโต...อิอิ และมีโอกาศเห็นต้นยางที่ถูกทำลาย..ไปตามวันเวลา.".ดีใจ.."ที่ได้เห็น.."ผู้ให้"..ความสำคัญ..ของต้นไม้ในธรรมชาติ..และพยายามสืบต่อความคิดนี้..

มาชื่นใจภาพที่เห็นค่ะ.."คุณกานดา น้ำมันมะพร้าว"...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท