นิทาน "ชายแก่ผู้ก่ออิฐ"


"ระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต้องไม่มุ่นเน้นเรื่องการตรวจสอบ แต่ต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมของคนในองค์กร "

เดินทางหาก้อนอิฐ

นิทานเรื่องนี้มีประวัติที่ยาวนาน...เริ่มตั้งแต่สมัยนานมาแล้ว..มีชายหนุ่มคนหนึ่งสมัยยังเป็นหนุ่มไฟแรงชอบอ่านหนังสือเรื่องานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ เขาอ่านตำราเล่มโตเรื่องระบบการประกันสังคม (จากผลงานเบื้องต้นของ Aviva Ron และ นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล) จาก ILO ต่อมาเขาได้ช่วยงานในการศึกษาบัตรสุขภาพ (ก่อนจะเกิดการพัฒนาเป็น Movement เกิดระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบัน) และขณะเดียวกันชายหนุ่มคนนี้ได้ไปร่ำเรียนที่อังกฤษในวิชาการที่สำคัญนั่นคือ "เรื่องเศรษฐศาสตร์สาธารรณสุข" และนำความรู้เพื่อกลับมาพัฒนาการทำงาน

อิฐก้อนแรก

เมื่อชายหนุ่มก็เข้าสู่วัยกลางคน เขาได้พบกับ ดร.ไก โรแลนด์ (Dr. kai Roland) ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบคุณภาพจากออสเตรเลีย เขามุ่งเรียนรู้และนำความรู้เพื่อกลับมาสู่กระบวนการพัฒนาระบบคุณภาพ และเขายังค้นหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง ต่อมาเขาได้พบ ดร.โทนี่ เวจเมคเกอร์ (Dr.Tony Wagemakers) จากแคนาดา ดร.โทนี่ เริ่มทำงานจากพนักงานเปลและศึกษาจนตัวเองเป็นผู้อำนวยการ รพ. เป็นรุ่นแรกๆที่มิใช่แพทย์ และประสบความสำเร็จในการบริหารงาน รพ. อย่างเป็นระบบ เขาพลิกหน้าสำคัญของงานคุณภาพ คือ :

"ระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต้องไม่มุ่นเน้นเรื่องการตรวจสอบ แต่ต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมของคนในองค์กร "

จากอิฐสู่บ้าน

ชายกลางคนไปประสานและระดมสรรพกำลังเพื่อก่อร่างสร้างฝันขึ้นมา ชายคนดังกล่าวระยะเวลาได้เดินทางสู่ชายสูงวัย เริ่มได้วางรากฐานงานคุณภาพในรูปแบบไทย ขณะเดียวกันในปี 2552 ได้ก่อตั้งองค์กรเป็นรูปแบบองค์การมหาชน ในชื่อ "สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล" สรพ. กระบวนการดังกล่าวได้พัฒนาพร้อมสร้างการประชุมที่เรียกว่า"Forum" ที่เป็นทั้งกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งกลไกการกระตุ้นให้เกิดการหมุนวงล้อการพัฒนาขนาดใหญ่ การรวบรวมดังกล่าวชายชราพยายามรวบรวมเอกสารออกมาในชื่อ"เลื่อนไหล เลียบเลาะ เจาลึก" ที่รวบรวมทั้งปรัชญาและแนวคิดในการพัฒนาเรื่องคุณภาพขึ้นมาในประเทศไทย "ลุ่มลึกแต่เรียบง่ายเพราะมาจากประสบการณ์จริง"

การเดินทางชายแก่ที่ผ่านมานั้นแน่นอนผ่านมาหลายร้อนผ่านหนาว ดังประโยคว่า "ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับด้วยดอกไม้ หอมหวานยวนจิตรไซร้ไป่มี" และการเดินทางของชายแก่นั้นคงเดินทางต่อไปและตราบใดที่ระบบสาธารณสุขยังเป็นเสาค้ำยันให้คนไทยอยู่ดีมีสุข ชายแก่คงต้องทำหน้าที่ของเขาต่อไป...บนเส้นทางที่ไม่ง่ายและท้าทายต่อสังคมพอสมควร ท่ามกลางมหาสีทันดรที่เชี่ยวกลากมากขณะนี้ ขณะเดียวกันก็คงปฏิเสธถึงการค้นหาอิฐก้อนต่อไปไม่ได้เช่นกัน

- ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก : หนังสือความจริงเรื่องตระกูล ส. สองทศวรรษการปฏิรูประบบสุขภาพในประเทศไทย และมีการสรุปความเพิ่มเติม

หมายเลขบันทึก: 583390เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2015 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2015 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านอาจารย์อนุวัฒน์ยังไม่แก่หรอกครับ คุณลูกหมู เห็นด้วยว่า การพัฒนาไม่ได้เน้นผลลัพธ์อย่างเดียว แต่การเรียนรู้ร่วมกันของคนทำงาน และผู้รับบริการก็มีความสำคัญ สวัสดีปีใหม่นะครับ

สวัสดีครับพี่ทิมดาบ ผมเองก็เห็นเช่นนั้นครับ "กระบวนการคุณภาพ" ต้องมีการพัฒนาต่อไปครับ ..อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เหมือน ชายแก่ผู้ก่อไว้..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท