หนึ่งคำถามสำคัญที่คุณควรถามตัวเองเวลาเกิดความผิดพลาด


"ฉันทำอะไรผิดพลาดที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น"

หนึ่งคำถามสำคัญที่คุณควรถามตัวเองเวลาเกิดความผิดพลาด


การทำงานทุกๆ อย่างหรือแม้แต่การใช้ชีวิตของเรานั้นมักจะเกิดปัญหา เกิดความผิดพลาด และไม่ได้เป็นไปตามที่หวังไว้อยู่บ่อยๆ ซึ่งมันก็คงไม่ได้แปลกอะไรนักเพราะคนเราก็ไม่ได้สมบูรณ์กัน แต่สิ่งที่เราควรจะคิดต่อจากความผิดพลาดเหล่านี้คือเราจะสามารถปรับปรุงให้ มันดีขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ตัวเราเองหวังไว้ได้อย่างไร

อันที่จริงนั้น การเรียนรู้จากความผิดพลาดก็เป็นคำพูดติดปากของคนที่ประสบความสำเร็จหรือ ตำราพัฒนาตัวเองซึ่งเราก็ได้ยินครั้งแล้วครั้งเล่า และเอาจริงๆ ผมว่าทุกคนก็รู้หมดกันหมดแหละ แต่ที่อาจจะแอบน่าคิดคือทำไมหลายๆ คนถึงไม่สามารถทำกันได้ล่ะ?

จากประสบการณ์ของผมนั้น จุดเปลี่ยนสำคัญเวลาเราเจอปัญหา หรืองานไม่ได้ดั่งใจแล้วทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้คือการตั้งคำถามให้กับตัว เอง เพราะคำถามคือการสำรวจลงไปในเหตุการณ์เพื่อหาคำตอบที่คุณจะสามารถเรียนรู้ กับมันได้ และก็อีกนั่นแหละที่คำถามนี้คือหัวใจสำคัญ ประเภทถ้าคุณถามถูก คุณก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าคุณถามกันผิดๆ หรือไปถามในมุมที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ก็คงจะเอาการพัฒนาอะไรไม่ได้ ซึ่งสำหรับผมแล้วผมมักจะมีคำถามสำคัญที่ผมถามตัวเองอยู่ทุกๆ ครั้ง คือ
"ฉันทำอะไรผิดพลาดที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น"

ฟังอาจจะเป็นคำถามดูกลางๆ ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ แต่คีย์เวิร์ดสำคัญคือคำว่า "ฉัน" ที่ผมจะเน้นย้ำเป็นสำคัญที่สุด ที่เป็นอย่างนี้เพราะเวลาเกิดปัญหาต่างๆ นั้น โดยธรรมชาติเรามักจะพยายามปกป้องตัวเองโดยไม่รู้ตัว ประเภทการหาว่าปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดความผิดพลาดนั้นคืออะไร ใครคือคนที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเราล้วนรู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าไม่อยากต้องรับผิดชอบ ไม่อยากต้องรับความรู้สึกผิด

แต่ถ้าเรามองเรื่องนี้กับผู้นำเก่งๆ และเป็นที่เคารพจากคนอื่นๆ แล้ว สิ่งที่พวกเขามักจะทำอย่างแรกๆ เมื่อเกิดความผิดพลาดคือการรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะมันเกิดจากมุมมองที่ว่าตัวเราเองล้วนมีส่วนในความผิดพลาดไม่มาก ก็น้อย และจะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องเลยคงไม่ได้

การตั้งคำถามแบบนี้อาจจะฟังดูเป็นการตั้งทัศนคติแง่ลบให้กับตัวเองอยู่ บ้าง แต่สำหรับผมแล้ว แง่คิดนี้ทำให้เราหันมาดูตัวเองเยอะๆ และพยายามหาจุดที่เราสามารถเริ่มแก้ไขได้ด้วยตัวเอง หามุมพัฒนาให้ตัวเอง แทนที่จะไปหวังพึ่งคนอื่น หวังให้คนอื่นแก้ไข หรือรอให้ระบบมันดีขึ้น (ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ หรอก) นอกจากนี้แล้วยังเป็นการลดภาวะ "โทษคนอื่น" ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับคนรอบข้างเอาได้ง่ายๆ แถมยังทำลายภาพลักษณ์ของตัวเองเสียอีกต่างหาก

"มันถึงเป็นที่มาของคำพูดที่หลายๆ คนมักเตือนเสมอว่าให้โทษตัวเองก่อนที่จะโทษคนอื่น เพราะถ้าคุณมองว่าตัวเองไม่ผิดพลาดอะไรเลย มันก็ยากที่คุณจะสามารถพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเองนั่นแหละ"


หมายเลขบันทึก: 581762เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เมื่อผิดพลาดแล้วเรียนรู้ก็จะได้ไม่พลาดอีก

สบายดีมั๊ยคะ หายไปนาน

สวัสดีครับพี่ nui

งานเยอะมากจริงๆ จนไม่มีเวลาครับผม พี่สบายดีนะครับ..

เรียนท่านลูกหมูเต้นระบำ เริ่มที่ "เลียนรู้" แล้วจึงจะ "เรียนรู้ ครับ"

อาจารย์ JJ ขอบคุณมากครัววัวัฒนาการจาก เลียน มา เรียน..

สั้นๆ ชัดเจนในหนึ่งประเด็น มีพลัง ขอบคุณค่ะ ได้แรงบันดาลใจการเขียนบันทึกแบบนี้บ้าง :)

อาจารย์ ป. ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม สบายดีนะครับ และสวัสดีปีใหม่ครับผม.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท