SEEN อีสาน _๐๒ : เรียนรู้จากการบรรยายของ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา "วิธีขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" (๑)


วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ CADL สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้ (LLEN) และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ปศพพ.) (SEEN) เขตพื้นที่อีสานตอนบน มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนประมาณ ๙๐ คน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูแกนนำ เป้าประสงค์ ๓ ประการในการจัดโครงการนี้คือ ๑) เพื่อให้ทุกคนทราบแนวทางในการขับเคลื่อนฯ ของศูนย์สถานศึกษาพอเพียง (ศสพ.) มูลนิธิยุวสถิรคุณ ๒) ทบทวนความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนฯ ปศพพ. ที่ผ่านมา และ ๓) เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนฯ ในปี ๒๕๕๘ นี้ต่อไป




ดูรูปทั้งหมดได้ ที่นี่ครับ

เป้าหมายในการขับเคลื่อนของมูลนิธิยุวสถิรคุณ



ผู้อำนวยการศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ รับเชิญมาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "เป้าหมายและทิศทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" เสียดายที่เวลามีค่อนข้างน้อย ทำให้ท่านไม่ได้บรรยายทุกสไลด์ อย่างไรก็ดี ต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญ ที่ท่านบอก และผมอยากเอามาบอกต่อเป็นพิเศษครับ




ท่านบอกว่า เป้าหมายที่แท้จริงของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา คือการ ขับเคลื่อนให้ทุกโรงเรียนเป็น "สถานศึกษาพอเพียง" ที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง ๒๕๕๑ โดยเฉพาะตัวบ่งชี้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาที่ ๓.๑ (ตบช. ส. ๓.๑) กลยุทธสำคัญของการขับเคลื่อนฯ ดังกล่าวคือ การสร้างศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก ปศพพ. ในที่นี้คือ โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศรร.) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๔๗ โรงเรียน




ประเด็นสำคัญๆ ที่น่าจะรับรู้ให้ตรงกัน (ดาวน์สไลด์ได้ที่นี่) มีดังนี้

  • มูลนิธิยุวสถิรคุณ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการประเมินโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ศูนย์ ปศพพ. หน้าที่นี้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
  • เป้าหมายหลักสำคัญของมูลนิธิฯ คือ พัฒนาสถานศึกษาพอเพียงที่มีอยู่ (๑๔,๓๐๗) ให้สามารถปลูกฝังบ่มเพาะ อุปนสัย "พอเพียง" ให้กับนักเรียน โดยใช้กลไกสำคัญคือ โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ปศพพ.
  • กระบวนการที่ทางมูลนิธิฯ ใช้คือ การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก เพื่อปลูกฝังอุปนิสัย "พอเพียง" ทั้งครูและนักเรียน
  • เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา มีทั้ง การจัดการความรู้ การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ การฝึกอบรมและพัฒนา และการจัดกิจกรรมต่างๆ
  • มีโรงเรียนที่รับการประเมินเป็นโรงเรียน ศรร. แล้ว ๑๔๗ แห่ง ที่ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบและตัดสินและประการผลต่อไป

จากประสบการณ์ทำงานของท่าน ปัจจัยแห่งความสำเร็จสำคัญ ๓ ประการ ที่ต้องมีในการขับเคลื่อนฯ คือ ต้องทำบ่อยๆ ทำซ้ำ "บ่อย ซ้ำ ย้ำ ทวน" ประการที่สองคือ ต้องทำตนเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา และประการสำคัญ คือสิ่งแวดล้อมที่ดี




มี ผอ. ท่านหนึ่ง ลุกขึ้นถามว่า เราจะสามารถขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนได้อย่างไร? ท่านตอบเชิงบรรยายว่า มีผลงานวิจัยของต่างประเทศบอกว่า อิทธิพลจากโรงเรียนมีผลต่อความสำเร็จของการปลูกฝังอุปนัสัย "พอเพียง" เพียง ๒๐% จากผู้ปกครองและครอบครัว ๓๐% แต่มาจากสังคมและสิ่งแวดล้อม ๕๐% นั่นหมายถึง หากเราจะประสบผลสำเร็จในการขับเคลื่อนฯ จะต้องมาคิดมิติของชุมชน และนิยามให้ดีว่าชุมชนของเราเป็นใครอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมาพบว่า โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จฯ จะสามารถร่วมมือและบูรณาการกับผู้ปกครองและชุมชนได้อย่างดี




ตอนท้ายสุด ท่านสรุปข้อค้นพบที่ตรงกันของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เป็น ๕ ประการ ดังรูป





ขอจบเพียงเท่านี้ในภาพรวมครับ ... บันทึกต่อไปค่อยมาให้รายละเอียดกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เราร่วมกันทำนะครับ ....

หมายเลขบันทึก: 583052เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2014 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2014 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท