ชื่อโครงการวิจัย แนวทางพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา


เรื่อง ชื่อ แนวทางพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ชื่อ ภาษาอังกฤษ The Moral and Political Ethics of Local Politicians Muang District Phayao Province

ผู้วิจัย ผศ.คนอง วังฝายแก้ว

หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

  • 1. ปัญหาความเป็นมา

พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของบุคคล ทั้งส่วนที่เป็นพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงมีการแสดงพฤติกรรมได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในคือจิตใจ และปัจจัยภายนอก คือสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม ในส่วนของพฤติกรรม ที่เกี่ยวกับการเมือง เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบการเมืองการปกครองส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ พฤติกรรมที่แสดงออกด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง จึงเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญและควรศึกษา เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศดังกล่าว เช่น จากการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของ ฐิตินันท์ เวตติวงศ์ (2531: 66-67) ได้กล่าวว่า "พฤติกรรมและกระบวนการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงของประชาชนในปัจจุบันเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยที่ได้สะสมติดต่อกันเป็นเวลานานการซื้อ-ขายเสียงและระบบหัวคะแนน เป็นเพียงปัญหารูปธรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด และมีผลกระทบต่อการปกครองและการบริหารประเทศอย่างชัดเจน"

จากพฤติกรรมทางการเมืองดังกล่าวหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัวบุคคลเป็นสำคัญ ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง จึงส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองโดยตรง และพฤติกรรมดังกล่าวเป็นผลมาจากการขาดคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

ในสังคมไทยได้มีการสอนคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองให้กับนักการปกครองและนักบริหารมาตั้งแต่สมัยโบราณเริ่มตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาจนถึงสถาบันการปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันครอบครัว โดยกำหนดให้เป็นราชธรรม การเทศนา การ อบรมสั่งสอนและการฝึกอบรม

จากเหตุผลดั่งกล่าวจะเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาล และ

กระทรวงมหาดไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งต่อการให้บริการสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ๗๐ กว่าปี เทศบาลเป็นองค์กรที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข และสร้างความเจริญต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนในเขตชุมชนเมือง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้วันที่ ๒๔ เมษายนของทุกปีเป็น "วันเทศบาล" และได้แจ้งให้เทศบาลทั่วประเทศ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันเทศบาลเป็นประจำทุกปี เช่น การทำบุญตักบาตร การรณรงค์ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น การจัดหน่วยบริการประชาชนเคลี่อนที่เป็นพิเศษ การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบาทบาท และภารกิจของเทศบาลให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน ในปีที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง ได้ร่วมกับสมาคมสันติบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ได้จัดให้มีโครงการวันเทศบาลขึ้นเพื่อเชิดชูความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ให้ปรากฏแก่ประชาชนโดยทั่วกัน โดยมีกิจกรรมพิเศษ เช่น ทำบุญตักบาตร กิจกรรมการแข่งขันกีฬา และจัดบอร์ดแสดงผลงาน

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและหน้าจริยธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ศึกษาเฉพาะแนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาว่ามีแนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลอย่างไร

ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยจึงมองเห็นว่าสมาชิกสภาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาตำบลเป็นอย่างมาก และเพื่อให้ประชาชนได้รู้จักและมีความรู้เกี่ยวกับตัวผู้ที่จะลงสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชน หรือสมาชิกสภาเทศบาล ว่าบุคคลที่จะสมัครเป็นตัวแทนของตนมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรหรือมีฐานะอย่างไร เช่นฐานะทางการศึกษา ฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางครอบครัว ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นผลดีที่จะนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกตัวผู้ที่จะสมัครเป็นตัวแทนหรือสมาชิกสภาเทศบาลในโอกาสครั้งต่อไปเพื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองของตัวเอง ในที่สุดก็จะได้ผู้เข้ามาบริหารที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความเจริญมาสู่เทศบาลตำบลในที่สุด

  • 2. วัตถุประสงค์

2.1เพื่อศึกษาคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง ของนักการเมืองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

  • 2.2 เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง ของนักการเมืองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

3.ขอบเขตของการศึกษา

3.1 ขอบเขตด้านประชากร นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 127 คน

3.2 ขอบเขตในด้านเวลา เดือน พฤศจิกายน 2557 – ตุลาคม 2558

  • 4. เครื่องมือในการวิจัย

4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ

  • 5. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5.1แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับแนวทางพัฒนา

5.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

5.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6. วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง แนวทางพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 9 คน

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 118 คน รวม 127 คน

  • 7. นิยามศัพท์ในการวิจัย

7.1 แนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง แนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง ของนักการเมืองท้องถิ่น โดยการควบคุมพฤติกรรม การสร้างจิตสำนึก และการสร้างองค์ความรู้

7.2 คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง หมายถึง บุคคลผู้มีพฤติกรรมทางการเมืองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ในลักษณะ 7 ประการ ได้แก่ การไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (Selflessness) ความซื่อตรง (Integrity) การไม่มีอคติ (Objectivity) การมีสำนึกรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่ (Accountability) ความเปิดเผยและจริงใจ (Openness) ความซื่อสัตย์ (Honesty) และความเป็นผู้นำ (Leadership)

7.3 นักการเมืองส่วนท้องถิ่น หมายถึง สมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 9 เทศบาลตำบล

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 ได้ทราบถึงแนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ของนักการเมืองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

8.2 ได้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้นักการเมืองส่วนท้องถิ่นที่พึงประสงค์

9. กรอบแนวคิด

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม


10. งบประมาณของโครงการวิจัย 58

รายการ

จำนวนเงิน

ก. หมวดค่าจ้างชั่วคราว

1. ผู้วิจัยหลัก/หัวหน้าโครงการ

20,000

2. ลงพื้นที่วิจัย 2 ครั้งๆ ละ 5,000 จำนวน 1 คน (1X5,000X2)

10,000

รวม

30,000

ข. หมวดค่าใช้สอย

ข.1 ค่าดำเนินการ

8,000

- ค่าอาหารและเครื่องดื่มคณะวิจัยในการทำงานล่วงเวลา

5,000

- ค่าประชุมคณะวิจัยและที่ปรึกษาเหมาจ่าย

5,000

- ค่าประสานงานโครงการ

2,000

- ค่าพิมพ์เอกสารงานวิจัย

8,000

- ค่าจัดทำเอกสารและถ่ายเอกสารเครื่องมือเก็บข้อมูล

8,000

- ค่าวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล

2,000

- ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้า 5 เล่ม / แผ่นดิสก์ / CD

5,000

- ค่าจัดทำรายงานฉบับร่าง 7 เล่ม / แผ่นดิสก์ / CD

5,000

- ค่าจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 10 เล่ม / แผ่นดิสก์ / CD

2,000

รวม

50,000

ค.หมวดค่าวัสดุ- ค่ากระดาษ/ค่าหมึกคอมพิวเตอร์

10,000

- ค่าวัสดุที่จำเป็นในการวิจัย

10,000

รวม

20,000

รวมสุทธิ

100,000

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

100,000

(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ประวัติหัวหน้าโครงการวิจัย

1. ชื่อ (ภาษาไทย) : คนอง วังฝายแก้ว

(ภาษาอังกฤษ) : KANONG WANGPHAIKAEW

2. รหัสประจำตัว : 00001848

3. ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์

4. สังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พะเยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 56000 โทร.(054) 481098 โทรสาร. 482876,431002

5. ประวัติการศึกษา

5.1 พ.ศ. 2523 เปรียญธรรม 4 ประโยค

5.2 พ.ศ. 2532 ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา)

5.3 พ.ศ. 2543 ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

มหาวิทยาลัยนเรศวร

6. สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ

6.1 สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

6.2สาขาภาษาบาลี

6.3ภาษาล้านนา

7. ประสบการณ์

7.1 งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว

7.1.1 ผู้ช่วยนักวิจัย เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์เอกสารโบราณเมืองพะเยา : ศึกษาเฉพาะกรณีเอกสารบันทึกโบราณเกี่ยวกับพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา (2543)

7.1.2 นักวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ ตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ (2544)

7.1.3 นักวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพการดำเนินงาน โครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาาลัย วิทยาเขตพะเยา (2544)

7.1.4 นักวิจัยชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับชั้นมัธยมศึกษา (2545-2546)

7.2 งานประเมิน

ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2555 และในปี พ.ศ. 2555 เป็นคณะผู้ร่วมประเมิน โดยได้ดำเนินการประเมินองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพะเยา จำนวน 15 หน่วยงาน

หมายเลขบันทึก: 583878เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2015 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2015 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท