ปัญหาการศึกษา( 2 )“ราชภัฏ” ติงอย่าเหมาคุณภาพต่ำ - ทินกร กระมล


“ผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่ออกมาไม่ควรนำมาเหมารวม แต่ควรแยกพิจารณาเป็นกลุ่มสาขาวิชา และไม่ควรตอกย้ำว่าสถาบันใดด้อยคุณภาพ แต่ต้องช่วยกัน โดยเฉพาะรัฐควรทุ่มงบประมาณพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา:http://www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=156256

เนื้อหา:

“ราชภัฏ” ติงอย่าเหมาคุณภาพต่ำ - 9/11/2549

 

“ราชภัฏ” ติงอย่าเหมาคุณภาพต่ำ
++ สกอ.ชงแผน 10 อัดฉีดงบอาจารย์ป.เอก

ตามที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกระบุมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) ด้อยคุณภาพนั้น ผศ.ดร.ช่วงโชติพันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) สวนสุนันทา กล่าวว่า ไม่อยากให้ สมศ.เหมารวมทั้งหมด เพราะหลายแห่งได้มีการปรับปรุงคุณภาพทั้งเรื่องอาจารย์ และหลักสูตรการสอน ทั้งนี้ในส่วนของ มรภ.สวนสุนันทา ยอมรับว่ายังมีปัญหาด้านงานวิจัย เนื่องจากที่ผ่านมาจัดการสอนเฉพาะระดับปริญญาตรี แต่หลังจากปี 2547 ได้ขยายขอบข่ายงานวิจัยมากขึ้น จนขณะนี้มีงานวิจัยกว่า 100 เรื่อง และได้รับตีพิมพ์ได้ระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันได้สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกมากขึ้น ภายใต้กองทุนศึกษาต่อฯ วงเงิน20 ล้านบาท

“ผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่ออกมาไม่ควรนำมาเหมารวม แต่ควรแยกพิจารณาเป็นกลุ่มสาขาวิชา และไม่ควรตอกย้ำว่าสถาบันใดด้อยคุณภาพ แต่ต้องช่วยกัน โดยเฉพาะรัฐควรทุ่มงบประมาณพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น” อธิการบดี กล่าว

ด้าน ผศ.ไกสร ศรีไตรรัตน์ อธิการบดี มรภ.ยะลา กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐพยายามเรียกร้องให้เรามีมาตรฐาน แต่ไม่ได้ให้การสนับสนุนเท่าที่ควร โดยเฉพาะงบประมาณที่จัด สรรให้น้อยมาก จึงอยากให้รัฐหันมาให้ความสำคัญกับ มรภ.มากขึ้น ส่วนเรื่องคุณภาพของบัณฑิตจาก มรภ.ยืนยันว่ามีคุณภาพ และสามารถที่จะทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำงานกับท้องถิ่น และนักศึกษา มรภ.ทำงานได้ดีกว่าที่จบการมหาวิทยาลัยรัฐด้วย

นายสุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทราบปัญหาเรื่องคุณภาพของ มรภ.เป็นอย่างดี และขณะนี้กำลังจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) โดยเน้นเรื่องการพัฒนา มรภ. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เพิ่งย้ายมาสังกัด สกอ. ซึ่งที่ผ่านมา สกอ.ก็ได้จัดสรรทุนการพัฒนาอาจารย์จำนวนหนึ่งให้แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ประกอบกับปัญหา เรื่องอัตรากำลังที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ยิ่งส่งผลให้ มรภ.มีอาจารย์วุฒิการศึกษาปริญญาเอก และมีตำแหน่งทางวิชาการในสัดส่วนที่ต่ำ

“สิ่งที่ สกอ.จะช่วยได้คือ จัดสรรทุนการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 200 ทุนต่อปี ให้กับ มรภ.ในสัดส่วนที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มรภ.ก็ต้องช่วย ตัวเอง โดยหาเงินนอกงบประมาณส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อปริญญาเอกให้มากขึ้น และถ้าจะพัฒนา มรภ.ให้เข้มแข็งขึ้น รัฐจะต้องสนับสนุนในเรื่องของอัตรากำลังที่เป็นราชการ หรือจัดงบฯเพื่อจ้างอาจารย์เอง หากไม่ทำเช่นนี้คุณภาพ มรภ.ก็คงเป็นอย่างที่ สมศ.ได้เผยผลประเมินออกมา” เลขาธิการ กกอ.กล่าว

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ราชภัฏ
หมายเลขบันทึก: 58281เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ใช่ครับ ผมเห็นด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของเรา มีคณะอาจารย์ที่มีคุณภาพเยี่ยมพร้อมสรรพ นักศึกษาก็เยี่ยม เป็นผู้มีความรู้
เห็นด้วยเหมือนกันคะ มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกๆแห่ง ต่างก็มีบุคคลากรที่สามารถผลิตคนที่ทำงานในสายงานต่างๆได้ การศึกษาไม่ได้อยู่ที่มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ต้องอยู่ที่นักศึกษาด้วย ถ้าสนใจค้นคว้าหาความรู้ทั้งนอกและในตำรา ก็จะสามารถพัฒนาตนเองได้เรื่อยๆ บางทีในมหาวิทยาลัยชื่อดังบางแห่ง นักเรียนสอบได้แต่เรียนไม่ไหว ก็ถูกรีทายออกอยู่ดี สู้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจไม่เกี่ยงเรื่องชื่อของสถาบันจะดีกว่านะคะ...
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท