​กว่าจะถึงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว


ในหว้งเวลาที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตอยู่ในนานั้น นักส่งเสริมในกลุ่มอารักขาพืช ต่างก็เฝ้าระวังอยู่เสมอว่าจะเกิดศัตรูพืชระบาดในแปลงนาของเกษตรกรหรือไม่ มันจะทำความเสียหายแก่ต้นข้าวของเกษตรกรหรือไม่ แล้วการระบาดจะมีปริมาณมากเกินระดับเศรษฐกิจหรือไม่ แต่ในช่วงที่ดูแลต้นข้าวอยู่นั้น ได้แนะนำให้พี่น้องเกษตรกร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ(แมลงที่มีประโยชน์)ควบคู่กับการใช้สารชีวภัณฑ์ เป็นต้น หากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเราจะป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน( IPM)



กว่าจะถึงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ในช่วงระยะเวลานี้ เกษตรกรที่เป็นชาวนาผู้ผลิตข้าว เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและผลิตเพื่อการจำหน่ายในเขตจังหวัดลำปาง จากการที่นักส่งเสริมการเกษตร ของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปางได้ออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาในหลายๆพื้นที่อำเภอต่างๆ พบว่าขณะนี้นับตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นต้นมา มีเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวในนาไปไม่น้อยกว่า ๘o % ไปแล้ว จากการสังเกตยังมีเกษตรกรบางพื้นที่ในชุมชน ที่ยังรักษาประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวกันอยู่ บางชุมชนก็จ้างเกี่ยวด้วยมือ ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ก็มีเกษตรกรจ้างรถเกี่ยวข้าว ก็มีไม่น้อยเช่นกันเนื่องจากขาดแรงงานในการเก็บเกี่ยวข้าว



เมื่อนักส่งเสริมการเกษตร ประจำกลุ่มอารักขาพืช ได้เห็นพี่น้องเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา ต่างก็ได้ผลผลิตข้าวเปลือกกันพอสมควร อย่างน้อยๆก็มีข้าวบริโภคในครัวเรือน ก็จะมีบางครัวเรือนที่แบ่งผลผลิตข้าวข้าวเปลือกเพื่อการจำหน่ายให้พ่อค้าในท้องถิ่นก็มีเช่นกัน แต่ในฤดูกาลผลิตข้าวฤดูนาปี ปี๒๕๕๗ นี้ ในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรที่มีพื้นที่ได้เกิดความเสียหายจากศัตรูพืชระบาด คิดเป็น% ก็น้อยมาก นับว่ามีผลกระทบจากศัตรูพืชระบาดก็มีไม่มากนัก ซึ่งในหว้งเวลาที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตอยู่ในนานั้น นักส่งเสริมในกลุ่มอารักขาพืช ต่างก็เฝ้าระวังอยู่เสมอว่าจะเกิดศัตรูพืชระบาดในแปลงนาของเกษตรกรหรือไม่ มันจะทำความเสียหายแก่ต้นข้าวของเกษตรกรหรือไม่ แล้วการระบาดจะมีปริมาณมากเกินระดับเศรษฐกิจหรือไม่ แต่ในช่วงที่ดูแลต้นข้าวอยู่นั้น ได้แนะนำให้พี่น้องเกษตรกร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ(แมลงที่มีประโยชน์)ควบคู่กับการใช้สารชีวภัณฑ์ เป็นต้น หากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเราจะป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน( IPM) หากไม่จำเป็นเราก็จะไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมี นั่นเอง



ในช่วงนี้นักส่งเสริมการเกษตร ที่รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆยังจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ให้พี่น้องเกษตรกร ได้ทำการไถกลบตอซัง เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทำการปรับปรุงบำรุงดิน และป้องกันการเผาตอซังหรือฟางข้าว นับว่าเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตต่อไร่นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆปัจจัยที่เกษตรกรจะต้องให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุนการผลิตในฤดูการผลิตปีต่อไป ได้แก่ การใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ดี การเตรียมดิน การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง การป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย นั่นเองครับ


เขียวมรกต

๒๘ พย.๕๗

หมายเลขบันทึก: 581354เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...วิธีอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ(แมลงที่มีประโยชน์)ควบคู่กับการใช้สารชีวภัณฑ์ ..."

น่าสนใจมาก ๆ ค่ะ

</strong>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท